งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความต้องการสารสนเทศ (Information need)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความต้องการสารสนเทศ (Information need)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความต้องการสารสนเทศ (Information need)
GEN4103 การศึกษาค้นคว้าและเทคโนโลยีสารนเทศเพื่อการปฏิบัติงาน Individual Studies and Information Technology for Work บทที่ 2 ความต้องการสารสนเทศ (Information need)

2 วัตถุประสงค์ ผู้เรียนเข้าใจและสามารถกำหนดความต้องการสารสนเทศได้
ผู้เรียนสามารถเข้าใจและกำหนดคุณลักษณะ ของข้อมูลที่ต้องการได้ ผู้เรียนสามารถวางแผนการค้นหาสารสนเทศได้

3 หัวข้อนำเสนอ แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศ
1 1 แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศ ความหมายของความต้องการสารสนเทศ 2 2 ความหมายของความต้องการสารสนเทศ ความสำคัญของสารสนเทศ 3 3 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3.1 3 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3.2 4 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 5 3.3 การวางแผนในการค้นหาสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศ

4 แนวคิดเกี่ยวกับความต้องการสารสนเทศ
1 การให้ความหมายและการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ การให้ความหมายและการวิเคราะห์หรือกำหนดความต้องการสารสนเทศเป็นทักษะแรกที่ผู้รู้สารสนเทศจำเป็นต้องมี นั่นคือ ความสามารถ ในการตระหนักว่าต้องการสารสนเทศเพื่อเป้าหมายใด และอะไรคือสารสนเทศที่ต้องการ การกำหนดและวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศเป็นเหมือนการวางแผนการค้นคว้า

5 ความหมายของความต้องการสารสนเทศ
2 ความต้องการสารสนเทศ (Information needs) หมายถึง ภาวะที่บุคคลเกิดปัญหา และตระหนักว่าขาดความรู้ หรือความรู้ที่มีอยู่ไม่เพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาจึงต้องการแสวงหาสารสนเทศเพื่อที่จะนำมาแก้ไขปัญหานั้น โดยทั่วไปความต้องการสารสนเทศของบุคคลเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการ ด้านต่างๆ เช่น ความต้องการพื้นฐานด้านร่างกาย จิตใจ หรืออารมณ์ ความต้องการหน้าที่การงาน ต้องการด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม

6 ความหมายของความต้องการสารสนเทศ
2 ความต้องการสารสนเทศ (Information needs) ความต้องการสารสนเทศเกิดขึ้นเมื่อ เมื่อบุคคลอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจ หรือต้องการหาคำตอบ ข้อเท็จจริง เพื่อแก้ปัญหาหรือทำความเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยที่ตนเอง ยังไม่มีความรู้ ในเรื่องนั้นเพียงพอ ความต้องการสารสนเทศแบบรีบด่วน (ต้องการสารสนเทศไปใช้ทันที) และความต้องการแบบไม่รีบด่วน (เก็บรวบรวมสารสนเทศไว้ใช้ในอนาคต)

7 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ (Information Requirements Analysis) ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ เป็นกระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่ตรงกับความต้องการ มี 3 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 1. การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 2. การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ 3. การวางแผนการค้นหาสารสนเทศ

8 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ เป็นการกำหนดความต้องการ โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของเรื่อง ที่มีความต้องการสารสนเทศ ว่าควรประกอบด้วยแนวคิด/ประเด็นสำคัญอะไรบ้าง โดยกำหนดเป็นหัวข้อ ซึ่งในแต่ละหัวข้อ อาจจะประกอบด้วย หัวข้อรองและหัวข้อย่อย เป็นการแตกย่อยแนวคิด/ประเด็น ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น การกำหนดความต้องการสารสนเทศ มีขั้นตอนดังนี้ 1) การเลือกเรื่องและกำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic/Title) ที่จะค้นคว้า 2) ขยายแนวคิด/ประเด็น 3) กำหนดขอบเขต หรือ กรอบความต้องการสารสนเทศ 4) กำหนดคำสำคัญ (Keyword)

9 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 1) การเลือกเรื่องและกำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic) ที่จะค้นคว้า คือ การกำหนดเรื่องที่จะทำ มีวิธีการคือ ค้นหาความสนใจ/ความต้องการของตนเองที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งความสนใจ/ความต้องการนั้น ยังอาจยังไม่ได้รับคำตอบหรือไม่ได้รับคำตอบเพียงพอ เช่น นักศึกษาสนใจเรื่อง “ธูปหอม” ต้องการทำธุรกิจขายธูป จึงต้องศึกษา รายละเอียดและวิธีการผลิตธูปหอม รวมถึงข้อมูลอื่นๆ มาประกอบการ วางแผนธุรกิจ

