งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
ระดับเทคนิคขั้นสูง

2 (ฏ) การวิเคราะห์ลักษณะงานและการประยุกต์ใช้ความรู้ทางการยศาสตร์เพื่อปรับปรุงสภาพการทำงาน

3 เนื้อหาการอบรม การบ่งชี้ปัญหาการยศาสตร์
การวิเคราะห์และการประเมินด้านการยศาสตร์ การปรับปรุงสภาพการทำงานด้านการยศาสตร์ ตัวอย่างการวิเคราะห์และการประเมินปัจจัยเสี่ยง ด้านการยศาสตร์ มีประเด็นไหนที่อยากให้เน้นเป็นพิเศษมั้ย

4 วัตถุประสงค์ เมื่ออบรมหัวข้อวิชานี้แล้ว สามารถ
เมื่ออบรมหัวข้อวิชานี้แล้ว สามารถ อธิบายการบ่งชี้ปัญหาการยศาสตร์ได้ อธิบายการวิเคราะห์และประเมินด้านการยศาสตร์ได้ อธิบายการปรับปรุงสภาพการทำงานด้านการยศาสตร์ได้

5 การบ่งชี้ปัญหาการยศาสตร์
การค้นหาปัญหาการยศาสตร์ การบ่งชี้ปัญหาการยศาสตร์ในสถานที่ทำงาน ข้อบ่งชี้ปัญหาการยศาสตร์

6 การค้นหาปัญหาการยศาสตร์
1.1 เพื่อที่จะสืบค้นปัญหาที่เกิดจากความไม่เหมาะสมหรือความไม่สมดุลระหว่างผู้ปฏิบัติงานกับงานที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ ท่าทางการทำงาน ความหนักเบาของงาน การจัดช่วงเวลาทำงาน เวลาพัก ซึ่งปัญหานี้เรียกว่า “ปัญหาทางด้านการยศาสตร์” มีความสำคัญเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องและก่อให้เกิดผลกระทบไปยังปัญหาอื่นๆ ดังต่อไปนี้ ปัญหาด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน ปัญหาด้านผลผลิตและค่าใช้จ่ายของสถานประกอบกิจการ

7 แสดงผลกระทบของการปฏิบัติงานที่มีปัญหาด้านการยศาสตร์
อุบัติเหตุ การปฏิบัติงานที่มี ปัญหาการย ศาสตร์ อาการเมื่อยล้า / ปวดเมื่อย ความผิดพลาด ในการทำงาน ปัญหาผลผลิต และค่าใช้จ่าย การบาดเจ็บ และเจ็บป่วย แสดงผลกระทบของการปฏิบัติงานที่มีปัญหาด้านการยศาสตร์

8 การบ่งชี้ปัญหาการยศาสตร์ในสถานที่ทำงาน
1.2 วิธีการที่จะบ่งชี้ปัญหาการยศาสตร์ที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานมี 2 วิธี ได้แก่ วิธีที่ 1 โดยการประชุมของคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการยศาสตร์ที่พบเห็นได้ในสถานที่ทำงาน วิธีที่ 2 โดยการวิเคราะห์ข้อมูลการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน จากแบบแจ้งการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานเพื่อขอรับเงินทดแทน

9 ข้อบ่งชี้ปัญหาการยศาสตร์
1.3 มีแนวโน้มของการเกิดการประสบอันตรายเนื่องจากการ ทำงานสูง มีการเกิดอาการบาดเจ็บสะสมเรื้อรัง (Cumulative Trauma Disorders มีการขาดงาน อัตราการเข้า – ออกงานสูง มีการร้องบ่นของพนักงานเนื่องจากสภาพการทำงาน มีการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ ในการทำงานโดยพนักงานเอง

10 ข้อบ่งชี้ปัญหาการยศาสตร์
1.3 มีระบบการจ่ายเงินตามจำนวนชิ้นงาน มีการทำงานล่วงเวลา หรือมีการเพิ่มอัตราการทำงาน มีคุณภาพของผลผลิตลดลงหรือด้อยลง มีการยกย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน มีอิริยาบถท่าทางการทำงานแบบซ้ำๆ มีการออกแบบสถานีงานที่ไม่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน

11 การวิเคราะห์และประเมินด้านการยศาสตร์
การค้นหาและวิเคราะห์งานด้านการยศาสตร์ การดำเนินการเพื่อการวิเคราะห์และประเมินด้านการยศาสตร์

