ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ภาษีธุรกิจเฉพาะ (SBT )
2
ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91) เป็นภาษีทางอ้อม ที่จัดเก็บแทนภาษีการค้า (เริ่มบังคับใช้ 1 ม.ค พร้อมกับภาษีมูลค่าเพิ่ม) เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการบริโภคและการประกอบกิจการ เฉพาะอย่าง เนื่องจากกิจการบางประเภทถ้าใช้ระบบ ภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วอาจจะจัดเก็บได้ไม่เหมาะสมหรือไม่มี ประสิทธิภาพพอ กิจการที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อีก
3
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
ต้องมี 3 องค์ประกอบ 1. บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือ นิติบุคคล บริษัท สมาคม องค์การ ต่างๆ 2. ประกอบกิจการในราชอาณาจักร 3. ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
4
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2)
ธนาคาร ให้กู้ยืม ค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ซื้อขายตั๋วเงิน การประกอบธุรกรรมเยี่ยงธนาคาร
5
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2)
การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ (ตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์) ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ (การให้กู้ยืมเงินโดยวิธีรับจํานอง อสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าปกติ)
6
ฐานภาษีและอัตราภาษี (ม.91/5-91/6)
กิจการ ฐานภาษี ร้อยละ กิจการธนาคาร ธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์ เครดิตฟองซิเอร์ และธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ - ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ กำไรก่อนหักรายจ่ายจากการซื้อ-ขายตั๋วเงินแสดงสิทธิในหนี้ใดๆ - กำไรก่อนหักรายจ่ายจากการแลกเปลี่ยนเงิน การออกตั๋วหรือส่งเงินไปต่างประเทศ 3.0
7
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2)
3. การรับประกันชีวิต (ตามกฏหมายว่าด้วยการประกันชีวิต)
8
กิจการ ฐานภาษี ร้อยละ กิจการรับประกันชีวิต รายรับจากดอกเบี้ย รายรับค่าธรรมเนียม รายได้จากค่าบริการ 2.5
9
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2)
การรับจำนำ ตามกฏหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
10
กิจการ ฐานภาษี อัตราร้อยละ กิจการโรงรับจำนำ - ดอกเบี้ย - ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ - เงินหรือสินทรัพย์ที่ได้จากการขายของหลุดจำนำ 2.5
11
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2)
กิจการที่มีการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคาร พาณิชย์ หรือมีรายรับจากการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น ให้กู้ยืมเงิน ค้ำประกัน ขายตั๋วเงิน
12
ฐานภาษีและอัตราภาษี (ม.91/5-91/6)
กิจการ ฐานภาษี ร้อยละ ธุรกิจเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ - ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ กำไรก่อนหักรายจ่ายจากการซื้อ-ขายตั๋วเงินแสดงสิทธิในหนี้ใดๆ - กำไรก่อนหักรายจ่ายจากการแลกเปลี่ยนเงิน การออกตั๋วหรือส่งเงินไปต่างประเทศ 3.0
13
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2)
6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นการค้าหรือหากำไร อสังหาริมทรัพย์ หมายถึง ที่ดิน ทรัพย์อันติดกับที่ดิน หรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน รวมทั้งสิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรที่ผู้ขายกระทำเป็นปกติธุรกิจ ผู้ขายต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ (ตามแบบ ภธ. 01) ภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ (วันที่มีรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์)
14
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะในการทำกำไร
ได้แก่ 1 ) การจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อย จำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป โดยให้คำมั่นหรือการ แสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภค หรือบริการสาธารณะ หรือปรับปรุงที่ดินนั้นให้เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่ประกอบการพาณิชย์ หรือที่ประกอบการอุตสาหกรรม เช่น บริษัทซื้อที่ดินมาแปลงใหญ่ พื้นที่ 4 ไร่ แล้วมาแบ่งออกเป็น 20 แปลงย่อย เรียกว่าเป็นการจัดสรรที่ดิน อสังหาริมทรัพย์เพื่อค้าในทางกำไร
15
3) การขายอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขาย
2) การขายอาคารชุดโดยเจ้าของ โครงการ ซึ่งต้องจดทะเบียนเป็น อาคารชุดตามกฎหมายอาคารชุด 3) การขายอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขาย เช่น การขายบ้าน ทาวน์เฮ้าส์ อาคาร พาณิชย์ อาคารสำนักงาน ซึ่งปลูก สร้างเพื่อขาย โดยผู้ขายต้องนำมูลค่าขายที่ดินอันเป็นที่ตั้งอาคารดังกล่าวมารวมเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการแบ่งแยกหรือไม่ก็ตาม
16
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2)
การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถือครองมาเกิน 5 ปี การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีชื่อในทะเบียนบ้าน เป็นผู้อยู่อาศัย เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี การขายหรือถูกเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก
17
กิจการ ฐานภาษี อัตราภาษี ร้อยละ การค้าอสังหาริมทรัพย์ - รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ - ราคาซื้อขายจริง /ราคาประเมิน แล้วแต่ราคาใดสูงกว่า (กรณีผู้ขายเป็นนิติบุคคล) 3
