งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องข้าว (Rice Analysis)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องข้าว (Rice Analysis)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องข้าว (Rice Analysis)
จังหวัดลำปาง

2 Generic Value Chain ข้าวปลอดภัย/GAP การเพิ่มผลผลิต
การวิจัยและพัฒนา(R&D)และพัฒนาปัจัจยพื้นฐาน การพัฒนา เกษตรกรและ สถาบันเกษตรกร การเพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ และลดต้นทุน การแปรรูป การเพิ่มและสร้างคุณค่า การขนส่งสินค้าและ จัดการบริหารสินค้า (Logistics) การพัฒนา ระบบการตลาด 1.1 วิจัยความต้องการข้าวปลอดภัยของตลาดภายใน ประเทศและต่างประเทศ(เช่นราคา ชนิดข้าว ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค เป็นต้น) 1.2 มีการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมและเป็นแหล่งผลิตพันธุ์ข้าวคุณภาพดีและทนต่อโรค 1.3 พัฒนาปัจจัยการผลิตที่มีความปลอดภัยจากการใช้สารเคมี เช่นการปรับปรุงดิน การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารระบบนิเวศน์ในนาข้าว เป็นต้น 1.4 วิจัยและพัฒนาระบบมาตรฐานการปลูกข้าวปลอดภัยที่เทียบเท่ามาตรฐาน GAP เช่น เกณฑ์มาตรฐาน กลไกและผู้ให้การตรวจรับรองพันธุ์ข้าวและผลผลิตข้าวปลอดภัยทีรวดเร็วและน่าเชื่อถือเทียบเท่ามาตรฐาน GAP 1.5 การพัฒนา ดัดแปลงและเลือก ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมกับการผลิตข้าวปลอดภัยทั้งกระบวนการ 2.1 ขยายการส่งเสริมการผลิตข้าวปลอดภัย 2.2 สนับสนุนเกษตรกรในระบบการผลิตข้าวปลอดภัยที่ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เช่น การอบรม สาธิต ดูงานด้านการใช้พื้นที่เพาะปลูก การพัฒนาคุณภาพดิน แหล่งน้ำที่ปลอดภัยจากสารเคมี การเพิ่มผลผลิต และการลดต้นทุน เป็นต้น 2.3 เกษตรกรสามารถพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิตข้าวปลอดภัยที่ได้มาตรฐานของจังหวัดและ GAP 2.4 ส่งเสริมการรวมกลุ่มสหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร หรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการธุรกิจการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 2.5 พัฒนาให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตข้าวปลอดภัยทั้งกระบวนการ 2.6 มีเครือข่ายสถาบันการเงิน/กองทุนเพื่อช่วยเหลือด้านการเงินให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวปลอดภัย 3.1 ใช้เทคโนโลยีเพื่อรักษาคุณภาพข้าวปลอดภัยหลังการเก็บเกี่ยว (เช่น การเก็บรักษาข้าวเปลือกให้มีคุณภาพและปลอดภัยตามมาตรฐาน การใช้เครื่องอบลดความชื้นข้าว เป็นต้น) 3.2 ผลผลิตข้าวสารปลอดภัยได้รับการรับรองคุณภาพข้าวเพื่อการค้าในประเทศ ตามมาตรฐานข้าวปลอดภัยของจังหวัด หรือในกรณีที่เป็นเงื่อนไขการส่งออกให้ต้องมีมาตรฐาน GAP/ HACCP 3.3 เกษตรกรมีแผนการผลิต และแผนการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม(Crop Zoning and planning) 3.4 เกษตรกรมีความสามารถในการจัดการวัตถุดิบเหลือใช้จากการปลูกข้าวปลอดภัยให้เกิดประโยชน์ 4.1 โรงสีชุมชน โรงสีสหกรณ์มีจำนวนเพียงพอและได้รับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่มาตรฐานสำหรับการสีข้าวปลอดภัย 4.2 ใช้เทคโนโลยีการบรรจุหีบห่อเพื่อรักษาคุณภาพและยืดอายุข้าวปลอดภัย 4.3 โรงสีชุมชนในกระบวน การผลิตข้าวปลอดภัยของจังหวัดส่วนใหญ่เป็น Zero Waste Industry เช่นโรงสีข้าวสามารถควบคุมการปล่อยของเสียได้/แกลบสามารถขายไปทำเชื้อเพลิง/รำข้าวสามารถนำไปทำน้ำมันรำข้าว เป็นต้น 4.4 ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตข้าวให้เป็นผลิตภัณฑ์เอกลักษณ์ของลำปาง เช่น ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ เครื่องสำอางค์ น้ำมันรำข้าว และสินค้า OTOP ที่หลากหลายและได้มาตรฐาน เช่น มผช. /OTOP 5 ดาว/ GMP/HACCP เป็นต้น 4.5 การทำตราสินค้า (Branding) และตรารับรองคุณภาพ (Quality Mark)ผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ดึงดูด และเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดลำปาง 5.1 ส่งเสริมศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าข้าวปลอดภัยในระดับจังหวัดเช่น มียุ้งฉาง หรือโกดัง หรือสถานที่รวบรวมสินค้าข้าวที่ได้มาตรฐาน(Warehouse) 5.2 ใช้ระบบการขนส่งข้าวปลอดภัยที่เหมาะสมมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพตั้งแต่แหล่งผลิตไปโรงสีชุมชน และคลังเก็บสินค้าข้าวที่ร่วมในกระบวน การผลิตข้าวปลอดภัยจนถึงตลาด 6.1 มีระบบตลาดกลางสินค้าข้าวปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน 6.2 มีระบบตลาดซื้อขายข้าวปลอดภัยล่วงหน้า 6.3 มีกลไกการกำหนดราคาข้าวปลอดภัยที่เหมาะสมตามคุณภาพ 6.4 มีการประชา สัมพันธ์และการส่งเสริมการขายที่เหมาะสมกับแผนการผลิตและแผนการเก็บเกี่ยว 6.5 การจัดการข้อมูลการตลาด(Market Intelligence Unit) อย่างมีประสิทธิภาพ 6.6 พัฒนาขีดความ สามารถในการแข่งขันทางการตลาด (เช่น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการตลาดกับภาคส่วนต่าง ๆ การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรอง )

