ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 4 การทำงบการเงินรวมหลังวันซื้อหุ้น
บทที่ 4 การทำงบการเงินรวมหลังวันซื้อหุ้น
2
หลังจากที่บริษัทผู้ลงทุนซื้อหุ้นสามัญของบริษัทผู้ถูกลงทุนแล้ว บริษัททั้งสองยังคงดำเนินกิจการต่อไปเป็นนิติบุคคลซึ่งอิสระจากกันตามกฎหมาย และเมื่อสิ้นงวดบัญชีแต่ละบริษัทจะปิดบัญชีและจัดทำงบการเงินของตนเอง ในกรณีที่ผู้ลงทุนเป็นบริษัทใหญ่หรือเป็นผู้ลงทุนในบริษัทร่วมซึ่งถือหุ้นในบริษัทผู้ถูกลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ มีส่วนได้เสียในการควบคุม และมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ การนำเสนอกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิของบริษัทผู้ถูกลงทุนทั้งหมด หรือบางส่วนตามสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทผู้ถูกลงทุนจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ของบริษัทผู้ลงทุนย่อมสนใจที่จะทราบถึงฐานะการเงินที่แท้จริงของกลุ่มบริษัทและกำไรสุทธิรวมของกลุ่มบริษัท
3
การบันทึกบัญชีเงินลงทุนตามวิธีราคาทุน(Cost method) วิธีนี้บริษัทผู้ลงทุนจะบันทึกบันทึกบัญชีเงินลงทุนตามจำนวนที่ได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อถือหุ้นของบริษัทผู้ถูกลงทุน และไม่มีการปรับปรุงจำนวนเงินลงทุนตามการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์สุทธิของบริษัทผู้ถูกลงทุนแต่อย่างใด บริษัทผู้ลงทุนบันทึกรับรู้รายได้จากบริษัทผู้ถูกลงทุนเท่ากับจำนวนเงินปันผลที่บริษัทผู้ถูกลงทุนประกาศจ่ายจากกำไรที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่บริษัทผู้ลงทุนถือหุ้นบริษัทผู้ถูกลงทุนเท่านั้น
4
การบันทึกบัญชีเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย (Equity method)
วิธีนี้ในขั้นแรกบริษัทผู้ลงทุนจะบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทผู้ลงทุนตามจำนวนจำนวนที่ได้จ่ายไปทั้งหมดเพื่อถือหุ้นของบริษัทผู้ถูกลงทุน และต่อมาจะบันทึกจำนวนเงินลงทุนเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของสินทรัพย์สุทธิของผู้ลงทุน โดยรับรู้รายได้หรือค่าใช้จ่ายตามจำนวนกำไรหรือขาดทุนของบริษัทผู้ถูกลงทุนที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่บริษัทผู้ลงทุนถือหุ้นตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ วิธีนี้เมื่อสิสินทรัพย์สุทธิของบริษัทผู้ถูกลงทุนเพิ่มขึ้น บริษัทผู้ถูกลงทุนจะเพิ่มราคาตามบัญชีของเงินลงทุน และหากสินทรัพย์สุทธิของบริษัทผู้ลงทุนลดลง บริษัทผู้ลงทุนจะลดราคาตามบัญชีของเงินลงทุนตามสัดส่วนที่บริษัทผู้ลงทุนถือหุ้นอยู่
5
ตัวอย่างการบันทึกบัญชีตามวิธีราคาทุนและวิธีส่วนได้เสีย
ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างวิธีราคาทุนและวิธีส่วนได้เสีย ในกรณีที่บริษัทผู้ลงทุนเป็นบริษัทใหญ่ และผู้ลงทุนเป็นบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุน ณ วันซื้อหุ้น ราคาทุนเดิม เงินลงทุนหลังจากวันซื้อหุ้น ราคาทุนเดิมและปรับเพิ่ม หรือลดตามกำไรหรือขาดทุนของบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วมตามส่วนได้เสียของบริษัทใหญ่ รายได้จากการลงทุน เงินปันผลรับจากบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม ส่วนแบ่งกำไรหรือขาดทุนของบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมและปรับปรุงผลต่างเนื่องจากการรวมธุรกิจ
6
เพื่อให้เข้าใจวิธีการบัญชีทั้ง 2 วิธีชัดเจน สมมติว่า
