งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผศ.ดร.สุจิตรา อู่รัตนมณี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผศ.ดร.สุจิตรา อู่รัตนมณี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผศ.ดร.สุจิตรา อู่รัตนมณี
การเตรียมตัวเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผศ.ดร.สุจิตรา อู่รัตนมณี

2 สิ่งที่ต้องทำ ตั้งเป้าหมาย ศึกษาเกณฑ์ วางแผน ดำเนินการ

3 เกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการ
ก่อนตุลาคม 2561 ใช้เกณฑ์เก่า หลังตุลาคม 2561 ใช้เกณฑ์ใหม่ (ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ )

4 ต้องรอจนกว่าจะพ้นทดลองปฏิบัติราชการ หรือทดลองปฏิบัติงานเสียก่อน
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดํารงตําแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ *สรุป* ต้องรอจนกว่าจะพ้นทดลองปฏิบัติราชการ หรือทดลองปฏิบัติงานเสียก่อน ต้องไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างลาศึกษา ฝึกอบรม หรือถูกยืมตัวไปปฏิบัติ ราชการอย่างอื่นเต็มเวลา ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่ง อาจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี หรือ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่ง อาจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี หรือ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ต้องดำรงตำแหน่ง อาจารย์และได้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

5 ผลการสอน : ผู้ช่วยศาสตราจารย์
มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของ สถาบันอุดมศึกษา ซึ่งเทียบค่าได้ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต ระบบ ทวิภาค และมี ความชำนาญในการสอน จะต้องเสนอเอกสาร หลักฐานที่ใช้ในการประเมินผลการสอนที่ผลิตขึ้นตามภาระงาน สอน (ต้องแนบหลักฐานได้แก่ ผลการประเมินของนักศึกษาและ เอกสารประกอบการสอนที่ได้เผยแพร่ไปแล้ว โดยเอกสาร ประกอบการสอนต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการ พิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในข้อบังคับของสภาสถาบัน)

6 ผลงานทางวิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผลงานทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดี ประกอบด้วย (1) ผลงานวิจัย 2 เรื่อง หรือ (2) ผลงานวิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการรับใช้สังคม 1 เรื่อง หรือ (3) ผลงานวิจัย 1 เรื่อง และผลงานวิชาการในลักษณะอื่น 1 รายการ หรือ (4) ผลงานวิจัย 1 เรื่อง และตำรา หรือหนังสือ 1 เล่ม ** ข้อสังเกต ต้องมีผลงานวิจัยประกอบ ทุกรายการ 1-4 อย่างน้อย 1 เรื่อง

7 การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ โดยวิธีพิเศษ
การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ โดยวิธีพิเศษ กรณีมีเหตุผลและความจำเป็นอย่างยิ่ง มี 3 วิธี คือ การขอข้ามตำแหน่ง เช่น จากอาจารย์ >> รอง ศาสตราจารย์ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งไม่ครบ เช่น อายุงาน/ ประสบการณ์สอนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ การขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในสาขาวิชาที่ แตกต่างจากสาขาวิชาเดิม เช่น เดิมเป็น ผศ.ทาง พยาบาลศาสตร์ พอขอ รศ.ขอทางการศึกษาเป็นต้น

8 การขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิธีพิเศษ
เสนอผลงานทางวิชาการและให้ดำเนินการตามวิธีการ เช่นเดียวกับการแต่งตั้งตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์โดยวิธีปกติ โดยอนุโลม โดยให้แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนอย่าง น้อย 5 คนพิจารณาผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและ จรรยาบรรณทางวิชาการ โดยการตัดสินของที่ประชุมให้ถือเสียง ข้างมาก ทั้งนี้ ผลงานทางวิชาการต้องมีคุณภาพอยู่ในระดับดี มาก

