งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การสืบสวนและการสอบสวน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การสืบสวนและการสอบสวน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การสืบสวนและการสอบสวน

2 ความหมาย การสืบสวน หมายความถึง “การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่าย ปกครอง หรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด” การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย เช่น การออกตรวจพื้นที่ตามทีทาง สาธารณะ การกวดขันวินัยจราจร การทราบรายละเอียดแห่งความผิด เช่น การสืบข่าว การแฝงตัวเข้าไปยังกลุ่มผู้กระทำ ความผิด การปฏิบัติหน้าที่อื่น เช่น การจับ คัน ตามคำสั่งของศาล

3 การสอบสวน หมายถึง “การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโทษ” การดำเนินการต่างๆเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิด การดำเนินการเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ อาจกล่าวได้ว่าการสอบสวนเป็นการดำเนินการของเจ้าพนักงานหลังมีการพบการกระทำความผิด แล้ว ส่วนการสืบสวน เป็นการดำเนินการก่อนพบการกระทำความผิด

4 เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
การสืบสวน หมายความถึง “การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด”

5 เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาญา
การสอบสวน หมายถึง “การรวบรวมพยานหลักฐานและการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหาเพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิดและเพื่อจะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโทษ”

6 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การสืบสวน การสอบสวน -การแสวงหาข้อเท็จจริง และ พยานหลักฐาน -การรักษาความสงบเรียบร้อย เช่น การระงับเหตุทะเลาะวิวาท, การจับกุมผู้กระทำความผิดซึ่งหน้า -การรวบรวมพยานหลักฐานและจัดการให้ได้มาซึ่งพยานเหล่านั้น -การดำเนินการอื่นๆ เช่น การขอหมายค้น หมายจับ การสรุปสำนวนการสอบสวน การทำความเห็นการสอบสวน วัตถุประสงค์ -เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย -เพื่อทราบรายละเอียดแห่งความผิด -เพื่อทราบข้อเท็จจริง -เพื่อพิสูจน์ความผิด -เพื่อจะเอาผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

7 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
รับคำร้องทุกข์ จัดให้มีการร้องทุกข์ จับ ค้น ควบคุมผู้ถูกจับ ปล่อยชั่วคราว ออกหมายเรียก ขอให้ศาลออกหมายอาญา สอบสวนคดีอาญา(ดำเนินคดีกับ ผู้กระทำความผิด) เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ สืบสวนคดีอาญา เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ สอบสวนคดีอาญา สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

8 เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา
มาตรา 17 “พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้” มาตรา 2(16) “เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและเจ้าพนักงานอื่นๆในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุมปราบปรามผู้กระทำความผิดกฎหมายซึ่งตนมีหน้าที่ต้องจับกุมหรือปราบปราม”

9 จับผู้กระทำผิด ได้ทุกเรื่อง
เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ม.2(16) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่จับกุมปราบปราม ผู้กระทำผิดกฎหมายที่ตนมี หน้าที่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ พัศดี เจ้าพนักงานสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมือง ป่าไม้ ฯลฯ จับผู้กระทำผิด ได้ทุกเรื่อง สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

10 มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร อำนาจติดอยู่กับพื้นที่
เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ ม.2(16) มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย มีหน้าที่จับกุมปราบปราม ผู้กระทำผิดกฎหมายที่ตนมี หน้าที่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร อำนาจติดอยู่กับพื้นที่ สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

11 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาที่ 500/2537 จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นตำรวจโดยได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าพนักงาน แม้จะรับราชการประจำอยู่ที่กองกำกับการตำรวจน้ำ ทำหน้าที่ช่างเครื่องซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของเรือที่ใช้ในราชการตำรวจน้ำ เป็นเพียงหน้าที่เฉพาะคำสั่งแต่งตั้งทางราชการ แต่โดยทั่วไปจำเลยที่ 1 ยังมีอำนาจสืบสวนคดีอาญาตาม ป.วิ.อ.มาตรา 17 สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

12 เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวน
ป.วิ.อ.มาตรา 2(6) พนักงานสอบสวน หมายความถึง“เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน”

13 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจหน้าที่สอบสวนคดีอาญา แยกพิจารณาได้ดังต่อไปนี้ ก. ความผิดเกิดในราชอาณาจักร 1. กรณีทั่วไป ม.18 2. กรณีความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ม.19 ข. ความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ม.20 สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