12 การค้นหาและวิเคราะห์งานด้านการยศาสตร์
2.1 ก่อนที่จะเริ่มต้นการวิเคราะห์งาน ควรวางแผนงานโดย กำหนดวัตถุวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ กำหนดบุคคลผู้เกี่ยวข้อง กำหนดผลที่คาดว่าจะได้รับ

13 การดำเนินการเพื่อการวิเคราะห์และประเมินด้านการยศาสตร์
2.2 โดยการสังเกต (Observation) โดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) หรือการ สัมภาษณ์ (Interview) โดยการบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายรูป (Photo) หรือกล้อง วิดีโอ (Video) โดยการใช้แบบสำรวจ (Checklist) โดยการประเมินปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์ (Ergonomics Risk Assessment) โดยการใช้เครื่องมือการยศาสตร์ (Ergonomics Equipment) ในการตรวจวัด

14 การปรับปรุงสภาพการทำงาน ด้านการยศาสตร์
การปรับปรุงภาระงาน การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมการทำงาน การประเมินประสิทธิผลการดำเนินการปรับปรุงการยศาสตร์ การปรับปรุงจำนวนหรือปริมาณผลผลิต

15 การวิเคราะห์และการประเมิน ปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยใช้ RULA
ความเป็นมา ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง

16 ความเป็นมา RULA เป็นวิธีการที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการวิเคราะห์งานด้านการยศาสตร์ในสถานที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงของบริเวณแขนส่วนบน (Upper Limb) ที่จะได้รับการบาดเจ็บจากการทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ในการพัฒนาดังกล่าว ได้มีการดำเนินการศึกษาในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้า

17 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 1 การประเมินอิริยาบถท่าทางของแขนส่วนบน (Upper Arm)

18 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินอิริยาบถท่าทางของแขนส่วนล่าง (Lower Arm หรือ Forearm)

19 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินอิริยาบถท่าทางของมือและข้อมือ (Hand และ Wrist)

20 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินอิริยาบถท่าทางการบิดข้อมือ (Wrist Twist) ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลจากขั้นตอนที่ 1 – 4 โดยใช้ตาราง A

21 คะแนนท่าทางของมือ/ข้อมือ
ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง คะแนนท่าทาง ของแขนส่วนบน ของแขน ส่วนล่าง คะแนนท่าทางของมือ/ข้อมือ 1 2 3 4 บิด 5 6

22 คะแนนท่าทางของมือ/ข้อมือ
ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง คะแนนท่าทาง ของแขนส่วนบน ของแขน ส่วนล่าง คะแนนท่าทางของมือ/ข้อมือ 1 2 3 4 บิด 5 6 7 8 9

23 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 6 ประเมินระดับของการใช้แรงของกล้ามเนื้อ ขั้นตอนที่ 7 ประเมินภาระงาน /แรง ขั้นตอนที่ 8 สรุปผลคะแนนการวิเคราะห์ของแขนและมือ

24 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 9 การประเมินอิริยาบถท่าทางของคอ

25 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 10 การประเมินอิริยาบถท่าทางของลำตัว (Trunk)

26 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 11 การประเมินอิริยาบถท่าทางของขา ขั้นตอนที่ 12 สรุปผลท่าทางการทำงานจากขั้นตอนที่ 9 – 11 โดยใช้ตาราง B

27 คะแนนท่าทางของคอ (ศีรษะ)
ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง คะแนนท่าทางของคอ (ศีรษะ) คะแนนท่าทางของลำตัว 1 2 3 4 5 6 ขา 7 8 9

28 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง
ขั้นตอนที่ 13 ประเมินระดับลักษณะการใช้แรงจาก กล้ามเนื้อ ขั้นตอนที่ 14 ประเมินระดับภาระงานจากน้ำหนักของหรือ แรงที่ใช้ ขั้นตอนที่ 15 สรุปผลการวิเคราะห์ ศีรษะ คอ ลำตัว ขา และ เท้า ขั้นตอนที่ 16 หรือขั้นสุดท้าย คือการสรุปผลระดับคะแนน ของ RULA ในตาราง C

29 ขั้นตอนในการวิเคราะห์และประเมินปัจจัยเสี่ยง
ตาราง C คะแนนสรุปจากขั้นตอนที่ 15 1 2 3 4 5 6 7+ คะแนนสรุปจากขั้นตอนที่ 8 7 8+

