งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เส้นทางสู่ วิชาชีพนักกฎหมาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เส้นทางสู่ วิชาชีพนักกฎหมาย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เส้นทางสู่ วิชาชีพนักกฎหมาย
Outline: ทนายความ อัยการ ผู้พิพากษา ตุลาการศาลปกครอง

2 เส้นทางของนักกฎหมาย เราอยากประกอบวิชาชีพกฎหมายจริงๆหรือ?
วงการกฎหมายที่เกี่ยวพันกับอาชญากรรม การฉ้อ ฉล ความเสียหาย ที่ปรึกษากฎหมายที่ต้องอาศัยความละเอียด รอบคอบ เฉียบคม ล้ำลึก ผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อความยุติธรรม ภายใต้ความ กดดันรอบด้าน เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

3 การสมัครเป็น สมาชิกวิสามัญของเนติบัณฑิตยสภา
ก่อนที่จะขอใบอนุญาตเป็นทนายความ จะต้อง สมัครเป็นสมาชิกวิสามัญของเนติบัณฑิตยสภา เสียก่อน แล้วจึงนำหลักฐานการเป็นสมาชิกไป ประกอบการยื่นขอใบอนุญาต สำหรับการสมัคร สมาชิกวิสามัญของเนติบัฑิตยสภานั้น ควรจะ สมัครตั้งแต่เริ่มเข้ารับการอบรมที่สภาทนายความ เลย เนื่องจากจะต้องใช้เวลาประมาณไม่ต่ำกว่า 2 เดือนจึงจะได้บัตรสมาชิก จะได้ไม่เสียเวลาอีกใน การยื่นขอใบอนุญาต การสมัครเป็นสมาชิกวิสามัญ ของเนติบัณฑิตนั้น ใช้หลักฐานการจบการศึกษา ชั้นปริญญาตรีในการสมัคร เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

4 คุณสมบัติของการเป็นทนายความ
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านนิติศาสตร์ 2. ต้องขอจดทะเบียน และรับใบอนุญาตเป็น ทนายความจากสภาทนายความ 3. มีสัญชาติไทย 4. อายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์ ในวันที่ยื่นคำขอจด ทะเบียน และรับในอนุญาต 5. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียบกพร่องในศิล ธรรมอันดี และไม่เป็นผู้ได้กระทำการใด ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าไม่น่าไว้วางใจในความซื่อสัตย์สุจริต 6. ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึง ที่สุดให้จำคุก เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

5 คุณสมบัติของการเป็นทนายความ
7 ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้ จำคุก ในคดีที่คณะกรรมการเห็นว่าจะ นำมาซึ่งความ เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ 8. ไม่เป็นบุคคลผู้ต้องพิพากษาถึงที่สุดให้ล้มละลาย 9. ไม่เป็นโรคติดต่อซึ่งเป็นที่รังเกียจของสังคม 10. ไม่เป็นผู้มีกายพิการ หรือจิตบกพร่องอันเป็นเหตุ ให้เป็นผู้หย่อนสมรรถภาพในการประกอบอาชีพ 11. ไม่เป็นข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งมี เงินเดือน และตำแหน่งประจำเว้นแต่ ข้าราชการ การเมือง 12. ต้องซื่อตรงต่อลูกความ ผู้ร่วมงานอำนวยการ ความยุติธรรม ชุมชน ผู้ร่วมสำนักงาน และตนเอง เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

6 ขั้นตอนการสอบใบอนุญาตทนายความ
เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