14 ม.18 1. กรณีทั่วไป ม.18 ยศ ตำแหน่ง สถานที่ ความผิดเกิดในราชอาณาจักร
1. กรณีทั่วไป ม.18 ยศ ตำแหน่ง สถานที่ ม.18 สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

15 พนักงานสอบสวน ยศ,ตำแหน่ง
กรุงเทพฯ ข้าราชการตำรวจที่มียศตั้งแต่ชั้น ร.ต.ต.หรือเทียบเท่าขึ้นไป จังหวัดอื่น พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ม.2(17) ปลัดอำเภอ พื้นที่ ความผิดเกิด, อ้างว่าเกิด, เชื่อว่าได้เกิด ผู้ต้องหามีที่อยู่ ผู้ต้องหาถูกจับ

16

17

18 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
-ท้องที่ที่ ความผิดเกิด ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง มีความแน่นอนว่าความผิดได้เกิดในท้องที่นั้น -ท้องที่ที่ ความผิดอ้างว่าได้เกิด ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ยังไม่มีความแน่นอนว่าความผิดเกิดขึ้นในท้องที่นั้นจริงหรือไม่ หากแต่มีผู้กล่าวอ้างว่าเกิดในท้องที่นั้น -ท้องที่ที่ ความผิดเชื่อว่าเกิด ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ในความคิดเห็นของเจ้าพนักงาน มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าความผิดได้เกิดขึ้นในท้องที่นั้น ซึ่งผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงที่ความผิดไม่ได้เกิดในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวน สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

19 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
-ท้องที่ที่ ผู้ต้องหามีที่อยู่ ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. คำว่า“มีที่อยู่” หมายถึง ถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงขณะที่ตกเป็นผู้ต้องหา -ท้องที่ที่ ผู้ต้องหาถูกจับ ภายในเขตอำนาจของ จ.พ.ง. หมายถึง ท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับภายในเขตอำนาจของเจ้าพนักงาน โดยไม่พิจารณาว่าเจ้าพนักงานผู้จับจะเป็นเจ้าพนักงานในท้องที่นั้นหรือไม่ สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

20 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาฎีกาที่ 4479/2532 ตาม ป.วิ.อ.ม. 22 (1) และม. 18 คำว่าจำเลยมีที่อยู่ หมายถึง ถิ่นที่อยู่ที่แท้จริงของจำเลยขณะที่จำเลยตกเป็นผู้ต้องหา ตามที่พนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนไว้ ซึ่งอาจเป็นภูมิลำเนาหรือมิใช่ภูมิลำเนาของจำเลยก็ได้ สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

21 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ฎีกาที่ 5982/2550 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 พนักงานสอบสวนมี อำนาจสอบสวนความผิดอาญาซึ่งได้เกิดในเขตอำนาจของตน หรือ ผู้ต้องหามีที่อยู่ หรือถูกจับภายในเขตอำนาจของตน นอกจากสาม กรณีดังกล่าวแล้ว พนักงานสอบสวนจะมีอำนาจสอบสวนต่อเมื่อมีการ อ้างหรือเชื่อว่าความผิดนั้นได้เกิดภายในเขตอำนาจของพนักงาน สอบสวนนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือพนักงานสอบสวนเข้าใจหรือมี ความเชื่อเกี่ยวกับที่เกิดเหตุว่าความผิดได้เกิดภายในเขตอำนาจของตน ซึ่งผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ที่ความผิดไม่ได้เกิดในเขต อำนาจของพนักงานสอบสวน แต่ได้เกิดในสถานที่อื่นนอกเขตอำนาจ ของพนักงานสอบสวนนั้น           บริเวณถนนสายบ้านร่องบง – บ้านติ้วที่จ่าสิบตำรวจ ม. กับ พวกตั้งจุดตรวจชั่วคราว และจุดที่พบถุงบรรจุเมทแอมเฟตามีนเป็นถนน นอกเขตชุมชน ตลอดแนวถนนไม่มีป้ายหรือสิ่งปลูกสร้างใดแสดงให้ ปรากฏว่าบริเวณดังกล่าวอยู่ในเขตท้องที่หมู่บ้านหรือตำบลใด จ่าสิบ ตรวจ ม. กับพวกผู้ร่วมจับกุมเป็นเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธร ตำบลบ้านติ้ว ย่อมต้องมีความเชื่อว่าบริเวณที่ตั้งจุดตรวจอยู่ในเขต อำนาจรับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรตำบลบ้านติ้ว แม้จำเลยจะโยนเมท แอมเฟตามีนทิ้งในเขตตำบลบ้านหวาย แต่จ่าสิบตำรวจ ม. ก็พบเห็น การกระทำความผิดในเขตตำบลบ้านติ้วและเรียกให้จำเลยหยุดที่จุดตรวจ ต่อเนื่องกัน จึงเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมเชื่อว่าเหตุเกิดและ จำเลยถูกจับในท้องที่ตำบลบ้านติ้ว สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

