ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ระบาดวิทยาของ โรคไร้เชื้อ อุบัติเหตุ
รายวิชา: ระบาดวิทยา (Epidemiology) รหัสวิชา: ๔๑๐๒๗๐๖ อ. กมลวรรณ บุตรประเสริฐ ๑
2
บทที่ ๑๓ ระบาดวิทยาของโรคไร้เชื้อ อุบัติเหตุ
หัวข้อการบรรยาย ความหมายของอุบัติเหตุ อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย การป้องกันอุบัติเหตุการจราจรทางบก ๒
3
วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายความหมาย และความสำคัญของโรคไร้เชื้อ อุบัติเหตุ ๒. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายโรคไร้เชื้อ อุบัติเหตุได้ถูกต้อง ๓. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายการกระจายของโรคและแนวโน้มการเกิดโรคได้ถูกต้อง ๔. เพื่อให้นักศึกษาอธิบายการควบคุมและป้องกันได้ถูกต้อง ๓
4
ความหมายของอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุ (accident) หมายถึง เหตุการณ์อันตรายที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือคาดคิดมาก่อน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน บุคคลได้รับอันตรายทั้งร่างกายและจิตใจ อาจบาดเจ็บ พิการ หรือรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ๔
5
ทฤษฎีการเกิดอุบัติเหตุ
ทฤษฎีโดมิโน (domino theory) ตัวโดมิโนทั้ง ๕ ตัว ได้แก่ ๑. สภาพแวดล้อมหรือภูมิหลังของบุคคล (social environment of background) ๒. ความบกพร่องผิดปกติของบุคคล (defect of person) ๓. การกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย (unsafe acts/unsafe conditions) ๔. อุบัติภัย (accident) ๕. การบาดเจ็บหรือเสียหาย (injury or damage) ๕
6
ทฤษฎีการเกิดอุบัติเหตุ
ทฤษฎีความโน้มเอียงให้เกิดอุบัติเหตุ (accident proneness) ความโน้มเอียงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุมี ๒ ประเภท ได้แก่ ความโน้มเอียงให้เกิดอุบัติเหตุในช่วงเวลาสั้น ความโน้มเอียงให้เกิดอุบัติเหตุซึ่งขึ้นกับลักษณะส่วนบุคคล ๖
7
ระบาดวิทยาของการเกิดอุบัติเหตุจากการจราจร
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระบาดวิทยาของอุบัติเหตุจากการจราจร จำแนกได้เป็น ๓ ปัจจัย ดังนี้ ๑. ปัจจัยที่เกี่ยวกับคน ๑.๑ ผู้ขับ ๑.๒ ผู้โดยสาร ๒. ปัจจัยที่เกี่ยวกับยานพาหนะ ๓. ปัจจัยที่เกี่ยวกับทางและสภาพสิ่งแวดล้อม ๓.๑ ลักษณะของถนน ๓.๒ สภาพแวดล้อม ๗
8
