ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การจ้างที่ปรึกษา
2
ประเภทของการจัดหา การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างที่ปรึกษา
การจ้างออกแบบและควบคุมงาน การเช่า การแลกเปลี่ยน
3
ข้อแตกต่างระหว่างการจ้างที่ปรึกษากับการจ้างทั่วไป
การจ้างที่ปรึกษา : เป็นการจ้างบุคคลหรือนิติบุคคล เพื่อให้บริการทางวิชาการหรือการวิจัย ที่ต้องอาศัยความรู้ความสามารถหรือความชำนาญการในทางวิชาการ เพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงานจ้าง (ส่วนที่ 3 จ้างที่ปรึกษา) การจ้างทั่วไป : เป็นการจ้างที่มิได้ใช้ความรู้ใน เชิงวิชาการเป็นการเฉพาะ และมีลักษณะเป็นเพียง การจ้างทำของทั่วไปหรือการจ้างเหมาบริการ ซึ่ง จะต้องใช้ผู้ที่มีฝีมือเฉพาะหรือมีความชำนาญเป็นพิเศษเท่านั้น (ส่วนที่ 2 จ้างโดยวิธีพิเศษ ข้อ24 (1) )
4
การจ้างที่ปรึกษา การจ้างที่ปรึกษาเป็นการจ้างบริการทางวิชาการ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานอันเกิดจากความคิดของ ที่ปรึกษาภายใต้ขอบเขตของการปฏิบัติที่ผู้ว่าจ้างกำหนด ดังนั้น การจ้างที่ปรึกษาหน่วยงานผู้ว่าจ้างจึงต้องมีการกำหนดขอบเขตโดยละเอียดของงาน ที่จะจ้างที่ปรึกษา (Terms of Reference : TOR)
5
ความหมายและความสำคัญของ TOR
ความหมาย : TOR เป็นเอกสารที่กำหนดขอบเขตและรายละเอียดของภารกิจ ที่ผู้จัดทำ TOR ต้องการให้ที่ปรึกษาดำเนินการ รวมทั้งความรับผิดชอบอื่นๆ ของที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับภารกิจนั้น ความสำคัญ : TOR มีความสำคัญมากต่อคุณภาพของผลงานที่จะได้จากที่ปรึกษา ดังนั้น TOR จึงต้องมีความชัดเจนเพียงพอต่อการประเมินปริมาณและคุณภาพงานของที่ปรึกษา TOR เป็นเอกสารอ้างอิงที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญา
6
โครงสร้างของ TOR โดยทั่วไป TOR จะประกอบด้วยส่วนหรือหัวข้อต่างๆ ดังนี้
บทนำ/ความเป็นมาเกี่ยวกับโครงการ วัตถุประสงค์ของการจ้างที่ปรึกษา ขอบเขตการดำเนินงาน ระยะเวลาการดำเนินงาน คุณสมบัติของที่ปรึกษา ระยะเวลาการส่งมอบผลงาน การกำกับการดำเนินงานของที่ปรึกษา หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ว่าจ้าง ค่าจ้างดำเนินงาน ข้อกำหนดอื่น ๆ
7
การจ้างที่ปรึกษา การจ้างที่ปรึกษา หมายความว่า การจ้างบริการจากที่ปรึกษา แต่ไม่รวมถึงการจ้างออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคาร ด้วยเงินงบประมาณ ที่ปรึกษา หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ประกอบธุรกิจ หรือสามารถให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางวิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น รวมทั้งให้บริการด้านการศึกษา สำรวจ ออกแบบและควบคุมงาน และการวิจัย แต่ไม่รวมถึงการให้บริการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างอาคารด้วยเงินงบประมาณ ที่ปรึกษาไทย หมายความว่า ที่ปรึกษาที่มีสัญชาติไทยและ ได้จดทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง
8
หน้าที่ของศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา
กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนที่ปรึกษาไทย รับจดทะเบียน ต่อทะเบียน หรือเพิกถอนที่ปรึกษาไทย รวบรวม จัดทำ รวมทั้งปรับปรุงข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับปรึกษาไทย เผยแพร่หรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับที่ปรึกษาไทย แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอื่นซึ่งมีกฎหมายบัญญัติให้มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่น และเอกชนผู้สนใจ