7 การสอบเนติบัณฑิตยสภา
การเข้าศึกษาในเนติบัณฑิต โดยจะรับสมัครผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาตรีในคณะนิติศาสตร์และต้องผ่านการทดสอบความรู้ใน กฎหมายอันประกอบด้วย กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ วิธี พิจารณาความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา โดยมีหลักสูตรหนึ่งปีแบ่ง ออกเป็นสองภาคการศึกษา ซึ่งมักจะเรียกกันว่ากฎหมายสี่มุมเมือง หรือ ที่เรียกกันในอีกชื่อหนึ่งว่ากฎหมายสี่ขา อันประกอบด้วย ภาคที่1 ขาอาญา กฎมายหมายอาญา กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง ขาแพ่งฯ ทรัพย์และที่ดิน นิติกรรม - สัญญา หนี้ ละเมิด ซื้อขาย เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ ตัวแทน ประกันภัย ตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด หุ้นส่วน - บริษัท ครอบครัว - มรดก กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

8 การสอบเนติบัณฑิตยสภา
ภาค 2 ขาวิแพ่งฯ -กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง -กฎหมายล้มละลาย -ระบบศาลและพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ขาวิอาญา -กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา -สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม -กฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน -วิชาว่าความพยานและการถามพยาน -การจัดทำเอกสารทางกฎหมาย

9 คุณสมบัติของการเป็นอัยการ
1. จบหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต หรือสอบไล่ได้รับปริญญา หรือ ประกาศนียบัตรทางกฎหมายจากต่างประเทศ ซึ่งคณะกรรมการ อัยการเทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี 2. จบตามหลักสูตรของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตย สภา 3. ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายเป็นข้าราชการตุลาการ จ่าศาล รองจ่าศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดี พนักงานคุมประพฤติ นายทหารพระธรรมนูญหรือทนายความ หรือ ได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายอย่างอื่นตามที่คณะกรรมการ อัยการกำหนด ทั้งนี้ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี และให้ คณะกรรมการอัยการมีอำนาจออกระเบียบกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับ การประกอบวิชาชีพนั้นๆ ด้วย 4. มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด 5. มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปี 6. เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยตาม รัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ 7. เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

10 คุณสมบัติของการเป็นอัยการ
8. ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรม อันดี 9. ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว 10. ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งให้พักราชการ หรือถูกสั่งให้ ออกจากราชการไว้ก่อนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบ ข้าราชการฝ่ายอัยการหรือตามกฎหมายอื่น 11. ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจาก ราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ 12. ไม่เป็นผู้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้น แต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้ทำโดยประมาท หรือความผิด ลหุโทษ 13. ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่ เหมาะสมที่จะเป็นข้าราชการอัยการ หรือเป็นโรคที่ระบุไว้ใน กฎกระทรวง 14. เป็นผู้ที่คณะกรรมการแพทย์มีจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่งคณะกรรมการอัยการจะได้กำหนดได้ตรวจร่างกายและ จิตใจแล้ว และคณะกรรมการอัยการได้พิจารณารายงานของ แพทย์เห็นว่าสมควรรับสมัครได้ เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

11 การเป็นอัยการ ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ได้ต้องผ่านการสอบคัดเลือก และต้องมีคุณสมบัติดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น จึงเป็น อาชีพที่ต้องมีคุณสมบัติตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ เท่านั้น เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วก็จะได้รับตำแหน่ง เป็นอัยการผู้ช่วย คือ อัยการชั้น 1 ก่อนในขั้นต้นทุกคน และจะได้พิจารณาเลื่อนขั้นเป็นอัยการประจำกอง หรือ อัยการจังหวัดผู้ช่วย (อัยการชั้น 2) ต่อไป ผู้ที่เป็นพนักงานอัยการ จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้น เงินเดือนตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดจาก คณะกรรมการอัยการ และเมื่อรับราชการในตำแหน่ง อัยการไม่น้อยกว่า 2 ปี สามารถสอบคัดเลือกเป็นผู้ พิพากษาต่อไปได้ พนักงานอัยการทำหน้าที่อำนวยความยุติธรรมใน สังคม และรักษาผลประโยชน์ของรัฐ โดยในคดีอาญามี ฐานะเป็นโจทก์แทนแผ่นดินมีอำนาจและหน้าที่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกฎหมาย อื่น เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