10 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อปัญหา เลือกจากความสนใจของตนเองเป็นที่ตั้ง เลือกปัญหาที่ตรงกับความสามารถของตนเอง คำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยในการศึกษา/ทำวิจัย เช่น - ปัญหานั้นจะได้รับความร่วมมือมากน้อยเพียงใด - มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือไม่ หรือผู้วิจัยต้องสร้างขึ้นเอง - ปัญหานั้นมีแหล่งค้นคว้าหรือไม่

11 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนกำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง (Topic) กำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อ กำหนดหัวข้อ/ชื่อเรื่อง โดยหัวข้อ/ชื่อเรื่อง มาจาก ปัญหา เรื่องราวที่ต้องการแก้ไขหรือต้องการคำตอบ ทำความเข้าใจกับปัญหา หรือ เรื่องราวนั้นๆ ในเรื่อง สาเหตุ/ความเป็นมา ความสำคัญ/ความจำเป็น มีผลต่อชีวิตประจำวันอย่างไร ทำไมจึงต้องการ คำตอบฯลฯโดยวิธีการครุ่นคิด หรือ อภิปรายกลุ่ม ค้นหาคำ (Words) ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทย และ ภาษาสากล หาคำนิยาม หรือคำจำกัดความ ค้นหาประเด็นย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่อง/ชื่อเรื่อง (Topic) โดยการค้นคว้า อย่างคร่าวๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ

12 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ตัวอย่างหัวข้อ/ชื่อเรือง ที่เหมาะสมในการทำรายงาน หมายเหตุ ทำเรื่องอะไรก็ได้ ยกเว้นเรื่อง “สารสนเทศ” เศรษฐกิจพอเพียง โครงการในพระราชดำริฝนหลวง การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ เขื่อนสำคัญในประเทศไทย เทคโนโลยี tablet pc กับการศึกษาไทย การใช้ Social Media กับการเรียนการสอนอุดมศึกษายุคใหม่ การปลูกข้าวมะลิเพื่อการส่งออก ภาวะโลกร้อน สึนามิ ประชาคมอาเซียน เป็นต้น

13 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 2) ขยายแนวคิด/ประเด็นที่จำเป็นจากวัตถุประสงค์ของเรื่องที่ต้องการศึกษา ค้นคว้า โดย ใช้แหล่งสารสนเทศ เพื่อช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการศึกษาค้นคว้า ใช้ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่เดิมขยายไปสู่ความรู้ใหม่

14 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 2) ขยายแนวคิด/ประเด็นที่จำเป็น (ต่อ) หลังจากทำการเลือกเรื่องและกำหนดหัวข้อ/ชื่อเรือง ขั้นตอนต่อมา คือ กำหนดประเด็นย่อย หรือแนวคิดย่อยในการศึกษา โดยใช้คำที่แสดงประเด็น เนื้อหาย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ทำการศึกษา เช่น ความเป็นมา, ความหมาย, แนวคิด, เป้าหมาย, หลักการ, คุณลักษณะ, องค์ประกอบ, ประโยชน์, กรณีศึกษา, ตัวอย่าง, การประยุกต์ใช้, ผลกระทบ, แนวโน้ม, สถานการณ์ เป็นต้น

15 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ตัวอย่าง การขยายแนวคิด/ประเด็นที่จำเป็น “เศรษฐกิจพอเพียง” ความเป็นมา ความหมาย/แนวคิด เป้าหมาย หลักการ/คุณลักษณะ กรณีศึกษา/ตัวอย่าง 5.1) บุคคล 5.2) องค์กร/หน่วยงาน 5.3) ภาครัฐ/เอกชน 5.4) โครงการพระราชดำริ 6) การประยุกต์ใช้ 6.1) ชีวิต+จิตใจ 6.2) สังคม 6.3) การบริหารจัดการ 6.4) สิ่งแวดล้อม/ทรัพยากรธรรมชาติ 6.5) เทคโนโลยี/นวัตกรรม 6.6) วัฒนธรรม 6.7) เศรษฐกิจ 6.8) การศึกษา

16 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 3) กำหนดขอบเขต หรือ กรอบความต้องการสารสนเทศ โดยนำความรู้ความเข้าใจที่สรุปได้จากประสบการณ์การเรียนรู้ของแต่ละคน มาเชื่อมโยงแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดหลัก และแนวคิดย่อยๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งอาจเขียนอยู่ในรูปแผนที่ความคิด (Conceptual Mapping หรือ Mind Map)

17 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ แผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map) แผนผังความคิด คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมอง ลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิม ที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ทำให้สามารถเห็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองได้เชื่อมโยง ต่อข้อมูลหรือความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่าย แผนผังความคิด ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่าง ความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน” สรุป ลักษณะการเขียนผังความคิด เทคนิคการคิดคือ นำประเด็นใหญ่ ๆ มาเป็นหลัก แล้วต่อด้วยประเด็นรองในชั้นถัดไป