9
ประเภทของที่ปรึกษา ประเภทของที่ปรึกษาที่จดทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูล ที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง มี 2 ประเภท คือ ที่ปรึกษาประเภท A หมายถึง ที่ปรึกษาที่ยื่นขอจดทะเบียน โดยมีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ที่ปรึกษาประเภท B หมายถึง ที่ปรึกษาที่ยื่นขอจดทะเบียน มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน โดยขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง ตามหลักเกณฑ์การขอจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษาประเภท A
10
การขอรายชื่อจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา
เรียกดูรายชื่อที่ปรึกษาจาก web site ของสำนักงาน บริหารหนี้สาธารณะ โดยตรง มีหนังสือขอรายชื่อจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง
11
หลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษา
หลักการ ให้ส่วนราชการจ้างที่ปรึกษาไทย ซึ่งได้จดทะเบียนไว้กับศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง เป็นหลัก ยกเว้น การจ้างที่ปรึกษา ที่ดำเนินการด้วยเงินช่วยเหลือ หรือเงินกู้จาก แหล่งที่กำหนดให้ว่าจ้างโดยวิธีอื่น ได้รับการยืนยันเป็นหนังสือจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาว่า ไม่มี ที่ปรึกษาไทยในสาขาบริการและงานนั้น - กรณีมีที่ปรึกษาไทย แต่มีเหตุผลและความจำเป็นที่จะไม่จ้าง ต้องขออนุมัติต่อ กวพ. - การจ้างที่ปรึกษาของส่วนราชการใน ตปท. หรือมีกิจกรรม ต้องปฏิบัติใน ตปท. จะไม่จ้างที่ปรึกษาไทย ก็ได้
12
การจ้างที่ปรึกษา การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ต้องมีบุคลากรไทยร่วมงานด้วย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนคน-เดือน (man- month) ของที่ปรึกษาทั้งหมด เว้นแต่ ไม่อาจจ้างบุคลากรไทยได้ ให้ขออนุมัติต่อ กวพ.
13
การจ้างที่ปรึกษา หลัก ข้อยกเว้น ให้ส่วนราชการจ้าง ที่ปรึกษาไทยเป็น
ที่ปรึกษาหลัก (Lead Firm) สามารถจ้างที่ปรึกษา ต่างประเทศ โดยต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี 10 เมษายน 2550 เรื่อง หลักเกณฑ์การจ้าง ที่ปรึกษาต่างประเทศของหน่วยงานรัฐ
14
หลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ของหน่วยงานภาครัฐ
กรณีที่ 1 กรณีไม่อาจจัดจ้างที่ปรึกษาไทยที่เหมาะสมได้ ให้จ้างที่ปรึกษาต่างประเทศได้ มี 3 ลักษณะ โดยให้เป็นความรับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงาน ผู้ดำเนินการที่จะจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ
15
กรณีที่ 1 แบ่งเป็น 3 ลักษณะ
หลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ของหน่วยงานภาครัฐ กรณีที่ 1 แบ่งเป็น 3 ลักษณะ การจ้างที่ปรึกษา ซึ่งแหล่งเงินช่วยเหลือหรือเงินกู้กำหนดเงื่อนไขให้พิจารณาจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศด้วย 1. กรณีได้รับการยืนยันเป็นหนังสือจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษากระทรวงการคลังว่าไม่มีที่ปรึกษาไทยในสาขาบริการหรืองานนั้น และไม่มีที่ปรึกษาของมหาวิทยาลัยของรัฐสามารถให้บริการได้ 2. การจ้างที่ปรึกษาของส่วนราชการในต่างประเทศหรือมีกิจกรรม ที่ต้องปฏิบัติในต่างประเทศ 3.
