งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่ kansft@hotmail.com
วิชากฎหมายปกครอง (177341) สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

2 เค้าโครง ทบทวนเงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง คดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง
การเยียวยาความเสียหายศาลจำต้องออกคำบังคับ ความเป็นผู้เสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหาย การเยียวยาความเสียหายตามที่กฎหมายกำหนด 2. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ 3. ขอบเขตการออกข้อสอบ ทำแบบฝึกหัดร่วมกัน

3 ใครบ้างที่อาจถูกฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
1. หน่วยงานทางปกครอง 2. เจ้าหน้าที่ของรัฐ

4 เรื่องใดบ้างที่จะฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
1. กรณีฟ้องโต้แย้งว่าการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ออกกฎ คำสั่ง หรือกระทำการอื่นใดไม่ชอบด้วยกฎหมาย 2. กรณีที่ฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร 3. กรณีที่ฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการละเมิดทางปกครอง

5 เรื่องใดบ้างที่จะฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้
คดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐฟ้องคดีต่อศาลเพื่อบังคับให้บุคคลต้องกระทำหรือละเว้นกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด 6. คดีที่มีกฎหมายกำหนดให้อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครอง

6 ใครบ้างที่มีสิทธิจะฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครอง
1. ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย 2. ผู้ที่อาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ

7 ก่อนฟ้องคดีปกครองต่อศาลปกครอง ต้องดำเนินการอย่างไรก่อนหรือไม่
กรณีฟ้องโต้แย้งคำสั่งของเจ้าหน้าที่ จะต้อง อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของเจ้าหน้าที่ต่อผู้ออกคำสั่งก่อน เสมอ กรณีฟ้องขอให้ปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นหน้าที่ทั่ว ๆ ไป ต้องมีการร้องขอให้หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ก่อน

8 ระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดี
โดยหลักทั่วไปต้องฟ้องภายใน 90 วัน นับแต่รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการฟ้องคดี กรณีฟ้องฐานละเลย ให้ฟ้องภายใน 90 วันนับแต่วันที่พ้นกำหนด 90 วันนับแต่วันที่ได้มีหนังสือร้องขอให้หน่วยงานรัฐปฏิบัติหน้าที่และไม่มีหนังสือตอบ หรือมีหนังสือตอบมาแต่ไม่พอใจ กรณีเพื่อประโยชน์ส่วนรวมหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่มีกำหนดระยะเวลาการฟ้องคดี

9 ความหมายของคดีปกครอง
รัฐธรรมนูญ พ.ศ มาตรา 223 1) ข้อพิพาทที่คู่กรณีอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายปกครอง และ 2) เป็นข้อพิพาทอันเกิดจากการใช้อำนาจปกครองตามกฎหมาย หรือจากการดำเนินกิจการทางปกครองของหน่วยงานทางปกครอง

10 เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง
ต้องเป็นคดีที่อยู่ในเขตอำนาจศาลปกครองตามมาตรา ๙ ผู้ฟ้องคดีต้องเป็นผู้เสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตามมาตรา ๔๒ วรรคแรก ต้องเป็นเรื่องที่การแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนเสียหาย หรือยุติข้อโต้แย้งนั้น จำต้องมีคำบังคับตามมาตรา ๗๒ กรณีมีกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนไว้ ต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดแล้วตามมาตรา ๔๒ วรรคสอง

11 ประเภทคดีปกครองที่สำคัญ 4 ประเภท
คดีปกครองประเภทที่ 1 คำฟ้องโต้แย้งว่าการกระทำของหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใด คำขอ : ขอให้เพิกถอน หมายเหตุ : การฟ้องคดีไม่เป็นเหตุทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองหรือกฎ หากประสงค์ให้มีการทุเลาต้องมีการขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา

12 ประเภทคดีปกครองที่สำคัญ 4 ประเภท
คดีปกครองประเภทที่ 2 คำฟ้องโต้แย้งว่าหน่วยงาน ทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร คำขอ : ขอให้ปฏิบัติหน้าที่ภายในระยะเวลาที่กำหนด

13 ประเภทคดีปกครองที่สำคัญ 4 ประเภท
คดีปกครองประเภทที่ 3 คำฟ้องโต้แย้งว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดหรือมีความรับผิดอย่างอื่น อันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายหรือจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร คำขอ : ขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ส่งมอบทรัพย์สิน ให้กระทำการหรือ งดเว้นกระทำการ