12 การเป็นอัยการ ในด้านคดีแพ่ง มีอำนาจและหน้าที่ให้คำปรึกษาด้าน กฎหมายแก่ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ดำเนินคดีแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง พิจารณารับว่าแก้ ต่างให้แก่นิติบุคคล ซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราช กฤษฎีกาจัดตั้งขึ้นหรือให้แก่รัฐบาล ซึ่งเป็นโจทก์หรือ จำเลยและมิใช่เป็นคดีพิพาทกับรัฐบาลเมื่อพนักงาน อัยการเห็นสมควร ในด้านคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มี อำนาจหน้าที่ให้บริการ ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ ประชาชน เช่น การประนอมข้อพิพาท การให้ความ ช่วยเหลือทางอรรถคดี และการฟ้องคดีแทนราษฎรผู้ หนึ่งผู้ใดที่ไม่อาจฟ้องเองได้เพราะกฎหมายห้าม เป็น ต้น รวมถึงการให้ความช่วยเหลือในการรับแก้ต่างให้เจ้า พนักงานผู้ถูกฟ้องทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาในเรื่อง การที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ หรือรับแก้ต่างให้แก่ ราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของ เจ้าพนักงานซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

13 การสอบคัดเลือกเป็นผู้พิพากษา
1. สอบผ่านเนติบัณฑิต การศึกษาในระดับเนติบัณฑิตมีหลักสูตรหนึ่งปีเมื่อ สำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับประกาศณียบัตรจาก เนติบัณฑิตสภาแม้จะมีหลักสูตรเพียงแค่ปีเดียว หาก สอบผ่าน! แต่ก็ยังมีข้อดีกว่าเมื่อสอบผ่านไหนขาไหนแล้วก็ สามารถนำมาเก็บสะสมไว้เพื่อใช้สอบได้ในปีต่อไปจน ครบทั้งสี่ขา ก็จะมีสิทธิ์สอบปากเปล่า โดย เป็นการ ถามตอบ หลักกฎหมาย แบบสัมภาษณ์ 2.เก็บอายุงาน คุณสมบัติที่สำคัญอีกประการของผู้มีสิทธิสอบ คัดเลือกในตำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาคือการเก็บอายุ งาน สามารถเลือกได้สองทาง ทางแรกคือการต้องมี ประสบการณ์ในกาทำงานทางด้านกฎหมายมาไม่ น้อยกว่า 2 ปี ในตำแหน่งดังต่อไปนี้ เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

14 อาชีพที่นำมาเป็นการเก็บประสบการณ์
1จ่าศาล,รองจ่าศาล 2. ข้าราชการ พนักงานเทศบาลหรือลูกจ้างส่วน ราชการปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร 3. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ 4. เจ้าพนักงานบังคับคดี 5. พนักงานคุมประพฤติ 6. อัยการ 7. นายทหารเหล่าพระธรรมนูญ เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

15 อาชีพที่นำมาเป็นการเก็บประสบการณ์
8.อาจารย์นิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของรัฐ 9. พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ 10.เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน ป.ป.ป. 11. ลูกจ้างกระทรวงยุติธรรมทำหน้าที่พนักงานคุม ประพฤติ หรือพนักงานบังคับคดี 12. นักวิชาการตรวจเงินแผ่นดิน (ส.ต.ง.) 13.ข้าราชการรัฐสภาสามัญปฏิบัติงานในหน้าที่นิติกร 14.พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานในสถาบัน การเงินที่ ก.ต.รับรอง เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

16 คุณสมบัติของผู้สามารถสอบเป็นผู้พิพากษา
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด (2) ผู้สมัครสอบคัดเลือกหรือผู้สมัครทดสอบความรู้ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีบริบูรณ์ ผู้สมัครเข้ารับ การคัดเลือกพิเศษ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี บริบูรณ์ (3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ (4) เป็นสามัญสมาชิกแห่งเนติบัณฑิตยสภา (5) ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องใน ศีลธรรมอันดี (6) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