16
หลักเกณฑ์การจ้างที่ปรึกษาต่างประเทศ ของหน่วยงานภาครัฐ
กรณีที่ 2 กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามกรณีที่ 1 และมีความจำเป็นจะต้องจ้าง ที่ปรึกษาต่างประเทศ ให้เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณา สำหรับในส่วนของระเบียบฯ ส่วนราชการจะต้องขอยกเว้นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ ต่อ กวพ.
17
การจ้างที่ปรึกษา มี 2 วิธีคือ
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
18
คณะกรรมการจัดจ้างที่ปรึกษา
มี 2 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง 1. คณะกรรมการดำเนินการจัดจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก 2.
19
องค์ประกอบของคณะกรรมการ
ประธาน 1 คน กรรมการอื่นอย่างน้อย 4 คน แต่งตั้งจากข้าราชการ พนักงานราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานของรัฐ ** ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงลักษณะหน้าที่และความรับผิดชอบของ ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสำคัญ ** ในกรณีจำเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของทางราชการ จะแต่งตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกิน 2 คน ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ** ดำเนินการด้วยเงินกู้ ให้มีผู้แทนจาก สนง. บริหารหนี้สาธารณะ 1 คน (ปรับปรุงตามระเบียบฯ ฉบับที่ 7 พ.ศ. (2552) )
20
องค์ประกอบของคณะกรรมการ (ต่อ)
กวพ. อนุมัติให้ส่วนราชการสามารถแต่งตั้งลูกจ้างประจำของส่วนราชการ เป็นกรรมการได้ โดยการแต่งตั้งลูกจ้างประจำ จะต้องคำนึงถึงความรู้ ความสามารถ ลักษณะงาน หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นสำคัญ (ตามหนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) /ว 417 ลว. 22 ตค. 53) ** การแต่งตั้งคณะกรรมการ จะต้องแต่งตั้งเป็นครั้ง ๆ ไป (ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบ)
21
การประชุมของคณะกรรมการ
- ประธาน + กรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง และประธานจะต้องอยู่ด้วยทุกครั้ง องค์ประชุม การประชุม - ให้นำข้อ 36 มาใช้บังคับ โดยอนุโลม - ถือเสียงข้างมาก - ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธานออกเสียง เพิ่มอีก 1 เสียง มติกรรมการ
22
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง
ความหมายของการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง คือ การจ้างที่ปรึกษาที่ผู้ว่าจ้างตกลงจ้างที่ปรึกษา รายใดรายหนึ่ง ซึ่งเคยทราบและเคยเห็นความสามารถ และผลงานมาแล้ว และเป็นผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้
23
การรายงานขอจ้างที่ปรึกษา
รายงาน (ข้อ 78) จนท. พัสดุ หน.ส่วนราชการ ตามรายการ ดังนี้ เหตุผลความจำเป็นที่ต้องจ้างที่ปรึกษา ขอบเขตโดยละเอียดของงานที่จะจ้าง (TOR) คุณสมบัติของที่ปรึกษา วงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาโดยประมาณ กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน วิธีจ้างที่ปรึกษา และเหตุผลที่ต้องจ้างโดยวิธีนั้น ข้อเสนออื่นๆ (แต่งตั้ง คกก.)
