ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยAygül Ceren Dursun ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
เรื่อง ผักเสี้ยนผี ชื่อผู้จัดทำ โรงเรียน อำเภอ จังหวัด
2
สารสำคัญ ผักเสี้ยนผี เป็นพืชล้มลุกที่มีทั่วไปตามท้องถิ่น มีประโยชน์ทางสมุนไพร ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากผักเสี้ยนผีอย่างหลากหลายแต่นับวันคุณประโยชน์จากผักเสี้ยนผีจะจางหาย คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักและมองข้ามประโยชน์ของผักเสี้ยนผี ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาข้อมูลผักเสี้ยนผี เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าและเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านให้สืบทอดต่อๆไป
3
วัตถุประสงค์ ผักเสี้ยนผี
๑. เพื่อศึกษาลักษณะโครงสร้างภายนอกและภายในของผักเสี้ยนผี ๒. เพื่อรวบรวมข้อมูลการใช้ประโยชน์ของผักเสี้ยนผี ในทางสมุนไพร ๓. เพื่อให้นักเรียนและประชาชนในท้องถิ่นได้ทราบและตระหนักถึง ความสำคัญของผักเสี้ยนผี ๔. เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และการขยายพันธุ์ผักเสี้ยนผี ๕. เพื่อกระตุ้นและปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณให้กับนักเรียน และชุมชนในท้องถิ่น
4
ข สารบัญ สาระสำคัญ 2 ป้ายพรรณไม้สมบูรณ์ 7 ประโยชน์ 8 ลักษณะวิสัย 9 การศึกษา 10 ราก 11 ลำต้น 16 ใบ 19 หนังสืออ้างอิง 22 ประวัติผู้จัดทำ 23
5
ผักเสี้ยนผี พืชศึกษา
6
ผักเสี้ยนผี ป้ายพรรณไม้สมบูรณ์
ชื่อพื้นเมือง ผักเสี้ยนผี (ภาคกลาง), ส้มเสี้ยนผี (ภาคเหนือ), ส้มเสี้ยนตัวเมีย,ไปนิพพานไม่กลับ ชื่อวิทยาศาสตร์ Cleome viscosa Linn. ชื่อวงศ์ CAPPARIDACEAE ชื่อสามัญ Polanisia Vicosa , Wild spider
7
ผักเสี้ยนผี ประโยชน์ แก้วัณโรค แก้ปวดหลัง ฆ่าเชื้อโรค ฆ่าพยาธิ กระตุ้นหัวใจ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน โรคผิวหนัง โรคไขข้ออักเสบ บรรเทาอาการจุกเสียด โรคบิด แก้ปวดศีรษะเรื้อรัง แก้หูอักเสบ ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคผอมแห้งของสตรีเนื่องจาก คลอดบุตรและอยู่ไฟไม่ได้ ขับหนองในร่างกาย แก้ฝีปอดในลำไส้ ในตับ
8
ผักเสี้ยนผี ลักษณะวิสัย
วิสัย เป็นไม้ล้มลุกอายุ 1 ปี ลำต้นตั้งตรงเอนได้ สูง ๑ – ๑.๓ ม. ผิวขรุขระ มีขนสีขาวและมีกลิ่นฉุน ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือเรียงสลับใบย่อย ๓ – ๕ ใบ ดอกช่อกระจุกมีสีเหลืงไม่มีกลิ่น กลีบดอกมี ๔ กลีบ มีรูปร่างเรียวแหลม มีเกสรอตัวผู้หลายตัวเกสรตัวเมีย๑ ตัว รังไข่อยู่เสมอฐานรองดอก ผลกลมเป็นฝักเรียวยาว คล้ายฝักถั่วเขียว เมล็ดกลมแบน ผิวเรียบ
9
ผักเสี้ยนผี การศึกษา ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด
10
ราก โครงสร้างภายนอก รากแก้ว รากฝอย รากแขนง รากขนอ่อน
11
ราก โครงสร้างภายใน ขนราก เอพิเดอร์มิส โฟลเอ็ม คอร์เท็กซ์ ไซเลม
เอนโดเดอร์มิส
12
ราก ลักษณะ 1. รากแก้ว เป็นรากที่งอกจากเมล็ด ส่วนรากมี
1. รากแก้ว เป็นรากที่งอกจากเมล็ด ส่วนรากมี ต้นกำเนิดลักษณะของโคนรากใหญ่แล้วค่อย ๆ เรียว เล็กลงไปทางปลายราก มีลักษณะแข็ง ขนาดใหญ่ เด่นชัด เจริญเติบโตไชลึกลงไปในดินความยาว 7 – 10 เซนติเมตร รากมีสีขาวขุ่น มีหน้าที่ ค้ำจุนลำต้นไม่ให้หักโค่นได้ง่าย
13
ราก ลักษณะ 2. รากแขนง เป็นรากใหม่ที่เกิดจากเพอริไซเคิลภายในรากแก้ว มีความยาว 4-7 เซนติเมตร รากแขนงมีสีขาวขุ่น 3. รากฝอย เป็นรากขนาดเล็กแตกออกมาจากรากแขนงและรากแก้ว มีความยาว ๒ – ๔ เซนติเมตร 4. รากขนอ่อน เจริญเติบโตออกมาจากรากแก้ว รากแขนง และรากฝอย มีความยาว ๐.๑ – ๑ เซนติเมตร รากขนอ่อนมีสีขาวขุ่น
