งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

Instructional Media Dr.Sumai Binbai College of Teacher Education

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "Instructional Media Dr.Sumai Binbai College of Teacher Education"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 Instructional Media Dr.Sumai Binbai College of Teacher Education
Phranakhon Rajabhat University

2 สื่อ (Media) หมายถึง ตัวกลางที่ใช้ถ่ายทอด หรือนำความรู้ในลักษณะต่าง ๆ จากผู้ส่งไปยังผู้รับให้เข้าใจความหมายได้ตรงกันในการเรียนการสอน สื่อใช้เป็นตัวกลางนำความรู้ในกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน เรียกว่า “สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media)”

3 “สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media)”
วัสดุ อุปกรณ์หรือวิธีการใด ๆ ที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ เจตคติ ทักษะและประสบการณ์ ต่าง ๆ ไปสู่ผู้เรียน

4 “สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media)”
ปัจจุบันมีการเรียกการนำสื่อการเรียนการสอนชนิดต่าง ๆ มารวมกันว่า “เทคโนโลยีการศึกษา” หมายถึง การนำวัสดุ อุปกรณ์และวิธีการมาใช้ร่วมกันอย่างมีระบบในการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน

5 ความสำคัญและคุณค่าของ“สื่อการเรียนการสอน”
4. ช่วยให้ผู้เรียนมีความจำและประทับความรู้สึกได้รวดเร็วขึ้น 1. ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น เพราะมีความสมจริงและมีความหมายชัดเจนต่อผู้เรียน 5. สามารถใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสิ่งที่มีความยากได้ เช่น สอนเนื้อหาที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้เร็ว ทำสิ่งที่เล็กให้ใหญ่ นำอดีตมาศึกษาได้ นำสิ่งที่อยู่ห่างไกลมาศึกษาได้ 2. ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในปริมาณมากขึ้นในเวลาที่กำหนดไว้เท่ากันกับการสอนโดยไม่ใช้สื่อ 3. ช่วยให้ผู้เรียนสนใจและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนด้วยความกระตือรือร้น 6. ทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนได้ง่ายขึ้น บรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน

6 ความสำคัญและคุณค่าของ“สื่อการเรียนการสอน”
คุณค่าด้านวิชาการ คุณค่าด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ 1. ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง 1. ทำให้ผู้เรียนสนใจและดึงดูดให้อยากเรียนรู้สิ่ง ต่าง ๆ มากขึ้น 2. ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีกว่าและมากกว่า 3. ผู้เรียนเข้าใจความหมายของสิ่งต่าง ๆ ได้กว้างขวางและเป็นแนวทางให้เข้าใจสิ่งนั้นดีขึ้น 2. ทำให้เกิดความคิดรวบยอดที่ชัดเจน 3. เร่งเร้าความสนใจทำให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองและสร้างความรู้จากการกระทำได้ด้วยตนเอง 4. ส่งเสริมความคิดและการแก้ปัญหา 5. เรียนรู้ได้ถูกต้อง จำเรื่องราวได้มากและนาน 4. ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเฉพาะสื่อประเภทอิเล็กทรอนิกส์ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และทบทวนได้มากเท่าที่ต้องการ 6. ช่วยเร่งทักษะในการเรียนรู้ เช่น ภาพยนตร์ ภาพ วีดิทัศน์

7 ประเภทของ“สื่อการเรียนการสอน”
จำแนกตามประสาทการรับรู้ของผู้เรียน Visual Media Non-Projected Projected Audio Media เทปบันทึกเสียง วิทยุ Audio-Visual Media สไลด์ประกอบเสียง ภาพยนตร์ที่มีเสียง CAI

8 ประเภทของ“สื่อการเรียนการสอน”
จำแนกตามหลักทางเทคโนโลยีการศึกษา เครื่องมืออุปกรณ์ วัสดุ - วัสดุที่ต้องอาศัยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ - วัสดุที่เสนอความรู้ด้วยตนเอง เทคนิควิธีการ

9 ประเภทของ“สื่อการเรียนการสอน”
Edgar Dale, 1969

10 ประเภทของ“สื่อการเรียนการสอน”
ขั้นที่ 1 ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย(Direct Purposeful Experience) ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง  ได้เห็น ได้ยินเสียง ได้สัมผัสด้วยตนเอง เช่น การเรียนจากของจริง (Real object) ได้ร่วมกิจกรรมการเรียนด้วยการลงมือกระทำ เป็นต้น ขั้นที่ 2 ประสบการณ์จำลอง (Contrived Simulation Experience) ของจริงมีขนาดใหญ่หรือเล็กเกินไป มีความซับซ้อน มีอันตราย จึงใช้ประสบการณ์จำลองแทน เช่น การใช้หุ่นจำลอง (Model) ของตัวอย่าง (Specimen) เป็นต้น  ขั้นที่ 3 ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experience) เป็นประสบการณ์ที่จัดขึ้นแทนประสบการณ์จริงที่เป็นอดีตไปแล้ว หรือเป็นนามธรรมที่ยากเกินกว่าจะเข้าใจและ ไม่สามารถใช้ประสบการณ์จำลองได้ เช่น การละเล่นพื้นเมือง ประเพณีต่างๆ เป็นต้น  ขั้นที่ 4 การสาธิต (Demonstration) คือการอธิบายข้อเท็จจริง ความจริงและกระบวนการที่สำคัญ  ด้วยการแสดงให้เห็นเป็นลำดับขั้น การสาธิตอาจทำได้โดยครูเป็นผู้สาธิต  นอกจากนี้อาจใช้ภาพยนตร์ สไลด์และฟิล์มสตริป แสดงการสาธิตในเนื้อหาที่ต้องการสาธิตได้