9 ลักษณะการมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
1. ผลงานทางวิชาการที่เสนอเพื่อประกอบการพิจารณาต้องเป็นงานที่ผู้ขอต้องเป็นเจ้าของ และเป็นผู้ดำเนินการเอง 2. ถ้าเป็นงานที่ผู้ขอมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ ต้องมีลักษณะดังนี้ 2.1 ผลงานทางวิชาการที่มิใช่ผลงานวิจัย ผู้ขอจะต้องมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักในเรื่องนั้น 2.2 สำหรับการมีส่วนร่วมในผลงานวิจัย ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้ (1) ผู้ขอมีส่วนร่วมในผลงานวิจัยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 (2) ผู้ขอเป็นผู้ดำเนินการหลัก และมีผลงานวิจัยเรื่องอื่นที่เกี่ยวเนื่องสอดคล้องกัน ซึ่งแสดงปริมาณผลงานวิจัย รวมกันแล้วเทียบได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของผลงานวิจัย 1 เรื่อง (3) ในกรณีผลงานวิจัยที่เป็นชุดโครงการ RESEARCH PROGRAM ผู้ขอจะต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักในบางโครงการ (ของชุดโครงการนั้น) อย่างน้อย 1 เรื่อง และมีปริมาณผลงานรวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 (4) ในกรณีงานวิจัยที่ดำเนินการเป็นชุดต่อเนื่องกัน ผู้ขอจะต้องเป็นผู้ดำเนินการหลักและมีปริมาณผลงานรวมแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 **ต้องมีใบแสดงสัดส่วนของผลงานวิชาการกำกับ ลงนามโดยผู้วิจัยทุกคน

10 การเตรียมเอกสารประกอบการสอน
เลือกรายวิชา มีประสบการณ์สอนจริงย้อนหลังได้ 3 ปี มีหลักฐานแสดงผลการประเมินจากนักศึกษา ศึกษาเกณฑ์ ศึกษาเกณฑ์ใหม่ 3 หน่วยกิต ในระบบ ทวิภาค ศึกษารูปแบบการเขียน ขึ้นโครงร่างเอกสาร (ต่อหน้าต่อไป)

11 การเตรียมเอกสารประกอบการสอน
1. อ่านคำอธิบายรายวิชา (ห้ามเปลี่ยนแปลงคำอธิบายรายวิชา ให้ เขียนเหมือนหลักสูตรทุกคำ) ดังนั้นควรการศึกษาหลักสูตรอย่าง ละเอียด 2. กำหนดวัตถุประสงค์รายวิชา 3. แตกหัวข้อรายบทตามคำอธิบายรายวิชา (ต้องเช็คให้ครบ ครอบคลุมคำอธิบายรายวิชา) 4. จัดหัวข้อสอนให้ครบ 15 ครั้ง (เกณฑ์ใหม่ใช้ 3 หน่วยกิต ซึ่งไม่ กระทบ SSRU เนื่องจากเกณฑ์ SSRU ใช้ 3 หน่วยกิตอยู่แล้ว)

12 การเตรียมเอกสารประกอบการสอน
5. วางโครงสร้างแผนบริหารการสอนประจำวิชาให้เหมาะสม การกำหนดขอบเขตของโครงเรื่องเป็นเรื่องสำคัญ เพราะเป็น การคัดเลือกข้อมูลในการนำเสนอ เพื่อสะท้อนเนื้อหารายวิชา การลำดับหัวข้อควรเรียงตามความเหมาะสมให้สอดคล้องและ ง่ายต่อการศึกษา (แต่บางสถาบันเน้นให้เขียนไล่เรียงตาม คำอธิบายรายวิชา) โครงร่างเนื้อเรื่องต้องสอดคล้องกับแผนการสอน ต้องกำหนดจำนวนชั่วโมงให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะสอน ต้องระบุวิธีการสอน ต้องระบุวิธีการวัดและประเมินผล