14 ตัวอย่างคำคดีประเภทที่ 4
ตัวอย่างที่ 1 ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่าสัญญาให้ทุนศึกษาระหว่างกรมสุขภาพจิตกับผู้ฟ้องคดี มีเนื้อหาที่ขัดกับระเบียบ ก.พ. ซึ่งให้คิดเบี้ยปรับกรณีผิดสัญญาใช้ทุนได้เพียงหนึ่งเท่า แต่ในสัญญากำหนดให้ต้องใช้เบี้ยปรับสองเท่าของทุน ผู้ฟ้องคดีได้ชำระทุนพร้อมเบี้ยปรับสองเท่าและนำคดีมาฟ้องต่อศาล คำขอ : ให้ใช้เงินที่ชำระไปคืนพร้อมดอกเบี้ย

15 ความเป็นผู้เสียหายในการฟ้องคดีปกครอง
ผู้ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีได้ต้อง - เป็นผู้เสียหาย หรือ อาจจะได้รับความเดือดร้อนเสียหาย - หากเป็นคำสั่งทางปกครองต้องมีการอุทธรณ์ก่อน หรือหากมีกฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินการเพื่อเยียวยาความเสียหายก่อน ก็ต้องดำเนินการก่อนจึงจะใช้สิทธิฟ้องคดีได้

16 ตัวอย่างผู้มีสิทธิฟ้องคดี
ตัวอย่างความเป็นผู้เสียหายคดีประเภทที่ 1 ตัวอย่างที่ 1 ผู้ฟ้องคดีเป็นมีบ้านพักอาศัยอยู่ติดกับโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์และพ่นสีรถยนต์ และเป็น ผู้ได้รับผลกระทบจากการประกอบกิจการดังกล่าว จึงเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวได้

17 ตัวอย่างผู้มีสิทธิฟ้องคดี
ตัวอย่างความเป็นผู้เสียหายคดีประเภทที่ 2 ผู้ฟ้องคดีเป็นประชาชนที่อาศัยและประกอบอาชีพอยู่ใน 17 ชุมชนในพื้นที่เทศบาลมาบตาพุด เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษในพื้นที่มาบตาพุด ทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและอาชีพ จากการประกอบกิจการอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุด จึงเป็นผู้เสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายคดีเดือดร้อน ที่มีสิทธิฟ้องคดี

18 ตัวอย่างผู้มีสิทธิฟ้องคดี
ตัวอย่างความเป็นผู้เสียหายคดีประเภทที่ 3 ผู้เสียหายที่ได้รับอันตรายจากสารโคบอลต์ 60 ย่อมเป็นผู้เสียหายที่มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการกระทำละเมิดดังกล่าว

19 ตัวอย่างผู้มีสิทธิฟ้องคดี
ตัวอย่างความเป็นผู้เสียหายคดีประเภทที่ 4 ผู้ฟ้องคดีเป็นคู่สัญญากับกรมสุขภาพจิต จึงเป็นผู้เสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายจากการที่กรมสุขภาพจิตกำหนดข้อสัญญาให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้เบี้ยปรับสูงกว่าที่ระเบียบ ก.พ. กำหนดไว้

20 แบบฝึกหัด ดาบตำรวจเดชา รับราชการมาเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี ในการประเมินงานเพื่อเลื่อนตำแหน่งเขาไม่เคยได้รับการเลื่อนขั้นมาเป็นเวลา ๕ ปี เขาเคยร้องเรียนผู้บังคับบัญชาหลายครั้ง แต่ก็ไม่เป็นผล ครั้งหลังสุดเขาก็มีการอุทธรณ์คำสั่งไม่เลื่อนขั้นให้เขาอีก ผู้บังคับบัญชาและผู้พิจารณาอุทธรณ์ก็ยังยืนยันคำสั่งเดิม หลังได้รับคำสั่ง ๑๕ วันเขาก็นำคดีนี้ไปฟ้องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้ศาลตรวจสอบว่าผู้บังคับบัญชาและผู้พิจารณาอุทธรณ์มีเจตนากลั่นแกล้งเขาหรือไม่ และให้ตรวจสอบความโปร่งใสในการประเมินงานของเขา พร้อมให้ตั้งคณะกรรมการประเมินงานให้เขาใหม่ เช่นนี้ศาลปกครองจะรับคดีนี้ไว้พิจารณาได้หรือไม่ เพราะเหตุใด