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๗ รายการ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ ๒๕๕๔ ๒๕๕๕ ๒๕๕๖ ๒๕๕๗ เปรียบเทียบ ๒๕๕๗/ ๒๕๕๖ จํานวน อุบัติเหตุ (ครั้ง) ๘๔,๘ ๐๖ ๘๓,๐ ๙๓ ๖๘,๕ ๘๓ ๖๑,๑๑ ๔ ๖๑,๓ ๒๓ ๖๒,๗ ๖๙ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๒.๓๖ ผู้เสียชีวิต (คน) ๑๑,๐๔ ๘ ๖,๖๐ ๒ ๙,๒๐ ๕ ๘,๖๖ ๐ ๗,๓๖ ๔ ๖,๓๗ ๔ ลดลงร้อยละ ๑๓.๔๔ ผู้บาดเจ็บ (คน) ๖๑,๙ ๙๖ ๑๗,๓ ๖๗ ๒๑,๙ ๑๗ ๒๒,๒๕ ๗ ๒๐,๙ ๐๖ ๒๓,๔ ๔๘ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒.๑๖ รวม (คน) ๗๓,๐ ๔๔ ๒๓,๙ ๖๙ ๓๑,๑ ๒๒ ๓๐,๙๑ ๗ ๒๘,๒ ๗๐ ๒๙,๘ ๒๒ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕.๔๘ ที่มา : (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย, ๒๕๕๘) ๘
9
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย จำแนกตามประเภทยานพาหนะ พ.ศ. ๒๕๕๗ ลําดับ ยานพาหนะ จำนวนอุบัติเหตุ (ครั้ง) ร้อยละ ๑. รถจักรยานยนต์ ๒๐,๕๕๐ ๓๕.๖๔ ๒. รถยนต์นั่ง ๑๗,๖๘๓ ๓๐.๖๗ ๓. รถบรรทุกขนาดเล็ก (ปิคอัพ) ๙,๗๘๐ ๑๖.๙๖ ๔. รถแท็กซี่ ๒,๐๘๘ ๓.๖๒ ๕. คนเดินเท้า ๑,๙๓๘ ๓.๓๖ ๖. รถบรรทุก ๖ ล้อ ๑,๐๑๙ ๑.๗๗ ๗. รถบรรทุก ๑๐ ล้อขึ้นไป ๙๑๗ ๑.๕๙ ๘. รถโดยสารขนาดเล็ก (รถตู้) ๘๓๕ ๑.๔๕ ๙. รถโดยสารขนาดใหญ่ ๗๐๑ ๑.๒๒ ๑๐. รถจักรยาน ๔๓๕ ๐.๗๕ ๑๑. รถสามล้อเครื่อง ๒๒๖ ๐.๓๙ ๑๒. รถสามล้อ ๒๒ ๐.๐๔ ๑๓. อื่นๆ ๑,๔๖๔ ๒.๕๔ รวม ๕๗,๖๕๘ ๑๐๐.๐๐ ๙ ที่มา : (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย, ๒๕๕๘)
10
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
อุบัติเหตุทางถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ – ๒๕๕๗ รายการ ๒๕๕๒ ๒๕๕๓ ๒๕๕๔ ๒๕๕๕ ๒๕๕๖ ๒๕๕๗ เปรียบเทียบ ๒๕๕๗/ ๒๕๕๖ จํานวนอุบัติเหตุ (ครั้ง) ๑๔,๖๙๖ ๑๓,๗๕๗ ๑๒,๘๕๘ ๑๓,๐๙๐ ๑๓,๔๔๙ ๑๔,๖๑๔ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๘.๖๖ ผู้เสียชีวิต (คน) ๑,๔๙๖ ๑,๕๗๘ ๑,๔๘๑ ๑,๗๑๘ ๑,๙๔๖ ๒,๒๙๕ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๗.๙๓ ผู้บาดเจ็บ (คน) ๑๑,๓๖๘ ๑๑,๔๙๘ ๑๐,๕๔๔ ๑๑,๑๙๘ ๑๑,๘๑๕ ๑๓,๒๗๙ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๒.๓๙ รวม (คน) ๑๒,๘๖๔ ๑๓,๐๗๖ ๑๒,๐๒๕ ๑๒,๙๑๖ ๑๓,๗๖๑ ๑๕,๕๗๔ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๓.๑๗ ๑๐ ที่มา : (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย, ๒๕๕๘)
11
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
อุบัติเหตุทางถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม จำแนกตามประเภทถนน พ.ศ. ๒๕๕๗ รายการ รวม ทล. ทช. กทพ. จํานวนอุบัติเหตุ (ครั้ง) ๑๔,๖๑๔ ๑๒,๖๑๔ ๑,๑๘๑ ๘๑๙ ร้อยละ ๑๐๐.๐๐ ๘๖.๓๒ ๘.๐๘ ๕.๖๐ ผู้เสียชีวิต (คน) ๒,๒๙๕ ๒,๐๖๖ ๒๑๗ ๑๒ ๙๐.๐๒ ๙.๔๖ ๐.๕๒ ผู้บาดเจ็บ (คน) ๑๓,๒๗๙ ๑๑,๔๗๐ ๑,๓๓๙ ๔๗๐ ๘๖.๓๘ ๑๐.๐๘ ๓.๕๔ รวม (คน) ๑๕,๕๗๔ ๑๓,๕๓๖ ๑,๕๕๖ ๔๘๒ ๘๖.๙๑ ๑๐.๐๐ ๓.๐๙ ๑๑ ที่มา : (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย, ๒๕๕๘)