30 การวิเคราะห์และการประเมิน ปัจจัยเสี่ยงด้านการยศาสตร์โดยใช้ OWAS
ความเป็นมา การจำแนกอิริยาบถท่าทางการทำงานและการออกแรง การประเมินภาระงาน

31 ความเป็นมา เมื่อกลางปี 1970 ได้มีการวิเคราะห์อิริยาบถท่าทางการทำงานในบริษัท Ovako ซึ่งเป็นโรงงานเหล็กในประเทศฟินแลนด์ ร่วมกับสถาบันอาชีวอนามัยประเทศฟินแลนด์ ( Finnish Institute of Occupational Health) และได้มีการพัฒนาระบบการวิเคราะห์งาน OVAKO OWAS (OVAKO Working Posture Analysis System) ขึ้นมาเมื่อปี 1992 ซึ่งเป็นวิธีที่ง่ายต่อการเรียนรู้ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางในการประเมินอิริยาบถท่าทางการทำงานต่างๆ ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานได้

32 การจำแนกอิริยาบถท่าทางการทำงานและการออกแรง
การวิเคราะห์อิริยาบถท่าทางการทำงานด้วยวิธี OWAS เป็นการระบุอิริยาบถท่าทางของหลัง แขน และขา รวมทั้งน้ำหนักหรือการออกแรงดังนี้ อิริยาบถของหลัง 4 ท่า อิริยาบถของแขน 3 ท่า อิริยาบถของขา 7 ท่า น้ำหนักหรือการออกแรง 3 ระดับ

33 2 1 7 หลัง 1 = ตรง 2 = ก้มตัวด้านหน้าหรือหลัง
1 = ตรง 2 = ก้มตัวด้านหน้าหรือหลัง 3 = บิดเอี้ยวตัว หรือก้มไปทางด้านข้าง 4 = ก้มและบิดเอี้ยวตัวหรือก้มตัวและไปทางด้านข้าง แขน 1 = แขนทั้งสองข้างอยู่ระดับต่ำกว่าไหล่ 2 =แขนข้างหนึ่งอยู่ระดับเดียวกับหรือสูงกว่าไหล่ 3 = แขนทั้งสองข้างอยู่ระดับเดียวกับหรือสูงกว่าไหล่ 2 1 7 ระยะงาน 00 01 02 03 04 05 06 ... 99 ขา 1 = นั่ง 2 = ยืนโดยขาตรงทั้งสองข้าง 3 = ยืนโดยน้ำหนักลงที่ขาข้างที่ตรง 4 = ยืนหรือนั่งยองๆ โดยเข่างอทั้งสองข้าง 5 = ยืนหรือนั่งยองๆ โดยเข่างอหนึ่งข้าง 6 = คุกเข่าข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง 7 = เดิน หรือเคลื่อนที่ไปมา น้ำหนักหรือการออกแรง 1 =น้ำหนัก หรือ แรงที่ออก ไม่เกิน 10 กิโลกรัม 2= น้ำหนัก หรือ แรงที่ออก มากกว่า 10 กิโลกรัม แต่ไม่ เกิน 20 กิโลกรัม 3 = น้ำหนัก หรือ แรงที่ออกมากกว่า 20 กิโลกรัม

34 การประเมินภาระงาน วิธีการของ OWAS ได้แบ่งอิริยาบถท่าทางการทำงานและอิริยาบถท่าทางการทำงาน ได้จำแนกออกเป็น 4 ระดับ ระดับ 1 หมายถึง หมายถึง ไม่ต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ระดับ 2 หมายถึง ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขในไม่ช้านี้ ระดับ 3 หมายถึง ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขโดยเร็ว ระดับ 4 หมายถึง ต้องมีการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขในทันที

35 ตัวอย่างการประเมินภาระงาน
พนักงานมีอิริยาบถส่วนของร่างกายดังในภาพ โดยออกแรงไม่เกิน 1 กิโลกรัม คะแนนอิริยาบถและการออกแรง มีดังนี้ • ก้มตัวด้านหน้าหรือหลัง - คะแนนอิริยาบถของหลัง = 2 • แขนทั้งสองข้างอยู่ระดับเดียวกับหรือสูงกว่าไหล่ - คะแนนอิริยาบถของแขน = 3 • ยืนโดยขาตรงทั้งสองข้าง - คะแนนอิริยาบถของขา = 2 • น้ำหนักหรือแรงที่ออกไม่เกิน 10 กิโลกรัม - คะแนนน้ำหนักหรือการออกแรง

