ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยภาสุระ สมิธ ได้เปลี่ยน 5 ปีที่แล้ว
1
ตามแนวทางของการ บริหารงานบุคลากร โรงเรียนราษฎร์วิทยา(ตี่มิ้ง)
คุณลักษณะ ๑๐ ประการ ของครูโรงเรียนราษฎร์วิทยา(ตี่มิ้ง) ตามแนวทางของการ บริหารงานบุคลากร โรงเรียนราษฎร์วิทยา(ตี่มิ้ง)
2
๑. รู้จักผู้เรียน ๒. เขียนแผนเป็น ๓. เน้นผลงาน ๔. ประสานชุมชนและเพื่อน ครู ๕. เรียนรู้พัฒนา ๖. ก้าวหน้าทันสมัย ๗. รักษาวินัย ๘. ใส่ใจสามัคคี ๙. รู้หน้าที่ครู ๑๐. เชิดชูองค์กร
3
รู้จักผู้เรียน การรู้จักผู้เรียน หมายถึง การ ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เต็มความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ วินิจฉัยคุณลักษณะ และความต้องการของผู้เรียน แล้วนำมาจัดเป็นระบบข้อมูล สารสนเทศ เพื่อใช้ในการวาง แผนการสอน หรือ จัดการ เรียนรู้และใช้ในการอบรมสั่งสอน พัฒนาให้เกิดคุณลักษณะพึง ประสงค์
4
เขียนแผนเป็น เขียนแผนเป็น หมายถึง การศึกษาหาความรู้ เนื้อหาสาระ ที่เกี่ยวข้องในด้านวิชาชีพแล้ว นำมาเขียนแผนการเรียนรู้ หรือ แผนการสอนให้ถูกต้อง เหมาะสม ทั้งนี้หมายถึง การ วางแผนปฏิบัติงานอื่น ๆ ด้วย
5
เน้นผลงาน เน้นผลงาน หมายถึง การ ปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความ พยายามเต็มความสามารถที่จะให้ ผลงานมีประสิทธิภาพ เกิด ประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ต่อ เพื่อนครู และต่อผู้เรียน
6
ประสานชุมชนและเพื่อนครู
หมายถึง การมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความสามารถในการประสาน ความร่วมมือระหว่างชุมชนและ เพื่อนครู ประพฤติปฏิบัติตนเป็น แบบอย่างที่ดี มีสัมมาคารวะ มี การช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนครูและ ชุมชนโดยสร้างสรรค์ อันจะเกิด ภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กร
7
เรียนรู้พัฒนา เรียนรู้พัฒนา หมายถึง การใช้ ความพยายาม มุ่งมั่น อดทน ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนางานให้มี ประสิทธิภาพ เช่น การประชุม อบรม การอ่านหนังสือ แล้วนำ ผลมาพัฒนางาน พัฒนาตน และพัฒนาองค์กร
8
ก้าวหน้าทันสมัย ก้าวหน้าทันสมัย หมายถึง การ ปฏิบัติงานให้มีความก้าวหน้า ทันต่อเหตุการณ์ อันเป็นผลมา จากการเรียนรู้พัฒนา การใฝ่รู้ ใฝ่เรียน แล้วนำผลมาพัฒนา ตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้าน บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทัน ต่อการพัฒนาทางวิทยาการ
9
รักษาวินัย การรักษาวินัย หมายถึง การ ประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบ รับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ มี คุณธรรม จริยธรรมในการ ปฏิบัติหน้าที่ มองเห็นประโยชน์ ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วน ตน ยึดมั่นตามแบบแผน จรรยาบรรณวิชาชีพ
10
ใส่ใจสามัคคี ใส่ใจสามัคคี หมายถึง การ ร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่อย่าง เต็มใจ มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนครู ในโรงเรียน มีเป้าหมายในการ ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ ตลอดถึงการมีวิสัยทัศน์ในการ ทำงานที่ดี
11
รู้หน้าที่ครู รู้หน้าที่ครู หมายถึง การ ตระหนักรู้ในบทบาทหน้าที่ของ ตนเอง มีความรับผิดชอบ มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่อันจะเกิด ผลดีถึงตัวผู้เรียน และมีจิต วิญญาณของความเป็นครู มองเห็นความสำคัญในการ พัฒนาคุณภาพผู้เรียนอย่าง ต่อเนื่องตามแบบแผน และ จรรยาบรรณครู
12
เชิดชูองค์กร เชิดชูองค์กร หมายถึง การ ปฏิบัติหน้าที่โดยคำนึงถึง ผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่า ประโยชน์ส่วนตน มององค์กร เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ รักษา ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของ องค์กร ร่วมมือ พัฒนางาน ภายในองค์กรอย่างสร้างสรรค์
13
องค์ประกอบ การประเมินคุณลักษณะของครู โรงเรียนราษฎร์วิทยา(ตี่มิ้ง)
14
