งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความก้าวหน้า และ สิทธิประโยชน์ของครู

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความก้าวหน้า และ สิทธิประโยชน์ของครู"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความก้าวหน้า และ สิทธิประโยชน์ของครู
โดย : นายกิตติภพ สุริยะสาร 18 กันยายน 2561

2 พรบ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
และที่แก้ไขเพิ่มเติม

3 เส้นทางการ ความก้าวหน้า

4 ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา รองผอ.เขตพื้นที่การศึกษา
ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ผู้บริหารการศึกษา คศ.5 รองผอ.เขตพื้นที่การศึกษา ครูเชี่ยวชาญ ผอ.สถานศึกษา คศ.4 ผู้บริหารสถานศึกษา รองผอ.สถานศึกษา ครูชำนาญการพิเศษ คศ.3 ศึกษานิเทศก์ สอบคัดเลือก ครูชำนาญการ คศ.2 ข้าราชการพลเรือนสามัญ โอน ครู โอน คศ.1 บุคลากรทางการศึกษาอื่น ตามมาตรา 38 ค (2) ครูผู้ช่วย

5 การเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม

6 มาตร 56 ให้ผู้ที่บรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาฯ ทดลองปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้น เว้นแต่ ผู้ใดได้รับการบรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งครู ให้ผู้นั้นเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม เป็นเวลา 2 ปี ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด

7 หนังสือสำนักงาน ก. ค. ศ. ที่ ศธ 2026
หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ / ว 20 ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม หลักเกณฑ์ ครูผู้ช่วยต้องเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มเป็นเวลาสองปี นับแต่วันเข้าปฏิบัติหน้าที่ราชการ ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู 1

8 แจ้ง ภาระงาน ก่อนการมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติ 2
หลักเกณฑ์และวิธีการการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม ผู้อำนวยการ สถานศึกษา ภาระงาน มาตรฐานคุณภาพงานมาตรฐานวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ เกณฑ์การประเมินผลงาน ระเบียบแบบแผน หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติราชการ บทบาทหน้าที่ของข้าราชการในฐานะเป็นพลเมืองดี แจ้ง 2

9 ส่งเสริม สนับสนุน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา งบประมาณ
3 ส่งเสริม สนับสนุน งบประมาณ บุคลากร เอกสารสื่อและอื่นๆ

10 ประเมิน ทุกสามเดือน 4 ในการประเมิน แต่ละครั้ง แจ้งผลการประเมิน ครูผู้ช่วย ประธาน รายงานผลการประเมิน ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53

11 ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน นับวันเข้าปฏิบัติราชการวันแรก
การนับระยะเวลา ลาคลอดบุตร ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานาน นับวันเข้าปฏิบัติราชการวันแรก เป็นวันเริ่มต้น เกินกว่า เก้าสิบวัน ลาเข้ารับการ ตรวจเลือก ไม่ให้นับระยะเวลาการลาที่เกินเก้าสิบวันเป็นเวลาการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม

12 วิธีการ ผู้อำนวยการสถานศึกษา ประธาน
ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน หนึ่งคน ผู้อำนวยการสถานศึกษา แต่งตั้งคณะกรรมการ จำนวน สามคน กรรมการ 1 ครู ที่ผู้อำนวยการสถานศึกษาแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมดูแล กรรมการและเลขานุการ

13 การประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้บรรลุผล ยึดหลักการมีส่วนร่วม
ให้คำปรึกษา คณะกรรมการมีหน้าที่ แนะนำ 2 ประเมินผล การประเมินเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้บรรลุผล ยึดหลักการมีส่วนร่วม และ

14 เมื่อผู้มีอำนาจ ตามมาตรา 53 ได้รับรายงาน 3
ผลการประเมิน ต่ำกว่าเกณฑ์ เห็นว่าควรทบทวน อาจให้พิจารณาทบทวนอีกครั้ง 3.1 หากผลการประเมิน ยังต่ำกว่าเกณฑ์ สั่งให้ออกจากราชการภายใน ห้าวันทำการ นับแต่วันรายงาน แจ้งให้ผู้นั้นทราบโดยเร็ว

15 ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 เห็นด้วย สั่งให้ ออกจากราชการ 3.2
ผลการประเมิน ต่ำกว่าเกณฑ์ ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 เห็นด้วย สั่งให้ ออกจากราชการ 3.2 แจ้งให้ผู้นั้นทราบโดยเร็ว ภายในห้าวันทำการ นับแต่วันที่ได้รับรายงาน ผลการประเมิน เป็นไปตามเกณฑ์ ให้มีการเตรียมความพร้อมและพัฒนาต่อไป 3.2

16 สั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู เสนอ กศจ.พิจาณาอนุมัติ
ครบเวลา 2 ปี ประธาน สรุปผลการประเมิน เสนอ ผู้มีอำนาจตามมาตรา 53 สั่งแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งครู ผู้มีอำนาจตรมมาตรา 53 เสนอ กศจ.พิจาณาอนุมัติ แจ้งให้ผู้นั้นทราบ

17 หลักสูตร หลักการ 1 เป็นหลักสูตรบูรณาการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทัศนคติ เจตคติและบุคลิกลักษณะในการปฏิบัติวิชาชีพ ทั้งการปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับวิชาชีพครู วัตถุประสงค์ 2 เพื่อเตรียมความพร้อมและเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทัศนคติ เจตคติและบุคลิกลักษณะของครูผู้ช่วยให้ปฏิบัติตนและการปฏิบัติงานในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นครูที่ดีได้