36 ตารางแสดงตัวอย่างการประเมินภาระงาน
หลัง แขน 1 2 3 4 5 6 7 ขา การออกแรง

37 การค้นหาและวิเคราะห์ปัญหาการยศาสตร์โดยใช้ ISO/TS 20646-1
ความเป็นมา ISO/TS Ergonomic Procedure for the Improvement of Local Muscular Workloads – Part 1: Guidelines for Reducing Local Muscular Workloads แบบสำรวจเพื่อบ่งชี้อันตรายที่เกี่ยวข้องกับการรับภาระ งานของกล้ามเนื้อ (Annex B) แบบสำรวจเพื่อการปรับปรุงสภาพการทำงาน (Annex C) แบบสอบถามเพื่อสำรวจภาระงานของกล้ามเนื้อ (Annex D) ตัวอย่างการวิเคราะห์งานด้านการยศาสตร์โดยใช้ ISO/TS

38 ความเป็นมา ISO ( International Organization for Standardization) เป็นองค์กรอิสระซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลกและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยให้การแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการเป็นไปโดยสะดวก และช่วยพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ มาตรฐานที่กำหนดขึ้น เรียกว่า มาตรฐานระหว่างประเทศ ( International Standard)

39 ISO/TS Ergonomic Procedure for the Improvement of Local Muscular Workloads – Part 1: Guidelines for Reducing Local Muscular Workloads Annex A : Schedule form for principle , plan and implementation Annex B : Checklist for hazard identification concerning local muscular workload Annex C : Action-oriented checklist Annex D : Questionnaire for monitoring the effects and insufficiency of risk reduction measures concerning local muscular workloads.\ Annex E : Evaluation form for the risk reduction activity.

40 แบบสำรวจเพื่อบ่งชี้อันตรายที่เกี่ยวข้องกับการรับภาระงาน
แบบสำรวจเพื่อบ่งชี้อันตรายที่เกี่ยวข้องกับการรับภาระงาน ของกล้ามเนื้อ (Annex B) ส่วนที่ 1 จำนวนชั่วโมงการทำงานและความมากน้อยของงาน ส่วนที่ 2 ชนิดของงาน ส่วนที่ 3 อิริยาบถท่าทางและการเคลื่อนไหวขณะทำงาน ส่วนที่ 4 ลักษณะของเนื้อที่ที่ทำงานและวัตถุที่จับหรือถืออยู่ ส่วนที่ 5 อาคารสถานที่

41 งานที่ทำ เกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานต่อไปนี้หรือไม่
ส่วนที่ 1 จำนวนชั่วโมงการทำงานและความมากน้อยของงาน งานที่ทำ เกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานต่อไปนี้หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ หมายเหตุ 1. มีชั่วโมงการทำงาน ที่ยาวนาน 2. มีการทำงานล่วงเวลา ที่บ่อยครั้งและยาวนาน 3. มีเวลาในการปฏิบัติงาน ที่ต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน 4. มีวันหยุด ที่ไม่เพียงพอ 5. มีจำนวนงาน หรือความมากน้อยของงานในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน หรือแต่ละปี ที่ไม่สม่ำเสมอ 6. มีจำนวนงาน หรือความมากน้อยของงานระหว่างพนักงานแต่ละคน ที่ไม่เท่ากัน

42 ส่วนที่ 2 ชนิดของงาน งานที่ทำ มีสภาพของงานต่อไปนี้หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่
หมายเหตุ 1. มีการขนย้ายวัตถุ ที่หนัก (ข้อมูล 1) 2. มีการทำงาน ที่ต้องออกแรงมาก (ข้อมูล 2) 3. มีการงาน ที่ซ้ำซาก (ข้อมูล 3) 4. มีลักษณะของงาน ที่ต้องใช้นิ้วมือหรือมือบ่อยครั้งหรือต้องเคลื่อนไหวมือ ที่บ่อยครั้ง 5. มีการใช้เครื่องมือ ที่สั่นสะเทือน 6. มีการทำงาน ที่ใช้แป้นพิมพ์ป้อนข้อมูล (ข้อมูล 5 และ 7) 7. มีการทำงาน ที่เป็นงานละเอียดหรือต้องใช้สมาธิ (ข้อมูล 4)

