งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เงินและหน้าที่ของเงิน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เงินและหน้าที่ของเงิน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เงินและหน้าที่ของเงิน
บทที่ 5

2 หัวข้อ 5.1 ความหมายของเงิน 5.2 คุณสมบัติของสิ่งที่จะใช้เป็นเงิน 5.3 หน้าที่ของเงินในระบบเศรษฐกิจ 5.4 ความสำคัญของเงินในระบบเศรษฐกิจ 5.5 ระบบเงินตรา

3 5.1 ความหมายของเงิน ระบบการแลกเปลี่ยนของต่อของ(Barter System) คนนำสินค้าและบริการที่ผลิตมาแลกเปลี่ยนกันโดยตรง มีข้อเสีย 1)ขาดหน่วยนับค่า 2)ขาดความต้องการที่เกิดขึ้นตรงกัน 3)ขาดการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน 4)ขาดคุณสมบัติของการเป็นคลังสะสมค่า สรุปความหมายของเงิน เงิน คือ อะไรก็ได้แต่จะต้องเป็นสิ่งที่มีค่าค่อนข้างคงที่ในฐานะเป็นหน่วยวัดมูลค่า และจะต้องเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ ตลอดจนเป็นตัวเลื่อนการชำระหนี้ในอนาคตได้เป็นอย่างดีด้วย

4 เงินในความหมายทางเศรษฐศาสตร์
1)เงินในความหมายอย่างแคบ หน้าที่สำคัญคือการเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้ทันที มีสภาพคล่องสูง M1 = Currency + Coin + Demand deposit or Current deposit = ธนบัตร + เหรียญกษาปณ์ + เงินฝากกระแสรายวัน 2)เงินในความหมายอย่างกว้าง เงินทำหน้าที่สะสมค่าด้วย M2 = M1 + Saving deposit and Time deposit (Commercial Bank and Saving Bank) = M1 + เงินฝากออมทรัพย์และเงินฝากประจำที่ธนาคารพาณิชย์และธนาคารออมสิน

5 เงินที่ใกล้เคียงกับ M1 และ มีผลตอบแทนด้วย
M3 = M2 + ตั๋วสัญญาใช้เงินที่บริษัทเงินทุนออกให้ และตั๋วแลกเงิน

6 การเปลี่ยนแปลงปริมาณเงินในความหมายแคบ
 ปริมาณธนบัตรที่ใช้หมุนเวียน  ปริมาณเงินฝากเผื่อเรียก บทบาทของธนาคารพาณิชย์ในการสร้างเงินฝากเผื่อเรียก พิจารณาที่ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ รับฝากเงิน ปล่อยสินเชื่อ

7 การสร้างเงินฝากของระบบธนาคารและปริมาณเงิน
- ธนาคารต้องดำรงเงินสดสำรองตามกฎหมาย (reserve requirement) จำนวนหนึ่งของยอดเงินฝาก - ธนาคารสามารถปล่อยกู้เงินสดสำรองส่วนเกิน - เงินที่ปล่อยกู้จากธนาคารอาจกลับเข้ามาเป็นเงินฝากของระบบ ธนาคารอย่างต่อเนื่อง ยังผลให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ เพิ่มขึ้น

8 5.2 คุณสมบัติของสิ่งที่จะใช้เป็นเงิน
1)เป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในสังคมเดียวกัน 2)เป็นสิ่งที่หายาก 3)มีความคงทนถาวร 4)เป็นสิ่งที่มีลักษณะเหมือนกัน 5)เป็นสิ่งที่ดูออกได้ง่ายหรือเห็นเข้าก็จำได้ 6)สามารถแบ่งออกเป็นหน่วยย่อยๆได้ 7)เป็นของที่มีมูลค่าคงที่หรือมีเสถียรภาพในค่า 8)เป็นของที่นำติดตัวไปได้สะดวก หรือให้ความสะดวกสบายที่จะนำไปที่ต่างๆ

9 5.3 หน้าที่ของเงินในระบบเศรษฐกิจ
1)การเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน(Medium of Exchange) 2)เป็นหน่วยวัดมูลค่า (Measure of value or Unit of value) 3)เป็นเครื่องรักษามูลค่า (Store of value) 4)เป็นมาตรฐานในการชำระหนี้ภายหน้า (Standard of deferred payment) 5)เป็นเครื่องชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย 6)เป็นเครื่องประกันฐานะลูกหนี้ว่าจะสามารถชำระคืนหนี้ได้หรือไม่ 7)เป็นเครื่องโอนย้ายมูลค่า 8)เป็นเครื่องจ่ายค่าตอบแทนปัจจัยการผลิตที่สะดวก

10 เงินและสิ่งที่คล้ายเงิน (Money and near-money)
สิ่งที่คล้ายเงิน คือ สินทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายเงินมาก และเป็นตัวสะสมมูลค่าที่ดี มีสภาพคล่องต่ำกว่าเงิน สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่ายโดยไม่ขาดทุนหรือขาดทุนเพียงเล็กน้อย แตกต่างจากเงินตรงที่ไม่สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่สังคมยอมรับ ค่าของเงิน (Value of Money) 1)ค่าเงินภายใน (Internal value) คือ อำนาจซื้อ (purchasing power) สินค้าและบริการของเงิน แต่ละหน่วย 2)ค่าเงินภายนอก (External value) คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่งเมื่อคิดเป็นราคาของเงินตราสกุลอื่นๆ