24
การรายงานขอจ้างที่ปรึกษา (ต่อ)
เจ้าหน้าที่พัสดุทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการ เมื่อหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบฯ ตาม รายงานที่เสนอแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการจ้าง ตามวิธีนั้นต่อไปได้
25
การดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง
เงื่อนไขการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง (ตามข้อ 83) การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ให้กระทำได้ในกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังนี้ (1) เป็นการจ้างที่มีค่างานไม่เกิน 100,000 บาท (2) เป็นการจ้างเพื่อทำงานต่อเนื่องจากงานที่ได้ทำอยู่แล้ว (3) เป็นการจ้างในกรณีที่ทราบแน่ชัดว่า ผู้เชี่ยวชาญในงานที่ จะให้บริการตามที่ต้องการมีจำนวนจำกัด และเป็นการจ้างที่มีค่างาน จ้างไม่เกิน 2,000,000 บาท *** (4) เป็นการจ้างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นใดที่มีกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรีให้การสนับสนุนให้ดำเนินการจ้างได้โดยตรง
26
การดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง (ต่อ)
การจ้างที่ต้องกระทำโดยเร่งด่วน หากล่าช้าอาจจะเสียหายแก่ราชการ และมีความจำเป็นที่จะดำเนินการจ้างโดยวิธีตกลงให้กระทำได้โดยหัวหน้าส่วนราชการจะต้องทำรายงานชี้แจงเหตุผลความจำเป็น ของการจ้างโดยวิธีตกลงให้ กวพ. ทราบ โดยมิชักช้า แต่อย่างช้าต้อง ไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ได้มีการจ้าง แต่ทั้งนี้ ส่วนราชการจะต้องกำหนดเงื่อนไขไว้ในสัญญาด้วยว่าสัญญาจ้างจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ กวพ. ให้ความเห็นชอบ
27
การดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง (ต่อ)
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง ตามข้อ 83 (1) – (4) ถ้าเข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งสามารถดำเนินการจ้าง ที่ปรึกษาโดยวิธีตกลงได้ โดยไม่ต้องรายงานชี้แจงเหตุผลความจำเป็นของการจ้างโดยวิธีตกลงให้ กวพ. ทราบ ยกเว้น ถ้าเป็นการจ้างที่ต้องกระทำเร่งด่วน ตามข้อ 83 วรรคสอง ต้องรายงาน กวพ. ทราบ
28
คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง มีหน้าที่ดังนี้
การพิจารณาจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีตกลง คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีตกลง มีหน้าที่ดังนี้ พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษา พิจารณาอัตราค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ บริการที่จะจ้าง และเจรจาต่อรอง พิจารณารายละเอียดที่จะกำหนดไว้ในสัญญา ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ
29
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
ความหมายของการจ้างที่ปรึกษา โดยวิธีคัดเลือก คือ การจ้างที่ปรึกษาโดยการคัดเลือกที่ปรึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะทำงานให้เหลือน้อยราย และเชิญชวนที่ปรึกษาน้อยรายดังกล่าวยื่นข้อเสนอ เพื่อพิจารณาคัดเลือกรายที่ดีที่สุด
30
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก มี 2 แบบ คือ (1) การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นงานยุ่งยากซับซ้อน จะพิจารณา ข้อเสนอทางเทคนิคของที่ปรึกษาที่ยื่นข้อเสนอ โดยจัดเรียงลำดับ ที่ได้คะแนนสูงสุด แล้วเปิดซองข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษา ที่มีข้อเสนอทางด้านเทคนิคที่ดีที่สุด และเจรจาต่อรองให้ได้ราคา ที่เหมาะสม (2) การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นงานที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีที่ปรึกษา ซึ่งสามารถทำงานนั้นได้เป็นการทั่วไป จะพิจารณาข้อเสนอทางเทคนิค ของที่ปรึกษาที่ยื่นข้อเสนอ โดยจัดเรียงลำดับคะแนน และเปิดซอง ข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่ได้คะแนนสูงสุด 3 ลำดับแรก แล้วเลือกรายที่เสนอราคาต่ำสุดมาเจรจาต่อรองราคาเป็นลำดับแรก
31
การให้ได้รายชื่อ ของที่ปรึกษา
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก รายงาน (ข้อ 78) หน.ส่วนราชการ จนท.พัสดุ 1. ที่ปรึกษาจากต่างประเทศ ขอรายชื่อจากสถาบันการเงินหรือองค์การระหว่างประเทศ หรือลงประกาศใน นสพ. หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เคยจ้าง ที่ปรึกษาในงานประเภทเดียวกัน 2. ที่ปรึกษาไทย ขอรายชื่อจากศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษา กระทรวงการคลัง การให้ได้รายชื่อ ของที่ปรึกษา - หากส่วนราชการใดที่มีรายชื่อที่ปรึกษาที่มีคณสมบัติ ที่เหมาะสมอยู่แล้ว อาจพิจารณาคัดเลือกให้เหลือ น้อยรายได้เลย โดยไม่ต้องดำเนินการตาม 1. หรือ 2. ก็ได้