21 แนวคำตอบ ๑. เงื่อนไขการฟ้องคดีปกครอง ๔ ประการ ๒. ปรับข้อเท็จจริงว่าเข้าเงื่อนไขทั้ง ๔ ประการหรือไม่ ๓. สรุป – ศาลปกครองจะไม่รับฟ้องเพราะไม่สามารถออกคำบังคับให้ได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดี ปกครอง พ.ศ.๒๕๔๒ ไม่ได้ให้อำนาจไว้

22 ความรับผิดทางละเมิดของฝ่ายปกครอง
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ช่วงก่อน พ.ศ. ๒๔๗๕ และหลัง พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึง พ.ศ. ๒๕๓๙ ปัญหาของระบบความรับผิดก่อน พ.ศ. ๒๕๓๙ สาระสำคัญของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙

23 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
ช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีหลักการ The King can do no wrong เพราะกษัตริย์เป็นที่มาของอำนาจทั้งปวง ประชาชนเป็นเพียงวัตถุแห่งการปกครอง ไม่ได้เป็นประธานแห่งสิทธิ

24 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
หน่วยงานรัฐเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจ The King can do no wrong จึงคลุมไปถึงหน่วยงานรัฐด้วย ประชาชนจะฟ้องหน่วยงานรัฐได้ก็ต่อเมื่อ หน่วยงานรัฐยินยอมเข้ามาเป็นจำเลยในคดี ศาลไม่มีอำนาจบังคับหน่วยงานรัฐให้เข้ามาในคดี ประชาชนฟ้องเจ้าหน้าที่เป็นการส่วนตัวได้

25 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
๒. ช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองถึง พ.ศ. ๒๕๓๙ ยอมรับหลักที่ว่าผู้เสียสละเพื่อส่วนรวมแต่ต้องเสียหายเป็นพิเศษต้องได้รับการเยียวยา เริ่มรับรองสิทธิในการฟ้องหน่วยงานรัฐในรัฐธรรมนูญฉบับที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๙๒ ประชาชนจึงเริ่มมีสิทธิฟ้องหน่วยงานของรัฐให้รับผิดได้

26 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
ปัญหาของหลักความรับผิดทางละเมิดตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกา ๑. การไม่กล้าปฏิบัติหน้าที่เพราะหากกระทำผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อยหรือโดยไม่ตั้งใจ อาจถูกฟ้องให้รับผิดทางละเมิดและต้องรับผิดเต็มจำนวน ๒. กรณีเจ้าหน้าที่รัฐกระทำละเมิดร่วมกันหลายคน และต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้นไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหน้าที่

27 พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
๓. ช่วงหลังประกาศใช้ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ๒๕๓๙ จนถึงปัจจุบัน ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น บังคับใช้ก่อนมีศาลปกครอง

28 หลักการสำคัญของกฎหมาย
หน่วยงานรัฐต้องรับผิดจากละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของตน ผู้เสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ ต้องฟ้องหน่วยงานจะฟ้องเจ้าหน้าที่ไม่ได้ การฟ้องเจ้าหน้าที่อาจมีทั้งฟ้องต่อศาลยุติธรรมหรือศาลปกครอง

29 หลักการสำคัญของกฎหมาย
๔. เจ้าหน้าที่ผู้กระทำละเมิดต้องรับผิดในละเมิดเฉพาะกรณีกระทำไปโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ๕. ไม่นำหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้ ๖. ผู้เสียหายมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้หน่วยงานชดใช้ค่าเสียหาย

30 ความสัมพันธ์ของผู้เกี่ยวข้องที่เปลี่ยนไป
หน่วยงานรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ เอกชน

31 ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
King ประชาชนฟ้องได้เพียงเจ้าหน้าที่ หน่วยงานรัฐ ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ

32 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองถึง ๒๕๓๙
ประชาชนฟ้องหน่วยงานให้ร่วมรับผิด หน่วยงานรัฐ หน่วยงานไล่เบี้ยได้ทั้งหมด ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ ประชาชนฟ้องได้เพียงเจ้าหน้าที่ ลูกหนี้ร่วม

33 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองถึง ๒๕๓๙
หน่วยงานรัฐ ประชาชนฟ้องหน่วยงานเท่านั้น หน่วยงานไล่เบี้ยได้ตามส่วน ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ใช้หลักลูกหนี้ร่วม