ในวันที่ 1 มกราคม 25x1 บริษัทมงคล จำกัด ซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดจำนวน 20,000 หุ้น ของบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด ในราคาตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิบริษัทย่อย เป็นเงิน 200,000 บาท ในปี 25x1 บริษัทมิ่งขวัญ จำกัด มีกำไรสุทธิ 120,000 บาท และประกาศจ่ายเงินปันผลหุ้นสามัญหุ้นล่ะ 3.50 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 70,000 บาท การบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย ตามวิธีราคาทุนและวิธีส่วนได้เสียจะเป็นดังนี้
7
บริษัทมงคล จำกัด ถือหุ้น 100% ในบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด
บริษัทมงคล จำกัด ถือหุ้น 100% ในบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด วิธีราคาทุน วิธีส่วนได้เสีย บริษัทมงคล จำกัด ซื้อหุ้นสามัญในราคา 200,000 บาท เงินลงทุนใบบริษัทมิ่งขวัญ 200,000 เงินสด ,000 เงินลงทุนในบริษัทมิ่งขวัญ 200,000 บริษัทมิ่งขวัญ จำกัด มีกำไรสุทธิ 120,000 บาท ไม่บันทึกบัญชี เงินลงทุนในบริษัทมิ่งขวัญ ,000 ส่วนแบ่งกำไรในบริษัทมิ่งขวัญ ,000 บริษัทมงคล จำกัด ประกาศจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 3.50 บาท เงินปันผลค้างรับ ,000 เงินปันผลรับจากบริษัทมิ่งขวัญ 70,000 เงินปันผลค้างรับ ,000 เงินลงทุนในบริษัทมิ่งขวัญ 70,000 ยอดดุลบัญชีเงินลงทุนในบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด 31 ธ.ค. 25x1 200,000 บาท 250,000 บาท รายได้จากบริษัทย่อย เงินปันผลรับจากบริษัทมิ่งขวัญ 70,000 บาท ส่วนแบ่งกำไรในบริษัทมิ่งขวัญ 120,000 บาท
8
จะเห็นได้ว่าตามวิธีราคาทุนนั้น ในวันที่ 31 ธันวาคม 25x1 บัญชีเงินลงทุนในบริษัทมิ่งขวัญจะแสดงไว้ตามราคาทุน ที่ซื้อมาเมื่อวันที่ 1 มกราคม 25x1 คือ 200,000 บาท แต่ตามวิธีส่วนได้เสียบัญชีเงินลงทุนในบริษัทมิ่งขวัญ ในวันที่ 31 ธันวาคม 25x1 จะเพิ่มขึ้นตามกำไรสะสมของบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด ที่เพิ่มขึ้น กรณีที่บริษัทมงคล จำกัด ซื้อหุ้น 100% กำไรสะสมของบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด แสดงยอดดุลในบัญชีเท่ากับ 250,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 50,000 บาทด้วย
9
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ถ้าใช้วิธีราคาทุน กำไรสุทธิของบริษัทใหญ่จะรวมเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทย่อยเป็นรายได้ แต่ถ้าใจวิธีส่วนได้เสีย กำไรสุทธิของบริษัทใหญ่จะรวมกำไรสุทธิของบริษัทย่อยเป็นรายได้ตามสัดส่วนที่ถือหุ้น จากตัวอย่างกรณีถือหุ้น 100% ถ้ากำไรสุทธิของบริษัทมงคล จำกัด ปี 25x1 มีจำนวน 300,000 บาท ตามวิธีราคาทุน บริษัทมงคล จำกัด จะแสดงกำไรสุทธิในสมุดบัญชี 370,000 บาท (300,000 + เงินปันผลรับ 70,000) แต่ถ้าใช้วิธีส่วนได้เสีย บริษัทมงคล จำกัด จะแสดงกำไรสุทธิในสมุดบัญชี 420,000 บาท ( 300,000 +กำไรสุทธิบริษัทย่อย 120,000)
10
ถ้าบริษัทมงคล จำกัด ซื้อหุ้นสามัญบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด เพียง 80% ของหุ้นทั้งหมดในราคา 190,000 บาท ในขณะที่ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์สุทธิบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด ทั้งสิ้นเท่ากับ 200,000 บาท จำนวนที่จ่ายสูงกว่าราคาตามบัญชี เนื่องจากบริษัทมิ่งขวัญไม่ได้บันทึกสิทธิบัตรไว้ในบัญชีสิทธิบัตรนี้มีอายุให้ประโยชน์กับกิจการเหลืออยู่ 10 ปี ซึ่งจะตัดจำหน่ายตามวิธีเส้นตรง สิทธิบัตรของบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด จะเท่ากับ 37,500 บาท คำนวณได้โดย
