งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความคืบหน้า การเจรจา FTA ของไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความคืบหน้า การเจรจา FTA ของไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความคืบหน้า การเจรจา FTA ของไทย
ณัฐวัชร์ จันทร์วิเมลือง กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ข้อตกลง FTA ของไทย และลู่ทางการส่งออก ASEAN+3, ASEAN+6 วันเสาร์ที่ 14 มกราคม เวลา น. ณ ห้องสัมมนา 1-2 สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก ผู้ประสานงาน นายเจนณรงค์ กลิ่นขจร โทร โทรสาร

2 สาระนำเสนอ การค้าระหว่างประเทศของไทย การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ
เนื้อหาสาระของ FTA รายละเอียดความตกลงของแต่ละ FTA อาเซียนและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ศักยภาพและลู่ทางการส่งออกของไทย สินค้าที่ได้รับประโยชน์/ผลกระทบ และมาตรการเยียวยา

3 1. การค้าระหว่างประเทศของไทย

4 การส่งออก-นำเข้าของไทยในตลาดโลก ปี 2557
ส่งออก 225,464 ล้านUS อันดับ 23 สัดส่วน 1.35% ของโลก นำเข้า 228,274 ล้านUS อันดับ 20 สัดส่วน 1.34% ของโลก - สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป และข้าว - สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่มา: Global Trade Atlas

5 ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย ปี 2557 คือ อาเซียน จีน และประเทศพัฒนาแล้ว
$25,084 mil $21,741 mil $23,542 mil China 11.0% EU 10.3% $23,892 mil Japan 10.3% USA 10.5% ASEAN 26.1% - ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ อาเซียน สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จีนเป็นตลาดใหม่ที่ทวีความสำคัญ จะเห็นได้จากสัดส่วนการส่งออกที่เพิ่มขึ้นจนมีปริมาณใกล้เคียงกับสหรัฐฯ และญี่ปุ่น คือ ร้อยละ 10.6 ส่วนตลาดอื่นๆ ที่มีศักยภาพ ในเอเชีย ได้แก่ อินเดีย (ร้อยละ 2.0) และเกาหลีใต้ (ร้อยละ 1.7)ตะวันออกกลาง ได้แก่ UAE (ร้อยละ 1.6) และซาอุดิอาระเบีย (ร้อยละ 1.1) และแอฟริกาใต้ (ร้อยละ 0.9) Others 32.5% $59,414 mil $74,051 mil 5

6 ที่มา: สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร
สินค้าส่งออกสำคัญ รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (10.8%) เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (8.1%) น้ำมันสำเร็จรูป (5.0%) อัญมณีและเครื่องประดับ (4.4%) เม็ดพลาสติก (4.3%) เคมีภัณฑ์ (3.8%) US$ พันล้าน US$ พันล้าน สินค้านำเข้าสำคัญ น้ำมันดิบ (14.6%) เครื่องจักรกล (9.4%) เครื่องจักรไฟฟ้า (6.7%) เคมีภัณฑ์ (6.4%) เหล็กเหล็กกล้า (5.6%) แผงวงจรไฟฟ้า (4.3%) - สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า น้ำมันสำเร็จรูป และข้าว - สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์เหล็ก ที่มา: สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์โดยความร่วมมือจากกรมศุลกากร

7 ภาคการค้าระหว่างประเทศมีความสำคัญอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจไทย
112% = สัดส่วนการค้าระหว่างประเทศต่อ GDP ปี 2557 ส่วนแบ่งสินค้าของไทยในตลาดโลก (2557) 21 1.35% = ลำดับที่ $453,738m มูลค่าการค้าระหว่างประเทศ (2557) 7

8 2. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ

9 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การเจรจาระดับ พหุภาคีภายใต้ WTO คืบหน้าล่าช้า
การจัดทำ FTA ได้ขยายทั่วทุกภูมิภาคในโลก ความตกลงเสรีการค้าระดับภูมิภาคและระดับทวิภาคี ที่แจ้งต่อ WTO (ณ วันที่ 7 เม.ย. 58) รวมทั้งสิ้น 612 ฉบับ (มีผลบังคับใช้แล้ว 407 ฉบับ)