18 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ขั้นตอนการสร้างแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map) 1. เขียน/วาดมโนทัศน์หลักตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษ 2. เขียน/วาดมโนทัศน์รองที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์หลักไปรอบ ๆ 3. เขียน/วาดมโนทัศน์ย่อยที่สัมพันธ์กับมโนทัศน์รองแตกออกไปเรื่อย ๆ 4. ใช้ภาพหรือสัญลักษณ์สื่อความหมายเป็นตัวแทนความคิดให้มากที่สุด 5. เขียนคำสำคัญ (Key word) บนเส้นและเส้นต้องเชื่อมโยงกัน 6. กรณีใช้สี ทั้งมโนทัศน์รองและย่อยควรเป็นสีเดียวกัน 7. คิดอย่างอิสระมากที่สุดขณะทำ สรุป เขียนคำหลัก หรือข้อความสำคัญของเรื่องไว้กลาง โยงไปยังประเด็นรองรอบๆ ตามแต่ว่าจะมีกี่ประเด็น

19 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ วิธีการเขียน Mind Map เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมายบนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำ หรือ วลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา

20 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ วิธีการเขียน Mind Map (ต่อ) 5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำ หรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อย ๆ 6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มี ความหมายชัดเจน 7. คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิด ที่เชื่อมโยง ต่อกัน

21 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ วิธีการเขียน Mind Map (ต่อ)

22 แผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด (Mind Map) หัวข้อ “ธูปหอม”

23

24 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ การนำไปใช้งาน 1. ใช้ระดมพลังสมอง 2. ใช้นำเสนอข้อมูล 3. ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ 4. ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ 5. ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้

25 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ 4) กำหนดคำสำคัญ เมื่อสามารถกำหนดและสามารถแจกแจงประเด็น/แนวคิด (Concepts) เป็นประเด็นแนวคิดหลัก และประเด็นแนวคิดย่อยได้แล้ว จึงนำประเด็นแนวคิดนั้นๆ มากำหนด คำสำคัญ (Keywords) เพื่อใช้เป็นคำค้นในการสืบค้นสารสนเทศ คำสำคัญ คือ คำที่มีความหมายแทนหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการสืบค้น รวมทั้งเป็นคำ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ต้องการอีกด้วย อาจเป็นคำโดดๆ หรือเป็นวลีก็ได้ เช่น เศรษฐกิจพอเพียง, ทฤษฎีใหม่, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, โครงการในพระราชดำริ, เกษตรผสมผสาน, ไร่นาสวนผสม, เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา เป็นต้น

26 ตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญ และประเด็นแนวคิด เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญ และประเด็นแนวคิด เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นแนวคิด คำสำคัญ ความหมาย เศรษฐกิจพอเพียง (คำค้นหลัก) แนวคิด/หลักการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (คำค้นรอง) การประยุกต์ใช้-วัฒนธรรม เศรษฐกิจพอเพียงกับวัฒนธรรม (คำค้นรอง) การประยุกต์ใช้-การศึกษา เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษา (คำค้นรอง) กรณีศึกษา/ตัวอย่าง โครงการในพระราชดำริ/ตัวอย่าง (คำค้นรอง)

27 คำค้นอื่นที่มีความหมายเหมือน/ใกล้เคียงกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ 3 3.1 การกำหนดความต้องการสารสนเทศ ตัวอย่าง การกำหนดคำสำคัญ และประเด็นแนวคิด (ต่อ) เรื่อง การดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเอดส์ที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ประเด็น คำค้น คำค้นอื่นที่มีความหมายเหมือน/ใกล้เคียงกัน ประเด็นหลัก ผู้ป่วยโรคเอดส์ คนไข้ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม ประเด็นรอง การดูแลสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ ประเด็นอื่นๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคอีสาน

28 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ เมื่อได้หัวข้อ และ ขอบเขต ของสารสนเทศที่ต้องการแล้ว ต้องกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศ โดยจะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของความต้องการสารสนเทศ ว่าจะใช้เพื่อกิจกรรมใด กิจกรรมนั้น มีลักษณะที่พิเศษ มีคุณค่าอย่างไร เช่น หากต้องการสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นหัวข้อพูดคุยกับเพื่อน คุณลักษณะของสารสนเทศอาจจะไม่จำเป็นต้องลงลึกในเชิงวิชาการ สามารถใช้แหล่งสารสนเทศง่ายๆ ในชีวิตประจำวันได้ เช่น สื่อมวลชน ประเภท โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ แต่หากมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียน เพื่อการทำงาน หรืออื่นๆ ที่มีคุณค่าสูง อาจต้องเลือกแหล่งสารสนเทศที่สอดคล้องกับเรื่องที่ต้องการ เช่น สถาบัน (ห้องสมุด) อินเทอร์เน็ต ในเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ เป็นต้น