43 ส่วนที่ 3 อิริยาบถท่าทางและการเคลื่อนไหวขณะทำงาน
งานที่ทำ มีอิริยาบถและการเคลื่อนไหวต่อไปนี้หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ หมายเหตุ 1. มีอิริยาบถท่าทางและการเคลื่อนไหว ที่ไม่ถนัด/ฝืนธรรมชาติ (ข้อมูล 5) 2. มีการเปลี่ยนมุมของข้อต่อ บ่อยครั้งและ/หรืออย่างต่อเนื่อง (ข้อมูล 6) 3. มีการทำงานที่อยู่ในอิริยาบถท่าทางเดิมเป็นเวลานาน (ข้อมูล 7) 4. มีการเดิน เป็นระยะเวลานานและ/หรือเป็นระยะทางไกล (บนพื้นในแนวราบและทางเอียงลาด) (ข้อมูล 8) 5. มีการปีนบันได บ่อยครั้ง

44 ส่วนที่ 4 ลักษณะของเนื้อที่ที่ทำงานและวัตถุที่จับหรือถืออยู่
ลักษณะของเนื้อที่ที่ทำงานและวัตถุที่จับหรือถืออยู่ขณะ ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่อไปนี้หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ หมายเหตุ 1. มีเนื้อที่ไม่เพียงพอในการปฏิบัติงาน ทำให้พนักงานถูกบังคับให้มีอิริยาบถท่าทางที่ไม่ถนัดหรือมีการเคลื่อนไหวที่จำกัด 2. มีการวางผังสถานที่ทำงานหรือวัตถุที่จับหรือถืออยู่ไม่เหมาะสม ทำให้พนักงานต้องมีการเคลื่อนไหวมากเกินไปหรือมีอิริยาบถท่าทางการทำงานที่ไม่ถนัด/ฝืนธรรมชาติ 3. พื้นผิวหน้างาน มีความสูงและขนาดที่ไม่เหมาะสมกับรูปร่างและไม่สัมพันธ์กับตำแหน่งที่พนักงานปฏิบัติงาน 4. วัตถุที่จับถือ อยู่สูงเหนือไหล่หรือต่ำกว่าระดับหัวเข่า (ข้อมูล 5.2 และ 3) 5. เนื่องจากลักษณะงานที่ทำ ทำให้ต้องคงอยู่ในอิริยาบถท่าทางเดิม (ข้อมูล 9) 6. วัตถุที่จับถือ มีน้ำหนักมากและ/หรือต้องออกแรงมาก 7. วัตถุที่จับถือ มีลักษณะยากในการจับถือหรือลื่น 8. สภาวะแวดล้อมในการทำงาน มีอุณหภูมิที่เย็น และ/หรือวัตถุ ที่จับถือ มีความเย็น

45 ลักษณะของอาคารสถานที่ทำงาน มีสภาพต่อไปนี้ หรือไม่
ส่วนที่ 5 อาคารสถานที่ทำงาน ลักษณะของอาคารสถานที่ทำงาน มีสภาพต่อไปนี้ หรือไม่ ใช่ ไม่ใช่ หมายเหตุ 1. พื้นในสถานที่ทำงาน มีสภาพลื่น และ/หรือไม่เรียบ 2. สิ่งแวดล้อมการทำงาน มีเสียงดัง หรือมีแหล่งกำเนิดเสียงดัง อยู่ในสถานที่ทำงาน 3. พนักงานต้องสัมผัสกับแรงสั่นสะเทือนทั่วร่างกาย

46 แบบสำรวจเพื่อการปรับปรุงสภาพการทำงาน (Annex C)
ข้อ รายการสำรวจ ต้องการให้มี การปรับปรุงหรือไม่ ให้ความ สำคัญ หมายเหตุ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ ใช่ 1 ใช้รถเข็น รถลาก และอุปกรณ์ที่มีล้ออื่นๆ หรือสายพานลูกกลิ้ง เมื่อต้องการเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ 2 ลดการขนย้ายวัสดุสิ่งของด้วยแรงคน โดยการใช้สายพาน รอก และอุปกรณ์เครื่องกลต่างๆ เพื่อช่วยในการขนย้าย 3 ขจัดการทำงานที่ต้องก้มหลัง หรือบิดเอี้ยวตัวในขณะที่ยกขนย้ายวัสดุสิ่งของ 4 ขจัดหรือลดงานที่ต้องยกมือหรือแขนเหนือระดับไหล่ขณะทำงาน 5 จัดให้มีที่จับถือ ที่จับ หรือจุดในการจับถือที่ดีสำหรับกล่องและภาชนะทุกชิ้น