14
ลำต้น โครงสร้างภายนอก ลำต้นตอนปลาย ลำต้นตอนกลาง ลำต้นตอนโคน
การเจริญเติบโตของลำต้นในระยะต่าง ๆ
15
ลำต้น โครงสร้างภายใน เอพิเดอร์มิส คอร์เท็กซ์ พิธ โฟลเอ็ม ไซเลม
16
ลำต้น ลักษณะ ลำต้น เป็นไม้ล้มลุก ตั้งตรงเหนือพื้นดิน สูง ๑ – ๑.๓ เมตร เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ร่วนปนทราย ลำต้นอ่อนมีสีเขียวอ่อน ลำต้นแก่สีเขียวเข้ม ผิวขรุขระ มีขนสีขาว ไม่มียาง ทุกส่วนของลำต้นมีกลิ่นฉุน เนื้อไม้มีสีขาว กิ่งแตกออกด้านข้างลำต้นเป็นพุ่ม
17
การเจริญเติบโตของใบในระยะต่าง ๆ
โครงสร้างภายนอก ก้านใบ การเจริญเติบโตของใบในระยะต่าง ๆ
18
ใบ โครงสร้างภายนอก โคนใบด้านซ้าย โคนใบด้านขวา กลางใบด้านขวา
ปลายใบด้านขวา กลางใบด้านซ้าย ปลายใบด้านซ้าย
19
อัพเพอร์ เอพิเดอร์มิส
ใบ โครงสร้างภายใน อัพเพอร์ เอพิเดอร์มิส คิวติเคิล โลเวอร์ เอพิเดอร์มิส เซลล์คุม แพลิเสดมีโซฟิลล์
20
ใบ ลักษณะ ใบ เป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ช่อหนึ่งมีใบย่อย ๓ – ๕ ใบ ใบจะมีสีเขียวอมเหลือง ลักษณะของขอบใบเป็นขอบขนาน ใบย่อยเป็นรูปไข่ โคนใบและปลายใบแหลม แผ่นใบบาง เนื้อใบบางนุ่ม ตามผิวใบจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุม มีกลิ่นฉุน กว้างประมาณ ๑ – ๓ เซนติเมตร ยาวประมาณ ๔ – ๗ เซนติเมตร ซึ่งใบกลางจะมีขนาดใหญ่กว่า
21
ดอก โครงสร้างภายนอก
22
ดอก ลักษณะ จะออกเป็นดอกช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อดอกยาวแหลมกลีบดอกสีเหลืองบางและเกลี้ยงที่ปลายดอกจะมีจงอยแหลมมีขนปกคลุมเล็กน้อย ดอกจะบานจะบานในวันเดียวคือตอนเช้า มีความยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร มีก้านดอกยาวประมาณ ๒.๕ – ๓ เซนติเมตร กลีบดอกมี ๔ กลีบ มีรูปร่างเรียวแหลม ก้านชูอับเรณูมีสีเหลือง อับเรณูมีดำ แต่มีเกสรตัวเมียเพียง ๑ ตัว
23
ผล โครงสร้างภายนอก
24
ผล ลักษณะ เมล็ด มีรูปร่างกลมแบน เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑ มิลลิเมตร ใน ๑ ผล มีเมล็ดอยู่ ประมาณ ๑๐๐ – ๒๐๐ เมล็ด ตามขนาดของผล ผิวเมล็ดเรียบ เมล็ดอ่อนมีสีเขียวอ่อน ส่วนเมล็ดแก่มีสีนำตาลเข้มปนดำ ไม่มีกลิ่น
25
เมล็ด โครงสร้าง/ลักษณะ
เมล็ด มีรูปร่างกลมแบน เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑ มิลลิเมตร ใน ๑ ผล มีเมล็ดอยู่ ประมาณ ๑๐๐ – ๒๐๐ เมล็ด ตามขนาดของผล ผิวเมล็ดเรียบ เมล็ดอ่อนมีสีเขียวอ่อน ส่วนเมล็ดแก่มีสีนำตาลเข้มปนดำ ไม่มีกลิ่น
26
ตัวอย่างพรรณไม้แห้งดอง
พรรณไม้ดองผักเสี้ยนผี พรรณไม้ดองผักเสี้ยนผี พรรณไม้แห้งผักเสี้ยนผี พรรณไม้แห้งผักเสี้ยนผี
27
ผลการศึกษา รายการที่ศึกษา ผลการวัด ( ซม.) ๑)ใบกว้างที่สุด ๓
๒)ใบแคบที่สุด ๑ ๓.)ความกว้างของใบที่พบมากที่สุด ๒ ๗.)ความกว้างของใบโดยเฉลี่ย ๑.๘๙ ๔.)ใบยาวที่สุด ๗ ๕.)ใบสั้นที่สุด ๔ ๖.)ความยาวของใบที่พบมากที่สุด ๕.๕ , ๕.๙ , ๖.๑ ๘.)ความยาวของใบโดยเฉลี่ย ๕.๘๖
28
เอกสารอ้างอิง - งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน งัวบาวิทยาคม
… เอกสารอ้างอิง - งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน งัวบาวิทยาคม - เว็บไซต์
29
ผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล นางสาวชมภูนุช บุญไชย ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย
… ผู้จัดทำ ชื่อ-สกุล นางสาวชมภูนุช บุญไชย ตำแหน่ง ครูผู้ช่วย หน่วยงาน โรงเรียนงัวบาวิทยาคม เบอร์โทรศัพท์
30
ผักเสี้ยนผี
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.