18 หมวดที่ 1 : การปฏิบัติตน
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งออกเป็น 2 หมวด 3 หมวดที่ 1 : การปฏิบัติตน 1 วินัยและการรักษาวินัยสำหรับข้าราชการครู 2 มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพครู 3 เจตคติต่อวิชาชีพครู 4 การพัฒนาตนเอง 5 การพัฒนาบุคลิกภาพ 6 การดำรงชีวิตที่เหมาะสม

19 หมวดที่ 2 : การปฏิบัติงาน
1 การจัดการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาทางวิชาการ การพัฒนาสถานศึกษา ความสัมพันธ์กับชุมชน 2 3 4 5

20 ประเมินผลสรุปทุก 3 เดือนรวม 8 ครั้ง ใช้แบบประเมินเดียวกัน
ระดับ 1 ต้องปรับปรุง การประเมินแต่ละหมวด มี 3 ระดับ ระดับ 2 พอใช้ ระดับ 3 ดี ประเมินผลสรุปทุก 3 เดือนรวม 8 ครั้ง ใช้แบบประเมินเดียวกัน ได้คะแนนประเมิน ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ครั้งที่ 4 อย่างต่ำ ร้อยละ 50 ได้คะแนนประเมิน ครั้งที่ 5 ครั้งที่ 6 ครั้งที่ 7 ครั้งที่ 8 อย่างต่ำ ร้อยละ 60

21 การพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

22 มาตร 80 ให้มีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งบางตำแหน่งและบางวิทยฐานะ เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะ เจตคติที่ดี คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพที่เหมาะสม ในอันที่จะทำให้การปฏิบัติหน้าที่ราชการเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความก้าวหน้าแก่ราชการ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด

23 หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ 2026.7/ ว 22 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560
เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน

24 ทำแผนพัฒนาตนเองรายปี เข้ารับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
หลักเกณฑ์ 1 พัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกปี ทำแผนพัฒนาตนเองรายปี เข้ารับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 2 ครูผ่านการพัฒนา ถือว่าเป็นการพัฒนาก่อนแต่งตั้งตามมาตรา 80

25 การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
3 หลักสูตร ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านความเป็นครู คุณลักษณะที่คาดหวัง สถาบันคุรุพัฒนารับรองหรือตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด เงื่อนไข พัฒนาอย่างต่อเนื่องทุกปี ปีละไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 20 ชั่วโมง ภายใน 5 ปีต้องมีชั่วโมงการพัฒนา 100 ชั่วโมง 5 ปีไม่ครบ 100 ชั่วโมง นำ PLC ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมงมารวม การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

26 วิธีการ 1 2 3 4 ส่วนราชการและผู้บังคับบัญชา
ส่งเสริม สนับสนุน ประสานให้ครูเข้ารับการพัฒนา 2 ครูประเมินตนเองตามแบบ จัดทำแผนพัฒนารายปี เสนอ ผอ.สถานศึกษา พร้อมหลักฐาน 3 ผอ.สถานศึกษาตรวจสอบ พิจารณาอนุญาต ครูเข้ารับการพัฒนา 4 ครูเข้ารับการพัฒนา นำผลสำเร็จ/หลักฐานบันทึกในประวัติฯ เสนอ ผอ.สถานศึกษา กรณี 5 ปีไม่ครบ 100 ชั่วโมง นำ PLC ส่วนที่เกิน 50 ชั่วโมงมารวมให้ครบ 100 ชั่วโมง ผอ.สถานศึกษาตรวจสอบ/รับรอง

27 มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ

28 มาตร 42 ให้ ก.ค.ศ.จัดทำมาตรฐานตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะและมาตรฐานตำแหน่งทางวิชาการ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไว้เป็นบรรทัดฐานทุกตำแหน่ง ทุกวิทยฐานะเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้โดยคำนึงถึงมาตรฐานวิชาชีพ คุณวุฒิการศึกษา การอบรม ประสบการณ์ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน คุณภาพการปฏิบัติงาน หรือผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

29 ก.ค.ศ.ได้กำหนดมาตรฐานตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ / ว 17 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2548 เรื่อง มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ปรับปรุงจำนวน 6 ครั้ง หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ / ว 20 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 เรื่อง การปรับปรุงมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา สายงานการสอน

30 มาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ
ประเภท ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา สายงาน การสอน มีลักษณะงานเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ส่งเสริมการเรียนรู้ บริหารจัดการชั้นเรียน พัฒนาผู้เรียน อบรมบ่มนิสัยให้ผู้เรียนมีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ปฏิบัติงานทางวิชาการของสถานศึกษา ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง บุคคลในชุมชน และหรือสถานประกอบการร่วมกันพัฒนาผู้เรียน การบริการสังคมด้านวิชาการ พัฒนาตนเองและวิชาชีพ และปฏิบัติงานอื่น ตามที่ได้รับมอบหมาย ลักษณะโดยทั่วไป ʘ ครูผู้ช่วย ʘ ครู ชื่อตำแหน่ง ʘ ครูชำนาญการ ʘ ครูชำนาญการพิเศษ ʘ ครูเชี่ยวชาญ ʘ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ชื่อวิทยฐานะ

31 หน้าที่ความรับผิดชอบ ด้านการจัดการเรียนการสอน
มาตรฐานตำแหน่ง ชื่อตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ ด้านการจัดการเรียนการสอน วินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้านบริหารการจัดการชั้นเรียน ด้านพัฒนาตนเอง คุณสมบัติเฉพาะสำหรับผู้ดำรงตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน

32 มาตรฐานวิทยฐานะ ชื่อวิทยฐานะ หน้าที่ความรับผิดชอบ คุณภาพการปฏิบัติงาน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน วินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ คุณสมบัติสำหรับตำแหน่ง การให้ได้รับเงินเดือน