47 ข้อ รายการสำรวจ ต้องการให้มี การปรับปรุงหรือไม่ ให้ความ สำคัญ หมายเหตุ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ ใช่ 6 แทนที่จะยกถือวัสดุสิ่งของที่หนัก ควรจัดแบ่งวัสดุให้มีขนาดเล็กลงโดยบรรจุในกล่อง ภาชนะ หรือถาด เพื่อให้มีน้ำหนักน้อยลง 7 ยกขนย้ายวัสดุสิ่งของที่หนักมากด้วยคน 2 คน 8 จัดให้มีช่วงพักสั้นๆ เมื่อต้องยกขนย้ายวัสดุสิ่งของที่หนักมากอย่างต่อเนื่อง 9 จัดวางวัสดุและอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้งานบ่อย ให้อยู่ในระยะที่สามารถหยิบจับได้ง่ายในตำแหน่งการทำงานปกติ 10 จัดให้มีเก้าอี้หรือที่นั่ง เพื่อให้พนักงานที่ยืนทำงานได้มีโอกาสได้นั่งเป็นครั้งคราว

48 ข้อ รายการสำรวจ ต้องการให้มี การปรับปรุงหรือไม่ ให้ความ สำคัญ หมายเหตุ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ ใช่ 11 จัดให้มีเก้าอี้อย่างดีที่สามารถปรับระดับได้พร้อม พนักพิงหลัง สำหรับพนักงานที่นั่งทำงาน 12 ใช้อุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน (จิ๊กและฟิกเจอร์) เพื่อให้ การปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ทำได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ 13. ตรวจสอบการออกแบบอุปกรณ์หรือเครื่องมือ และมั่นใจว่าพนักงานสามารถใช้หรือจับถือโดยไม่ต้องโค้งงอ หรือหันบิดข้อมือมากเกินไป 14. เลือกเครื่องมือที่สามารถใช้งานโดยออกแรงน้อยที่สุด 15. เลือกใช้เครื่องมือที่ทำจากวัสดุที่มี่น้ำหนักเบา

49 ข้อ รายการสำรวจ ต้องการให้มี การปรับปรุงหรือไม่ ให้ความ สำคัญ หมายเหตุ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ ใช่ 16. ปรับระดับความสูงการทำงานของพนักงานแต่ละคน โดยให้อยู่ระดับข้อศอกหรือต่ำกว่าเล็กน้อย 17. จัดให้มีที่รองรับพยุงแขน เมื่อใช้เครื่องมือทำงานที่ละเอียดซึ่งต้องการความแม่นยำ 18. จัดให้มีช่วงพักสั้นๆ และบ่อยครั้ง เมื่อทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง 19. นำระบบการสับเปลี่ยนหมุนเวียนการทำงาน เพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานซ้ำซาก และทำงานหน้าคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง 20. ป้องกันสถานที่ทำงานจากความร้อนที่สูงมาก

50 ข้อ รายการสำรวจ ต้องการให้มี การปรับปรุงหรือไม่ ให้ความ สำคัญ หมายเหตุ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ ใช่ 21. จัดแสงสว่างให้มีอย่างเพียงพอ เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบายตลอดเวลาการทำงาน 22. จัดให้มีมุมหรือห้องพักผ่อน เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าไปใช้ในช่วงพัก และจัดให้มีเฟอร์นิเจอร์และ น้ำดื่มสะอาด 23. ให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการออกแบบสถานที่ทำงาน อุปกรณ์สำหรับขนย้ายสิ่งของ หรือเก้าอี้ของตนเอง 24. ให้ปรึกษาหารือร่วมกับพนักงานในการปรับปรุงการจัดช่วงเวลาการทำงาน 25. เพิ่มช่วงเวลาพักสั้นๆ หรือมีการออกกำลังกายเพื่อลดเวลาในการทำงานหนักอย่างต่อเนื่อง