32
การจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
การพิจารณาคัดเลือก คัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลือน้อยราย (โดยพิจารณาให้เหลืออย่างมาก 6 ราย) และคัดเลือกรายที่ดีที่สุด คกก.ดำเนินการ เมื่อคัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลือน้อยรายแล้ว ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณา
33
การดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
ให้เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในการจ้างที่ปรึกษาขอรายชื่อที่ปรึกษา ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมให้มากรายที่สุด ให้คณะกรรมการดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก คัดเลือกที่ปรึกษาให้เหลือน้อยราย โดยให้เหลืออย่างมาก 6 ราย ให้ส่วนราชการออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ เพื่อให้ยื่นข้อเสนอรับงาน ตามวิธีหนึ่งวิธีใด 1. ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค ข้อเสนอด้านราคา และซองเอกสารแสดงคุณสมบัติ เพื่อตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมกัน โดยแยกเป็น 3 ซอง 2. ยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค และซองเอกสารแสดงคุณสมบัติ เพื่อตรวจสอบ ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมกัน โดยแยกเป็น 2 ซอง
34
การดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก
คณะกรรมการฯ กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก ให้คณะกรรมการฯ ตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยพิจารณาว่า ที่ปรึกษาที่มายื่นซองมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ประกาศรายชื่อที่ปรึกษาที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษาที่ไม่มีผลประโยชน์ ร่วมกันทุกรายและจัดลำดับไว้
35
ในกรณีที่ใช้วิธี (1) ให้เปิดซองเสนอด้านราคาของ
การดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก (ต่อ) ในกรณีที่ใช้วิธี (1) ให้เปิดซองเสนอด้านราคาของ ที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุด และเจรจาต่อรอง ให้ได้ราคาที่เหมาะสม ในกรณีที่ใช้วิธี (2) ให้เชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอ ด้านเทคนิคที่ดีที่สุดมายื่นข้อเสนอด้านราคาและเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม
36
กรณีถ้าหากเจรจากับที่ปรึกษาไม่ได้ผลให้เสนอ
การดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก (ต่อ) กรณีถ้าหากเจรจากับที่ปรึกษาไม่ได้ผลให้เสนอ หัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณายกเลิกการเจรจากับที่ปรึกษา รายนั้น แล้วเปิดซองข้อเสนอด้านราคาของที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอด้านเทคนิคที่ดีที่สุดรายถัดไป หรือเชิญที่ปรึกษาที่มีข้อเสนอ ด้านเทคนิคที่ดีที่สุดรายถัดไปให้ยื่นข้อเสนอด้านราคาและเจรจาต่อรองให้ได้ราคาที่เหมาะสม เมื่อเจรจาได้ราคาที่เหมาะสมแล้ว ให้พิจารณาเงื่อนไข ที่จะกำหนดไว้ในสัญญา
37
กรณีที่ใช้วิธีการยื่นข้อเสนอตามวิธี (1) หลังจากตัดสิน
การดำเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือก (ต่อ) ให้คณะกรรมการฯ รายงานผลการพิจารณาและความเห็น พร้อมเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ กรณีที่ใช้วิธีการยื่นข้อเสนอตามวิธี (1) หลังจากตัดสิน ทำสัญญากับที่ปรึกษาซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้ว ให้ส่งคืนซอง ข้อเสนอด้านราคาให้แก่ที่ปรึกษารายอื่นที่ยื่นไว้โดยไม่เปิดซอง
38
การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นงานไม่ยุ่งยากซับซ้อน
หัวหน้าส่วนราชการออกหนังสือเชิญชวนที่ปรึกษาที่ได้คัดเลือกไว้ ให้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับงาน ให้ที่ปรึกษายื่นข้อเสนอด้านเทคนิค ข้อเสนอด้านราคา และซองเอกสาร แสดงคุณสมบัติ เพื่อตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมกัน โดยแยกออกเป็น 3 ซอง 2. ให้คณะกรรมการฯ พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคของที่ปรึกษาทุกรายและจัดลำดับ 5. ให้คณะกรรมการฯ ตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยพิจารณาว่าที่ปรึกษาที่มายื่นซองมีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ 3. ประกาศรายชื่อที่ปรึกษาที่ไม่มีผลประโยชน์ร่วมกัน 4. 1.