3 แผนผังสถิติทางการ (Data mapping) Product Champion ข้าวปลอดภัย/GAP จังหวัด ลำปาง

4 ที่มา: เกษตรจังหวัดลำปาง
พื้นที่เก็บน้ำ (ไร่)

5 ผลผลิตเฉลี่ย/ไร่ (กก.)
ที่มา: เกษตรจังหวัดลำปาง จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า จังหวัดลำปางมีพื้นที่นาทั้ง 13 อำเภอ แต่บางอำเภอไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ (หนอง บึง ) และพื้นที่เก็บน้ำยังมีน้อยเมื่อเทียบกับพื้นที่นา นอกจากนี้ แนวโน้มพื้นที่การปลูกข้าวนาปีและผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่มีแนวโน้มลดลง

6 สรุปประเด็นสำคัญต่อยุทธศาสตร์ (Strategic Issues)
โครงการสำคัญ / มาตรการ จำนวนแหล่งน้ำธรรมชาติ (หนอง บึง) และพื้นที่เก็บน้ำมีน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทำนา โครงการส่งเสริมการจัดหาแหล่งน้ำในพื้นที่ขาดแคลน พื้นที่ปลูกข้าวนาปีมีแนวโน้มลดลง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในแหล่งน้ำแร่แจ้ซ้อน

7 เสนอกรอบแนวคิดโครงการสำคัญ (Project Idea)
โครงการส่งเสริมการจัดหาแหล่งน้ำในพื้นที่ขาดแคลน วัตถุประสงค์/เป้าหมาย 1. เพื่อจัดหาแหล่งน้ำในพื้นที่เพาะปลูกที่ขาดแคลนแหล่งน้ำในฤดูกาลผลิต 2. เพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเข้าร่วมโครงการ ข้าวปลอดภัย กิจกรรม/แนวทางโครงการ 1. ส่งเสริมการขุดบ่อน้ำใช้เองในพื้นที่ของเกษตรกร 2. ประสานขอขยายพื้นที่เขตชลประทาน

8 เสนอกรอบแนวคิดโครงการสำคัญ (Project Idea)
โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในแหล่งน้ำแร่แจ้ซ้อน วัตถุประสงค์/เป้าหมาย 1. เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าผลผลิตข้าวไรซ์เบอร์รี่ 2. เพื่อส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ข้าวไรซ์เบอร์รี่ลำปาง กิจกรรม/แนวทางโครงการ 1. คัดเลือกเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในแหล่งน้ำแร่แจ้ซ้อน 2. อบรมเชิงปฏิบัติการการปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ในแหล่งน้ำแร่แจ้ซ้อนอย่างมี คุณภาพ 3. การออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ 4. การติดตามและประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพข้าวไรซ์เบอรี่ในแหล่ง น้ำแร่แจ้ซ้อน 5. การส่งเสริมการตลาด


ดาวน์โหลด ppt การวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องข้าว (Rice Analysis)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google