11
ราคาต้นทุนของเงินลงทุน เท่ากับ 190,000 บาท 80% ของสินทรัพย์สุทธิของบริษัทผู้ลงทุน 80% ของ 200,00 160,000 บาท 80% ของสิทธิบัตร 30,000 บาท สิทธิบัตร = 30,000 x 80% = 37,500 ตัดจำหน่ายสิทธิบัตร 10 ปี ปีล่ะ 3,750 บาท ในปี 25x1 บริษัทมิ่งขวัญ จำกัด มีกำไรสุทธิ 120,000 บาท และจ่ายเงินปันผลหุ้นสามัญ หุ้นละ 3.50 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 70,000 บาท
12
บริษัทมงคล จำกัด ถือหุ้น 80% ในบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด
การบันทึกบัญชีเงินลงทุนในบริษัทย่อย ตามวิธีราคาทุนและวิธีส่วนได้เสียจะเป็นดังนี้ บริษัทมงคล จำกัด ถือหุ้น 80% ในบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด บริษัทมงคล จำกัด ซื้อหุ้นสามัญในราคา 190,000 บาท เงินลงทุนในบริษัทมิ่งขวัญ 190,000 เงินสด ,000 เงินสด ,000 บริษัทมิ่งขวัญ จำกัด มีกำไรสุทธิ 120,000 บาท ไม่บันทึก เงินลงทุนในบริษัทมิ่งขวัญ 96,000 ส่วนแบ่งกำไรในบริษัทมิ่งขวัญ 96,000 การตัดจำหน่ายสิทธิบัตร 3,750 บาท ส่วนแบ่งกำไรในบริษัทมิ่งขวัญ 3,000 เงินลงทุนในบริษัทมิ่งขวัญ ,000 บริษัทมิ่งขวัญ จำกัด ประกาศ จ่ายเงินปันผล 70,000 บาท เงินปันผลค้างรับ ,000 เงินปันผลรับจากบริษัทมิ่งขวัญ ,000 เงินปันผลค้างรับ ,000 เงินลงทุนในบริษัทมิ่งขวัญ ,000 ยอดดุลบัญชีเงินลงทุนในบริษัทมิ่งขวัญ จำกัด 31 ธ.ค. 25x1 190,000 บาท 227,000 บาท รายได้จากบริษัทย่อย เงินปันผลรับจากบริษัทมิ่งขวัญ 56,000 บาท ส่วนแบ่งกำไรในบริษัทมิ่งขวัญ93,000บาท
13
การทำงบการเงินรวมหลังวันซื้อหุ้นบริษัทย่อยหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
การทำงบการเงินรวม ณ วันซื้อหุ้น ทำได้เพียงงบแสดงฐานะการเงินรวมเท่านั้น แต่หลังจากวันที่ซื้อหุ้นหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชีสามารถทำงบการเงินรวมได้ทั้งงบกำไรขาดทุนรวม และงบแสดงฐานะการเงินรวม การทำงบการเงินรวมนั้นจะสะดวกและทำได้ง่ายขึ้นถ้าใช้กระดาษทำการช่วยในการทำงบเนื่องจากสามารถมองเห็นรายการที่ต้องปรับปรุงหรือตัดบัญชีได้ชัดเจน
14
การทำงบการเงินรวมหลังวันที่ซื้อหุ้นบริษัทย่อยนานกว่าหนึ่งรอบระยะเวลาบัญชี
สามารถทำได้ทั้งงบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม และงบแสดงฐานะการเงิน ถ้าบริษัทใหญ่ใช้วิธีราคาทุน กำไรสุทธิของบริษัทใหญ่ในแต่ละงวดบัญชีจะรวมเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทย่อย เงินปันผลจะสะสมอยู่ตั้งแต่งวดแรกจนถึงปัจจุบัน ส่วนเงินลงทุนในบริษัทย่อยยังคงแสดงราคาทุนที่ซื้อครั้งแรก ถ้าบริษัทใหญ่ใช้วิธีส่วนได้เสีย กำไรสุทธิของบริษัทใหญ่ในแต่ละงวด จะรวมกำไรสุทธิตามบริษัทใหญ่ถือหุ้น และกำไรสะสมของบริษัทใหญ่จะมีกำไรสุทธิจากบริษัทย่อยตั้งแต่งวดแรกถึงปัจจุบัน
15
การคำนวณกำไรสุทธิรวม กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ กำไรสะสมรวม และกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม ในการทำงบการเงินรวม ไม่ว่าผู้จัดทำจะใช้กระดาษทำการูปแบบใด และไม่ว่าบริษัทใหญ่ใช้วิธีการบันทึกบัญชีเงินลงทุนตามวิธีราคาทุน หรือวิธีส่วนได้เสียก็ตาม งบการเงินรวมจะแสดงรายการทุกรายการในจำนวนที่ไม่แตกต่างกัน เพื่อให้นักบัญชีได้ทำความเข้าใจรายการต่างๆ ที่ปรากฏในงบการเงินรวม การคำนวณรายการต่างๆสรุปได้ดังนี้