11 ค่าของเงินภายใน (มูลค่าของเงิน)
ระดับราคาสินค้าสูง มูลค่าของเงินต่ำ real incomeลด ระดับราคาสินค้าต่ำ มูลค่าของเงินสูง real incomeลด

12 ค่าเงินภายนอก บาทอ่อน 40 บาท = 1 USD 30 บาท = 1 USD บาทแข็ง 30 บาท = 1 USD 25 บาท = 1 USD

13 5.4 ความสำคัญของเงินในระบบเศรษฐกิจ
1)ด้านการผลิต ในการประกอบการผลิตและการค้า 2)ด้านการแลกเปลี่ยนและอุปโภคบริโภค กระตุ้นสินค้าถึงผู้ผลิตเร็วขึ้น เกิดความง่ายในการลงบัญชี สะดวกในการชำระหนี้ 3)ด้านความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ซื้อเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น 4)ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ปริมาณเงินกระทบต่อระดับราคาสินค้า 5)ด้านสังคม เป็นหลักปะกันความมั่นคง บ่งบอกความมีฐานะ

14 5.5 ระบบเงินตรา มาตรฐานเงินตรา (the monetary standard) เป็นเครื่องมือหรือแนวทางหนึ่งสำหรับการควบคุมปริมาณเงิน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของระบบการเงิน ประกอบด้วย หลักเกณฑ์ ระเบียบข้อบังคับ และข้อปฏิบัติต่างๆในการออกเงินตรา ทั้งนี้เพื่อรักษาค่าของเงิน มาตรฐานเงินตราที่สำคัญ 1) มาตราโลหะชนิดเดียว (Monometalism) เช่น มาตราโลหะทองคำ, มาตราโลหะเงิน 2) มาตราโลหะสองชนิด (Bimetallic Standard) ใช้โลหะสองชนิด เช่น เงิน และทองคำ 3) มาตรากระดาษ (Paper Standard)

15 มาตราโลหะชนิดเดียว (Monometalism)
1) มาตรฐานทองคำ (Gold Standard) การใช้แร่โลหะทองคำเพียงอย่างเดียวเป็นมาตรฐานแห่งค่า หรือเงินตราของประเทศอาจทำด้วยแร่โลหะทองคำที่มีค่าเต็ม (gold coin) หรือเงินทำด้วยวัตถุอื่นๆแต่สามารถไถ่ถอน (convertible) เป็นโลหะทองคำหรือเงินมาตรฐานได้ หลักเกณฑ์ทั่วไป เช่น ใช้ทองทำในการกำหนดมาตรฐานค่าของเงินหรือเทียบค่าเงินกับทองคำ การซื้อขายทองคำ การแลกเปลี่ยนเสรี แบ่งเป็น 3 มาตรา 1) มาตรฐานเหรียญทองคำ (Gold-Coin Standard) 2) มาตรฐานทองคำแท่ง หรือเนื้อทองคำ (Gold Bullion Standard) 3) มาตรฐานปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard)

16 ข้อเสีย เช่น ขาดความยืดหยุ่นและปริมาณทองคำไม่พอ
มาตราโลหะสองชนิด (Bimetallic Standard) ใช้แร่โลหะสองชนิดเป็นทุนสำรองเงินตรา ที่แพร่หลายคือ แร่โลหะเงินและแร่โลหะทองคำ ทั้งนี้ก็เพื่อแก้ไขการขาดแคลนทองคำ หลักเกณฑ์ เช่น เทียบค่าเงินกับโลหะที่เป็นมาตรา สามารถนำโลหะเทียบค่าเข้าออกได้เสรี ก่อให้เกิดปัญหา “เงินเลวไล่เงินดี” ตามกฎของ แกรแซม (Gresham’s law.)

17 มาตรากระดาษ (Paper Standard)
ลักษณะสำคัญ เช่น เงินตราที่หมุนเวียนอาจเป็นธนบัตรหรือเหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่มีมูลค่าไม่เต็ม กล่าวคือ ค่าเงินสูงกว่าค่าวัตถุที่นำมาทำเป็นเงิน ไม่อาจไถ่ถอนเป็นวัตถุมีค่าได้ มาตรฐานกระดาษ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ (1) มาตรฐานกระดาษแท้ (Pure Paper Standard) โดยรัฐบาลพิมพ์ธนบัตรออกมาโดยไม่มีโลหะใดๆหนุนหลังอยู่เลย ค่าของธนบัตรเป็นไปตามอุปสงค์และอุปทานของธนบัตร (2) มาตรฐานกระดาษที่มีเงินทุนสำรอง (Gold Reserve Standard) นำกระดาษมาขึ้นเป็นโลหะไม่ได้ การออกธนบัตรต้องมีโลหะหนุนหลังอยู่บ้าง ธนาคารกลางควบคุมค่าของธนบัตรที่ออกใช้

18 มาตรฐานเงินตราของประเทศไทย
ระยะที่ มาตรฐานโลหะเงิน (Silver Standard) ระยะที่ มาตรฐานปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard) ระยะที่ มาตรฐานปริวรรตเงินเยน ระยะที่ ปัจจุบัน มาตรฐานกระดาษประเภทที่มีเงินทุนสำรอง


ดาวน์โหลด ppt เงินและหน้าที่ของเงิน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google