22 2. กรณีความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ม.19
2. กรณีความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ม.19 1. เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ ได้แก่ กรณีที่ไม่ทราบแน่ชัดว่า การกระทำความผิดเกิดขึ้นในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ ฎีกาที่ 1655/2530 จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ร่วม มีหน้าที่เก็บเงินจากลูกหนี้ของโจทก์ร่วมที่อยู่ต่างจังหวัด แล้วส่งมอบให้โจทก์ร่วมซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในท้องที่สถานีตำรวจนครบาลบางรัก จำเลยรับเงินจากลูกหนี้ของ โจทก์ร่วมในอีกท้องที่หนึ่งแล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ร่วม จึงเป็นการไม่แน่ว่าจำเลยทำการยักยอกทรัพย์ของ โจทก์ร่วมในท้องที่ใด พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลบางรักจึงมีอำนาจสอบสวน

23 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาฎีกาที่ 23/2513 ใช้ปืนยาวยิงไปที่เรือโดยทราบดีว่ามีคนอยู่ในเรือนั้น กระสุนปืนถูกแขนคนในเรือได้รับอันตรายแก่กาย ดังนี้ เป็นความผิดฐานพยายามฆ่า เหตุเกิดในทะเล ไม่ทราบชัดว่าอยู่ในเขตจังหวัดใด ป. หรือ ซ. หรือ ส. ผู้เสียหายแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอำเมืองสมุทรปราการ พนักงานสอบสวนอำเภอนั้นมีอำนาจสอบสวนได้ สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

24 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาฎีกาที่ 2494/2526 ขณะพนักงาน สอบสวนจังหวัดนครสวรรค์เริ่มทำการสอบสวนยังไม่ทราบแน่ ว่าจำเลยร่วมกับ พ. ลักทรัพย์ หรือจำเลยเพียงกระทำผิดฐาน รับของโจร หากเป็นการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ย่อมไม่ แน่ว่าได้กระทำผิดในท้องที่ใดตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึง จังหวัดสิงห์บุรี แม้ต่อมาได้ความตามทางสอบสวนว่าจำเลยกระทำ ผิดฐานรับของโจร ในท้องที่จังหวัดสิงห์บุรี และได้มีการฟ้อร้อง จำเลยในความผิดฐานนี้ ก็ถือว่าพนักงานสอบสวนจังหวัด นครสวรรค์ได้ทำการสอบสวนโดยชอบแล้ว เพราะเป็นกรณีไม่ แน่ว่าการกระทำความผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใด ใน ระหว่างหลายท้องที่ตาม ป.วิ.อ.ม.19(1) สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

25 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ฎีกาที่ 582/2549 กรณีไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ ใดระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่ เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 นั้น หมายความ เฉพาะเมื่อสภาพการกระทำผิดอาญานั้นเองเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัว ว่า เป็นการไม่แน่ว่ากระทำขึ้นในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ต่าง เขตอำนาจสอบสวน มิได้หมายความถึงกรณีที่ตัวพนักงานสอบสวน หรือผู้จับกุมสับสนในเรื่องพื้นที่เขตอำนาจของตนเสียเอง ทั้งที่เป็น การแน่นอนแล้วว่าความผิดนั้นได้กระทำในท้องที่ใด เมื่อพนักงาน สอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญยังขืนสอบสวนความผิดนี้ การสอบสวนนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีการ สอบสวน เมื่อยังมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น โจทก์จึงต้องห้าม มิให้ฟ้องคดีต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

26 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
2. เมื่อความผิดส่วนหนึ่งได้กระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง เช่น นาย ก. ลักทรัพย์ของ นาย ข. ในท้องที่ของ สภ.ต.ภูพิงค์นาย ข. ติดตามนาย ก. ไปทันในท้องที่ของ สภ.ต.ช้างเผือก นาย ข. เข้าแย่งทรัพย์คืนจากนาย ก. นาย ก. จึงทำร้ายนาย ข.เพื่อความสะดวกเอาทรัพย์นั้นไป และเพื่อจะหลบหนี เช่นนี้ ความผิดฐานชิงทรัพย์ ส่วนหนึ่งได้กระทำในท้องที่หนึ่งและอีกส่วนหนึ่งได้กระทำในอีกท้องที่หนึ่ง สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