33 การขอมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

34 ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังต่อไปนี้
มาตร 39 ให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ดังต่อไปนี้ เป็นตำแหน่งที่มีวิทยฐานะ ก. ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้ (1) ครูชำนาญการ (2) ครูชำนาญการพิเศษ (3) ครูเชี่ยวชาญ (4) ครูเชี่ยวชาญพิเศษ

35 ข. ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้
ข. ตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้ (1) รองผู้อำนวยการชำนาญการ (2) รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ (3) รองผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (4) ผู้อำนวยการชำนาญการ (5) ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ (6) ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ (7) ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญพิเศษ

36 ค. ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้
ค. ตำแหน่งผู้บริหารการศึกษา มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้ (1) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชำนาญการพิเศษ (2) รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ (3) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชำนาญการพิเศษ (4) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญ (5) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ

37 จ. ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่ ก.ค.ศ.กำหนดให้มีวิทยฐานะ
ง. ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ มีวิทยฐานะดังต่อไปนี้ (1) ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ (2) ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ (3) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ (4) ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญพิเศษ จ. ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่ ก.ค.ศ.กำหนดให้มีวิทยฐานะ

38 อัตราเงินวิทยฐานะและค่าตอบแทน
วิทยะฐานะ เงินวิทยฐานะ เงินค่าตอบแทน รวม เชี่ยวชาญพิเศษ 15,600 31,200 13,000 26,000 เชี่ยวชาญ 9,900 19,800 ชำนาญการพิเศษ 5,600 11,200 ชำนาญการ 3,500 - ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ ผู้ใดได้รับเงินสูงกว่า เงินเดือนขั้นสูงของเงินเดือนอันดับ คศ.4 ให้ได้รับเงินวิทยฐานะ 15,600 บาท

39 ก.ค.ศ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ
ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ / ว 25 ลงวันที่ 29 ธันวาคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ ปรับปรุงจำนวน 3 ครั้ง หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ / ว 21 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู มีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ

40 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ
1 ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ ครูเชี่ยวชาญพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ ครูชำนาญการพิเศษ ครูชำนาญการ 5 ปี 5 ปี 5 ปี 5 ปี

41 ชั่วโมงปฏิบัติการสอนในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 5 ปี 1 2 3 4
ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญ เชี่ยวชาญพิเศษ รวมไม่น้อยกว่า 800 ชั่ว : ปี รวมไม่น้อยกว่า 900 ชั่ว : ปี 1 ชั่งโมงสอนตามตารางสอน 2 งานสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 3 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น 4 PLC ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง : ปี

42 วินัยคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
3 วินัยคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย หรือจรรยาบรรณวิชาชีพในช่วงระยะเวลาย้อนหลัง 5 ปีนับถึงวันที่ยื่นคำขอ

43 ผ่านการพัฒนาตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด อบรมพัฒนาหลักสูตรที่คุรุสภารับรอง
4 ผ่านการพัฒนาตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด ก.ค.ศ.กำหนดหลักสูตรและชั่วโมงการอบรมและพัฒนาสำหรับการมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ พัฒนาตนเอง พัฒนาวิชาชีพ อบรมพัฒนาหลักสูตรที่คุรุสภารับรอง ชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพใน (PLC) ปีละไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 20 ชั่วโมง ระยะเวลา 5 ปีรวมกันไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง

44 ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
5 ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ นับแต่วันที่ยื่นคำขอย้อนหลัง 5 ปีการศึกษาติดต่อกัน 1 ด้านการเรียนการสอน 2 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน 3 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ เชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษ เพิ่มผลงานทางวิชาการไม่น้อยกว่า 2 รายการ เชี่ยวชาญ เป็นงานวิจัยในชั้นเรียนไม่น้อยกว่า 1 รายการ เชี่ยวชาญพิเศษ เป็นงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน ไม่น้อยกว่า 1 รายการ

45 ตัวชี้วัดการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
ด้านการเรียนการสอน ตัวชี้วัดการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ สร้างและหรือพัฒนาหลักสูตร 1 การจัดการเรียนรู้ 2 2.1 การออกแบบหน่วยการเรียนรู้ 2.2 การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) แผนการจัดการเรียนรู้เฉพาะบุคคล (IIP) แผนการจัดประสบการณ์ 2.3 กลยุทธ์ในการจัดการเรียนรู้ 2.4 คุณภาพผู้เรียน 3 สร้างและพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 4 การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 5

46 ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
ตัวชี้วัดการประเมินผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ 1 การบริหารการจัดชั้นเรียน 2 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสาร ประจำชั้นเรียนหรือประจำวิชา 3

47 ด้านการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ
อบรมพัฒนาหลักสูตรที่คุรุสภารับรอง ปีละไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 20 ชั่วโมง ระยะเวลา 5 ปีรวมกันไม่น้อยกว่า 100 ชั่วโมง ชั่วโมงการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ ทางวิชาชีพใน (PLC) ไม่น้อยกว่า 50 ชั่วโมง พัฒนาวิชาชีพ

48 ชำนาญการและชำนาญการพิเศษ
เอกสารที่ต้องส่ง ชำนาญการและชำนาญการพิเศษ 1 คำขอรับการประเมิน (วฐ.1) 2 แบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (วฐ.2) 3 แฟ้มสะสมผลงานหรือแฟ้มสะสมอิเล็กทรอนิคส์ (e-portfolio) ผ่านการรับรองจาก ผอ.สถานศึกษา 4 สมุดบันทึกผลการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ (Loogbook) 5 สำเนาแฟ้มประวัติข้าราชการ (ก.พ.7) 6 เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง

49 เชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษ
เอกสารที่ต้องส่ง เชี่ยวชาญและเชี่ยวชาญพิเศษ 1 คำขอรับการประเมิน (วฐ.1) 2 แบบรายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (วฐ.2) 3 แฟ้มสะสมผลงานหรือแฟ้มสะสมอิเล็กทรอนิคส์ (e-portfolio) ผ่านการรับรองจาก ผอ.สถานศึกษา 4 สมุดบันทึกผลการพัฒนาตนเองและพัฒนาวิชาชีพ (Loogbook) 5 สำเนาแฟ้มประวัติข้าราชการ (ก.พ.7) 6 ผลงานทางวิชาการ 7 เอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง

50 เกณฑ์การประเมินวิทยฐานะ
1. ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะ 2. ชั่วโมงการปฏิบัติงาน 3. วินัยคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 4. ผ่านการพัฒนาที่ ก.ค.ศ.กำหนด 5. ผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 5 ปี

51 สิทธิประโยชน์ของครู

52 สิทธิประโยชน์ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
การเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 การลา 2 การไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนา 3 การย้าย 4 5 การยกเว้นเข้ารับการตรวจเลือก การขอรับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา 6

53 การเลื่อนขั้นเงินเดือน ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
1 ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กฎ ก.ค.ศ.ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2550 1 ประกาศ สพฐ. เรื่อง แนวปฏิบัติในการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ พ.ศ.2551 2

54 การเลื่อนขั้นเงินเดือนของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ให้เลื่อนปีละสองครั้ง ดังต่อไปนี้ 1. ครั้งที่หนึ่งครึ่งปีแรก เลื่อนวันที่ 1 เมษายนของปีที่ได้เลื่อน 2. ครั้งที่สองครึ่งปีหลัง เลื่อนวันที่ 1 ตุลาคมของปีถัดไป

55 ข้อ 6 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นในแต่ละครั้งต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ในครึ่งปีที่แล้วมามีผลการปฏิบัติงาน ความประพฤติในการรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งคณะกรรมการได้พิจารณาประเมินตามข้อ 3 แล้วเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สมควรจะได้เลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้น (2) ในครึ่งปีที่แล้วมาจนถึงวันออกคำสั่งเลื่อนขั้นเงินเดือนต้องไม่ถูกสั่งลงโทษทางวินัย ที่หนักกว่าโทษภาคทัณฑ์ หรือไม่ถูกศาลพิพากษาในคดีอาญาให้ลงโทษในความผิดที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือความผิดที่ทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของตน ซึ่งมิใช่ความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (3) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกินกว่าสองเดือน (4) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ขาดราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร

56 (5) ในครึ่งปีที่แล้วมาได้รับการบรรจุเข้ารับราชการมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือน
(6) ในครึ่งปีที่แล้วมาถ้าเป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาในประเทศ หรือไปศึกษา ฝึกอบรมหรือดูงาน ณ ต่างประเทศ ตามระเบียบว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน ณ ต่างประเทศ ต้องได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการในครึ่งปีที่แล้วมาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสี่เดือน (7) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องไม่ลาหรือมาทำงานสายเกินจำนวนครั้งที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนด (8) ในครึ่งปีที่แล้วมาต้องมีเวลาปฏิบัติราชการหกเดือน โดยมีวันลาไม่เกินยี่สิบสามวัน แต่ไม่รวมถึงวันลา ดังต่อไปนี้

57 (ก) ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจญ์
(ข) ลาคลอดบุตรไม่เกินเก้าสิบวัน (ค) ลาป่วยซึ่งจำเป็นต้องรักษาตัวเป็นเวลานานไม่ว่าคราวเดียวหรือหลายคราว รวมกันไม่เกินหกสิบวันทำการ (ง) ลาป่วยเพราะประสบอันตรายในขณะปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือในขณะเดินทางไปหรือกลับจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ (จ) ลาพักผ่อน (ฉ) ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล (ช) ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ การนับจำนวนวันลาไม่เกินยี่สิบสามวันสำหรับวันลากิจส่วนตัวและวันลาป่วย ที่ไม่ใช่วันลาป่วยตาม (๘) (ง) ให้นับเฉพาะวันทำการ

58 ข้อ 7 ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาซึ่งจะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนหนึ่งขั้นในแต่ละครั้ง ต้องเป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นตามข้อ ๖และต้องเป็นผู้อยู่ในหลักเกณฑ์ประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการดังต่อไปนี้ด้วย (1) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ผลดีเด่น มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อันก่อให้เกิดประโยชน์และผลดียิ่งต่อผู้เรียนและการจัดการศึกษาจนถือเป็นตัวอย่างที่ดีได้ (2) ปฏิบัติงานโดยมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือมีผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ โดยได้ค้นคว้าหรือประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและการจัดการศึกษาเป็นพิเศษ และทางราชการได้ดำเนินการตามความคิดริเริ่มหรือได้รับรองให้ใช้การค้นคว้าหรือสิ่งประดิษฐ์นั้น

59 (3) ปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่มีสถานการณ์ตรากตรำเสี่ยงอันตรายมากหรือมีการต่อสู้ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของชีวิตเป็นกรณีพิเศษ (4) ปฏิบัติงานที่มีภาระหน้าที่หนักเกินกว่าหน้าที่ความรับผิดชอบจนเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนและการจัดการศึกษาเป็นพิเศษ และปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ของตนเป็นผลดีด้วย (5) ปฏิบัติงานตามตำแหน่งหน้าที่ด้วยความตรากตรำเหน็ดเหนื่อย ยากลำบากเป็นพิเศษ และงานนั้นได้ผลดียิ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและการจัดการศึกษา (6) ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้กระทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งทางการศึกษาจนสำเร็จเป็นผลดียิ่งแก่ประเทศชาติ

