ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
โดยนางสาวอังคณา บริสุทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมาย วันที่ 19 เมษายน ๒๕60 ณ ห้องหนองหารหลวง โรงแรมอิมพีเรียลสกลนคร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
2
ความเป็นมาที่ต้องมีพ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ให้การรับรองที่จะดำเนินการตามข้อกำหนดของกฎอนามัย ระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๘ มีการแพร่ของโรคติดต่อที่รุนแรงและก่อให้เกิดโรคระบาดมากผิดปกติ กว่าที่เคยเป็นมาทั้งโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคติดต่ออุบัติซ้ำ
3
ประเด็นปัญหาสำคัญ ๑. คำนิยามตามกฎหมายไม่ทันสมัยและไม่ครอบคลุม
๒. ไม่มีกลไกในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคที่เป็นรูปธรรม ไม่ทันต่อ สถานการณ์ของโรค โดยเฉพาะโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคติดต่ออุบัติซ้ำ ๓. ไม่มีกลไกกำหนดนโยบายและแนวทางการทำงานในระดับต่างๆ ทำให้การตัดสินใจขึ้นอยู่กับส่วนกลางเป็นสำคัญ 4. อัตราโทษต่ำเกินไป 5. ยังไม่สอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๔๘
4
กว่าจะมาเป็นพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาแล้ว คณะกรรมาธิการวิสามัญประชุม เพื่อพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. .... พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๘๖ ก กรมควบคุมโรคแต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการ ร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. .... จัดประชุมรับฟัง ความคิดเห็น ครั้งที่ ๒ มี.ค. - มิ.ย. ๒๕๕๘ ๘ ก.ย. ๒๕๕๘ พ.ค. ๒๕๕๓ ต.ค. ๒๕๕๕ มี.ค. ๒๕๕๘ มิ.ย. ๒๕๕๔ ๒๕๕๓ มี.ค. ๒๕๕๔ ก.ย. ๒๕๕๕ มี.ค. ๒๕๕๘ มิ.ย. ๒๕๕๘ ๖ มี.ค. ๒๕๕๙ มิ.ย. ๒๕๕๖ - มิ.ย. ๒๕๕๗ จัดประชุมรับฟัง ความคิดเห็น ครั้งที่ ๑ กระทรวงสาธารณสุขเสนอร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติหลักการ ที่ประชุมสนช. ครั้งที่ ๑๘/๒๕๕๘ มีมติรับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ และแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. .... ที่ประชุมสนช. ครั้งที่ ๓๔/๒๕๕๘ ได้พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ แล้วลงมติเห็นสมควรประกาศใช้เป็นกฎหมาย พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีผลใช้บังคับ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑๐) ประชุมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ....
5
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
6
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๑. ประเภทของโรคติดต่อ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒๓ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ - โรคติดต่อ - โรคติดต่อต้องแจ้งความ - โรคติดต่ออันตราย แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ - โรคติดต่อ - โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง - โรคติดต่ออันตราย - โรคระบาด (มาตรา ๔) หมายเหตุ : เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคติดต่อในปัจจุบัน
7
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
2. คณะกรรมการ/คณะทำงาน พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒๓ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 - คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ (ม.๑๑) - คณะกรรมการด้านวิชาการ (ม.๑๖) - คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด (ม.๒๐) - คณะกรรมการโรคติดต่อกทม. (ม.๒๖) - คณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก (ม.๒๓) - ไม่มี - หมายเหตุ : เพื่อให้การกำหนดนโยบาย ระบบ แนวทางปฏิบัติ และแผนปฏิบัติการในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อเป็นระบบยิ่งขึ้น
8
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
3. กลไกการเฝ้าระวังโรคติดต่อ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒๓ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เจ้าบ้าน/สถานพยาบาล/สถานที่ชันสูตร แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่/ เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าบ้าน/สถานพยาบาล/สถานที่ชันสูตร/ สถานประกอบการ แจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ แจ้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. แจ้งให้กรมควบคุมโรคทราบทันที (มาตรา ๓๑ และ ๓๒) หมายเหตุ : เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทัน ต่อสถานการณ์ของโรค
9
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
4. การประกาศโรคระบาด พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒๓ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศชื่อ อาการสำคัญ และสถานที่ที่มีการระบาดเกิดขึ้น และมี อำนาจประกาศยกเลิกเมื่อสภาวการณ์ ของโรคสงบลง (มาตรา ๙) - ไม่มี - หมายเหตุ : เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และการสอบสวนโรคมีความรวดเร็ว ทันสถานการณ์ และเป็นระบบ
10
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๕. เขตติดโรค พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้ท้องที่ หรือเมืองใดนอกราชอาณาจักร เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย หรือเขตโรคระบาด (มาตรา ๘) ให้รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศให้ท้องที่ หรือเมืองใดนอกราชอาณาจักรเป็น เขตติดโรคติดต่ออันตราย หมายเหตุ : เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และการสอบสวนโรคมีความรวดเร็ว ทันสถานการณ์ และเป็นระบบ
11
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๖. หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 อย่างน้อยอำเภอ/เขตละหนึ่งหน่วย (มาตรา ๓๖) - ไม่มี - หมายเหตุ : เพื่อให้การเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และการสอบสวนโรคมีความรวดเร็ว ทันสถานการณ์ และเป็นระบบ
12
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๗. หน่วยงานกลางในการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้กรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานกลาง ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อ และเป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ/ กรรมการวิชาการ (มาตรา ๑๙) - ไม่มี - หมายเหตุ : เพื่อให้การประสานงานการทำงานของทุกภาคส่วนมีความชัดเจน เป็นระบบ และสอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ
13
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๘. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เปิดเผยเท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด (มาตรา ๑๐) - ไม่มี - หมายเหตุ : การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นไปเท่าที่จำเป็น เฉพาะเพื่อการคุ้มครองป้องกันสุขภาพอนามัยของสาธารณชน
14
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๙. การชดเชยความเสียหาย พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 - ไม่มี - ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อ ตามความจำเป็น (มาตรา ๔๘) หมายเหตุ : กรณีเกิดความเสียหายจากการเฝ้าระวัง ป้องกัน หรือควบคุมโรคติดต่อ ให้ทางราชการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็น
15
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๑๐. ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ให้ช่องทางและด่านตรวจคนเข้าเมือง ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ เป็นด่านควบคุมโรคติดต่อ ระหว่างประเทศ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจประกาศให้ ช่องทางเข้าออกใดเป็นด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ หรือยกเลิก ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ (มาตรา ๖ (๒)) หมายเหตุ : เพื่อให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเป็นผู้พิจารณาตาม ความเหมาะสม
16
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๑๑. คณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 - ไม่มี - ให้มีคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก ทุกช่องทางเข้าออกที่มีด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ (มาตรา ๒๓ และ ๒๔) หมายเหตุ : เพื่อให้การประสานงานการทำงานของทุกภาคส่วนมีความชัดเจน เป็นระบบ และสอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ
17
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๑๒. หน้าที่ของผู้รับผิดชอบช่องทางเข้าออก พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 - ไม่มี - - จัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาลอาหาร และสุขาภิบาลน้ำให้ถูกสุขลักษณะ กำจัดสิ่งที่อันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ รวมถึงกำจัดยุงและพาหะนำโรค (มาตรา ๓๗) หมายเหตุ : เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศ
18
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๑๓. ผู้บังคับใช้กฎหมาย พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เจ้าพนักงานสาธารณสุข เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ (มาตรา ๔๕ และ ๔๗) หมายเหตุ : เพื่อให้ชื่อตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
19
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๑๔. เครื่องแบบ เครื่องหมาย บัตรประจำตัว พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 - ไม่มี - ให้มีเครื่องแบบ เครื่องหมาย และบัตรประจำตัวสำหรับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเพื่อแสดงตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ (มาตรา ๔๖) หมายเหตุ : เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อเป็นไปอย่างสะดวกและคล่องตัว และเพื่อให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าผู้นั้นเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายจริง
20
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๑๕. บทกำหนดโทษ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ต่ำสุด - ปรับไม่เกิน 2,000 บาท สูงสุด - จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท ต่ำสุด - ปรับไม่เกิน ๑0,000 บาท สูงสุด - จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท (มาตรา ๔๙ - ๕๖) หมายเหตุ : ปรับอัตราโทษให้สูงขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
21
เก่า - ใหม่ ต่างกันอย่างไร ?