27 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
3. เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆเกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป ความผิดต่อเนื่อง หมายถึง ความผิดที่มีสภาพของความผิด อยู่ต่อเนื่องอยู่ชั่วขณะหนึ่งโดยมีการกระทำและเจตนา ประกอบกันอยู่ต่อเนื่องตลอดเวลาที่การกระทำนั้นยังคงมี ปรากฏอยู่ เช่น ความผิดฐานเป็นอั้งยี่ตาม ป.อ.มาตรา ๒๐๙ ฐานมีเงินตรา ปลอมตาม มาตรา ๒๔๔ ความผิดตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมืองฯ ฐาน อยู่ในราชอาณาจักรโดยเข้ามาผิดกฎหมาย ฐานมีอาวุธปืนไว้ใน ครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ เป็นต้น ฏ.2083/2539 ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ฎ.1756/2550 ความผิดฐานมียาเสพย์ติดให้โทษไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

28 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาฎีกาที่ 1180/2537 เมื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ เกิดที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แม้ความผิดฐานรับของโจร จะเกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ก็เป็นความผิดที่ได้ กระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทร โยค จึงมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 2 ที่ 3 คำพิพากษาฎีกาที่ 2070/2543 การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่า ด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 การออกเช็ค ในท้องที่ใดย่อมถือได้ว่า การกระทำความผิดอาญาได้กระทำลงใน ท้องที่นั้นต่อเนื่องกับการกระทำความผิดในท้องที่ที่ธนาคารปฏิเสธ การจ่ายเงิน สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

29 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ฎีกาที่ 1586/2526 จำเลยกับพวกบังคับหน่วงเหนี่ยวกักขัง ผู้เสียหายชาวมาเลเซียเพื่อเรียกค่าไถ่ และบังคับให้ ผู้เสียหายขับรถไปส่งยังชายแดนประเทศไทยซึ่งน่าจะได้ ควบคุมเข้าไปในเขตแดนไทยด้วย เพราะภูมิลำเนาของ จำเลยกับพวกอยู่ในราชอาณาจักรจึงเป็นความผิดต่อเนื่อง ทั้งในและนอกราชอาณาจักร พนักงานสอบสวนสถานี ตำรวจภูธรกิ่งอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ซึ่งจับจำเลย จึงมี อำนาจสอบสวนดำเนินคดีกับจำเลยได้ คำพิพากษาฎีกาที่ 3903/2531 แม้ความผิดฐานปล้นทรัพย์ กับความผิดฐานรับของโจร เกิดขึ้นต่างท้องที่กันก็ตาม แต่ก็ เป็นความผิดต่อเนื่องกัน โดยปล้นทรัพย์จากท้องที่หนึ่ง นำไปจำหน่ายแก่ผู้รับของโจรในอีกท้องที่หนึ่ง ดังนั้น พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุที่เกิดจึงมี อำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ.ม. 19 สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

30 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ฎีกาที่ 3240/2550 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 บัญญัติมีใจความว่า เมื่อ ความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่อง และกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่ง ท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ คดีนี้การกระทำความผิด ฐานซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุม เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน ในท้องที่ต่าง ๆ ตั้งแต่อำเภอแม่สอดจนถึงอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย พนักงานสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้าน ด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมีอำนาจสอบสวนในความผิดฐาน ซ่อนเร้นเพื่อให้คนต่างด้าวพ้นจากการจับกุมจึงมีอำนาจสอบสวนใน ความผิดฐานพาคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นความผิด ที่กระทำต่อเนื่องกันซึ่งเกิดขึ้นในท้องที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก อีกด้วย สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

31 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
4. เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่างๆกัน คำพิพากษาฎีกาที่ 3430/2537 ผู้เสียหายร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ ต่อพนักงานสอบสวน สภ.อ.นราธิวาสซึ่งเป็นท้องที่ที่ความผิดเกิด แต่จำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนอำเภอสุไหงโกลกว่า เช็คดังกล่าวหาย เช่นนี้เป็นความผิดที่มีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่างๆกัน สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