17 คุณสมบัติของผู้สามารถสอบเป็นผู้พิพากษา
(7) ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งให้พักราชการหรือถูกสั่งให้ ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตาม กฎหมายอื่น (8) ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก จากราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (9) ไม่เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุด ให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดย ประมาทหรือความผิดลหุโทษ (10) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ ความสามารถ คนวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่ สมประกอบ หรือมีกายหรือจิตใจไม่เหมาะสมที่จะเป็น ข้าราชการตุลาการหรือเป็นโรคที่ระบุไว้ในระเบียบของ ก.ต. และ (11) เป็นผู้ที่ผ่านการตรวจร่างกายและจิตใจโดย คณะกรรมการแพทย์จำนวนไม่น้อยกว่าสามคนซึ่ง ก.ต. กำหนด และ ก.ต. ได้พิจารณารายงานของคณะกรรมการ แพทย์แล้วเห็นสมควรรับสมัครได้a เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

18 สนามสอบผู้พิพากษา เกณฑ์ผ่าน
สนามใหญ่ ใช้หลักเกณฑ์ตามมาตรา 26 หรือกล่าวโดยสรุป คือ คือ ต้องจบการศึกษาระดับ นิติศาสตร์บัณฑิต ได้รับ ประกาศณียบัตรจากเนติบัณฑิตสภา มีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ มีอายุงานครบตามข้อกำหนด (2 ปี + เก็บคดี 20 คดี) สอบ 3 วัน คะแนนกฎหมาย 270 คะแนน ภาษาอังกฤษ 10คะแนน เกณฑ์ ผ่าน 140 คะแนน สนามเล็ก คุณสมบัติโดยทั่วๆไปจะเหมือนกับสนามใหญ่แต่ เปิดโอกาสให้ผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาโทในคณะ นิติศาสตร์สามารถเข้าสอบแข่งขันได้ ซึ่งเน้นในสาขาวิชา เฉพาะด้านซึ่งก.ต. จะผู้เป็นกำหนดกฎระเบียบในการเปิดสอบ สนามเล็กออกมาเช่น ต้องมีความรู้ ในเฉพาะด้าน เช่น - กฎหมายอาญา - กฎหมายแพ่ง - กฎหมายลักษณะพยาน กฎหมายล้มละลาย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา วิธีพิจารณาความแพ่ง (1 ปี + เก็บคดี 10 คดี) สอบ 3 วัน คะแนนกฎหมาย 150 คะแนน + ภาษาอังกฤษ 20คะแนน เกณฑ์ผ่าน 85 คะแนน

19 สนามสอบผู้พิพากษา เกณฑ์ผ่าน
สนามจิ๋ว การสอบในลักษณะนี้จะเปิดสอบเมื่อ คณะกรรมการตุลาการเห็นสมควร ซึ่งผู้สมัคร ต้องมี ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ดีเด่นใน สาขาวิชากฎหมายที่ ก.ต. กำหนดเท่าที่ผ่านมาๆ มักจะกำหนดให้มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาจาก ต่างประเทศ = อายุ 25 ปีขึ้นไป+ เนติบัณฑิต + ปริญญา ตรีกฎหมาย 3 ปี จากต่างประเทศ หรือปริญญาเอก กฎหมายในประเทศ (ไม่ต้องใช้อายุงาน) หากเป็น ปริญญาตรีกฎหมาย 2 ปี หรือ ปริญญาโทกฎหมาย 2 ปี จากต่างประเทศ ต้องใช้อายุงาน 1 ปี + 10 คดี การสอบ 3 วัน คะแนนกฎหมาย 110 คะแนน ภาษาอังกฤษ 60 คะแนน เกณฑ์ผ่าน 85 คะแนน