11 ประเภทของ“สื่อการเรียนการสอน”
 ขั้นที่ 5 การศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) การพานักเรียนไปศึกษายังแหล่งความรู้นอกห้องเรียน เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนรู้หลายๆด้าน ได้แก่ การศึกษาความรู้จากสถานที่สำคัญ เช่น โบราณสถาน โรงงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น ขั้นที่ 6 นิทรรศการ (Exhibition) คือ การจัดแสดงสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งมีการสาธิต และการฉายภาพยนตร์ประกอบเพื่อให้ประสบการณ์ในการเรียนรู้แก่ผู้เรียนหลายด้าน ได้แก่ การจัดป้ายนิทรรศการ การจัดแสดงผลงานนักเรียน   ขั้นที่ 7 ภาพยนตร์ และโทรทัศน์ (Motion Picture and Television) ผู้เรียนได้เรียนด้วยการเห็นและได้ยินเสียงเหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆ ได้มองเห็นภาพในลักษณะการเคลื่อนไหวเหมือนจริงไปพร้อมๆ กัน ขั้นที่ 8 การบันทึกเสียง วิทยุ และภาพนิ่ง  (Recording, Radio and Picture) ได้แก่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง วิทยุ ซึ่งต้องอาศัยเรื่องการขยายเสียง ส่วนภาพนิ่ง ได้แก่รูปภาพทั้งชนิดโปร่งแสงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead projector) สไลด์ (Slide) ภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์ และภาพบันทึกเสียงที่ใช้กับเครื่องฉายภาพทึบแสง (Overhead  projector) 

12 ประเภทของ“สื่อการเรียนการสอน”
 ขั้นที่  9 ทัศนสัญลักษณ์ (Visual Symbol) มีความเป็นนามธรรมสูง จำเป็น ที่จะต้องคำนึงถึงประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นพื้นฐานในการเลือกนำไปใช้ สื่อเหล่านี้คือ แผนภูมิ แผนสถิติ ภาพโฆษณา การ์ตูน แผนที่ และสัญลักษณ์ ต่าง ๆ  เป็นต้น ขั้นที่ 10  วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbol) เป็นประสบการณ์ขั้นสุดท้าย ซึ่งเป็นนามธรรมที่สุด ไม่มีความคล้ายคลึงกันระหว่าง วจนสัญลักษณ์กับของจริง ได้แก่  การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด

13 หลักการเลือก“สื่อการเรียนการสอน”
1. เลือกสื่อการสอนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 2. เลือกสื่อที่ตรงกับลักษณะเนื้อหาบทเรียน 3. เลือกสื่อที่สอดคล้องกับวิธีการสอน 4. เลือกสื่อให้เหมาะกับลักษณะและวัยของผู้เรียน 5. เลือกสื่อให้เหมาะกับจำนวนผู้เรียนและกิจกรรมการเรียนการสอน 6. เลือกสื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อม 7. เลือกสื่อที่น่าสนใจและดึงดูดความสนใจ 8. เลือกสื่อที่มีวิธีการใช้งาน เก็บรักษาและบำรุงรักษาได้สะดวก

14 หลักการใช้ “สื่อการเรียนการสอน”
1. เตรียมตัวผู้สอน ทำความเข้าใจเนื้อหา ขั้นตอนกิจกรรมและวิธีการใช้สื่อ 2. เตรียมจัดสภาพแวดล้อม เช่น สถานที่ ห้อง Lab เครื่องอำนวยความสะดวก 3. เตรียมตัวผู้เรียนให้พร้อม อธิบายวิธีการใช้สื่ออุปกรณ์และเครื่องมือ 4. ใช้สื่อให้เหมาะกับขั้นตอนและวิธีการตามที่ได้เตรียมไว้และควบคุมการนำเสนอให้เป็นไปด้วยความราบรื่น 5. การติดตามผล ทดสอบผู้เรียนว่าเข้าใจสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปหรือไม่ เพื่อดูว่าสื่อมีประสิทธิภาพไหม

15 วิเคราะห์ ฝึกคิด และนำเสนอ
1.วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการใช้สื่อของครู แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ในเวลา 30 นาที 2. เลือกเนื้อหา 1 เนื้อหา กำหนดวัตถุประสงค์ กำหนดระดับชั้นและจำนวนของผู้เรียน กำหนดวิธีการสอน เลือกใช้สื่อให้เหมาะสม และคาดว่าจะทำให้เด็กบรรลุวัตถุประสงค์ บอกเหตุผลว่าทำไมสื่อที่เลือกจึงช่วยให้เด็กเรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์ได้

16 งานเดี่ยว ส่งเป็นรายงาน
งานเดี่ยว ส่งเป็นรายงาน การบ้าน ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนแล้วสรุปประเด็นดังนี้ ชื่อเรื่องวิจัยและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์การวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อ ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย (การพัฒนาสื่อ) การหาประสิทธิภาพ/คุณภาพของสื่อที่ผลิตขึ้น สรุปผลการวิจัยและอภิปรายผลว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่อย่างไร


ดาวน์โหลด ppt Instructional Media Dr.Sumai Binbai College of Teacher Education

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google