ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย
การเขียน การกรอกแบบสมัครงาน ตัวชี้วัด กรอกแบบสมัครงานพร้อมเขียนบรรยายเกี่ยวกับความรู้และทักษะของตนเองที่เหมาะสมกับงาน (ท ๒.๑ ม. ๓/๘) By G_Chai-in 12/2014
2
ข้อควรระวังในการกรอกแบบสมัครงาน
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย การเขียนกรอกแบบสมัครงาน เป็นการทดสอบความสามารถโดยทั่วไป ขั้นแรกของผู้สมัครงาน ผู้สมัครต้องเขียนด้วยความรอบคอบ ลายมือสวยงาม สะอาด ชัดเจน ถ้าส่งทางไปรษณีย์ ซองกระดาษ จะต้องสีสุภาพ ไม่มีลวดลาย ข้อควรระวังในการกรอกแบบสมัครงาน ๑. อ่านคำแนะนำในการกรอกใบสมัคร คำสั่งอื่น ๆ ให้ละเอียด และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ๒. ใบสมัครจะต้องเขียนให้สะอาด เรียบร้อย ไม่มีรอยขีดฆ่าสกปรก ถ้าพิมพ์ดีด หรือสมัครออนไลน์ได้ ก็ควรกรอกให้รอบคอบ By G_Chai-in 12/2014
3
ข้อควรระวังในการกรอกแบบสมัครงาน
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย ข้อควรระวังในการกรอกแบบสมัครงาน ๓. แบบรายการของใบสมัครงานเป็นภาษาใดให้กรอกภาษานั้น ๔. ควรแนบหลักฐานต่าง ๆ ประกอบให้ครบถ้วน ๕. ถ้าเป็นใบสมัครงานควรแนบประวัติโดยย่อของตนเองติดไปกับใบสมัครงาน เพื่อให้นายจ้าง ได้ข้อมูลที่ครบสมบูรณ์ และควรบรรยายความรู้และทักษะของตนให้เหมาะสมกับงานที่สมัคร ๖. ควรใช้หมึกสีนํ้าเงินหรือสีดำในการกรอกใบสมัคร By G_Chai-in 12/2014
4
ข้อควรระวังในการกรอกแบบสมัครงาน
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย ข้อควรระวังในการกรอกแบบสมัครงาน ๗. ถ้าในกรณีมีผู้รับรอง ควรขออนุญาตบุคคลเหล่านั้นก่อนหรือแจ้งให้ผู้รับรองทราบก่อนกรอกชื่อเขาลงไปในใบสมัคร ๘. เซ็นชื่อตนเองกำกับไว้ตอนท้ายใบสมัครและลงวันที่กำกับไว้ด้วย ๙. ไม่ควรมีรอยขีด ขูด ลบ ฆ่า หากจำเป็นต้องมี ควรเซ็นชื่อกำกับไว้ตรงนั้นด้วย ๑๐. ช่องว่างใดที่ไม่กรอกให้ใส่เครื่องหมาย (-) เพื่อให้ใบสมัครสมบูรณ์ พึงระลึกว่า ข้อความ ที่ผู้สมัครเขียนผิด กรอกไม่ครบ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ใบสมัครไม่ได้รับการพิจารณา By G_Chai-in 12/2014
5
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย
By G_Chai-in 12/2014
6
หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย
By G_Chai-in 12/2014
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.