๑๖. อำนาจในการเปรียบเทียบบรรดาความผิดตามพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25๒3 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 - ไม่มี - กรณีโทษปรับสถานเดียวหรือโทษจำคุก ไม่เกินหนึ่งปี ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย มีอำนาจเปรียบเทียบได้ ตามหลักเกณฑ์ ที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด (มาตรา ๕๗) หมายเหตุ : เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
22
โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการ/คณะทำงานตามกฎหมาย
โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการ/คณะทำงานตามกฎหมาย
23
โครงสร้างและกลไกการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด พ.ร.บ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ ระหว่างประเทศ คณะทำงานประจำช่องทาง เข้าออก เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ในประเทศ หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค ประชาชน คณะกรรมการ ด้านวิชาการ กฎอนามัยระหว่างประเทศ 2005 เจ้าบ้าน/แพทย์ ที่ทำการรักษา สถานพยาบาล สถานที่ชันสูตร/ ห้องปฏิบัติการ สถานประกอบการ/สถานที่อื่นๆ ความเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายนโยบาย ฝ่ายวิชาการ และฝ่ายปฏิบัติ สอดคล้องกับกฎอนามัยระหว่างประเทศและเชื่อมโยงกับองค์กรนานาชาติ เชื่อมโยงกลไกการจัดการสาธารณภัยของประเทศ องค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคเอกชนด้านการแพทย์และสาธารณสุข องค์การอนามัยโลก องค์กรระหว่างประเทศ ด้านการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ
24
ความเชื่อมโยงกลไกการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
รัฐมนตรี ออกกฎกระทรวง/ประกาศ/ระเบียบเช่น ประกาศชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย/โรคติดต่อที่ต้อง เฝ้าระวัง ประกาศเขตติดโรค (ต่างประเทศ) แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือตั้งด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กำหนดนโยบาย ระบบ แนวทางปฏิบัติ และแผนปฏิบัติการ* (เสนอครม.) - ให้คำปรึกษา คำแนะนำ รวมถึงติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ให้ความเห็นชอบหรือคำแนะนำแก่รัฐมนตรี ในการออกอนุบัญญัติต่างๆ แต่งตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ดำเนินการตามนโยบาย ระบบ และแนวทางปฏิบัติที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในเขตพื้นที่จังหวัด รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดต่อกรมควบคุมโรค แต่งตั้งคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก (กรณีจังหวัดที่มีด่าน) คณะกรรมการด้านวิชาการ ให้คำแนะนำรัฐมนตรี ในการประกาศเขตติดโรค(ต่างประเทศ) - ให้คำแนะนำอธิบดี ในการประกาศโรคระบาด (ในประเทศ) กรมควบคุมโรค สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ/คณะกรรมการ ด้านวิชาการ/อนุกรรมการ หน่วยงานกลางในการเสนอนโยบาย ระบบ และศูนย์ข้อมูลกลางด้านโรคติดต่อของประเทศ จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ประสานงาน ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล ประกาศโรคระบาดในประเทศ หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ/เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ - ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันสอบสวนโรค และควบคุม โรคติดต่อในเขตพื้นที่ - รายงานข้อมูล เหตุสงสัย หรือหลักฐานว่ามีโรคติดต่ออันตราย หรือโรคระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่ - เข้าไปในยานพาหนะ อาคาร หรือสถานที่ใด เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามกฎหมาย คณะทำงานประจำช่องทาง เข้าออก/เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคใน ช่องทางเข้าออก จัดทำแผนเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน จัดทำแผนติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเกี่ยวกับการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ อื่นๆ ค่าทดแทน/ค่าตอบแทน เครื่องหมาย/เครื่องแบบ/ บัตรประจำตัว บทลงโทษ
25
โครงสร้างและกลไกระดับจังหวัด
คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. ดำเนินการตามนโยบาย ระบบ และแนวทางปฏิบัติที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในเขตพื้นที่จังหวัด รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดต่อกรมควบคุมโรค แต่งตั้งคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก (กรณีจังหวัดที่มีด่าน) จัดตั้งหน่วยงานปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อทุกอำเภอ/เขต * (ผู้ว่าแต่งตั้งโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ) คณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก จัดทำแผนปฏิบัติการช่องทาง เข้าออกของตนเอง จัดทำแผนเตรียมความพร้อม รับสถานการณ์ฉุกเฉิน จัดทำแผนติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ/คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมอบหมาย คณะกรรมการวิชาการ กรมควบคุมโรค หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ดำเนินการ เฝ้าระวัง ป้องกัน สอบสวนโรค และควบคุมโรคติดต่อภายในเขตพื้นที่ของตน เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันสอบสวนโรค และควบคุมโรคติดต่อภายในเขตพื้นที่ รายงานข้อมูล เหตุสงสัยหลักฐานว่ามีโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่ ต่อคณะกรรมการจังหวัด เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ตรวจตรา ควบคุม กำกับดูแลพื้นที่รอบช่องทางเข้าออก ประชาชน เจ้าบ้าน/แพทย์ที่ทำการรักษา สถานพยาบาล สถานที่ชันสูตร/ห้องปฏิบัติการ สถานประกอบการ/สถานที่อื่นๆ
26
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
2. แต่งตั้งคณะทำงานประจำ ช่องทางเข้าออก * เฉพาะจังหวัดที่มีด่านฯ 3. แต่งตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ อย่างน้อยอำเภอละ ๑ หน่วย * ผู้ว่าราชการจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ 4. รับแจ้งข้อมูล กรณีโรคติดต่อเกิดขึ้น ตามมาตรา ๓๒ * คณะกรรมการ 5. รับแจ้งข้อมูลจาก เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามมาตรา ๓๔ 6. ออกคำสั่งตามมาตรา ๓๕ เช่น สั่งปิดตลาด สถานที่ชุมนุมชน หรือสั่งให้หยุดการประกอบอาชีพเป็นการชั่วคราว เป็นต้น 1. อำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๒๒ เช่น จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อในเขตพื้นที่จังหวัด รายงานสถานการณ์โรคติดต่อในเขตพื้นที่จังหวัด ไปยังกรมควบคุมโรค รายงานให้ กรมควบคุมโรคทราบ
27
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการ/คณะทำงานตามกฎหมาย
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการ/คณะทำงานตามกฎหมาย
28
องค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ (30 คน) ตามมาตรา 11