39
การจ้างที่ปรึกษาที่เป็นงานไม่ยุ่งยากซับซ้อน
เปิดซองราคาของผู้ที่ได้รับการจัดลำดับไว้ ลำดับที่ 1-3 พร้อมกันแล้วเลือกรายที่เสนอราคาต่ำสุดมาเจรจาต่อรองเป็นลำดับแรก ถ้าเจรจา ไม่ได้ผลให้ยกเลิก แล้วเจรจากับรายที่เสนอราคาต่ำรายถัดไป ตามลำดับ 6. เมื่อเจรจาได้ราคาที่เหมาะสมแล้ว ให้พิจารณาเงื่อนไขที่จะกำหนดไว้ในสัญญา 7. ให้คณะกรรมการฯ รายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ 8.
40
ผู้มีอำนาจสั่งจ้างที่ปรึกษา (ข้อ 91)
หัวหน้าส่วนราชการ ไม่เกิน 50 ล้านบาท ปลัดกระทรวง เกิน 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน ล้านบาท รัฐมนตรีเจ้าสังกัด เกิน 100 ล้านบาท
41
อัตราค่าจ้างที่ปรึกษาให้เป็นไปตามความเหมาะสม และประหยัดโดยคำนึงถึงองค์ประกอบต่างๆ เช่น ลักษณะงานที่จะจ้าง อัตราค่าจ้างของงานในลักษณะเดียวกันที่ ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเคยจ้าง จำนวนคน-เดือน (MAN-MONTHS) เท่าที่จำเป็น ดัชนีค่าครองชีพ เป็นต้น
42
แนวทางการเปิดเผยข้อมูลฯ ราคากลาง และการคำนวณราคากลาง
สำนักงาน ป.ป.ช. ได้จัดทำคู่มือแนวทางการเปิดเผย รายละเอียดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้าง ราคากลาง และ การคำนวณราคากลาง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติ ให้หน่วยงานของรัฐศึกษาจากคู่มือดังกล่าว โดยสามารถดาวน์โหลดได้จาก
43
ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา
หลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา - ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในการคิดอัตราค่าตอบแทน ที่ปรึกษาตามที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะกำหนด - หากไม่มีหลักเกณฑ์ในการคิดอัตราค่าตอบแทนที่ปรึกษาตามที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะกำหนด ให้พิจารณาจากวุฒิการศึกษา และประสบการณ์ของที่ปรึกษาเป็นสำคัญ
44
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ส. ค
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ส.ค รับทราบหลักเกณฑ์ราคากลางจ้างที่ปรึกษา โดยให้ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐถือปฏิบัติ ตั้งแต่วันที่ 11 ส.ค เป็นต้นไป ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ (สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง) แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/ว 128 ลงวันที่ 8 ส.ค เรื่อง หลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา
45
หลักเกณฑ์ราคากลางการจ้างที่ปรึกษา (ต่อ)
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ได้จัดทำหลักเกณฑ์ราคากลางค่าจ้างที่ปรึกษา โดยใช้แนวทาง ตัวคูณอัตราค่าตอบแทนที่ปรึกษา ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0903/ว 99 ลว. 20 พย โดยศึกษา ทบทวน ความเหมาะสมของอัตราตัวคูณค่าตอบแทน และศึกษา สำรวจ ข้อมูลเงินเดือนพื้นฐาน ของ 5 กลุ่มวิชาชีพ - วิศวกรรม - สถาปัตยกรรม - เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - การเงิน - งานวิจัย
46
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม สำนักมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง CALL cENTER โทร กลุ่มงานระเบียบฯ โทร ต่อ 4551 , 4588 , 4589 , 6125
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.