12
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
อุบัติเหตุทางถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม จำแนกตามลักษณะบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุและประเภทถนน พ.ศ. ๒๕๕๗ ลักษณะบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ จำนวนอุบัติเหตุ (ครั้ง) ร้อยละ รวม ทล. ทช. กทพ. กทพ. ทางตรง ๑๑,๗๔๐ ๑๐,๕๕๗ ๖๑๗ ๕๖๖ ๘๐.๓๓ ทางโค้ง ๒,๔๐๑ ๑,๙๒๗ ๓๔๖ ๑๒๘ ๑๖.๔๓ ทางแยกรูปตัว Y หรือตัว T ๑๔๓ ๐ ๐.๙๘ ทางโค้งหักศอก ๑๓๐ ๐.๘๙ ทางลาดชัน ๗๑ ๖ ๖๕ ๐.๔๙ ทางแยกอื่นๆ ๓๑ ๐.๒๑ ทางเข้าด่านเก็บเงิน ๒๓ ๐.๑๖ ทางร่วม ๒๑ ๐.๑๔ สะพาน ๑๘ ๐.๑๒ ทางแยก ๑๖ ๐.๑๑ ทางเชื่อมเข้าบ้านและอาคารอื่นๆ ๑๑ ๐.๐๘ จุดเปิดเกาะกลางถนน ๗ ๐.๐๕ อื่นๆ ๒ ๐.๐๑ ๑๔,๖๑๔ ๑๒,๖๑๔ ๑,๑๘๑ ๘๑๙ ๑๐๐.๐๐ ๑๒ ที่มา : (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย, ๒๕๕๘)
13
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
อุบัติเหตุทางถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม จำแนกตาม มูลเหตุสันนิษฐาน พ.ศ. ๒๕๕๗ มูลเหตุสันนิษฐาน จำนวนอุบัติเหตุ (ครั้ง) ร้อยละ รวม ทล. ทช. กทพ. ขับรถเร็วเกินกําหนด ๑๐,๗๙๑ ๙,๗๔๑ ๔๘๘ ๕๖๒ ๗๓.๘๔ คนหรือรถตัดหน้ากระชั้นชิด ๑,๑๘๗ ๑,๐๒๐ ๑๖๗ ๐ ๘.๑๒ หลับใน ๖๘๑ ๖๐๕ ๔๓ ๓๓ ๔.๖๖ เมาสุรา/ยาบ้า ๔๒๒ ๒๓๗ ๑๘๐ ๕ ๒.๘๙ อุปกรณ์รถบกพร่อง ๒๙๘ ๒.๐๔ ไม่ให้สัญญาณจอด ๑๘๖ ๖๒ ๒๖ ๙๘ ๑.๒๗ แซงรถอย่างผิดกฎหมาย ๑๕๘ ๑๒๒ ๓๖ ๑.๐๘ ๑๓ ที่มา : (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย, ๒๕๕๘)
14
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
อุบัติเหตุทางถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม จำแนกตาม มูลเหตุสันนิษฐาน พ.ศ. ๒๕๕๗ (ต่อ) มูลเหตุสันนิษฐาน จำนวนอุบัติเหตุ (ครั้ง) ร้อยละ รวม ทล. ทช. กทพ. ฝ่าฝืนสัญญาณไฟ ๑๕๖ ๑๔๒ ๘ ๖ ๑.๐๗ ขับรถไม่ชํานาญ ๑๑๘ ๐ ๐.๘๑ บรรทุกเกินอัตรา ๔๒ ๒๙ ๙ ๔ ๐.๒๙ ชนสิ่งกีดขวาง ๓๒ ๐.๒๒ อื่นๆ ๕๔๓ ๒๐๘ ๒๒๔ ๑๑๑ ๓.๗๒ ๑๔,๖๑๔ ๑๒,๖๑๔ ๑,๑๘๑ ๘๑๙ ๑๐๐.๐๐ ๑๔ ที่มา : (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย, ๒๕๕๘)
15
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
อุบัติเหตุทางถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม จำแนกตามยานพาหนะหรือคนเดินเท้าที่เกี่ยวข้องกับการเกิดเหตุและประเภทถนน พ.ศ. ๒๕๕๗ คนเดินเท้าหรือรถยนต์ที่เกี่ยวข้องในการเกิดเหตุ จำนวนรถที่เกิดอุบัติเหตุ (ครั้ง) ร้อยละ รวม ทล. ทช. กทพ. รถยนต์นั่งส่วนบุคคล/รถยนตน์ ั่งสาธารณะ ๖,๘๓๓ ๕,๙๙๐ ๔๑๔ ๔๒๙ ๓๑.๑๘ รถปิคอัพบรรทุก ๔ ล้อ ๕,๔๕๗ ๔,๙๙๙ ๒๓๕ ๒๒๓ ๒๔.๙๐ รถจักรยานยนต์ ๔,๑๑๒ ๓,๓๗๗ ๗๓๕ ๐ ๑๘.๗๖ รถบรรทุกมากกว่า ๑๐ ล้อ (รถพ่วง) ๑,๔๗๔ ๑,๓๙๒ ๔๕ ๓๗ ๖.๗๓ รถบรรทุกมากกว่า ๖ ล้อ ไม่เกิน ๑๐ ล้อ ๗๐๓ ๖๕๕ ๒๔ ๓.๒๑ รถบรรทุก ๖ ล้อ ๗๒๐ ๖๕๒ ๓๖ ๓๒ ๓.๒๙ รถปิคอัพโดยสาร ๖๔๕ ๕๙๘ ๔๗ ๒.๙๔ รถตู้ ๔๖๖ ๔๓๖ ๙ ๒๑ ๒.๑๓ รถโดยสารมากกว่า ๔ ล้อ ๓๑๕ ๓๐๔ ๕ ๖ ๑.๔๔ คนเดินเท้า ๑๙๑ ๐.๘๗ รถสามล้อเครื่อง ๔๔ ๓๓ ๑๑ ๐.๒๐ อื่นๆ เช่น รถจักรยาน รถสามล้อ รถอีแต๋น ๙๕๗ ๘๙๔ ๕๘ ๔.๓๗ ๒๑,๙๑๗ ๑๙,๕๒๑ ๑,๕๖๖ ๘๓๐ ๑๐๐.๐๐ ๑๕ ที่มา : (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย, ๒๕๕๘)
16
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๗ ประเภทรถโดยสาร สาธารณะ จำนวนอุบัติเหตุ (ครั้ง) สัดส่วนประเภทรถ พ.ศ. ๒๕๕๗ เปรียบเทียบ ๒๕๕๗/ ๒๕๕๖ ๒๕๕๕ ๒๕๕๖ ๒๕๕๗ รถสามล้อเครื่อง ๒๘๖ ๒๗๓ ๒๒๖ ๕.๘๗ ลดลงร้อยละ ๑๗.๒๑ รถแท็กซี่ ๒,๘๘๖ ๒,๓๔๒ ๒,๐๘๘ ๕๔.๒๓ ลดลงร้อยละ ๑๐.๘๔ รถโดยสารขนาดเล็ก (รถตู้) ๘๘๘ ๙๓๖ ๘๓๕ ๒๑.๖๙ ลดลงร้อยละ ๑๐.๗๙ รถโดยสารขนาดใหญ่ ๙๕๙ ๗๖๘ ๗๐๑ ๑๘.๒๑ ลดลงร้อยละ ๘.๗๒ รวม ๕,๐๑๙ ๔,๓๑๙ ๓,๘๕๐ ๑๐๐.๐๐ ลดลงร้อยละ ๑๐.๘๕ ๑๖ ที่มา : (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย, ๒๕๕๘)
17
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
จำนวนอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๗ รายการ ๒๕๕๔ ๒๕๕๕ ๒๕๕๖ ๒๕๕๗ จํานวนอุบัติเหตุ (ครั้ง) ๒๕๐ ๒๕๗ ๓๘๔ ๓๖๙ ผู้เสียชีวิต (คน) ๒๕๔ ๒๓๕ ๔๑๗ ๓๖๓ ผู้บาดเจ็บ (คน) ๒,๗๔๘ ๒,๔๙๖ ๒,๘๘๓ ๒,๕๑๕ รวม (คน) ๓,๐๐๒ ๒,๗๓๑ ๓,๓๐๐ ๒,๘๗๘ ๑๗ ที่มา : (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย, ๒๕๕๘)
18
อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย
มูลเหตุสันนิษฐาน จำนวนอุบัติเหตุ (ครั้ง) ร้อยละ ขับรถเร็วเกินกําหนด ๑๖๙ ๔๕.๘๐ หลับใน ๔๙ ๑๓.๒๘ ขับรถตัดหน้าในระยะกระชั้นชิด ๓๙ ๑๐.๕๗ ขับรถตามหลังรถอื่นในระยะกระชั้นชิด ๑๖ ๔.๓๔ ห้ามล้อชํารุด/เบรกชํารุด ๑๔ ๓.๗๙ แซงรถอย่างผิดกฎหมาย/แซงในที่คับขัน ๑๓ ๓.๕๒ ฝนตกถนนลื่น ๑๑ ๒.๙๘ ไม่ชํานาญทาง ๙ ๒.๔๔ ฝ่าฝืนสัญญาณไฟ ๗ อื่นๆ รวม ๓๖๙ ๑๐๐.๐๐ อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะจำแนกตามมูลเหตุสันนิษฐาน พ.ศ. ๒๕๕๗ ๑๘ ที่มา : (สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนาความปลอดภัย, ๒๕๕๘)
19