60 สพฐ.กำหนดการลาบ่อยครั้งและการมาสายเนืองๆไว้ดังนี้
ลาเกิน 6 ครั้ง สำหรับข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในสถานศึกษา ลาเกิน 8 ครั้ง สำหรับข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในสำนักงาน การมาสายเนื่องๆ มาสายเกิน8 ครั้ง สำหรับข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในสถานศึกษา มาสายเกิน 9 ครั้ง สำหรับข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในสำนักงาน

61 ผลการประเมิน ดีเด่น ร้อยละ 90 – 100 อยู่ในข่ายที่อาจได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 1 ขั้น เป็นที่ยอมรับได้ ร้อยละ 60 – 89 อยู่ในข่ายที่อาจได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน 0.5 ขั้น ต้องปรับปรุง ต่ำกว่าร้อยละ 60 ไม่ควรเลื่อนขั้นเงินเดือน

62 การลา ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี
2 ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555

63 ประเภทการลา 1 ลาป่วย 2 ลาคลอดบุตร 3 ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร 4 ลากิจส่วนตัว 5 ลาพักผ่อน 6 ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ 7 ลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน 8 ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ 9 ลาติดตามคู่สมรส 10 ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ 11

64 การนับวันลาและยื่นใบลา
การลาทุกประเภทให้นับตามปีงบประมาณ 1 การนับวันลา ให้นับต่อเนื่องกันโดยนับวันหยุดราชการที่อยู่ในระหว่างวันลาประเภทเดียวกันรวมเป็นวันลาด้วย เว้นแต่การนับเพื่อประโยชน์ในการคำนวณวันลา 2 วันลาป่วย ที่มิใช่วันลาป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ วันลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร วันลากิจส่วนตัว และวันลาพักผ่อน ให้นับเฉพาะวันทำการ 3

65 การลาป่วยหรือลากิจส่วนตัวซึ่งระยะเวลาต่อเนื่องกัน จะเป็นในปีในปีงบประมาณเดียวกันหรือไม่ก็ตาม ให้นับเป็นการลาครั้งหนึ่ง ถ้าจำนวนวันลาครั้งหนึ่งรวมกันเกินอำนาจของผู้มีอำนาจอนุญาตระดับใด ให้นำใบลาเสนอขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจ 4 5 การลาครึ่งวันในตอนเช้าหรือตอนบ่าย ให้นับเป็นการลาครึ่งวันตามประเภทของการลานั้นๆ ใบลาที่มีข้อความไม่ครบถ้วนตามแบบหรือจะลาโดยวิธีการอย่างอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ 6

66 การลาให้ใช้ใบลาตามแบบท้ายระเบียบนี้ เว้นแต่ในกรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาที่มีข้อความไม่ครบถ้วนตามแบบหรือจะลาโดยวิธีการอย่างอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบในวันแรก ที่มาปฏิบัติราชการ 7 8 ส่วนราชการอาจนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการเสนอใบลา อนุญาตให้ลาและยกเลิกวันลา สำหรับการลาป่วย ลาพักผ่อน หรือลากิจส่วนตัวซึ่งมิใช่ลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ก็ได้ ทั้งนี้ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจะต้องเป็นระบบที่มีความปลอดภัย รัดกุมสามารถตรวจสอบตัวบุคคล และเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการลาเป็นหลักฐานในราชการได้

67 การลาป่วย ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา/ผู้มีอำนาจอนุญาตก่อนหรือในวันลา เว้นแต่ในกรณีจำเป็น จะเสนอหรือจัดส่งใบลาในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการได้ 1 ในกรณีผู้ขอลามีอาการป่วยจนไม่สามารถจะลงชื่อในใบลาได้ จะให้ผู้อื่นลาแทนก็ได้ แต่เมื่อสามารถลงชื่อได้แล้ว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาโดยเร็ว 2 การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์ ในกรณีจำเป็นหรือเห็นสมควรผู้มีอำนาจจะสั่งให้ใช้ใบรับรองของแพทย์อื่นซึ่งผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นชอบแทนก็ได้ 3 4 การลาป่วยไม่ถึง 30 วัน ไม่ว่าจะเป็นการลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกัน ถ้าผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นสมควร จะสั่งให้มีใบรับรองของแพทย์มาประกอบใบลา หรือสั่งให้ผู้ลาไปรับการตรวจจากแพทย์ของทางราชการเพื่อประกอบการพิจารณาอนุญาตก็ได้

68 การกิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร
การลาคลอดบุตร 1 การลาคลอดบุตรจะลาในวันที่คลอด ก่อน หรือหลังวันที่คลอดบุตรก็ได้ แต่เมื่อรวมวันลาแล้วต้องไม่เกิน 90 วัน โดยไม่ต้องมีใบรับรองของแพทย์ 2 กรณีได้หยุดราชการไปแล้ว แต่ไม่ได้คลอดตามกำหนด หากจะขอยกเลิกวันลาที่หยุด ให้ผู้มีอำนาจอนุญาตให้ยกเลิกได้ โดยถือว่าวันที่หยุดราชการไปแล้ว เป็นวันลากิจส่วนตัว การกิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ลาคลอดบุตรแล้ว หากจะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้มีสิทธิลาต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 150 วันทำการ

69 การลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนหรือในวันที่ลา ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่คลอดบุตร และให้มีสิทธิลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตรครั้งหนึ่งติดต่อกันได้ไม่เกิน15 วันทำการ การกิจส่วนตัว ให้เสนอต่อผู้บังคับบัญชาและเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะหยุดราชการได้ เว้นแต่ มีเหตุจำเป็นไม่สามารถรอรับอนุญาตได้ทัน จะเสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อมระบุเหตุจำเป็นไว้ แล้วหยุดราชการไปก่อนก็ได้ แต่จะต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว 1 ในกรณีมีเหตุพิเศษที่ไม่อาจจัดส่งใบลาก่อนได้ ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อมทั้งเหตุผลความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาทันทีในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ 2

