ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยJens Dale ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ เรื่องผักพื้นบ้าน เอกสารp/อุทัยวรรณ
2
การปลูกผักหวานบ้าน(พันธ์จีน) โดยนางอุทัยวรรณ ศิริพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมและพํฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ (พืชสวน)
3
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ของผักหวานบ้าน
ผักหวานบ้านเป็นไม้พุ่มสูง เมตร กิ่งก้านค่อนข้างเล็ก สีเขียวปนเทา ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบสั้น ประมาณ 2-4 มม. ใบออกแบบสลับ รูปร่างกลม รูปขอบขนาน ใบกว้าง ซม. ยาว ซม. ปลายใบแหลมโคนใบมน ขอบใบเรียบ และมีหูใบเป็นแผ่นเล็ก ๆ ที่โคนก้านใบ ดอกสีม่วงแดงหรือแดงเข้ม กลุ่มละ 2-4 ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตรงซอกใบ ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกเพศกัน ผลรูปร่างคล้ายผลมะยม เรียงกันอยู่ใต้ใบ ผลมี 3 พู สีขาวนวลและออกสีชมพูเล็กน้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ซม. เมล็ด เป็นรูปสามเหลี่ยม มักพบในป่าธรรมชาติ เช่นป่าทุ่ง ป่าผสมผลัดใบ ป่าแดง นิยมนำมาปลูกไว้ในสวนหรือใกล้บ้านเพื่อรับประทานยอด ผักหวานบ้านจะแตกยอดได้ตลอดทั้งปี
4
คุณค่าทางโภชนาการ ผักหวานบ้านจัดเป็นผักที่มีรสชาติอร่อย และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นแหล่งโปรตีน วิตามินซีและพลังงาน นอกจากนี้ยังมีเยื่อใยช่วยในการขับถ่าย ประโยชน์ทางยา -มีรสหวาน เย็น ช่วยบรรเทาความร้อนในร่างกาย ราก มีสรรพคุณระงับความร้อน ถอนพิษไข้ซ้ำ ไข้กลับเนื่องจากรับประทานของแสลง
5
การขยายพันธุ์ผักหวานบ้าน
ผักหวานบ้านสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยวิธีการที่นิยมด้วยการปักชำเนื่องจากได้ต้นที่ได้เหมือนกับต้นแม่พันธุ์ วิธีการทำง่าย สะดวก สามารถเพิ่มปริมาณต้นได้ปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว โดยเฉพะขยายพันธุ์ในเชิงการค้า
6
การปลูกและดูแลผักหวาน
การปลูกผักหวานบ้านสามารถปลูกได้ทั้งเป็นพืชเชิงเดี่ยวและปลูกแซม ระหว่างต้นของไม้ยืนต้นซึ่งจะมีระยะห่างอยู่พอสมควร ผักหวานบ้านของแสงแดดค่อนข้างมาก ระยะปลูกที่เหมาะสมควรจะมีระยะ 30-50 ซม. ถ้าปลูกโดยใช้ระยะชิดเกินไปอาจทำให้แปลงปลูกมีความชื้นสูงเกินไป ทำให้เกิดปัญหารากเน่าได้
7
การเก็บยอด ควรเก็บในช่วงเช้าที่แสงแดดยังไม่แรง เนื่องจากผักหวานบ้านเป็นผักที่เหี่ยวง่าย การเก็บช่วงที่มีแสงแดดจัดจะทำให้ยอดผักหวานเหี่ยวง่าย นอกจากนี้ยังทำให้ก้านผักหวานเป็นสีดำ อายุการเก็บรักษาหรือการวางตลาดอยู่ได้ไม่นาน
8
การลงทุนและผลตอบแทน ต้นทุนการผลิตผักหวานบ้านนักค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในการปลูกผักพื้นบ้านชนิดอื่น ๆ แต่ผลตอบแทนจะดีกว่า เนื่องจากผักหวานมีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูง และยังมีความต้องการของตลาดค่อนข้างมาก
9
สวัสดีคะ
10
การปลูกชะอมปลอดภัยจากสารพิษ
11
ชะอม ชะอม ลักษณะ ไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม ใบเป็นใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่ 2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถินหรือใบส้มป่อย ใบอ่อนมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอ ใบเรียงสลับกัน ใบย่อยออกตรงข้ามกัน ใบย่อยรูปรีมีประมาณ คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม ดอกมีขนาดเล็กออกที่ซอกใบ ดอกมีสีขาวหรือขาวนวล จะเห็นเกสรตัวผู้ได้ชัดเป็นเส้นฝอยๆ ผลเป็นฝักมีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน
12
การขยายพันธุ์ : กิ่งตอน ปักชำ ท่อนพันธุ์ เพาะเมล็ด การปลูก