29 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ คุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องพิจารณา 1) ความแคบหรือกว้างของเนื้อหา 2) ลักษณะหรือธรรมชาติของข้อมูล 3) ปริมาณข้อมูล 4) ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ 5) อายุของข้อมูล 6) คุณภาพของข้อมูล 7) ภาษาของข้อมูล

30 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 1) ความแคบหรือกว้างของเนื้อหา (Content) พิจารณาว่าต้องการความรู้กว้างๆ หรือหัวข้อเรื่องที่เฉพาะเจาะจง ไปในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง

31 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 2) ลักษณะหรือธรรมชาติของข้อมูล (Nature) ในสารสนเทศเรื่องเดียวกันนั้น ต้องการสารสนเทศที่มีลักษณะแบบใด หลากหลายหรือไม่ เช่น เป็นรูปภาพ ตัวเลข หรือข้อความ เป็นต้น

32 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 3) ปริมาณข้อมูล (Quantity) สารสนเทศที่ใช้ประกอบต้องการมีปริมาณมากหรือน้อย จำนวนเท่าไหร่ ปริมาณข้อมูลขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำไปใช้

33 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 4) รูปแบบ/ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ (Format) ต้องการสารสนเทศประเภทใด เช่น อินเทอร์เน็ต บทความวารสาร บทความวิจัย สื่อประสม บทความในสารานุกรม ซีดี-รอม สื่อโสตทัศน์ เทปเสียง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

34 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 5) อายุของข้อมูล (Data Range) สารสนเทศที่ต้องการอยู่ในช่วงระยะเวลาใด เป็นสารสนเทศที่เป็นปัจจุบัน หรือสารสนเทศเชิงประวัติศาสตร์ เช่น ถ้าเป็นสารสนเทศทางประวัติศาสตร์ ผู้ใช้จะต้องการสารสนเทศย้อนหลังมาก ช่วงระยะเวลาจะกว้าง อาจต้องศึกษาเอกสารโบราณประกอบ แต่ถ้าเป็นสารสนเทศทางด้านวิทยาศาสตร์ ผู้ใช้มักต้องการสารสนเทศ ที่ทันสมัยในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นต้น

35 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 6) คุณภาพของข้อมูล (Quality) หมายถึง ความถูกต้องของเนื้อหา ความน่าเชื่อถือของเนื้อหา เป็นต้น ซึ่งสามารถ พิจารณาจากผู้เขียน และสำนักพิมพ์ ที่เป็นผู้จัดทำ สารสนเทศนั้นๆ

36 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.2 การกำหนดคุณลักษณะของสารสนเทศที่ต้องการ 7) ภาษาของข้อมูล (Language) ข้อมูลที่ต้องการเป็นภาษาใด ภาษาไทยหรือต่างประเทศ ข้อมูลที่เป็นศัพท์เทคนิค หรือศัพท์เฉพาะทาง เช่น ศัพท์ทางการแพทย์ ศัพท์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

37 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.3 การวางแผนการค้นหาสารสนเทศ การวางแผน หมายถึง กระบวนการของการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้า ว่าจะทำอะไร อย่างไร มีการเลือกวัตถุประสงค์ นโยบาย โครงการ และวิธีปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร ในการวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ต้องพิจารณาสิ่งที่เกี่ยวข้อง ในการค้นหา ได้แก่ 1. ห้วงเวลาในการแสวงหาสารสนเทศ 2. แหล่งสารสนเทศที่จะใช้ค้นหา 3. ทรัพยากรสารสนเทศที่จะใช้

38 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.3 การวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ขั้นตอนการวางแผน 1. กำหนดประเด็นที่ต้องการจะค้นหา เช่น เรื่อง หรือ ขอบเขตเนื้อหา ที่ต้องการจะสืบค้น 2. กำหนดคำ คำสำคัญและหัวเรื่องที่จะใช้สืบค้น 3. กำหนดแหล่งสารสนเทศที่จะไปค้นหาข้อมูล 4. กำหนดเครื่องมือที่จะใช้ในการสืบค้นข้อมูล

39 การวิเคราะห์ความต้องการสารสนเทศ
3 3.3 การวางแผนการค้นหาสารสนเทศ ประโยชน์ของการวางแผน 1. ได้รับสารสนเทศที่ต้องการอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน 2. สามารถกำหนดคำค้นได้ตรงกับความต้องการ 3. ช่วยให้เลือกเครื่องมือช่วยค้นได้อย่างรวดเร็ว

40


ดาวน์โหลด ppt ความต้องการสารสนเทศ (Information need)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google