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่ องค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ (30 คน) ตามมาตรา 11 ประธาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กรรมการโดยตำแหน่ง ๑. ปลัดกระทรวงกลาโหม ๒. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ๓. ปลัดกระทรวงคมนาคม ๔. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ๕. ปลัดกระทรวงแรงงาน 6. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 7. ปลัดกระทรวงสาธารณสุข 8. เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา 9. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 10. อธิบดีกรมการแพทย์ 11. อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ 12. อธิบดีกรมปศุสัตว์ 13. อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 14. อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 15. อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 16. อธิบดีกรมอนามัย 17. อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 18. ปลัดกรุงเทพมหานคร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ ในด้านการสาธารณสุข การควบคุมโรค และด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ในการป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ จำนวน 4 คน โดยในจำนวนนี้ต้องแต่งตั้งจากองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกำไรและดำเนินกิจกรรมด้านการสาธารณสุข อย่างน้อย 1 คน
29
องค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ (30 คน) ตามมาตรา 11
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่ องค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ (30 คน) ตามมาตรา 11 กรรมการจากสภาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง 1. ผู้แทนแพทยสภา 2. ผู้แทนสภาการพยาบาล 3. ผู้แทนสภาเทคนิคการแพทย์ 4. ผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน กรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมควบคุมโรค กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 1. ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อทั่วไป 2. ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา
30
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ตามมาตรา ๑๔
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ตามมาตรา ๑๔ ๑ กำหนดนโยบาย วางระบบ และแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ๒ พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ หรือโรคระบาด และเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ๓ เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกกฎกระทรวง ระเบียบ ประกาศ และแนวทางปฏิบัติ เพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ๔ ให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชนเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ 5 ติดตาม ประเมินผล และตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เพื่อให้ปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการตามข้อ 2 6 พิจารณาให้ความเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการเบิกจ่ายค่าชดเชยค่าทดแทน ค่าตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น ในการดำเนินการเฝ้าระวัง การสอบสวนโรค การป้องกัน หรือการควบคุมโรคติดต่อ 7 แต่งตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการหรือคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ 8 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ หรือตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
31
องค์ประกอบของคณะกรรมการด้านวิชาการ (ไม่เกิน 8 คน ) ตามมาตรา 1๖
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่ องค์ประกอบของคณะกรรมการด้านวิชาการ (ไม่เกิน 8 คน ) ตามมาตรา 1๖ ประธาน ให้แต่งตั้งจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามมาตรา 11 (4) กรรมการ ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านโรคติดต่อจำนวนไม่เกิน 7 คน อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ตามมาตรา ๑๖ ๑ ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีในการประกาศเขตติดโรค ๒ ให้คำแนะนำแก่อธิบดีในการประกาศโรคระบาด ๓ ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีหรืออธิบดีในการประกาศยกเลิก เมื่อสภาวการณ์ของโรคตาม (1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี สงบลงหรือกรณีมีเหตุอันสมควร ๔ ปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติมอบหมาย มาตรา 16 วรรคท้าย ให้นำความในมาตรา 12 และมาตรา 13 มาใช้บังคับแก่กรณีวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของคณะกรรมการด้านวิชาการโดยอนุโลม
32
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่
องค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด (ไม่น้อยกว่า ๑๘ คน) ตามมาตรา ๒๐ ประธาน ผู้ว่าราชการจังหวัด กรรมการโดยตำแหน่ง 1. ปลัดจังหวัด 2. ประชาสัมพันธ์จังหวัด 3. ปศุสัตว์จังหวัด 4. หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด 5. ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่รับผิดชอบในเขตจังหวัด 6. นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรรมการจากหน่วยงาน ด้านส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น* 1. นายกเทศมนตรี จำนวน 1 คน 2. นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน กรรมการจากหน่วยงาน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข* 1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์หรือผู้อำนวยการโรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 1 คน 2. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 2 คน 3. สาธารณสุขอำเภอ จำนวน 2 คน กรรมการจากสถานพยาบาล* ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล จำนวน 1 คน กรรมการและเลขานุการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ข้าราชการในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ดำเนินงานด้านการป้องกันควบคุมโรคจำนวนไม่เกิน 2 คน
33
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่
องค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด (ไม่น้อยกว่า ๑๘ คน) ตามมาตรา ๒๐ อื่นๆ ๑. จังหวัดใดมีโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐอื่นนอกจากมาตรา 20 (4) ให้แต่งตั้ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐนั้น จำนวนไม่เกิน 3 คน ๒. จังหวัดใดมีด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ให้แต่งตั้ง 2.1 เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งประจำด่านฯ จำนวนแห่งละ 1 คน 2.2 ผู้รับผิดชอบช่องทางเข้าออกประจำด่านฯ จำนวนแห่งละ 1 คน * กรรมการซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง
34
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ตามมาตรา ๒๒
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ตามมาตรา ๒๒ ๑ ดําเนินการตามนโยบาย ระบบ และแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกําหนด ๒ จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดในเขตพื้นที่จังหวัด ๓ รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นในเขตพื้นที่จังหวัดต่ออธิบดีกรมควบคุมโรค ๔ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดแล้วรายงานต่อ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ๕ แต่งตั้งคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกตามมาตรา ๒๓ ในกรณีที่จังหวัดนั้นมีด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ๖ เรียกให้บุคคลใดๆ มาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือให้จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆ ที่จําเป็นหรือข้อคิดเห็นมาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ๗ ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย หรือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