20 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบเป็นตุลาการศาลปกครอง (อายุ 35 ปีขึ้นไป สำหรับตุลาการศาลปกครองชั้นต้น)
การกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิสมัครสอบตุลาการ ศาลปกครองชั้นต้น ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนระดับ 8 หรือเทียบเท่า ได้แก่ ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งเป็นข้าราชการ (ก) ตำแหน่งประเภทอำนวยการระดับต้น ตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ในกรณีที่เป็นข้าราชการพลเรือน ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ข้าราชการศาลยุติธรรม ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ข้าราชการฝ่ายอัยการประเภทข้าราชการธุรการ ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการกรุงเทพมหานครสามัญ และข้าราชการอื่นที่มีระบบการกำหนดตำแหน่งเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

21 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบเป็นตุลาการศาลปกครอง
(ข) ตำแหน่งระดับ 8 ในสายงานบริหารหรือสายงานวิชาการ หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ในกรณีที่เป็นข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล พนักงานเมืองพัทยาและข้าราชการอื่นที่มีระบบการกำหนดตำแหน่งเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือนสามัญ (ค) ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ในกรณีที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

22 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบเป็นตุลาการศาลปกครอง
(ง) ตำแหน่งรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งครูชำนาญการพิเศษ ตำแหน่งศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ในกรณีที่เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาเทศบาล พนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบล ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร พนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาเมืองพัทยาและข้าราชการอื่นที่มีระบบการกำหนดมาตรฐานตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะเช่นเดียวกับข้าราชการครู (จ) ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ในกรณีที่เป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ฉ) ตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งมียศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ในกรณีที่เป็นข้าราชการทหาร (ช) ตำแหน่งที่ผู้ดำรงตำแหน่งมียศพันตำรวจเอก ในกรณีที่เป็นข้าราชการตำรวจ เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

23 คุณสมบัติของผู้สมัครสอบเป็นตุลาการศาลปกครอง
ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งไม่เป็นข้าราชการ (ก) ตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ตำแหน่งหัวหน้า หน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากอง หรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า ในกรณีที่เป็นพนักงาน มหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วน ราชการหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นส่วน ราชการและอยู่ในกำกับของรัฐ (ข) ตำแหน่งตามตารางท้ายประกาศนี้ ในกรณีที่เป็น ผู้ปฏิบัติงานในรัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา องค์การมหาชนที่ตั้งขึ้นโดย พระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา หน่วยงานที่ เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

24 คุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิที่จะได้รับแต่งตั้งเป็น ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น
ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐ ประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ ที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการในศาลปกครอง ชั้นต้นต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไปใน สาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือ เศรษฐศาสตร์ หรือเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับ ปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาสังคมศาสตร์อื่น โดยได้รับ ปริญญาสังคมศาสตร์ อักษรศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ ที่เน้นการศึกษาวิชาเกี่ยวกับนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐ ประศาสนศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมืองการ ปกครอง หรือสังคมวิทยาจากสถานศึกษาในประเทศ หรือต่างประเทศ ที่ ก.พ. รับรอง และ เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

25 คุณสมบัติของผู้ทรงคุณวุฒิที่จะได้รับแต่งตั้งเป็น ตุลาการในศาลปกครองชั้นต้น
(2) ผ่านการอบรมหลักสูตรพนักงานคดีปกครองหรือ หลักสูตรกฎหมายปกครองหรือหลักสูตรกฎหมาย มหาชน ที่ ก.ศป. รับรอง เว้นแต่เป็นผู้ที่สำเร็จ การศึกษาในระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอกใน สาขากฎหมายปกครองหรือกฎหมายมหาชนใน ประเทศหรือต่างประเทศ ที่ ก.พ. รับรอง ในกรณีผู้ที่ดำรงตำแหน่งอื่นในหน่วยงานของรัฐที่ มิใช่ข้าราชการ นอกจากเป็นไปตาม (1) และ (2) แล้ว ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานโดยปฏิบัติหรือ เคยปฏิบัติหน้าที่ในส่วนราชการ หรือปฏิบัติหรือ เคยปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นของรัฐที่มิใช่ส่วน ราชการ มาแล้วรวมกันไม่น้อยกว่าสิบห้าปีด้วย เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