13 การเตรียมเอกสารประกอบการสอน
6. วางแผนบริหารการสอนประจำบท กำหนดชื่อบท กำหนดหัวข้อเนื้อหา เขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม (เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน ผู้เรียน สามารถทำอะไรได้บ้าง....) กำหนดวิธีการสอน กิจกรรม สื่อการสอน กำหนดหัวข้อใหญ่ (ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทที่เราจะสอนและ ครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์) กำหนดหัวข้อย่อย (ส่วนขยายใจความสำคัญของหัวข้อใหญ่) ใส่เนื้อหาที่ต้องการนำเสนอ ตั้งคำถามท้ายบท (คำถามต้องสอดคล้อง และตอบวัตถุประสงค์) ใส่บรรณานุกรม (ต้องครบ ทันสมัย เขียนถูกหลัก APA )

14 เนื้อหาเอกสารประกอบการสอน
ต้องถูกต้องตามทฤษฎี (**ความถูกต้องของข้อมูลสำคัญที่สุด) เนื้อหามีความลุ่มลึก ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ เช่น Text book งานวิจัย ต้องทันสมัย ไม่ควรเก่าเกิน 5 ปี ยกเว้นเป็น Classic Theory ที่ ใช้กันอย่างกว้างขวาง ต้องมีความชัดเจนในแต่ละ Concept ผู้อ่านเมื่ออ่านแล้วเข้าใจว่า ผู้เขียนต้องการนำเสนออะไร มีการจัดวางโครงสร้างที่สอดคล้องกันทั้งเล่ม ในการเขียนในส่วนของเนื้อหาควรประกอบด้วย ความนำ– เนื้อหา– และสรุป (การสรุปให้เน้นย้ำประเด็นหลัก)

15 เนื้อหาเอกสารประกอบการสอน
มีการใช้ภาษาทางวิชาการที่ดี อ่านง่าย กระชับ ได้ใจความ อาจมีรูป ตาราง แบบสอบถาม แบบฝึกหัด ฯลฯ เพื่อเพิ่มความ น่าสนใจและช่วยอธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น (ต้องระวังการ ละเมิดลิขสิทธิ์ ละเมิดสิทธิ์บุคคล) การจัดรูปแบบถูกต้องตามหลักการเขียนเอกสารเชิงวิชาการ

16 เอกสารที่ใช้ในการยื่นเพื่อขอพิจารณาการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
แบบประเมินผลการสอนของนักศึกษาจำนวน ภาคการศึกษา (อย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา ย้อนหลัง 3 ปี) เอกสารประกอบการสอน / เอกสารคำสอน / เอกสาร ที่ใช้ประกอบการสอนตาม รายวิชาที่ระบุไว้ในภาระงานย้อนหลัง 3 ปี จำนวน 8 เล่ม งานวิจัย+วิจัย ระดับดี จำนวน 8 ชุด งานวิจัย+ผลงานวิชาการลักษณะอื่น (หนังสือ/ตำรา/บทความ) จำนวน 8 ชุด หลักฐานการเผยแพร่งานวิจัย/งานลักษณะอื่นตามเกณฑ์ของก.พ.อ. จำนวน 8 ชุด ผู้เสนอขอได้แนบคำรับรองของผู้แต่งร่วมหรือผู้วิจัยร่วม (ระบุใน ก.พ.อ. 03/04) กรณีมีผู้ร่วม หนังสือรับรองการวิจัย แบบรับรองจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ กพอ.03

17 ข้อพึงระวัง ระวังการคัดลอกผลงานทางวิชาการ
งานวิจัยควรตีพิมพ์ในฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้เท่านั้น การเขียนตำราต้องผ่านการพิสูจน์อักขราวิสุทธิ์แล้วไม่เกิน 15% ต้องสำเนาผลการตรวจแนบส่ง หนังสือต้องมีเลข ISBN มีการเผยแพร่ โดยการส่งสำนักพิมพ์ ส่งโรงพิมพ์ หรือ เผยแพร่หน่วยงานที่เป็นสถานศึกษา 5-10 แห่ง


ดาวน์โหลด ppt ผศ.ดร.สุจิตรา อู่รัตนมณี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google