35
องค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร (๒๖ คน) ตามมาตรา ๒๖
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่ องค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร (๒๖ คน) ตามมาตรา ๒๖ ประธาน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรรมการโดยตำแหน่ง 1. ปลัดกรุงเทพมหานคร 2. ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 3. ผู้แทนกรมควบคุมโรค 4. ผู้แทนกรมประชาสัมพันธ์ 5. ผู้แทนกรมปศุสัตว์ 6. ผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 7. ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร 8. ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกรุงเทพมหานคร 9. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสังกัดสภากาชาดไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กรรมการจากโรงพยาบาล* 1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน 2. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 1 คน กรรมการจากโรงพยาบาล ในสังกัดหน่วยงานอื่นของรัฐ* ผู้อำนวยการโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐนอกจากมาตรา 26 (3) จำนวนไม่เกิน 5 คน กรรมการจากสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา* ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 คน กรรมการจากสถานพยาบาล* ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล จำนวน 1 คน
36
องค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร (๒๖ คน) ตามมาตรา ๒๖
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่ องค์ประกอบของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร (๒๖ คน) ตามมาตรา ๒๖ กรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ข้าราชการในสังกัดสำนักอนามัยที่ดำรงตำแหน่งในระดับไม่ต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง จำนวนไม่เกิน 2 คน อื่นๆ ๑. เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งประจำด่านฯ ในเขตกทม. จำนวนแห่งละ 1 คน 2. ผู้รับผิดชอบช่องทางเข้าออกประจำด่านฯ ในเขตกทม. จำนวนแห่งละ 1 คน * กรรมการซึ่งผู้ว่ากรุงเทพมหานครแต่งตั้ง
37
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๒๘
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๒๘ ๑ ดําเนินการตามนโยบาย ระบบ และแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อ ที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติกำหนด ๒ จัดทําแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ๓ รายงานสถานการณ์โรคติดต่อหรือโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่อาจเป็นโรคระบาดซึ่งเกิดขึ้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครต่ออธิบดีกรมควบคุมโรค ๔ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในกรุงเทพมหานคร แล้วรายงานต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ๕ แต่งตั้งคณะทํางานประจําช่องทางเข้าออกตามมาตรา ๒๓ ๖ เรียกให้บุคคลใดๆ มาให้ข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็น หรือให้จัดส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆ ที่จําเป็นหรือข้อคิดเห็น มาเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ๗ ดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย หรือตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้
38
คณะทำงานจากโรงพยาบาล คณะทำงานและเลขานุการ
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่ องค์ประกอบของคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก (ไม่น้อยกว่า ๘ คน) ตามมาตรา ๒๓ ประธาน เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบช่องทางเข้าออกนั้น คณะทำงานโดยตำแหน่ง ๑. ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ๒. ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ๓. ผู้แทนกรมศุลกากร ๔. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ๕. ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในช่องทางเข้าออกนั้น) คณะทำงานจากโรงพยาบาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐที่ดูแลรับผิดชอบช่องทางเข้าออกนั้น จำนวน ๑ คน คณะทำงานและเลขานุการ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อซึ่งประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ จำนวน ๑ คน อื่นๆ 1. ช่องทางเข้าออกใดมีผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ในช่องทางเข้าออกน้อยกว่า หน่วยงานตามที่กําหนดไว้ในมาตรา 23 (2) ให้คณะทํางานประกอบด้วยผู้แทนจาก หน่วยงานเท่าที่มีอยู่ 2. ช่องทางใดมีผู้แทนจากหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่มากกว่าหน่วยงานตามที่กำหนดไว้ ในมาตรา 23 (2) ให้คณะกรรมการประกาศกำหนดเพิ่มเติมจากจำนวนที่มีอยู่เดิมได้
39
อำนาจหน้าที่ของคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก ตามมาตรา ๒๘
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะกรรมการ/คณะทำงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อฉบับใหม่ อำนาจหน้าที่ของคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก ตามมาตรา ๒๘ ๑ จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ และแผนเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ๒ ประสาน สนับสนุน และติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนในข้อ 1 ๓ จัดทำแผนการติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ๔ ดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ หรือคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดมอบหมาย มาตรา ๓๐ ให้นำความในมาตรา ๒๓ และมาตรา ๒๔ มาใช้บังคับแก่องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ ของคณะทำงานประจำช่องทางเข้าออกที่คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครแต่งตั้งโดยอนุโลม
40
อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
41
อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
มาตรา ๒๐ และมาตรา ๒๖ แต่งตั้งกรรมการจังหวัด/กทม. เพิ่มเติม มาตรา ๓๕ กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนเพื่อป้องกันการแพร่ของโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด สั่งปิดตลาด สถานที่ประกอบ/ผลิต/จำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม โรงงาน สถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษา สถานที่อื่นใดชั่วคราว สั่งให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคหยุดการประกอบอาชีพชั่วคราว สั่งห้ามผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคเข้าไปในสถานที่ชุมนุมชน โรงมหรสพ สถานศึกษาสถานที่อื่นใด มาตรา ๓๖ จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อขึ้นในทุกอำเภอ/เขตอย่างน้อย ๑ หน่วย * มาตรา ๓๕ และมาตรา ๓๖ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.