การป้องกันอุบัติเหตุการจราจรทางบก
การป้องกันด้านบุคคล การป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรทางบกด้านบุคคลนั้น ควรพิจารณาในเรื่องสุขภาพ การศึกษา และความปลอดภัยในการขับขี่ การโดยสาร และการเดินเท้า ซึ่งมีวิธีการป้องกันดังต่อไปนี้ เรื่องสุขภาพ การศึกษา ความปลอดภัยในการขับขี่ยวดยานพาหนะ ความปลอดภัยในการโดยสารยานพาหนะ ๑๙
20
การโดยสารรถจักรยานยนต์พึงปฏิบัติดังนี้
๑. ควรขึ้นหรือลงจากรถด้วยความระมัดระวังและเมื่อรถจอดอยู่ ๒. ควรแต่งกายให้รัดกุม ไม่เกะกะรุ่มร่าม เพราะอาจทำให้เสื้อผ้าเกาะเกี่ยวกับตัวรถ ขณะรถวิ่ง ทำให้เกิดอันตรายได้ ๓. ควรสวมหมวกนิรภัยทุกครั้งเมื่อโดยสารรถจักรยานยนต์ ๔. ควรนั่งช้อนท้ายผู้ขี่รถจักยานยนต์และนั่งคร่อมบนอาจที่จัดไว้สำหรับผู้โดยสาร ๕. วางเท้าไว้ที่พักเท้า ให้ปลายเท้าชี้ไปข้างหน้า ๒๐
21
การโดยสารรถยนต์นั่งหรือรถบรรทุก พึงปฏิบัติดังนี้
๑. ควรขึ้นหรือลงจากรถเมื่อรถหยุดเรียบร้อยแล้ว ๒. ควรรัดเข็มขัดนิรภัย(กรณีที่มี) ทุกครั้งเมื่อโดยสารรถ ๓. ขณะนั่งรถไม่ควรพูดคุย หรือชักถามผู้ขับรถตลอดเวลาที่ผู้ขับรถ กำลังขับรถอยู่ ๔. ไม่ควรชะโงกหน้าหรือยื่นแขนออกไปนอกรถขณะที่รถกำลังวิ่งอยู่ ๕. เมื่อลงจากรถแล้ว หากจะข้ามถนน ไม่ควรเดินออกมาทางหน้ารถที่ยังจอดอยู่ เพราะอาจทำให้ รถที่วิ่งแซงขึ้นมา วิ่งมาเฉี่ยวชนได้ ๒๑
22
การโดยสารรถประจำทาง พึงปฏิบัติดังนี้
การโดยสารรถประจำทาง พึงปฏิบัติดังนี้ ๑. ควรขึ้นหรือลงจากรถประจำทางเฉพาะป้ายจอดรถประจำทางเท่านั้น ๒. ควรขึ้นลงเมื่อรถจอดสนิทแล้ว ๓. ควรให้คนโดยสำรองลงเสียก่อน จึงค่อยขึ้น ๔. เมื่อขึ้นรถแล้วมีที่นั่ง ก็ควรนั่งให้เรียบร้อย ๕. ไม่ควรยื่นส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายออกนอกตัวรถ ๖. ไม่ควรคุยหรือซักถามผู้ขับรถขณะที่กำลังขับรถอยู่ ๗. ไม่ควรห้อยโหนตัวออกนอกรถ ๘. ไม่ควรนั่งบนขอบหน้าต่างรถ หลังคารถ หรือบนพนักพิงที่ไม่ปลอดภัย ๙. เมื่อลงจากรถแล้วต้องการจะข้ามถนนไม่ควรเดินออกมาทางหน้ารถที่ยังจอดอยู่ เพราะรถที่กำลังวิ่งแซงขึ้นมา อาจมองไม่เห็น และวิ่งชนได้ ๒๒
23
การโดยสารรถไฟ พึงปฏิบัติดังนี้
การโดยสารรถไฟ พึงปฏิบัติดังนี้ ๑. ควรขึ้นหรือลงจากรถ เมื่อรถได้จอดเทียบชานชาลาเรียบร้อยแล้ว ๒. ควรนั่งให้เรียบร้อยก่อนรถไฟจะออก ๓. ขณะนั่งรถไฟ ไม่ควรชะโงก หรือยืนส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายออกไป โดยเฉพาะ เมื่อรถไฟแล่นผ่านสะพาน หรือถ้ำ ๔. ไม่ควรขึ้นไปนั่งบนหลังคารถ และไม่ควรยืนหรือนั่งขวางประตูหรือเดินเล่นไปมาระหว่างตู้รถไฟ ๒๓
24