70 การพักผ่อน 1 ข้าราชการมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในงบประมาณหนึ่งได้ไม่เกิน 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการที่ได้รับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน ถ้าในปีใดข้าราชการผู้ใดมิได้ลาพักผ่อนประจาปี หรือลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อๆ ไปได้ แต่วันลาสะสมรวมกับวันลาปัจจุบันต้องไม่เกิน 10 วันทำการ 2 3 สาหรับผู้ที่ได้รับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ให้มีสิทธินำวันลาพักผ่อนสะสมรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันได้ไม่เกิน 30 วันทาการ ข้าราชการประเภทใดที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาและมีวันหยุดภาคการศึกษา หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกินกว่าวันลาพักผ่อนตามระเบียบนี้ ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนตามที่กำหนดไว้ในส่วนนี้ 4

71 การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์
ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันอุปสมบทหรือก่อนวันเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ไม่น้อยกว่า 60 วัน ในกรณีมีเหตุพิเศษไม่อาจเสนอหรือจัดส่งใบลาก่อน 60 วัน ให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นประกอบการลา และให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตที่จะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้ 1 2 ข้าราชการที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือได้รับอนุญาตให้ลาไปประกอบพิธีฮัจย์แล้ว จะต้องอุปสมบทหรือออกเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ภายใน ๑๐ วันนับแต่วันเริ่มลา และจะต้องกลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน ๕ วันนับแต่วันที่ลาสิกขาหรือวันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทยหลังจากการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ทั้งนี้ จะต้องนับรวมอยู่ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตการลา

72 การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ (ต่อ)
3 หากได้ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์และได้หยุดราชการไปแล้ว หากปรากฏว่ามีปัญหาอุปสรรคทำให้ไม่สามารถอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจย์ตามที่ขอลาไว้ เมื่อได้รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติและขอยกเลิกวันลา โดยให้ถือว่าวันที่ได้หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว

73 การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล
ข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง 1 ส่วนข้าราชการที่ได้รับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลารับหมายเรียกเป็นต้นไปและให้ไปเข้ารับการตรวจเลือก โดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาต และให้ผู้บังคับบัญชาเสนอรายงานลาไปตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ 2 3 เมื่อข้าราชการที่ลานั้นพ้นจากการเข้ารับการตรวจเลือกแล้ว ให้มารายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติภายใน 7 วัน เว้นแต่กรณีที่มีเหตุจาเป็น อาจจะขยายเวลาให้ได้แต่รวมแล้วไม่เกิน 15 วัน

74 การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน
ข้าราชการซึ่งประสงค์จะลาไปศึกษา ฝึกอบรม ปฏิบัติการวิจัย หรือดูงาน ในประเทศหรือต่างประเทศ เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชา โดยถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทาการซึ่งให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการ

75 การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ
การลาติดตามคู่สมรส ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน 2 ปี และในกรณีจำเป็นอาจอนุญาตให้ลาต่อได้อีก 2 ปี แต่เมื่อรวมแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกิน 4 ปีให้ลาออกจากราชการ การลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ ข้าราชการผู้ใดได้รับอันตรายหรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ จนทำให้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพหรือพิการ หากข้าราชการผู้นั้นประสงค์จะลาไปเข้ารับการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หรือจำเป็นต่อการประกอบอาชีพ แล้วแต่กรณี มีสิทธิลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพครั้งที่หนึ่งได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่ประสงค์มา แต่ไม่เกิน 12 เดือน

76 อำนาจอนุญาตการลา ผู้มีอำนาจอนุญาต ผู้ลา วันอนุญาตครั้งหนึ่งไม่เกิน
ลาป่วย ลากิจส่วนตัว หัวหน้าส่วนราชการ(เลขาธิการ กพฐ.) ข้าราชการทุกตำแหน่งในสังกัด 120 45 ผู้อำนวยการ (ผอ.ร.ร./ผอ.เขต) 60 30

77 การขอเบิกจ่ายเงินเดือนระหว่างลา
ตามมาตรา 27 แห่ง พระราชกฤษฏีกาการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินเดือนในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2535 ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ ให้ข้าราชการที่ลาป่วย ได้รับเงินเดือนระหว่างลาได้ในปีหนึ่งไม่เกินหกสิบวันทำการ แต่ถ้าผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ ตำแหน่งอธิบดีหรือตำแหน่งเทียบเท่าขึ้นไปเห็นสมควร จะให้จ่ายเงินเดือนต่อไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินหกสิบวันทำการ

78 การไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนา
การไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนา 3 ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่ ศธ /084 ลงวันที่ 8 เมษายน 2553

79 การศึกษาต่อภายในประเทศ
ภาคปกติ ใช้เวลาราชการเต็มเวลา มี 2 ประเภท ประเภท ก : ผู้บังคับบัญชาคัดเลือก ประเภท ข : ไปสมัครสอบคัดเลือกหรือได้รับคัดเลือกด้วยตนเอง ภาคนอกเวลาราชการ ก. ใช้เวลาราชการบางส่วน ข. ไม่ใช้เวลาราชการ ภาคฤดูร้อน