42
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ
43
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
มาตรา ๓๑ เมื่อมีโรคติดต่ออันตราย/โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง/โรคระบาดเกิดขึ้น รับแจ้งจากเจ้าบ้าน/ผู้รับผิดชอบในสถานพยาบาล/เจ้าของสถานประกอบการหรือสถานที่อื่นใด ในกรณีที่พบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่อ รับแจ้งจากผู้ทำการชันสูตร ในกรณีที่ได้มีการชันสูตรทางการแพทย์/สัตวแพทย์ ตรวจพบว่าอาจมีเชื้ออันเป็นเหตุของโรคติดต่อ มาตรา ๓๒ เมื่อได้รับแจ้งตามมาตรา ๓๑ ให้แจ้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. และรายงานข้อมูลนั้น ให้กรมควบคุมโรคทราบโดยเร็ว
44
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ (ต่อ)
มาตรา ๓๔ เมื่อเกิดโรคติดต่ออันตราย/โรคระบาดหรือมีเหตุสงสัยว่าได้เกิด โรคติดต่ออันตราย/โรคระบาดในเขตพื้นที่ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ มีอำนาจดำเนินการเอง/ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้ผู้ใดดำเนินการ ให้ผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาด/ผู้สัมผัสโรค/ เป็นพาหะ มารับการตรวจ/รักษา/ชันสูตรทางการแพทย์ แยกกัก/กักกัน/คุมไว้สังเกต ณ สถานที่ที่กำหนด ให้ผู้มีความเสี่ยงที่จะติดโรคได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค นำศพหรือซากสัตว์ไปรับการตรวจ/จัดการ เพื่อป้องกันการแพร่ของโรค ให้เจ้าของ/ผู้ครอบครอง/ผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ พาหนะ กำจัดความติดโรค/แก้ไขปรับปรุงสุขาภิบาลให้ถูกสุขลักษณะ
45
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ (ต่อ)
ให้เจ้าของ/ผู้ครอบครอง/ผู้พักอาศัยในบ้าน โรงเรือน สถานที่ พาหนะ กำจัดสัตว์/แมลง/ ตัวอ่อนของแมลงที่เป็นสาเหตุการเกิดของโรค ห้ามผู้ใดกระทำการใดๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ห้ามผู้ใดเข้าไปหรือออกจากที่เอกเทศ เข้าไปในสถานที่/พาหนะที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีโรค เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค สอบสวนโรค และหากพบว่ามีโรคติดต่ออันตราย/โรคระบาดเกิดขึ้น ให้แจ้งคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. และรายงานกรมควบคุมโรคให้ทราบโดยเร็ว
46
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศ
มาตรา ๓๘ เมื่อมีเหตุอันสมควร ตรวจตรา ควบคุม กำกับดูแลในพื้นที่นอกช่องทางเข้าออก แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นดำเนินการกำจัดยุง/พาหะนำโรคในบริเวณรัศมี ๔๐๐ เมตร รอบช่องทางเข้าออก
47
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศ (ต่อ)
มาตรา ๓๙ 1. เมื่อมีเหตุอันสมควร 2. เมื่อมีเหตุสงสัยว่าพาหนะมาจากท้องที่หรือเมืองท่าใด นอกราชอาณาจักรที่มีโรคระบาด ให้เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะแจ้งกำหนดวัน เวลา และสถานที่ที่พาหนะนั้นๆ จะเข้ามาถึงด่านฯ ให้เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะที่เข้ามาในราชอาณาจักรยื่นเอกสารต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยังไม่ได้รับการตรวจจาก เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ เข้าไปในพาหนะและตรวจผู้เดินทาง/สิ่งของ/สัตว์ที่มากับพาหนะ ตรวจตราและควบคุม ให้เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะแก้ไขการสุขาภิบาลของพาหนะให้ถูกสุขลักษณะ ห้ามเจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะนำผู้เดินทางซึ่งไม่ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เข้ามาในราชอาณาจักร
48
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศ (ต่อ)
มาตรา ๔๐ เมื่อรัฐมนตรีประกาศให้ท้องที่หรือเมืองท่าใดนอกราชอาณาจักรเป็นเขตติดโรค ตามมาตรา ๘ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ มีอำนาจดำเนินการเอง/ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของ/ผู้ควบคุมพาหนะ ดำเนินการ กำจัดความติดโรค เพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ของโรค จัดให้พาหนะจอดอยู่ ณ สถานที่ที่กำหนดให้ ให้ผู้เดินทางซึ่งมากับพาหนะนั้นรับการตรวจในทางแพทย์ ให้แยกกัก/กักกัน/คุมไว้สังเกต/รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ณ สถานที่และระยะเวลา ที่กำหนด ห้ามผู้ใดเข้าไปในหรือออกจากพาหนะ หรือที่เอกเทศ ห้ามผู้ใดนำวัตถุ/สิ่งของ/เครื่องใช้ที่เป็นหรือมีเหตุสงสัยว่าเป็น สิ่งติดโรคเข้าไปในหรือออกจากพาหนะ
49
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุม โรคติดต่อระหว่างประเทศ (ต่อ)
มาตรา ๔๒ ในกรณีที่พบว่าผู้เดินทางเป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็น โรคติดต่ออันตราย โรคระบาด หรือพาหะนำโรค สั่งให้ผู้เดินทางที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย โรคระบาด หรือพาหะนำโรค ถูกแยกกัก ถูกกักกัน ถูกคุมไว้สังเกต ได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
50
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อและ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ มาตรา ๔๕ 1. มีหนังสือเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคําหรือแจ้งข้อเท็จจริงหรือทําคําชี้แจงเป็นหนังสือ หรือให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานใดเพื่อตรวจสอบหรือเพื่อใช้ประกอบการพิจารณา 2. เข้าไปในพาหนะ อาคาร หรือสถานที่ใดๆ ในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและ พระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทําการของอาคารหรือสถานที่นั้น เพื่อตรวจสอบหรือควบคุมให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และหากยังดําเนินการไม่แล้วเสร็จ ในเวลาดังกล่าวให้สามารถดําเนินการต่อไปได้จนกว่าจะแล้วเสร็จ * การดำเนินการตาม 2. ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดี กรมควบคุมโรคประกาศกำหนด
51
อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อและ เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อประจำด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ มาตรา ๔๖ ให้มีเครื่องแบบ เครื่องหมาย และบัตรประจําตัวสําหรับเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เพื่อแสดงตัวขณะปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่เกี่ยวข้อง มาตรา ๔๗ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
52
บทกำหนดโทษ
53
บทกำหนดโทษ มาตรา บทบัญญัติ ระวางโทษ ๔๙
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของคณะกรรมการ คณะกรรมการด้านวิชาการ หรือคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๑๘ หรือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ตามมาตรา ๒๒ (๖) หรือคําสั่งของคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๒๘ (๖) หรือคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๔๕ (๑) จำคุกไม่เกิน ๑ เดือน ปรับไม่เกิน ๑๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 50 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้งตามมาตรา ๓๑ ปรับไม่เกิน 2๐,๐๐๐ บาท ๕๑ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๔ (๑) (๒) (๕) หรือ (๖) มาตรา ๓๙ (๑) (๒) (๓) หรือ (๕) มาตรา ๔๐ (๕) หรือไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๙ (๔) ปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ๕๒ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๓๔ (๓) (๔) (๗) หรือ (๘) หรือมาตรา ๔๐ (๓) หรือ (๔) หรือผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา ๓๕ จำคุกไม่เกิน ๑ ปี ปรับไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
54
บทกำหนดโทษ มาตรา บทบัญญัติ ระวางโทษ ๕๓
ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๓๘ ปรับไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ๕๔ เจ้าของพาหนะหรือผู้ควบคุมพาหนะผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานควบคุม โรคติดต่อตามมาตรา ๔๐ (๒) จำคุกไม่เกิน ๒ ปี ปรับไม่เกิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ๕๕ ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ตามมาตรา ๔๕ วรรคสาม 56 ผู้ใดไม่มีสิทธิที่จะสวมเครื่องแบบหรือประดับเครื่องหมายของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามมาตรา ๔๖ กระทําการเช่นนั้นเพื่อให้บุคคลอื่นเชื่อว่าตนมีสิทธิ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
55
Value Chain ของกระบวนการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558
ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ Quality/Value ประ ชา ชน ลดเสี่ยง ลดโรค ลดตาย Target Group กลุ่มเสี่ยง กลุ่มวัย พื้นที่กลุ่ม เป้าหมาย กลุ่มโรค คณะกรรมการ โรคติดต่อแห่งชาติ หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ/จพง.ควบคุมโรคติดต่อ - ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน สอบสวนโรค และควบคุมโรคในพื้นที่ - รายงานข้อมูลหรือหลักฐานว่ามีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้อง เฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่ เฝ้าระวัง รัฐมนตรี - กำหนดนโยบาย ระบบ แนวทาง ปฏิบัติ และแผนปฏิบัติการ - ให้คำปรึกษา คำแนะนำ รวมถึงติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน - ให้คำแนะนำรัฐมนตรีในการประกาศ โรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้อง เฝ้าระวัง รวมถึงด่านควบคุมโรคติดต่อ แต่งตั้งคณะกรรมการด้านวิชาการ - ออกกฎกระทรวง/ประกาศ/ระเบียบ ประกาศโรคติดต่ออันตราย/ โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง เขตติดโรค (ต่างประเทศ) แต่งตั้งจพง.ควบคุมโรคติดต่อ ตั้งด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่าง ประเทศ ป้องกัน คณะทำงานประจำช่องทางเข้าออก/จพง.ควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ จัดทำแผนปฏิบัติการช่องทางเข้าออก แผนเตรียมความพร้อมรับ สถานการณ์ฉุกเฉิน และแผนติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ภัยระดับ 1 ภัยระดับ 1 ควบ คุม หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ/จพง.ควบคุมโรคติดต่อ - ดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุม และสอบสวนโรคติดต่อใน พื้นที่ คทง.ประจำช่องทางเข้าออก/จพง.ควบคุมโรคติดต่อประจำด่านฯ จัดทำแผนปฏิบัติการช่องทางเข้าออก แผนเตรียมความพร้อมรับ สถานการณ์ฉุกเฉิน และแผนติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ คณะกรรมการ ด้านวิชาการ กรมควบคุมโรค - สำนักงานเลขานุการคกก.โรคติดต่อ แห่งชาติ/คกก.วิชาการ หน่วยงานกลางด้านโรคติดต่อและ ศูนย์ข้อมูลโรคติดต่อของประเทศ ประสานการปฏิบัติการและติดตาม ประเมินผล ประกาศโรคระบาดในประเทศ ภัยระดับ ๒ - ให้คำแนะนำรัฐมนตรีในการประกาศ เขตติดโรค (ต่างประเทศ) - ให้คำแนะนำอธิบดีในการประกาศ โรคระบาด (ในประเทศ) คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. ดำเนินการตามนโยบาย ระบบ แนวทางปฏิบัติ และแผนปฏิบัติการที่คกก. โรคติดต่อแห่งชาติกำหนด จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่อประจำจังหวัด สนับสนุน ติดตาม ประเมินผลการทำงานของหน่วยงานภายในจังหวัด จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อทุกอำเภอ/เขต 1 2
56
อนุบัญญัติที่ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
อนุบัญญัติที่ออกตามความใน พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
57
อนุบัญญัติที่ได้มีผลใช้บังคับแล้ว
1. ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 26 พ.ค. 2559 2. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้ง วาระการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 26 พ.ค. 2559 3. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 26 พ.ค. 2559 4. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 4 มิ.ย. 2559 5. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 4 มิ.ย. 2559 6. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ วันที่มีผลใช้บังคับ : 4 มิ.ย. 2559 7. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ วันที่มีผลใช้บังคับ : 6 ม.ค. 2560 8. ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการ ควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2560 วันที่มีผลใช้บังคับ : 8 ก.พ. 2560
58
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 และมาตรา 27
ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้ง วาระ การดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 21 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕58
59
ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้ง วาระ การดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559 ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี ระยะเวลาการแต่งตั้ง ต้องแต่งตั้งให้แล้วเสร็จภายใน ๖๐ วัน นับแต่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ (วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙) การพิจารณา ผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ ในด้านการสาธารณสุข การควบคุมโรค หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ ต่อการเฝ้าระวัง การป้องกัน หรือการควบคุมโรคติดต่อ วาระการดำรงตำแหน่ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับ การแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้
60
ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการแต่งตั้ง วาระ การดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559 วาระการดำรงตำแหน่ง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี กรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับ การแต่งตั้งอีกได้ แต่จะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินสองวาระไม่ได้ เว้นแต่ 1. จังหวัดใดมีอำเภอไม่เกิน 3 อำเภอหรือจังหวัดใดที่มีโรงพยาบาลศูนย์หรือ โรงพยาบาลทั่วไปเพียงหนึ่งแห่ง หรือมีโรงพยาบาลชุมชนไม่เกิน 3 แห่ง 2. จังหวัดใดมีโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นนอกจากโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐตามมาตรา ๒๐ (๔) ไม่เกิน 3 แห่งและผู้อำนวยการโรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐแห่งอื่นดังกล่าวได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการโรคติดต่อจังหวัดทั้งหมด การแต่งตั้งกรรมการแทน - หากพ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ให้แต่งตั้งกรรมการแทนกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งดังกล่าวภายใน 30 วันนับแต่วันที่พ้นจากตำแหน่ง - โดยให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน เว้นแต่เหลืออยู่ไม่ถึง 90 วัน จะไม่แต่งตั้งกรรมการแทนก็ได้ และให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่
61
ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์ การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2559 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๒๑ ง ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕58
62
ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2559
ผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แล้วแต่กรณี วิธีการแต่งตั้ง ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด /สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เสนอชื่อผู้ที่สมควรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ คุณสมบัติ ต้องผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรระบาดวิทยา หรือการเฝ้าระวัง การป้องกัน หรือ การควบคุมโรคติดต่อ ที่กรมควบคุมโรคกำหนดหรือที่กรมควบคุมโรครับรอง การแต่งตั้งทดแทน ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหรือสำนักอนามัย กรุงเทพมหานครดำเนินการตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้ เพื่อให้มีการแต่งตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ภายใน ๓๐ วันนับจากวันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง
63
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕58 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๒ โรค
64
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙
กาฬโรค (Plague) ไข้ทรพิษ (Smallpox) ไข้เหลือง (Yellow fever) โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS) โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus disease - EVD) โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome - MERS)
65
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ. ๒๕๕๙
โรคติดเชื้อไวรัสมาร์บวร์ก (Marburg virus disease) โรคติดเชื้อไวรัสเฮนดรา (Handra virus disease) โรคติดเชื้อไวรัสนิปาห์ (Nipah virus disease) โรคไข้ลาสซา (Lassa fever) ไข้เลือดออกไครเมียนคองโก (Crimean - Congo hemorrhagic fever) ไข้เวสต์ไนล์ (West Nile Fever)
66
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. ๒๕๕๙
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ (๑) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕58 โดยมีจำนวนทั้งสิ้น ๕๗ โรค
67
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. ๒๕๕๙
กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง (Lymphogranuloma Venereum หรือ Granuloma Inguinale) ไข้กาฬหลังแอ่น (Meningococcal meningitis) ไข้ดำแดง (Scarlet fever) ไข้เด็งกี่ (Dengue Fever) ไข้ปวดข้อยุงลาย (Chikungunya fever) ไข้มาลาเรีย (Malaria) ไข้ไม่ทราบสาเหตุ (Pyrexia of Unknown origin/Fever of Unknown Origin/Fever caused) ไข้สมองอักเสบชนิดญี่ปุ่น (Japanese Encephalitis) ไข้สมองอักเสบไม่ระบุเชื้อสาเหตุ (Unspecified encephalitis) ไข้หวัดนก (Avian Influenza) ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ไข้หัด (Measles) ไข้หัดเยอรมัน (Rubella) ไข้เอนเทอริค (Enteric fever) ไข้เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) คอตีบ (Diphtheria) คางทูม (Mumps)
68
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. ๒๕๕๙
ซิฟิลิส (Synphilis) บาดทะยัก (Tetanus) โปลิโอ (Poliomyelitis) แผลริมอ่อน (Cancroid) พยาธิทริคิเนลลา (Trichinosis) พยาธิทริโคโมแนสของระบบสืบพันธุ์และทางเดินปัสสาวะ (Vaginal Trichomoniasis) เมลิออยโดสิส (Melioidosis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากพยาธิ (Eosinophilic meningitis) เยื่อหุ้มสมองอักเสบไม่ระบุเชื้อสาเหตุ (Unspecified meningitis) เริมของอวัยวะสืบพันธุ์และทวารหนัก (Anogenital Herpes) โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส ชนิด เอ บี ซี ดี และ อี (Viral hepatitis A, B, C, D and E) โรคตาแดงจากไวรัส (Viral conjunctivitis) โรคติดเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus disease)
69
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. ๒๕๕๙
โรคติดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสซูอิส (Streptococcus suis) โรคเท้าช้าง (Elephantiasis Lymphatic Filariais) โรคบรูเซลโลสิส (Brucellosis) โรคบิด (Dysentery) โรคปอดอักเสบ (Pneumonitis หรือ Pneumonia) โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth disease) โรคเรื้อน (Leprosy) โรคลิซมาเนีย (Leishmaniasis) โรคเลปโตสไปโรสิส (Leptospirosis) โรคสครับไทฟัส (Scrub typhus) โรคสุกใส หรืออีสุกอีใส (Varicella, Chickenpox) โรคอัมพาตกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลัน (Acute Flaccid Paralysis : AFP) โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea) โรคเอดส์ (Acquired Immunodeficiency Syndrome : AIDS)
70
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง พ.ศ. ๒๕๕๙
โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) โลนที่อวัยวะเพศ (Pediculosis Pubis) วัณโรค (Tuberculosis) ไวรัสตับอักเสบไม่ระบุเชื้อสาเหตุ (Hepatitis) หนองใน (Gonorrhea) หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis : NGU) หูดข้าวสุก (Genital Molluscum Contagiosum) หูดอวัยวะเพศและทวารหนัก (Condyloma Acuminata หรือ Venereal Warts) อหิวาตกโรค (Cholera) อาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (Adverse Event Following Immunization : AEFI) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไอกรน (Pertussis)
71
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ. ศ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๓ มิถุนายน ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๒๘ ง ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๙ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ (๒) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕58 ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น ๖๘ ด่าน
72
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ. ศ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลำดับ ประเภท ชื่อด่าน จังหวัด 1 ท่าอากาศยาน กระบี่ 2 ท่าเรือ 3 กรุงเทพฯ 4 ดอนเมือง 5 พรมแดน สังขละบุรี (เจดีย์สามองค์) กาญจนบุรี 6 บ้านพุน้ำร้อน 7 บ้านผักกาด จันทบุรี 8 บ้านแหลม 9 เกาะสีชัง ชลบุรี 10 ศรีราชา 11 สัตหีบ 12 แหลมฉบัง 13 เชียงแสน เชียงราย 14 แม่ฟ้าหลวงเชียงราย 15 แม่สาย ลำดับ ประเภท ชื่อด่าน จังหวัด 16 พรมแดน สะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ) เชียงราย 17 ท่าอากาศยาน เชียงใหม่ 18 ท่าเรือ กันตัง ตรัง 19 บ้านหาดเล็ก ตราด 20 แม่สอด ตาก 21 22 ท่าเทียบเรือเทศบาลเมืองนครพนม นครพนม 23 สะพานมิตรภาพ 3 (นครพนม) 24 นครศรีธรรมราช 25 นราธิวาส 26 ตากใบ 27 บูเก๊ะตา 28 สุไหงโก-ลก 29 ห้วยโก๋น น่าน 30 บึงกาฬ
73
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ. ศ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลำดับ ประเภท ชื่อด่าน จังหวัด 31 ท่าอากาศยาน หัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ 32 ท่าเรือ ประจวบคีรีขันธ์ (บางสะพาน) 33 พรมแดน สิงขร 34 ปัตตานี 35 พิษณุโลก 36 ภูเก็ต 37 38 ท่าเทียบเรือเทศบาลเมืองมุกดาหาร มุกดาหาร 39 สะพานมิตรภาพ 2 (มุกดาหาร) 40 เบตง ยะลา 41 ระนอง 42 อู่ตะเภา ระยอง 43 มาบตาพุด 44 เชียงคาน เลย 45 ท่าลี่ ลำดับ ประเภท ชื่อด่าน จังหวัด 46 พรมแดน ช่องสะงำ ศรีสะเกษ 47 ท่าอากาศยาน หาดใหญ่ สงขลา 48 ท่าเรือ 49 บ้านประกอบ 50 ปาดังเบซาร์ 51 สะเดา 52 ตำมะลัง สตูล 53 ควนโดน 54 สุวรรณภูมิ สมุทรปราการ 55 บ้านคลองลึก สระแก้ว 56 สุโขทัย 57 สมุย สุราษฎร์ธานี 58 59 เกาะสมุย 60
74
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ. ศ
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๕๙ ลำดับ ประเภท ชื่อด่าน จังหวัด 61 พรมแดน กาบเชิง สุรินทร์ 62 ท่าเรือวัดหายโศก หนองคาย 63 สะพานมิตรภาพ 1 (หนองคาย) 64 สถานีรถไฟหนองคาย 65 บ้านภูดู่ อุตรดิตถ์ 66 ท่าอากาศยาน อุดรธานี 67 อุบลราชธานี 68 ช่องเม็ก
75