51 แบบสอบถามเพื่อสำรวจภาระงานของกล้ามเนื้อ (Annex D)
ข้อมูลส่วนบุคคล: ชื่อ-นามสกุล วันที่ เวลา น. ตำแหน่ง แผนก กะที่กำลังทำงานอยู่ เพศ:  ชาย  หญิง อายุ ปี นำหนัก กิโลกรัม ส่วนสูง เซนติเมตร ประสบการณ์การทำงานในสถานประกอบกิจการแห่งนี้ ปี ประสบการณ์การทำงานทั้งหมด ปี คำถามที่ 1 ท่านรู้สึกเหนื่อยหรือเจ็บปวดกล้ามเนื้อระหว่างทำงาน หรือหลังเลิกงานหรือไม่ กรุณาบ่งชี้ความรุนแรงของอาการในตาราง โดยระบุเป็นตัวเลขซึ่งอ้างอิงจากค่าดังนี้ 0: ไม่รู้สึก : รู้สึกนิดหน่อย : รู้สึกปานกลาง : รู้สึกมาก : รู้สึกมากเกินทนไหว

52 ด้านซ้าย ด้านขวา ส่วนของร่างกาย คะแนน 1 คอ 2 ไหล่ 3 หลังส่วนบน
1 คอ 2 ไหล่ 3 หลังส่วนบน 4 หลังส่วนล่าง 5 แขนส่วนบน 6 ข้อศอก 7 แขนส่วนล่าง 8 มือ/ข้อมือ 9 สะโพก/ต้นขา 10 หัวเข่า 11 น่อง 12 เท้า 8 มือ / ข้อมือ 5 แขนส่วนบน 3 หลังส่วนบน 9 สะโพก / ต้นขา 4 หลังส่วนล่าง 1 คอ 2 ไหล่ 6 ข้อศอก 7 แขนส่วนล่าง 10 หัวเข่า 11 น่อง 12 เท้า

53 คำถามที่ 2 ท่านรู้สึกพอใจกับสภาพการทำงานที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหรือไม่
พอใจมาก  พอใจ  ไม่พอใจ  ไม่พอใจมาก คำถามที่ 3 ท่านคิดว่าผลงานหรือประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของท่านเป็นอย่างไร ดีมาก  ดี  ไม่ดี  ไม่ดีมาก คำถามที่ 4 ท่านปรับปรุงวิธีการทำงาน สถานที่ปฏิบัติงาน หรือการจัดผังที่ทำงานของท่านเพื่อลดการ ออกแรงบ่อยครั้งเพียงใด บ่อยมาก  บ่อย  นานๆ ครั้ง  น้อยครั้ง คำถามที่ 5 ท่านมีการพูดคุยเกี่ยวกับการปรับปรุงสภาพการทำงานบ่อยครั้งเพียงใด บ่อยมาก  บ่อย  นานๆ ครั้ง  น้อยครั้ง คำถามที่ 6 หลังการปรับปรุงสภาพการทำงาน ท่านคิดว่าสามารถลดการรับ/ออกแรงของกล้ามเนื้อ หรือไม่  ไม่ลดลงเลย  ลดลงเล็กน้อย  ลดลงอย่างมาก

54 ตัวอย่างการวิเคราะห์งานด้านการยศาสตร์โดยใช้ ISO/TS 2064-1
ขั้นตอนและวิธีดำเนินการ การประชุมหารือกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องในสถานประกอบ กิจการ การดำเนินการปรับปรุง การประเมินผลการปรับปรุง

55 ตัวอย่างการดำเนินการปรับปรุงสภาพการทำงาน
สถาบันความปลอดภัยในการทำงานร่วมกับ Health Sciences of Life, Work and Environment จาก Nagoya City University Graduate School of Medical Science ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเนื่องจากการทำงานและการปรับปรุงสภาพการทำงาน โดยใช้มาตรฐานระหว่างประเทศ ISO/TS เป็นแนวในการดำเนินงาน

56 ตัวอย่างการวิเคราะห์งานด้านการยศาสตร์โดยใช้ ISO/TS 2064-1
10 11 12 1 2 3 4 5 6 7 8 9 ผลสำรวจ จำนวน 15 คน คะแนน เพิ่ม + ลด - ก่อน หลัง 1.. คอ 2.1 0.6 - 1.5 2. ไหล่ 2.8 1.0 - 1.8 3. หลังส่วนบน 2.7 - 1.7 4. หลังส่วนล่าง 2.9 - 1.9 5. แขนส่วนบน 2.5 6. ข้อศอก 7. แขนส่วนล่าง 2.6 - 1.6 8. มือ-ข้อมือ 9. สะโพก-ต้นขา 2.3 - 1.3 10. หัวเข่า 0.7 11. น่อง 12. เท้า เฉลี่ย 2.53 0.91 - 1.63


ดาวน์โหลด ppt เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google