32 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
จำเลย ซื้อสินค้า แล้วออกเช็คชำระหนี้ จำเลย แจ้งความเท็จว่าเช็คหาย อ.เมือง จ.นราธิวาส อ.สุไหงโกลก สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

33 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ฎีกาที่ ๑๔๐๑/๒๕๒๗ จำเลยถูกกล่าวหาว่าร่วมกันกระทำความผิดซึ่ง มีลักษณะหลายกรรม คือ ความผิดฐานทำปลอมเงินตรา มีเครื่องมือ ปลอมเงินตรา และมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อนำออกใช้ซึ่งกระทำลงใน ท้องที่ต่างๆกันและกระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนในท้องที่ หนึ่งท้องที่ใดทีเกี่ยวข้องย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ตามมาตรา ๑๙ (๓) (๔) เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจอำเภอสามพรานเป็นพนักงาน สอบสวนในท้องที่ที่จับได้ จำเลยที่ ๑ ซึ่งต้องหาว่ามีธนบัตรปลอมไว้ เพื่อนำออกใช้ และกล่าวหาว่า จำเลยที่ ๑ ร่วมกับจำเลยอื่นกระทำ ความผิดฐานปลอมเงินตราด้วย พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร อำเภอสามพรานจึงมีอำนาจสอบสวนคดีนี้ ฎ.5721/2548 ความผิดฐานแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จลงใน เอกสารตาม ป.อ.มาตรา 267 และกระทำความผิดฐานใช้หรืออ้าง เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 267 ในท้องที่ หนึ่ง ต่อมาได้กระทำความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ.มาตรา 352, มาตรา 353 ในอีกท้องที่หนึ่ง สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

34 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
5. เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง 6. เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

35 หมายเหตุ การกระทำความผิดหนึ่ง อาจจะเป็นกรณีความผิดคาบเกี่ยวได้หลาย อนุ พร้อมๆกันได้ กรณีความผิดคาบเกี่ยวข้างต้น พนักงานสอบสวนในท้องที่คาบเกี่ยว มีอำนาจสอบสวนความผิดที่เกิดขึ้น(ทุกๆข้อหา) ในความผิดคาบเกี่ยวหลายท้องที่ ตามมาตรา 19 เจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในท้องที่ที่ ผู้ต้องหามีที่อยู่ และถูกจับไม่มีอำนาจเป็นพนักงานสอบสวน

36 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาฎีกาที่ 1180/2537 เมื่อการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์เกิดที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี แม้ความผิดฐานรับของโจรจะเกิดที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี แต่ก็เป็นความผิดที่ได้กระทำต่อเนื่องกัน พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทรโยค จึงมีอำนาจสอบสวนจำเลยที่ 2 ที่ 3 สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

37 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ลักทรัพย์ ผู้ลัก รับของโจร ผู้รับ อ. ไทรโยค อ.สองพี่น้อง สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

38 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ลักทรัพย์ ผู้ลัก รับของโจร ผู้รับ อ. ไทรโยค อ.สองพี่น้อง สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

39 กรณีความผิดคาบเกี่ยว
กรณีทั่วไป กรณีความผิดคาบเกี่ยว -เกิด อ้างว่า เชื่อว่า -ผู้ต้องหามีที่อยู่ -ผู้ต้องหาถูกจับ ในกรณีดั่งต่อไปนี้ (๑) เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ (๒) เมื่อความผิดส่วนหนึ่งกระทำในท้องที่หนึ่ง แต่อีกส่วนหนึ่งในอีกท้องที่หนึ่ง (๓) เมื่อความผิดนั้นเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่างๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป (๔) เมื่อเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่างๆ กัน (๕) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้ต้องหากำลังเดินทาง (๖) เมื่อความผิดเกิดขึ้นขณะผู้เสียหายกำลังเดินทาง พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

40 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ผู้ลักฯ ถูกเจ้าพนักงานจับที่ อ.อู่ทอง ลักทรัพย์ ผู้ลัก รับของโจร ผู้รับ อ. ไทรโยค อ.สองพี่น้อง สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

41 -ความผิดนั้นศาลไทยต้องมีอำนาจในการลงโทษผู้กระทำความผิดได้
กรณีความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ความผิดเกิดนอกราชอาณาจักร ตาม ม. 20 ได้แก่ ความผิดซึ่งเกิดขึ้นนอกราชอาณาจักรตามความเป็นจริง -ความผิดนั้นศาลไทยต้องมีอำนาจในการลงโทษผู้กระทำความผิดได้ -ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 4 วรรคสอง มาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