34 เขตอำนาจ หากเป็นการละเมิดอันในกรณีต่อไปนี้ต้องฟ้องที่ศาลปกครอง
หากไม่เข้าต้องไปฟ้องศาลยุติธรรม ละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ในทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานทางปกครอง การใช้อำนาจตามกฎหมาย การออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือคำสั่งอื่น การละเลยต่อหน้าที่ การปฏิบัติหน้าที่ล่าช้า

35 กรณีศึกษาที่ ๑ กทม.โดยเขตพระนคร อาศัยอำนาจตามกฎหมายอนุโลมให้แม่ค้าที่
กทม.โดยเขตพระนคร อาศัยอำนาจตามกฎหมายอนุโลมให้แม่ค้าที่ บางลำพูค้าขายบนทางเท้าได้ โดยอนุโลมให้เป็นรายปี ก่อนสิ้นปี ๒๕๕๖ กทม.ต้องการจัดระเบียบทางเท้าโดยไม่ต้องการให้มีการขายของบนทาง เท้าอีกต่อไป จึงแจ้งต่อแม่ค้าทุกคนว่าปีหน้าจะไม่อนุโลมให้ขายของบน ทางเท้าอีกต่อไป หากใครฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เช่นนี้แม่ค้า ที่ได้รับความเดือดร้อนจะฟ้องร้องเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่สามารถ ขายสินค้าได้ดังเดิมเป็นคดีละเมิดทางปกครองได้หรือไม่อย่างไร

36 กรณีศึกษาที่ ๒ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมสั่งปิดโรงงานของนายเสถียร โดยเข้าใจว่าเป็นโรงงานของนายสนั่นที่ถูกร้องเรียนและมีการตรวจสอบว่ามีการปล่อยมลพิษลงแม่น้ำอย่างผิดกฎหมาย ส่งผลให้เสถียรเสียหายวันละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท เป็นเวลา ๒๐ วัน จึงมีการยกเลิกคำสั่ง เช่นนี้เสถียรจะฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายได้หรือไม่อย่างไร และต้องฟ้องที่ศาลใด

37 กรณีศึกษาที่ ๓ นายอำนาจ พนักงานขับรถของกระทรวงศึกษาธิการ ขับรถพาเจ้าหน้าที่ของกระทรวงสาธารณะสุขไปประชุม ขณะขับกลับจากประชุมไปยังกระทรวง อำนาจขับรถฝ่าไฟแดงไปชนนางแดงเสียชีวิต เช่นนี้ ทายาทของนางแดงจะฟ้องร้องให้ใครรับผิดได้บ้าง และต้องฟ้องที่ศาลใด

38 ขอบเขตในการออกข้อสอบ
เรื่องที่ไม่ออก คือ ละเมิดทางปกครอง การควบคุมภายในฝ่ายปกครอง นอกนั้นออกอาจออกได้ทั้งสิ้นโดยเฉพาะหลักการสำคัญของกฎหมายปกครอง และการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ข้อสอบมีทั้งหมด ๓ ข้อ ข้อละ ๒๐, ๑๕ และ ๑๕ คะแนน

39 ข้อคิด ๑. คำถามสำคัญกว่าคำตอบ - เพราะคำถามจะกำหนดทิศทางของคำตอบ พยายามอย่างที่สุดที่จะตั้งคำถามด้วยตัวเอง และตอบคำถามนั้น เพราะนี่อาจเป็นชีวิตเดียวที่เรามีอยู่

40 ข้อคิด ๒. ทุกคนมีศักยภาพที่จะเป็นและทำทุกอย่างที่อยากเป็นอยากทำได้ “If you really want something, all universes will inspire you to achieve it.” The Alchemist, Paulo Coelho

41 ข้อคิด ๓. พยายามขยายขอบเขตความรัก ความหวังดี ของเราให้กว้างที่สุดเท่าที่จะกว้างได้ จากตัวเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศ และมนุษยชาติ ไม่เช่นนั้นเราอาจเป็นคนดีของครอบครัวแต่ทำร้ายทำลายคนอื่นอย่างน่าตระหนก เราน่าจะมีส่วนทำให้สังคมมันดีขึ้น ยุติธรรมขึ้น น่าอยู่ขึ้นด้วย

42 ข้อคิด ๔. ขอบคุณที่อดทนเรียนรู้มาด้วยกัน เราต่างเป็นครูของกันและกัน


ดาวน์โหลด ppt สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google