ความปลอดภัยในการเดินทางเท้า ผู้เดินทางเท้า
ความปลอดภัยในการเดินทางเท้า ผู้เดินทางเท้า การเดินถนน การข้ามถนน การข้ามถนนตรงช่องทางข้าม การข้ามถนนตรงช่องทางที่ควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร การข้ามถนนโดยไม่มีสัญญาณอะไรเลย ๒๔
25
บทสรุป อุบัติเหตุ หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ไม่ได้ตั้งใจมาก่อน ไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน เป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจ และทำให้สูญเสียชีวิตได้ แต่อุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องของโชคชะตาหรือพรหมลิขิตที่เหนือความสามารถของมนุษย์ที่จะควบคุมหรือป้องกันได้ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระบาดวิทยาของอุบัติเหตุจากการจราจร จำแนกได้เป็น ๓ ปัจจัย ๑. ปัจจัยที่เกี่ยวกับคน ๒. ปัจจัยที่เกี่ยวกับยานพาหนะ ๓. ปัจจัยที่เกี่ยวกับทางและสภาพสิ่งแวดล้อม ในการดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุในการจราจรควรพิจารณาในเรื่อง สุขภาพ การศึกษา และความปลอดภัยในการขับขี่ การโดยสาร และการเดินเท้า เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ และอันตรายที่จะเกิดขึ้น ๒๕
26
คำถามทบทวน ๑. ให้นักศึกษาอธิบายความหมาย และความสำคัญของโรคไร้เชื้อ อุบัติเหตุ ๒. ให้นักศึกษาอธิบายการกระจายของโรคและแนวโน้มการเกิดโรค ๓. ให้นักศึกษาอธิบายการควบคุมและป้องกัน ๒๖
27
คำถามทบทวน ๔. ให้นักศึกษาอธิปรายร่วมกันเกี่ยวกับโรคไร้เชื้อที่เกิดจากอุบัติเหตุในการทำงานของโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ๕. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มกลุ่มละ ๕ คน ศึกษาโรคระบาดไร้เชื้อที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย กลุ่มละ ๑ เรื่อง โดยที่แต่ละกลุ่มมีหัวข้อในการศึกษาค้นคว้าที่แตกต่างกัน พร้อมทั้งร่วมกันอภิปรายผลการศึกษาหน้าชั้นเรียน ๒๗
28
เอกสารอ้างอิง พงษ์สิทธิ์ บุญรักษา, พิรัชฎา มุสิกะพงศ์, ทัดขวัญ มธุรชน และ รักษา ศิวาพรรักษ์.(๒๕๕๕). รายงานวิจัยสถาบันเรื่องปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับ รถจักรยานยนต์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชศรีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร สำนักแผนความปลอดภัย กลุ่มพัฒนา ความปลอดภัย. (๒๕๕๘).รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน พ.ศ. ๒๕๕๗. ค้นเมื่อ มิถุนายน ๑๑,๒๕๕๙, จาก ๒๘
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.