42 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
เช่น นาย ก. คนไทยได้ข้ามไปเที่ยวเวียงจันทร์ แล้วทำร้ายนาย ข. คนลาว แล้วหนีกลับมายังประเทศไทย นาย ข. ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจของ สภ.อ.เมือง จ.หนองคาย เช่นนี้ พนักงานสอบสวนอำเภอเมืองหนองคาย มีอำนาจสอบสวน สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

43 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในกรณีที่ความผิดได้กระทำลงนอกราชอาณาจักรไทย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 20 กฎหมายให้เจ้าพนักงานซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ดังต่อไปนี้มีอำนาจหน้าที่ทำการสอบสวน 1. อัยการสูงสุด ผู้รักษาการอัยการสูงสุด พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้ได้รับมอบหมาย พนักงานสอบสวนในท้องที่ที่ผู้ต้องหาถูกจับ พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่น หรือบุคคลที่ ได้รับความเสียหายได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

44 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๐ ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอก ราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบหรือจะมอบหมายหน้าที่นั้น ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคน ใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวนแทนก็ได้ ในกรณีที่อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนมอบหมายให้พนักงาน สอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวน อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนจะ มอบหมายให้พนักงานอัยการคนใดทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนก็ได้ ให้พนักงานอัยการ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบหรือให้ทำการสอบสวนร่วม กับพนักงานสอบสวนมีอำนาจและหน้าที่ใน การสอบสวนเช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน บรรดาอำนาจและหน้าที่ประการอื่นที่ กฎหมายบัญญัติไว้ให้เป็นอำนาจและหน้าที่ ของพนักงานอัยการ ในกรณีที่พนักงานอัยการทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน ให้ พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับ การรวบรวมพยานหลักฐาน ในกรณีจำเป็น พนักงานสอบสวนต่อไปนี้มีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอ คำสั่งจากอัยการสูงสุด หรือผู้รักษาการแทน (๑) พนักงานสอบสวนซึ่งผู้ต้องหาถูกจับในเขตอำนาจ (๒) พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่นหรือบุคคลที่ได้รับความ เสียหายได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวน แล้วแต่กรณี เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้ทำความเห็นตามมาตรา ๑๔๐ มาตรา ๑๔๑ หรือมาตรา ๑๔๒ ส่งพร้อมสำนวนไปยังอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการ แทน สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

45 กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒๐ ถ้าความผิดซึ่งมีโทษตามกฎหมายไทยได้กระทำลงนอก ราชอาณาจักรไทย ให้อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือจะมอบหมายหน้าที่นั้น ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนคนใดเป็นผู้รับผิดชอบ ทำการสอบสวนแทนก็ได้ ในกรณีที่อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนมอบหมายให้พนักงานสอบสวนคน ใดเป็นผู้รับผิดชอบทำการสอบสวน อัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนจะมอบหมายให้ พนักงานอัยการคนใดทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวนก็ได้ ให้พนักงานอัยการ ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ หรือให้ทำการสอบสวนร่วม กับพนักงานสอบสวนมีอำนาจและหน้าที่ในการสอบสวน เช่นเดียวกับพนักงานสอบสวน บรรดาอำนาจและหน้าที่ประการอื่นที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้ เป็นอำนาจและหน้าที่ ของพนักงานอัยการ ในกรณีที่พนักงานอัยการทำการสอบสวนร่วมกับพนักงานสอบสวน ให้ พนักงานสอบสวนปฏิบัติตามคำสั่งและคำแนะนำของพนักงานอัยการในเรื่องที่เกี่ยวกับการ รวบรวมพยานหลักฐาน ในกรณีจำเป็น พนักงานสอบสวนต่อไปนี้มีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอคำสั่ง จากอัยการสูงสุด หรือผู้รักษาการแทน (๑) พนักงานสอบสวนซึ่งผู้ต้องหาถูกจับในเขตอำนาจ (๒) พนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศอื่นหรือบุคคลที่ได้รับความเสียหายได้ ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา เมื่อพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในการสอบสวนแล้วแต่ กรณี เห็นว่าการสอบสวนเสร็จแล้ว ให้ทำความเห็นตามมาตรา ๑๔๐ มาตรา ๑๔๑ หรือมาตรา ๑๔๒ ส่งพร้อมสำนวนไปยังอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทน End สืบสวนสอบสวน กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา


ดาวน์โหลด ppt การสืบสวนและการสอบสวน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google