16
กำไรสุทธิรวม(Consolidated net income) แสดงถึงกำไรสุทธิที่คำนวณจากรายได้และค่าใช่จ่ายของทุกบริษัทในกลุ่มกิจการรวมกัน หลังจากปรับปรุงและตัดรายการตามข้อพิจารณาในแง่กิจการรวมเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ไม่ว่าบริษัทใหญ่ถือหุ้นบริษัทย่อยทั้งหมดหรือบางส่วน กำไรสุทธิรวมจะเท่ากัน กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ (Controlling share of net income) แสดงถึงกำไรสุทธิของบริษัทใหญ่บวกกับกำไรสุทธิของบริษัทย่อยทุกบริษัท ตามส่วนที่บริษัทใหญ่ถือหุ้นอยู่ และปรับตามข้อพิจารณาในแง่กิจกรรม
17
จากข้อมูลผลการดำเนินงานของบริษัทสยาม จำกัด และบริษัทศรีไทย จำกัด กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25x3 คำนวณได้ดังนี้ กำไรสุทธิจากผลการดำเนินงานของบริษัทสยาม จำกัด 100,000 กำไรสุทธิของบริษัทศรีไทย จำกัด ,000 หัก ค่าตัดจำหน่ายสิทธิบัตร 6,000 กำไรสุทธิของบริษัทศรีไทย จำกัด ที่ปรับปรุงในแง่กิจกรรมรวม 48,000 80% ของกำไรสุทธิที่เป็นของบริษัทศรีไทย จำกัด % ,400 กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่ ,400
18
กำไรสะสมรวม(Consolidated retained earning)เงินปันผลจ่ายที่แสดงในงบกำไรสะสมรวม หมายถึง เงินปันผลจ่ายที่บริษัทในกลุ่มกิจการจ่ายให้ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าของกลุ่มกิจการ และเนื่องจากผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่เท่านั้นที่เป็นเจ้าของกลุ่มกิจการ ดังนั้นในงบกำไรสะสมรวมจึงมีเฉพาะเงินปันผลจ่ายของบริษัทใหญ่ จากข้อมูลผลการดำเนินงานของบริษัทสยาม จำกัด และบริษัทศรีไทย จำกัด กำไรสะสมรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 25x3 คำนวณได้ดังนี้
19
กำไรสะสมของบริษัทสยาม จำกัด 520,000 598,000
31 ธันวาคม 25x ธันวาคม 25x3 กำไรสะสมของบริษัทสยาม จำกัด , ,000 กำไรสะสมของบริษัทศรีไทย จำกัด 84, ,000 หัก ค่าตัดจำหน่ายสิทธิบัตร ปี 25x1 – 25x ,000 ปี 25x1-25x ,000 กำไรสะสมของบริษัทศรีไทย จำกัด ที่ปรับปรุง 72, ,000 หัก กำไรสะสมของบริษัทศรีไทย จำกัด 50, ,000 เพิ่มขึ้นนับจากวันซื้อหุ้นถึง 31 ธ.ค. 25x2 22,000 เพิ่มขึ้นนับจากวันซื้อหุ้นถึง 31 ธ.ค. 25x ,000 80% 17, % 28,000 กำไรสะสมรวม , ,00
20
ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม (Non-controlling interest)
ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม ในวันที่ 31 ธ.ค. 25x1 เท่ากับ 103,000 บาท คำนวณได้โดย ทุนหุ้นสามัญ ,000 กำไรสะสม 1 มกราคม 25x ,000 กำไรสุทธิ ,000 เงินปันผลจ่าย (35,000) บวก ปรับสินทรัพย์สุทธิให้แสดงตามมูลค่ายุติธรรม 12,000 รวมส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัทย่อย ,000 ส่วนของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม 20% 103,000 กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม ในงบกำไรขาดทุนรวมประจำปี 25x3 เท่ากับ 20% ของกำไรสุทธิของบริษัทย่อย 20% (54,000 – 6,000) = 9,600 บาท
21
กรณีผลขาดทุนของบริษัทย่อยเกินกว่าส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุม
การจัดทำงบการเงินรวม พบว่าผลขาดทุนส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุมในบริษัทย่อยมีจำนวนมากกว่าส่วนที่ได้เสียของผู้ถือหุ้นที่ไม่มีอำนาจควบคุมในส่วนของทุนของบริษัทย่อย เช่น กรณีบริษัทย่อยมีผลขาดทุนสะสมเกินเหตุ กิจการต้องแสดงส่วนได้เสียที่ไม่มีอำนาจควบคุมในงบแสดงฐานะการเงินรวม ภายใต้ส่วนของเจ้าของเป็นรายการแยกจากส่วนของบริษัทใหญ่ และกิจการต้องปันส่วนกำไรหรือขาดทุนและส่วนประกอบในงบกำไรขาดทุนไปยังส่วนผู้ถือหุ้นบริษัทใหญ่