26 เจ้าหน้าที่ศาลปกครองปฏิบัติการ (ด้านกฎหมาย)
งานนิติการ งานจัดซื้อจัดจ้าง งานธุรการคดี เช่น งานรับคำฟ้อง คำอุทธรณ์ คำร้อง คำขอต่างๆ เอกสารคำคู่ความ และตั้งสำนวนคดี งาน ค่าธรรมเนียมศาล งานบันทึกข้อมูลคดีลง ระบบงานคดี จัดทำสารบบความ สารบบคำ พิพากษา จัดเก็บสำนวนคดี งานตรวจสอบและงาน ดำเนินการหลังคำพิพากษา/คำสั่ง งานจัดทำหมาย คำสั่ง ประกาศ และหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานคดี ทุกประเภทตามคำสั่งศาล หรือได้รับมอบหมาย เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

27 คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ศาลปกครองปฏิบัติการ(ด้านกฎหมาย)
คุณสมบัติตาม ม. 36 พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พศ.2551 ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนต้องมีคุณสมบัติทั่วไป และไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป (1) มีสัญชาติไทย (2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี (3) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

28 คุณสมบัติของเจ้าหน้าที่ศาลปกครองปฏิบัติการ(ด้านกฎหมาย)
ข. ลักษณะต้องห้าม (1) เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (2) เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ. (3) เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักราชการหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น

29 (4) เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีจนเป็นที่รังเกียจของสังคม (5) เป็นกรรมการหรือผู้ดำรงตำแหน่งที่รับผิดชอบในการบริหารพรรคการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง (6) เป็นบุคคลล้มละลาย (7) เป็นผู้เคยต้องรับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเพราะกระทำความผิดทางอาญา เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ (8) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ (9) เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก หรือปลดออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น

30 (10) เป็นผู้เคยถูกลงโทษไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎหมายอื่น (11) เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการ หรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนซึ่งมีลักษณะต้องห้ามตาม ข. (4) (6) (7) (8) (9) (10) หรือ (11) ก.พ. อาจพิจารณายกเว้นให้เข้ารับราชการได้ แต่ถ้าเป็นกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (8) หรือ (9) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสองปีแล้ว และในกรณีมีลักษณะต้องห้ามตาม (10) ผู้นั้นต้องออกจากงานหรือออกจากราชการไปเกินสามปีแล้ว และต้องมิใช่เป็นกรณีออกจากงานหรือออกจากราชการเพราะทุจริตต่อหน้าที่ มติของ ก.พ. ในการยกเว้นดังกล่าวต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสี่ในห้าของจำนวนกรรมการที่มาประชุม การลงมติให้กระทำโดยลับ

31 ความรู้ที่จำเป็น(วิชาที่สอบ) เกณฑ์ผ่าน 60%:
ภาคความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง (200 คะแนน) 1.ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนและกฎหมาย ปกครอง 2.กฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง 3.กฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 4.กฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 5.กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 6.กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง (100 คะแนน) โดยการประเมินบุคคลเพื่อพิจารณาความเหมาะสมกับ ตำแหน่งหน้าที่ จากประวัติส่วนตัว การศึกษา ประวัติการ ทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่ปรากฏของผู้เข้าสอบและ จากการสัมภาษณ์ (ความสามารถ ประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย ทัศนคติ จรรยาบรรณของข้าราชการ คุณธรรม จริยธรรม การปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน รวมทั้งสังคมและ สิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ) เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

32 การสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ EQ (Emotional Intelligence)
เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

33 EQ สำคัญอย่างไร? เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

34 จะจัดการกับ EQ อย่างไร?
เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

35 การจัดการกับ EQ เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

36 How to? เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

37 a a เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

38 Ethics Quotient เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย
เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย

39 เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย
สรุป outline เส้นทางสู่วิชาชีพนักกฎหมาย


ดาวน์โหลด ppt เส้นทางสู่ วิชาชีพนักกฎหมาย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google