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘
ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕60 เล่ม ๑๓4 ตอนพิเศษ 3 ง ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 6 มกราคม ๒๕60 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕58
76
1. ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [ มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร ]
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ 1. ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [ มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร ] ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข สาธารณสุขนิเทศก์ 1.2 กรมควบคุมโรค 1 อธิบดีกรมควบคุมโรค 2 รองอธิบดีกรมควบคุมโรค 3 ผู้อํานวยการสถาบันบําราศนราดูร 4 ผู้อํานวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง 5 ผู้อํานวยการสถาบันราชประชาสมาสัย 6 ผู้อํานวยการสํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ ๑ - ๑๒ 7 ผู้อํานวยการสํานักระบาดวิทยา 8 ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่อทั่วไป 9 ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่อนําโดยแมลง 10 ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ 11 ผู้อํานวยการสํานักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์ 12 ผู้อํานวยการสํานักวัณโรค 13 ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่อนําโดยแมลง 14 ผู้อํานวยการสํานักโรคติดต่ออุบัติใหม่ 15 ผู้อํานวยการสํานักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อ 16 ผู้อํานวยการสํานักวัณโรค 17 ข้าราชการสังกัดสํานักระบาดวิทยาหรือข้าราชการที่ ได้รับมอบหมายให้ไปช่วยราชการหรือปฏิบัติราชการ ในสํานักระบาดวิทยา ซึ่งดํารงตาแหน่งต่อไปนี้ 17.1 นายแพทย์ ระดับชํานาญการพิเศษขึ้นไป 17.2 นายสัตวแพทย์ ระดับชํานาญการพิเศษขึ้นไป 17.3 นักวิชาการสาธารณสุข ระดับชํานาญการพิเศษ ขึ้นไป
77
ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ต่อ)
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ต่อ) [ มีอำนาจทั่วราชอาณาจักร ] 1.2 กรมการแพทย์ 1 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 2 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลราชวิถี 3 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลเลิดสิน 4 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลสงฆ์ 5 ผู้อํานวยการสถาบันประสาทวิทยาแห่งชาติ 6 ผู้อํานวยการสถาบันพยาธิวิทยา 7 ผู้อํานวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ 8 ผู้อํานวยการสถาบันโรคผิวหนัง 9 ผู้อํานวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชิน 2. ข้าราชการสังกัดกระทรวงสาธารณสุข [ มีอำนาจเฉพาะในเขตเฉพาะในเขตท้องที่ที่ตนมีอำนาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ] 1 นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด 2 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลศูนย์ 3 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลทั่วไป 4 ผู้อํานวยการโรงพยาบาลชุมชน 5 สาธารณสุขอําเภอหรือสาธารณสุขกิ่งอําเภอ 6 ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการ ณ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ซึ่งดํารงตําแหน่งต่อไปนี้ 6.1 นายแพทย์ ระดับปฏิบัติการขึ้นไป 6.2 นายสัตวแพทย์ ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ๖.๓ นักวิชาการสาธารณสุข ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ๖.๔ พยาบาลวิชาชีพ ระดับปฏิบัติการขึ้นไป ๖.๕ เจ้าพนักงานสาธารณสุข ระดับปฏิบัติงานขึ้นไป ๖.๖ เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระดับปฏิบัติงานขึ้นไป
78
3. ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย 4. ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร
ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ 3. ข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย [ มีอำนาจเฉพาะในเขตเฉพาะในเขตท้องที่ที่ตนมีอำนาจหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ ] ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ 4. ข้าราชการสังกัดกรุงเทพมหานคร 1 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 ปลัดกรุงเทพมหานคร 3 ผู้อํานวยการสํานักการแพทย์ 4 รองผู้อํานวยการสํานักการแพทย์ 5 ผู้อํานวยการสํานักอนามัย 6 รองผู้อํานวยการสํานักอนามัย 7 ผู้อํานวยการกองควบคุมโรคติดต่อ สังกัดสํานักอนามัย 8 หัวหน้ากลุ่มงานระบาดวิทยา กองควบคุมโรคติดต่อ สังกัดสํานักอนามัย 9 ผู้อํานวยการศูนย์บริการสาธารณสุข สังกัดสํานักอนามัย
79
ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ๒๕60 เล่ม ๑๓4 ตอนพิเศษ 39 ง ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ๒๕60 อาศัยอำนาจตามความในข้อ ๔ แห่งประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๙
80
หลักสูตรที่กรมควบคุมโรคกำหนด
ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ หลักสูตรที่กรมควบคุมโรคกำหนด หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการ ควบคุมโรคติดต่อที่กรมควบคุมโรคกำหนด หมายถึง หลักสูตรการฝึกอบรมเฉพาะที่กรมควบคุมโรค เป็นผู้จัดการฝึกอบรม อันได้แก่หลักสูตรหนึ่งหลักสูตรใด ดังต่อไปนี้ (๑) วุฒิบัตรหรืออนุมัติบัตรเวชศาสตร์ป้องกัน แขนงระบาดวิทยา (๒) หลักสูตรระบาดวิทยาภาคสนาม (Field Epidemiology Training Program (FETP)) (๓) หลักสูตรระบาดวิทยาภาคสนาม สำหรับแพทย์หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก (๔) หลักสูตรระบาดวิทยาและการจัดการทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว สำหรับแพทย์ หัวหน้าทีมและผู้สอบสวนหลัก (Field Epidemiology and Management Training (FEMT)) (๕) หลักสูตรนักวิชาการสาธารณสุข ด้านระบาดวิทยาภาคสนาม
81
หลักสูตรที่กรมควบคุมโรครับรอง
ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ หลักสูตรที่กรมควบคุมโรครับรอง หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อที่กรมควบคุมโรครับรอง หมายถึง - หลักสูตรการฝึกอบรมที่กรมควบคุมโรคเป็นผู้จัดการฝึกอบรม หรือ - หลักสูตรการฝึกอบรมที่สถาบันอุดมศึกษา ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรพัฒนา เอกชน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่มิใช่เป็นการแสวงหาผลกำไรและดำเนินกิจกรรมด้านการสาธารณสุข เป็น ผู้จัดการฝึกอบรม โดยกรมควบคุมโรคเป็นผู้ให้การรับรอง ***หน่วยงานที่จะจัดการอบรมต้องส่งร่าง หลักสูตรการฝึกอบรมมายังกรมควบคุมโรคเพื่อพิจารณาและให้การรับรองก่อน จึงจะสามารถ จัดการฝึกอบรมหลักสูตรนั้นได้
82
หลักสูตรที่กรมควบคุมรับรอง (ต่อ)
ประกาศกรมควบคุมโรค เรื่อง หลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๖๐ หลักสูตรที่กรมควบคุมรับรอง (ต่อ) อันได้แก่หลักสูตรหนึ่งหลักสูตรใด ดังต่อไปนี้ (๑) หลักสูตรระบาดวิทยาการประเมินความเสี่ยงและการควบคุมโรคและภัยสุขภาพ สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดน ๕ จังหวัดต้นแบบ ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า ๑๒๐ ชั่วโมง (๒) หลักสูตรระบาดวิทยาและการจัดการสำหรับหัวหน้ากลุ่มงานควบคุมโรคของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (๓) หลักสูตรระบาดวิทยาเร่งด่วน สำหรับหัวหน้าทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (๔) หลักสูตรระบาดวิทยาที่มีการบรรยายและฝึกปฏิบัติด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมโรค และการเก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระยะเวลาไม่ต่ำกว่า ๒๐ ชั่วโมง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.