การสอน การสอน หมายถึง การจัดประสบการณ์ ในการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบ ความสำเร็จในการแสวงหาความรู้ ซึ่ง ผู้สอนต้องมีเทคนิค และวิธีการในการ จัดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย มีความรู้ ความเข้าใจในหลักสูตรเป็นอย่างดี ตลอดถึง ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหา สาระและธรรมชาติของวิชาที่สอนอย่าง แท้จริง ทั้งนี้ทั้งก่อนทำการสอน / จัดการเรียนรู้ในแต่ละครั้ง ผู้สอนต้องมี การวางแผนการสอน หรือ เตรียมการ สอนให้เหมาะสมกับเนื้อหา สาระ และ วัยของผู้เรียน อันจะส่งผลถึงการพัฒนา ผู้เรียนให้ได้มาตรฐานตามหลักสูตร สถานศึกษาต่อไป
15
แผนการสอน แผนการสอนเป็นเอกสารที่ครูผู้สอนจัดทำ ขึ้นเพื่อแจกแจงรายละเอียดของหลักสูตร ในการจะนำไปพัฒนาผู้เรียนให้ได้ตาม มาตรฐานตามที่กำหนดไว้ โดย ครูผู้สอนต้องมีการวางแผน จัดเตรียมไว้ ล่วงหน้า ซึ่งองค์ประกอบต่างๆ ของ แผนการสอนจะต้องสอดคล้องและสัมพันธ์ กัน โดยเริ่มตั้งแต่มาตรฐานหลักสูตร ตลอดถึง การวัดผลและประเมินผล รวมทั้งการบันทึกหลังการสอน
16
สื่อและอุปกรณ์การสอน
สื่อและอุปกรณ์เป็นตัวกลางที่ช่วย นำความรู้ไปสู่ผู้เรียน ทำให้การ จัดการเรียนรู้หรือ การเรียนการ สอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ ต้องการ ทั้งนี้ในการสอนแต่ละ ครั้งครูผู้สอนจำเป็นต้องใช้สื่อทุก ครั้ง และพัฒนาให้สื่อมี ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับ เนื้อหาสาระที่สอน
17
การวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยในชั้นเรียน เป็นกระบวนการ พัฒนาการเรียนอย่างเป็นระบบ เพื่อ พัฒนาผู้เรียนขณะที่ครูผู้สอนพบปัญหา หรือ ต้องการพัฒนาผู้เรียนที่อยู่ในความ รับผิดชอบของตนเองให้มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนดีขึ้น ทั้งนี้ พรบ.กศ. แห่งชาติ ๒๕๔๒ ได้กำหนดให้การวิจัย ชั้นเรียน เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ เรียนการสอน ซึ่งครูผู้สอนจำเป็นต้องมี การจัดทำวิจัยชั้นเรียน เพื่อพัฒนา กระบวนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน และนำผลการวิจัยมาพัฒนาคุณภาพการ เรียนการสอนของผู้เรียนอยู่เสมอ
18
การประชุม/อบรม การประชุม-อบรม หมายถึง กิจกรรมที่ จัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรให้มี ศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรใน หน่วยงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ที่ ได้รับผิดชอบได้อย่างมีคุณภาพ และทัน ต่อเหตุการณ์ สถานศึกษาอาจจะจัดขึ้น หรือ หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจัดขึ้น โดยเป็นทางเลือกให้บุคลากรได้นำไป พัฒนาตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ ซึ่ง หมายรวมถึงการประชุมประจำเดือนที่จัด ขึ้นในแต่ละเดือน หรือ การประชุมที่ หน่วยงานในสถานศึกษาจัดขึ้น โดย สถานศึกษากำหนดให้ครูโรงเรียนราษฎร์ วิทยา(ตี่มิ้ง) โดย เข้าร่วมในหนึ่งปี การศึกษาไม่ต่ำกว่า ๑๐๐ ชั่วโมง
19
การอ่านหนังสือ การอ่านหนังสือ หมายถึง กิจกรรมที่ครูแสวงหาความรู้ เพิ่มเติม เพื่อเป็นการเติมเต็ม ในส่วนที่ต้องเรียนรู้ เพื่อที่จะ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ใน หน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ รวมไปถึงเพื่อพัฒนาศักยภาพ ของตนเอง
20
ความรับผิดชอบ ความรับผิดชอบ หมายถึง ความสนใจ ความตั้งใจที่จะ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเพียร พยายาม ละเอียดรอบคอบ เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จ ตามเป้าหมาย ยอมรับผลการ กระทำของตนเองทั้งในด้านที่ เป็นผลดี และผลเสีย ทั้ง พยายามปรับปรุงตนเองและ การปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งๆขึ้น
21
ความร่วมมือ/ความสามัคคี
ความร่วมมือ / ความสามัคคี หมายถึง การทำกิจกรรม ร่วมมือของคณะครูโดยมี เป้าหมายที่สอดคล้อง ต่อเนื่องกัน มีกระบวนการ ทำงานกลุ่มอย่างเป็นระบบ และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน อันจะส่งผลให้งานประสบ ความสำเร็จและเกิด ประสิทธิภาพสูงสุด
22
ความวิริยะอุตสาหะ ความวิริยะอุตสาหะ หมายถึง ความตั้งใจและกระตือรือร้น มุ่งมั่นในการทำงานโดยไม่ ผัดวันประกันพรุ่ง ไม่แสดงกิริยา ท่าทางต่อต้าน ทำงานหนักหรือ งานที่มีอุปสรรคโดยไม่ย่อท้อจน งานสำเร็จ รวมทั้งงานในด้าน วิชาชีพ และมีวิสัยทัศน์ที่ทันสมัย ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.