18
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2)
7. การขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบัน ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามพระราชกฤษฎีกา
19
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2)
8. กิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ (REPO : Repurchase agreement) REPO คือ ธุรกรรมซื้อคืน หรือการประกอบธุรกิจซื้อหรือขายคืนหลักทรัพย์ โดยมีตราสารหนี้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมีสัญญาซื้อหรือขายคืน ตัวอย่าง ในวันที่ 1 ตุลาคม 2549 บริษัท A ตกลงให้บริษัท B กู้เงิน จำนวน 200,000 บาท โดยที่บริษัท B นำพันธบัตรรัฐบาลมาเป็นหลักประกัน และสัญญาจะคืนเงินจำนวนนี้พร้อมกับดอกเบี้ยอีก 10 % ในอีก 45 วันข้างหน้า ดังนั้น บริษัท A จะต้องคืนเงินให้กับบริษัท B ในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2549 เป็นจำนวนเงิน 202, บาท (ดอกเบี้ย = 2, บาท)
20
กิจการ ฐานภาษี อัตราภาษี ร้อยละ 0.1 (ยกเว้น) 3.0
การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ - รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ 0.1 (ยกเว้น) การซื้อ ขาย คืนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากคณะอนุกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) - กำไรก่อนหักรายจ่าย (แต่ไม่รวมถึง ดอกเบี้ย เงินปันผลหรือประโยชน์ใด ๆ ที่ได้จากหลักทรัพย์) 3.0 **** อัตรานี้ยังไม่ได้รวมภาษีเพื่อท้องถิ่นอีก 10% ของภาษีธุรกิจเฉพาะ ตัวอย่างเช่น กิจการโรงรับจำนำต้องเสียภาษีรวม 2.5%+0.25%=2.75%
21
กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/2)
7. การขายหลักทรัพย์ (ปัจจุบันยกเว้น) 9. การประกอบกิจการอื่น เช่น ธุรกิจแฟ็กเตอริ่ง(ธุรกิจรับซื้อ บัญชีลูกหนี้การค้า) , ธุรกิจบัตรเครดิต
22
กิจการ ฐานภาษี อัตราภาษี ร้อยละ 3.0
ธุรกิจ Factoring - ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียมหรือค่าบริการ 3.0 ธุรกิจ บัตรเครดิต - ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม (ค่าบริการ (เสีย vat)) **** อัตรานี้ยังไม่ได้รวมภาษีเพื่อท้องถิ่นอีก 10% ของภาษีธุรกิจเฉพาะ ตัวอย่างเช่น กิจการโรงรับจำนำต้องเสียภาษีรวม 2.5%+0.25%=2.75%
23
การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/3)
กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
24
การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/3)
กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์ เฉพาะ การกู้ยืมเงิน กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
25
การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ม.91/3)
กิจการของการเคหะแห่งชาติ (เฉพาะการขาย – เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์) กิจการรับจำนำของรัฐบาล กระทรวง ทบวง ก.ท.ม. เทศบาล กิจการอื่นที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) EXIM BANK ปสย. สปส. ฯลฯ
26
รายรับที่ไม่ต้องนำไปคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ
รายรับจากการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ BIBF (ให้บริการกู้ยืมเงินระหว่างประเทศ) รายรับจากการประกอบกิจการเยี่ยงธนาคาร กรณี -การให้บริษัทในเครือกู้ยืมเงินกันเอง -ดอกเบี้ยที่เกิดจากเงินกองทุนสะสมพนักงาน ฯลฯ
27
การจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
ผู้ที่ประกอบกิจการดังกล่าวข้างต้นต้องยื่นคำขอ จดทะเบียน (แบบ ภธ.01) ภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่เริ่มประกอบกิจการ ใน ก.ท.ม. หรือ ณ สำนักงานภาษีสรรพากรพื้นที่ (สพท.),ในต่างจังหวัด ณ ที่ว่าการอำเภอหรือ สำนักงานสรรพากรจังหวัด
28
การยื่นเสียแบบและขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ
การยื่นแบบ และการชำระภาษี (แบบ ภธ.40) การขอคืนภาษี ภายใน 3 ปี นับแต่วันพ้นกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษี การจัดทำรายการแสดงรายรับ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีSBT มีหน้าที่ทำรายงานแสดงรายรับก่อนหัก รายจ่ายที่ต้องเสียภาษี และรายรับที่ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี (ลงรายการในรายงานภายใน 3 วันทำการนับแต่วันที่มีรายรับ) ยื่นแบบภธ.40 ภายใน วันที่ 15 ของเดือนถัดไป
30
การคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ = ฐานภาษี x อัตราภาษี
ภาษีธุรกิจเฉพาะกิจการธนาคาร รายรับจากดอกเบี้ย รายได้ค่าธรรมเนียม รายได้ค่าบริการ x อัตราภาษี 3%
31
การคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีธุรกิจเฉพาะ = ฐานภาษี x อัตราภาษี
ภาษีธุรกิจเฉพาะกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ รายรับจากการขายบ้าน รายรับจากการขายทาวน์เฮ้าส์ รายรับจากการขายที่ดิน x อัตราภาษี 3%
32
ตัวอย่าง บริษัท ตะวันแลนด์ ประกอบธุรกิจขายบ้านจัดสรรพร้อมที่ดิน ได้ขายบ้านไป 3 หลัง ราคาหลังละ 2,500,000 บาท บริษัทจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเท่าใด
33
ตัวอย่าง บริษัท Sunny Land and House ประกอบธุรกิจขายบ้านจัดสรรพร้อมที่ดิน ได้ขายบ้านไป 3 หลัง ราคาหลังละ 2,500,000 บาท บริษัทจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะเท่าใด วิธีคำนวณ 1) รายรับจากการขาย 7,500,000 (2,500,000 x 3 หลัง) อัตราภาษี SBT 3% ภาษี SBT 225,000 บริษัทต้องเสียภาษีท้องถิ่นอีก 10% จากภาษีธุรกิจเฉพาะ = 10% x 225, = 22,500 บาท
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.