80 การศึกษาต่อภาคปกติ หลักเกณฑ์
เป็นผู้เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้ลาศึกษาต่อแล้ว จะต้องมีเวลากลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ได้ก่อนครบเกษียณอายุราชการ 1 2 เป็นผู้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่จนเกิดผลดีต่อทางราชการ 3 เป็นผู้พ้นจากการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มหรือพ้นจากการทดลองปฏิบัติราชการแล้ว แต่กรณี 4 เป็นผู้ที่เคยอนุญาตให้ไปศึกษาต่อแล้ว กลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการ ไม่น้อยกว่า 12 เดือน เว้นแต่เป็นประโยชน์ต่อทางราชการ ให้พิจารณาเป็นราย ๆ ไป

81 การจะอนุญาตให้ผู้ไปศึกษาต่อภาคปกติ ประเภท ข ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต (พิจารณาจาก)
1 ระดับการศึกษา 2 สาขาวิชาที่สอดคล้องหรือเป็นประโยชน์กับงาน 3 มาตรฐานตำแหน่งที่ดำรงอยู่ตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด 4 อัตรากำลังที่ปฏิบัติงานอยู่

82 การศึกษาต่อภาคนอกเวลา
ผู้ใช้เวลาราชการบางส่วนไปศึกษา เป็นผู้เมื่อครบกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตให้ลาศึกษาต่อแล้ว จะต้องมีเวลากลับมาปฏิบัติราชการชดใช้ได้ก่อนครบเกษียณอายุราชการ เป็นผู้พ้นจากการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้าหรือพ้นจากการทดลองปฏิบัติราชการแล้ว แต่กรณี ผู้ไม่ใช้เวลาราชการไปศึกษา ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไข ตามข้อ ก

83 การศึกษาต่อภาคฤดูร้อน
1 วิชาที่จะไปศึกษาต่อภาคฤดูร้อนต้องเป็นประโยชน์ต่อหน้าที่ราชการ 2 ผู้บังคับบัญชารับรองว่า หากไปศึกษาภาคฤดูร้อนจะไม่เกิดความเสียหายต่อทางราชการ 3 จำนวนผู้ไปศึกษาต่อภาคฤดูร้อน อยู่ที่ดุลยพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต

84 การอนุญาตให้ไปศึกษาต่อภาคนอกเวลา
1 ต้องนำหลักฐานแสดงผลการสอบคัดเลือกมาแสดงต่อผู้มีอำนาจอนุญาต เพื่อขออนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงไปศึกษาต่อภาคนอกเวลาได้ไป 2 ถ้าจะไปศึกษาค้นคว้าเพื่อทำวิทยานิพนธ์ ต้องขออนุญาตลาว่าด้วยระเบียบการลา ผู้ที่ไม่ใช้เวลาราชการบางส่วนไปศึกษาภาคนอกเวลา ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องรายงานเป็นรายลักษณ์อักษรให้ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นทราบก่อน จึงจะไปศึกษาภาคนอกเวลาได้

85 หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องใช้เวลาราชการบางส่วนไปศึกษาต่อภาคนอกเวลา เป็นผู้บังคับบัญชาชั้นต้นที่ตนปฏิบัติงานอยู่รับรองว่า หากไปศึกษาภาคนอกเวลาแล้วจะไม่เกิดความเสียหายต่อทางราชการ 1 เป็นผู้ที่เอาใจใส่ในการปฏิบัติราชการเป็นอย่างดี และใช้เวลาไปศึกษาต่อเฉลี่ยไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง 30 นาที รวมแล้วไม่เกิน 7 ชั่วโมง 30 นาทีต่อสัปดาห์หรือไม่เกิน 1 วันทำการต่อสัปดาห์ 2 จำนวนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่จะได้รับอนุญาตไปศึกษาต่อภาคนอกเวลา ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจอนุญาต 3 4 วิชาที่จะไปศึกษาต่อภาคนอกเวลา ต้องเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ สถานศึกษาใดมีผู้สอบเข้าศึกษาต่อภาคนอกเวลาได้เกินจำนวนที่อนุญาต ให้พิจารณาตามลำดับอาวุโสของทางราชการและให้โอกาสได้รับการพัฒนาเท่าเทียมกัน 5

86 การย้าย 4 ตามหนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ.ที่ ศธ /ว 24 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2559 การย้าย หมายถึง ว่าง ตำแหน่งเดิม ไปสถานศึกษาอื่น สับเปลี่ยน ตัดโอน

87 การย้าย มี 3 กรณี 1. กรณีปกติ 2. กรณีพิเศษ
3. เพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ของทางราชการ

88 คุณสมบัติของผู้ขอย้ายกรณีปกติ
ปฏิบัติงานในตำแหน่งครูในสถานศึกษาปัจจุบันไม่น้อยกว่า 24 เดือน นับถึงวันสุดท้ายที่กำหนดให้ยื่นคำร้องขอย้าย 1 2 ไม่อยู่ระหว่างศึกษาต่อเต็มเวลา การย้ายสับเปลี่ยน ในวันยื่นคำร้องต้องมีเวลาราชการเหลือไม่น้อยกว่า 24 เดือนนับถึงวันที่ 30 กันยานนของปีเกษียณ 3 4 ให้ยื่นคำร้องขอย้ายปีละ 1 ครั้งในเดือนมากราคม เป็นเวลา 15 วันทำการ คำร้องขอย้ายใช้พิจารณาถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีเดียวกัน โดยพิจารณา 2 รอบ รอบที่ 1 ในระหว่าง15 กพ.–15 มี.ค. รอบที่ 2 ระหว่าง15 ก.ย.–15 ต.ค. แต่ละรอบอาจย้ายมากกว่า 1 ครั้งได้ 5 6 คำร้องใดไม่ได้พิจารณาในภายในวันที่ 31 ธันวาคม เป็นอันยกเลิก