22
กรณีบริษัทผู้ลงทุนมีเงินลงทุนในบริษัทร่วม
บริษัทร่วม หมายถึง กิจการซึ่งรวมถึงกิจการที่ไม่ได้ก่อตั้งในรูปบริษัท เช่น ห้างหุ้นส่วนที่อยู่ภายใต้อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญของผู้ลงทุนและไม่ถือเป็นบริษัทย่อยหรือส่วนได้เสียในการร่วมค้า อิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญ หมายถึง อำนาจในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการดำเนินงานของกิจการที่ถูกลงทุน บริษัทผู้ลงทุนอาจมีเงินลงทุนในบริษัทร่วมแต่ไม่มีเงินลงทุนในบริษัทย่อย หรือมีเงินลงทุนในบริษัทร่วมและมีเงินลงทุนในบริษัทย่อย ผู้ลงทุนจะต้องนำเสนองบการเงินเฉพาะกิจการ เสนองบการเงินรวมหรืองบการเงินแบบวิธีส่วนได้เสีย
23
งบการเงินเฉพาะกิจการ หมายถึง งบการเงินที่นำเสนอโดยบริษัทใหญ่ หรือโดยผู้ลงทุนในบริษัทร่วม หรือโดยผู้ร่วมค้าในกิจการที่ควบคุมร่วมกัน ซึ่งแสดงเงินลงทุนตามเกณฑ์ส่วนได้เสียทางตรงในส่วนของเจ้าของกิจการที่ถูกลงทุน ซึ่งรับรู้รายได้จากบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วม เฉพาะบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมประกาศจ่ายเท่านั้น งบการเงินรวม และงบการเงินแบบวิธีส่วนได้เสีย เป็นงบการเงินที่บริษัทผู้ลงทุนต้องจัดทำเพิ่มเติมนอกเหนือจากการบันทึกรายการในสมุดบัญชี เป็นงบการเงินที่ต้องนำเสนอควบคู่กับงบการเงินเฉพาะกิจการ
24
งบการเงินรวมจะนำเสนอผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกลุ่มกิจการที่นำเสนอเสมือนว่าเป็นงบการเงินของหน่วยงานทางเศรษฐกิจหน่วยงานเดียว บริษัทใหญ่เท่านั้นที่จะต้องจัดทำงบการเงินรวม งบการเงินแบบวิธีส่วนได้เสีย เป็นงบการเงินที่แสดงบัญชีเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย จัดทำสำหรับบริษัทผู้ลงทุนมิได้เป็นบริษัทใหญ่ คือ กิจการไมมีการลงทุนฝนบริษัทย่อย จึงไม่ต้องทำงบการเงินรวม และนำเสนอควบคู่กับงบการเงินเฉพาะกิจการ
25
การด้อยค่าของค่าความนิยม
การด้อยค่าของสินทรัพย์ เป็นการกำหนดวิธีปฏิบัติทางบัญชี เพื่อให้กิจการแสดงราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ไม่สูงเกินกว่าประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่กิจการคาดว่าจะได้รับจากทรัพย์สิน การพิจารณาขึ้นอยู่กับราคาตลาดของสินทรัพย์ลดลง โดยจำนวนที่ลดลงนั้นมากกว่าจำนวนที่คาดว่าจะลดลงตามเวลาที่ผ่านมาหรือจากการใช้งานตามปกติ หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบทางลบต่อกิจการ หรืออัตราดอกเบี้ยในตลาดเพิ่มขึ้นจนมีมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์นั้นลดลง หรือมีหลักฐานจากข้อมูลที่รายงานภายใน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผลการปฏิบัติงานเชิงเศรษฐกิจของสินทรัพย์ลดลงกว่าที่คาดไว้
26
ข้อบ่งชี้ว่าสินทรัพย์มีการด้อยค่า กิจการจะเปรียบเทียบราคาขายสุทธิกับมูลค่าจากการใช้งาน และพิจารณาเลือกราคาที่สูงกว่าเป็นมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน และหากมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนต่ำกว่าราคาตามบัญชีของสินทรัพย์แสดงว่าสินทรัพย์นั้นเกิดการด้อยค่า
27
THE END
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.