การขยายพันธุ์ : กิ่งตอน ปักชำ ท่อนพันธุ์ เพาะเมล็ด การปลูก ใช้กิ่งตอนหรือกิ่งปักชำ ระยะระหว่างแถวและระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร นิยมปลูกในช่วงฤดูฝน ชะอมมี 2 พันธุ์ พันธุ์ใบเล็ก ต้นเล็กมียอดสั้น และพันธุ์ใบใหญ่ซึ่งต้นจะโตกว่า พันธุ์นี้ชาวสวนนิยมปลูกเพราะยอดยาวสวยกว่า การเก็บยอดสามารถเก็บได้ตลอดปีถ้าสามารถควบคุมความชื้นและความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ดี สามารถนำชะอมมาปลูกเป็นรั้วบ้านได้ประโยชน์อีกทางหนึ่งด้วย
13
ส่วนที่ใช้บริโภค : ยอดอ่อน ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน
การเก็บเกี่ยว : เริ่มเก็บเกี่ยวได้เมื่อชะอมอายุ 3 เดือนขึ้นไป เก็บได้ทุก 3 วัน / ครั้ง การตัดชะอมควรตัดในตอนเช้าตรู่ โดยใช้มีดบางและคมตัด เพื่อให้แผลที่ตัดไม่ช้ำ ในช่วงฤดูหนาวชะอมจะไม่ค่อยแตกยอด และควรเหลือยอดชะอมไว้ ยอด เพื่อให้ปรุงอาหารต่อไป ส่วนที่ใช้บริโภค : ยอดอ่อน ต้นทุนการผลิตและผลตอบแทน ต้นทุนการผลิตทั้งหมด ผลผลิตรวม ราคาที่เกษตรกรขายได้ รายได้รวม รายได้สุทธิ 6,130 3,760 4 15,040 8,910 บาท / ไร่ กิโลกรัม / ไร่ บาท / กิโลกรัม บาท / ไร่ / ปี บาท / ไร่ / ปี
14
การปลูกสะเดา และการใช้สารสกัดจากสะเดาp/อุทัยวรรณ
โดยนางอุทัยวรรณ ศิริพล นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่( พืชสวน)
15
สะเดา พันธุ์ไม้ประจำจังหวัด อุทัยธานี ชื่อพันธุ์ไม้ สะเดา ชื่อสามัญ
Neem Tree ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta indica A. Juss.(varsiamensis Valeton) วงศ์ MELIACEAE ชื่ออื่น กะเดา (ภาคใต้), จะตัง (ส่วย), สะเดา (ภาคกลาง), สะเลียม (ภาคเหนือ), สะเดาบ้าน (ทั่วไป) ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 20 เมตร เปลือกสีเทาอมน้ำตาล เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ ใบย่อยเรียวแหลม โคนใบเบี้ยว ขอบใบจักไม่เป็นระเบียบ ดอกสีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง กลีบดอก 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 10 อัน โคนก้านดอกติดกันเป็นหลอด ออกดอกเดือนธันวาคม-มกราคม ผลเป็นผลสดกลมรี ผิวบาง มีเนื้อฉ่ำน้ำ ผลแก่สีเหลือง ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด สภาพที่เหมาะสม ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณค่อนข้างแล้งและป่าแดง
16
สะเดากำจัดแมลง ต้นสะเดาเป็นที่รู้จักกันว่ามีคุณสมบัติในการกำจัดแมลงทุกส่วนของต้นสะเดาโดยเฉพาะเมล็ดมี สารออกฤทธิ์ที่สามารถใช้เป็นสารกำจัดแมลงได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดของสารออกฤทธิ์ของสารสกัดสะเดาคือ Azadirachtin สารออกฤทธิ์นี้ได้มีการจะทะเบียนไว้สำหรับใช้เป็นสารฆ่าแมลงในประเทศไทย พบว่าสารสกัดสะเดามีผลในการกำจัดแมลงศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก รวมทั้งหนอนเจาะสมอฝ้าย ผีเสื้อหนอนใยผัก เพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน ใบของสะเดาใช้ในการป้องกันการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์จำพวกถั่ว กากสะเดาถูกใช้เป็นปุ๋ยและใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอย ผลิตภัณฑ์สะเดาเหมาะที่จะนำมาใช้ในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในรูปของสารกำจัดแมลงชีวภาพ เพื่อขับไล่แมลง ยับยั้งการกินอาหาร หรือยับยั้งการวางไข่ แม้ว่าผลิตภัณฑ์สะเดาทางการค้าจะหาซื้อได้ง่าย เกษตรกรทำการสกัดสารสะเดาที่ พบเห็นกันทั่วไปสามารถใช้ได้ผลและสามารถทำใช้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ผลิตภัณฑ์สะเดาหลายอย่างที่มีขายในตลาดที่พอหาได้ในประเทศไทย ดูตัวอย่างได้จาก Thai Neem Products Co., Ltd.
17
จบการนำเสนอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.