89 การย้ายกรณีพิเศษ ยื่นตามคำร้องขอย้าย เนื่องจากติดตามคู่สมรส เจ็บป่วยร้ายแรง ถูกคุคามต่อชีวิต เพื่อดูแลบิดา มารดาหรือบุตร ซึ่งเจ็บป่วยร้ายแรงหรือทุกพลภาพ ต้องมีหลักฐานของทางราชการ หรือทางการแพทย์แผนปัจจุบัน แล้วแต่กรณี ตลอดจนความเห็นและคำรับรองของผู้บังคับบัญชาชั้นต้นประกอบการพิจารณา 1 ผู้ขอย้ายยื่นคำร้องขอย้ายได้ตลอดปี เมื่อคำร้องขอย้ายได้รับการพิจารณาผล เป็นประการใดแล้ว ถืออันยุติ 2

90 การย้ายเพื่อความเหมาะสมและประโยชน์ของทางราชการ
1 เพื่อแก้ปัญหาการบริหารจัดการในสถานศึกษา 2 เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2 เพื่อเกลี่ยอัตรากำลังในสถานศึกษา อยู่ในดุลพินิจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เสนอ อ.ก.ศ.จ. / กศจ. พิจารณา อาจพิจารณาจากคำร้องขอย้ายหรือไม่ก็ได้

91 การยกเว้นเข้ารับการตรวจเลือก
5 มาตรา 14 แห่ง พรบ.รับราชการทหาร พ.ศ บัญญัติว่า บุคคลที่ลงทะเบียนทหารกองเกินแล้ว ไม่เรียกมาตรวจเลือก 1 พระภิกษุสามเณรและนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือยวน ซึ่งเป็นนักธรรมตามที่กระทรวงศึกษารับรอง 2 นักบวชศาสนาอื่นที่มีหน้าที่ประจำในกิจของศาสนาที่กำหนดในกฎกระทรวงและผู้ว่าราชการจังหวัดออกหนังสือสำคัญให้ไว้

92 บุคคลที่ลงทะเบียนทหารกองเกินแล้ว ไม่เรียกมาตรวจเลือก (ต่อ)
3 บุคคลที่ซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรทีกระทรวงกลาโหมกำหนด ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร 4 นักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารของกระทรวงกลาโหม ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่างๆ ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้ 5

93 บุคคลที่ลงทะเบียนทหารกองเกินแล้ว ไม่เรียกมาตรวจเลือก (ต่อ)
6 นักศึกษาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ 7 นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม 8 บุคคลซึ่งได้สัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ 9 บุคคลซึ่งได้รับโทษจำ คุกโดยคำ พิพากษาถึงที่สุดให้จำ คุกครั้งเดียวตั้งแต่สิบปีขึ้นไป หรือเคยได้รับโทษจำ คุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำ คุกหลายครั้งรวมกันตั้งแต่สิบปีขึ้นไปหรือเคยถูกศาลพิพากษาให้กักกัน

94 เครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา
6 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ คือ สิ่งซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติยศและบำเหน็จความชอบ เป็นของพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นสำหรับพระราชทานเป็น บำเหน็จความชอบ ในราชการ ที่ใช้สำหรับพระราชทานแก่ผู้กระทำความดี ความชอบอันเป็นประโยชน์ แก่ประเทศ ศาสนา และประชาชน และเหรียญที่ ระลึกที่พระราชทานเป็นบำเหน็จ ความชอบในโอกาสต่าง ๆ และที่ทรง พระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บุคคลประดับได้อย่างเครื่องราช อิสริยาภรณ์ ตามที่ทาง ราชการกำหนด

95 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ผู้มีสิทธิขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
1 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ชนิดของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ 1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก 2. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย 3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ 4. เหรียญจักรพรรดิมาลา ผู้มีสิทธิขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามระเบียบฯ ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราช สริยาภรณ์ฯ พ.ศ. 2536 1. ข้าราชการจะต้องมีระยะเวลารับราชการติดต่อกันมาแล้ว ไม่น้อยกว่า ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันเริ่มเข้ารับราชการ จนถึง วันก่อนวันพระราชพิธี เฉลิมพระชนมพรรษา ของปีที่ขอ พระราชทานไม่น้อยกว่า 60 วัน

96 ผู้มีสิทธิขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ต่อ)
2. ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ จะต้องปฏิบัติงานติดต่อกันมาเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 8 ปีบริบูรณ์นับตั้งแต่วันเริ่มจ้าง จนถึงวันก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปี ที่ขอพระราชทานไม่น้อยกว่า 60วัน หากข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ถูกลงโทษทางวินัยในปีใด ให้เพิ่มกำหนดระยะ เวลาการขอพระราชทานอีก1 ปี ยกเว้น โทษภาคทัณฑ์ 3. ในกรณีที่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ต้องพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ เพราะเกษียณอายุในปีใดให้มีสิทธิได้รับ การพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในปีที่พ้นจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นด้วย

97 2 เหรียญจักรพรรดิมาลา ตามพระราชบัญญัติเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา พ.ศ บัญญัติให้มี เหรียญจักรพรรดิมาลา เพื่อ พระราชทานให้แก่ข้าราชการฝ่ายพลเรือนที่รับราชการมาด้วยความ เรียบร้อยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี โดยไม่เคย ได้รับโทษทางวินัย การนับเวลาในการขอพระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ให้นับเวลาราชการทั้งหมดรวมกัน ทั้งนี้จะต้อง จัดทำประวัติการรับราชการ ประกอบการขอพระราชทาน โดยให้เรียงลำดับ การรับราชการตั้งแต่เข้ารับราชการจนครบ 25 ปีบริบูรณ์

98 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt ความก้าวหน้า และ สิทธิประโยชน์ของครู

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google