งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมายของคอมพิวเตอร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมายของคอมพิวเตอร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความหมายของคอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึง การนับ หรือ การคำนวณ  พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ  ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"   คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูล ทั้งตัวเลขและตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไป  นอกจากนี้ ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรม คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆ อีกมาก อาทิเช่น การรับส่งข้อมูล การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่อง

2 ประวัติคอมพิวเตอร์ ประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการคำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ( Abacus)

3 ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule)
[ พ.ศ ] นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ที่ใช้ช่วยในการคำนวณขึ้นมาเรียกว่า Napier's Bones เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน [ พ.ศ.2173 ] วิลเลียม ออตเทรต( William Oughtred) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule) ซึ่ง ต่อมากลายเป็นพื้นฐานของการสร้างคอมพิวเตอร์แบบอนาลอก ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule)  [ พ.ศ.2185 ] เบลส์ ปาสคาล ( Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องบวกลบขึ้น โดยใช้หลัการหมุนของฟันเฟือง และการทดเลขเมื่อฟันเฟืองหมุน ไปครบรอบ โดยแสดงตัวเลขจาก 0-9 ออกที่หน้าปัด Pascal’s Calculato ไม้บรรทัดคำนวณ ( Slide Rule)

4 กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz )
[ พ.ศ.2214 ] กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz ) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ปรับปรุงเครื่องคิดเลขปาสคาล ให้ทำงานได้ดีกว่าเดิม และเขายังค้นพบเลขฐานสอง (Binary number) [ พ.ศ.2288 ] โจเซฟ แมรี่ แจคคาร์ด ( Joseph Marie Jacquard) เป็นชาวฝรั่งเศสได้คิด เครื่องทอผ้า โดยใช้คำสั่งจากบัตรเจาะรูควบคุมการทดผ้าให้มีสีและลวดลายต่าง ๆ กอตฟริต วิลเฮล์ม ไลบ์นิซ ( Gottfried Wilhelm Leibniz )   บัตรเจาะรู

5 [ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจ ได้เขียนวิธีการใช้เครื่องคำนวณของแบบเบจเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ต่อมา เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก

6 [ พ.ศ.2393 ] ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer) [ พ.ศ ] ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่ เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

7 [ พ.ศ ] บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้าง ต่อ มาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้น ต่อ มาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศ จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง ( เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 ) [ พ.ศ.2508 ] วงจรคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกมากเมื่อมีวงจรรวม ( Integrated Circuit: IC) เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง [ พ.ศ.2514 ] บริษัท Intel ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ ( Large Scale Integrated Circuit :LSI ) ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU) ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่ง ไอซีนี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ( Microprocessor

8 ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์    ส่วนที่ 1. ส่วนรับข้อมูล  (In put) ส่วนที่ 2. ส่วนประมวลผล (Processing) + หน่วยความจำหลัก + หน่วยความจำรอง ส่วนที่ 3. ส่วนแสดงผล  (Out put)

9 ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ต้นแบบของคอมพิวเตอร์ก็คือมนุษย์ การกระทำหรือการแสดงออกของมนุษย์เกิดจากมีการนำข้อมูลเข้า ประมวลผลและ แสดงผล ยังมีการเก็บสำรองข้อมูลซึ่งเป็นหลักการของคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1. หน่วยรับข้อมูล (Input) 2. หน่วยประมวลผลกลาง (ALU) 3. หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output) 1.หน่วยรับข้อมูล คือส่วนที่สามารถป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อนำไปประมวลผลต่อไปอุปกรณ์ที่สามารถนำข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้เช่น แป้นพิมพ์ (Keyboard) ,เมาส์, Scanner 2.หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการคิดทุกสิ่งทุกอย่างในคอมพิวเตอร์ เปรียบเสมือนสมองของ คอมพิวเตอร์ หน่วยแสดงผลข้อมูล ข้อมูลที่ประมวลผลเรียบร้อยแล้วจะถูกส่งไปที่อุปกรณ์เอาต์พุตหลายคนเข้าใจว่าอุปกรณ์เอาต์พุตของคอมพิวเตอร์คือ จอภาพ (Monitor) เท่านั้นแต่ความจริงยังมีอุปกรณ์อีกหลายอย่างที่จัดว่าเป็นหน่วยแสดงผล เช่น ลำโพง, เครื่องพิมพ์ (Printer) คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่มนุษย์ได้คิดประดิษฐ์ขึ้น เพื่อนำมาเสริมความสามารถของมนุษย์ในด้านการับรู้ การจำ การคำนวณ การเปรียบเทียบตัดสินใจ และการแสดงออก ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ให้สามารถทำงานเป็นระบบสนองความต้องการของมนุษย์ การประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยอุปกรณ์รับเข้า(input device) เพื่อรับข้อมูลและคำสั่งจากผู้ใช้ภายนอกเข้าไปเก็บอยู่ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลหรือหน่วยความจำหลัก(main memory) คำสั่งที่เก็บในส่วนความจำหลักจะถูกนำไปตีความ และสั่งทำงานที่หน่วยประมวลผลกลาง ที่เรียกว่า ซีพียู ซึ่งเป็นหัวใจของการทำงาน

10 ลักษณะและประเภทของคอมพิวเตอร์                 การจัดแบ่งประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะแบ่งได้หลายกรณีด้วยกัน  แต่ในที่นี้จะอาศัยหลักการโดยใช้ความเร็ว และขนาดของหน่วยความจำบันทึกข้อมูลเป็นหลักของการแบ่งลักษณะและประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ได้แก่ -Super Computer -Mainframe Computer -Mini Computer -Micro Computer

11 Super Computer           เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง มีความเร็วในการประมวลผลที่สูงประมาณ 100 คำสั่งต่อวินาที และมีขนาดความจำปริมาณมาก ต้องการห้องที่สามารถปรับอุณหภูมิได้ และมักจะใช้งานในวิจัยต่าง ๆ เช่น การวิจัยเกี่ยวกับ ดินฟ้าอากาศ(อุตุนิยมวิทยา) การวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม การวิเคราะห์ด้านโมเลกุลของสารต่าง ๆ Mainframe Computer                     เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองมาจาก Super Computer มีความต้องการการบำรุงรักษาคล้าย ๆ กับ Super Computer  แต่มักจะพบในองค์กรขนาดใหญ่  เช่น ธนาคาร ธุรกิจการบิน บริษัท และมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพราะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับเครื่องปลายทางได้จำนวนมาก ทำให้สามารถตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ได้พร้อมกันหลาย ๆ คน Mainframe Computer Mini Computer Mini Computer                     เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง ที่มักจะพบในหน่วยงานบริษัทที่ใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ประมวลผลงานบัญชี โดยสามารถนำไปเชื่อมต่อกับเครื่องปลายทางได้หลายเครื่อง โดยมีลักษณะการทำงานแบบ การประมวลผลกระทำอยู่ที่ส่วนกลาง แล้วนำไปประมวลผลที่เครื่องปลายทาง โดยที่เครื่องปลายทางไม่ต้องประมวลผลเอง (Centralized) Micro Computer                    คอมพิวเตอร์ใช้งานที่พบได้อย่างแพร่หลาย โดยอาจจะพบได้ทั้งในรูปของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลแบบตั้งโต๊ะ (Personal Computer) หรือแบบพกพา (Portable Computer) ลักษณะต่าง ๆ


ดาวน์โหลด ppt ความหมายของคอมพิวเตอร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google