10 จำนวนความตกลงการค้าเสรีในโลก
407 ฉบับ 36 ฉบับ กับ ชิลี อิสราเอล เกาหลีใต้ เม็กซิโก แอฟริกาใต้ ตุรกี ยูเครน เป็นต้น 14 ฉบับ กับ ออสเตรเลีย บาห์เรน ชิลี อิสราเอล จอร์แดน เปรู สิงคโปร์ โอมาน เป็นต้น 12 ฉบับ กับ คอสตาริกา ฮ่องกง นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ไอซ์แลนด์ ปากีสถาน เป็นต้น 15 ฉบับ กับ อัฟกานิสถาน ภูฏาน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนปาล สิงคโปร์ ชิลี ศรีลังกา เป็นต้น 6 ฉบับ กับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย อาเซียน 11 ฉบับ กับ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เปรู จีน เกาหลีใต้ โลก EU สหรัฐฯ จีน อินเดีย อาเซียน ไทย ที่มา : WTO

11 3. เนื้อหาสาระของ FTA

12 ทำไมต้องทำ FTA? รักษาส่วนแบ่งตลาด / ขยายตลาดสินค้าและบริการที่ไทยมีศักยภาพ ลดอุปสรรคทางการค้า ลดการพึ่งพา GSP ขยายการลงทุน ทำไมต้องทำ FTA รักษาส่วนแบ่งตลาด / ขยายตลาดสินค้าและบริการที่ไทยมีศักยภาพ รักษาส่วนแบ่งในตลาดหลักดั้งเดิม และรุกขยายตลาดการค้าใหม่ๆ ที่มีศักยภาพ ลดอุปสรรคทางการค้า เป็นการเจรจาลดอุปสรรคทางการค้าแบบ 2 ประเทศ ซึ่งจะประสบความสำเร็จง่ายกว่าการเจรจากับหลายๆ ประเทศ ลดการพึ่งพา GSP เพราะ GSP เป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอากรเพียงชั่วคราว ถ้าเป็นการให้สิทธิประโยชน์ภายใต้ FTA จะเป็นการให้แบบถาวร ขยายการลงทุน เพราะตลาดจะมีขนาดที่ใหญ่มากขึ้น ดึงดูดการลงทุนเข้ามาภายในประเทศ และสนับสนุนให้ไทยเข้าไปลงทุนยังประเทศคู่เจรจาเพิ่มมากขึ้น ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

13 หลักเกณฑ์การคัดเลือกประเทศ
ตลาดดั้งเดิม สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพและ แหล่งวัตถุดิบ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตลาดใหม่/ประตูการค้าและการลงทุน เปรู และ ชิลี หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกประเทศ ตลาดหลักดั้งเดิมของไทย ได้แก่ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ (ในปี 2553 ไทยส่งออกไป 3 ตลาด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.0 ,EU=11.2 , JP=10.5 , USA=10.3) ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ และแหล่งวัตถุดิบ ได้แก่ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ (ในปี 2553 ไทยส่งออกไป 5 ตลาด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.3 ,CN=11.0 ,AU=4.8 ,IN=2.3 ,KR=1.8 ,NZ=0.4) ตลาดใหม่/ประตูการค้าและการลงทุน เช่น เปรู และ ชิลี

14 เนื้อหาของ FTA Market Access (สินค้า & บริการ) Economic Cooperation
กลไกคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน - ระยะเวลาการเปิดตลาด - AD&CVD, Safeguard กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า เนื้อหาของ FTA Market Access สินค้า & บริการ หมายถึง การเข้าสู่ตลาดการค้าสินค้าและบริการที่ประเทศต่างๆ ได้นำมาบัญญัติเป็นข้อผูกพันในความตกลงด้านการค้าระหว่างประเทศ เช่น เรื่องการลดภาษี การจำกัดปริมาณการนำเข้า และมาตรการกีดกันที่มิใช่ภาษี Economic Cooperation หมายถึง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่ประเทศคู่เจรจาเห็นชอบร่วมกัน เช่น ความร่วมมือด้านพลังงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การเกษตรประมงและป่าไม้ สิ่งแวดล้อม วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การขนส่งและโลจิสติกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การท่องเที่ยว เป็นต้น และสาขาอื่นๆ ตามแต่จะตกลงกัน กลไกคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน เช่น ระยะเวลาการเปิดตลาด AD&CVD, Safeguard AD Anti-dumping Duty หมายถึง ภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดที่เรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เนื่องจากผู้ส่งออกในต่างประเทศได้ส่งสินค้านั้นเข้ามาเพื่อประโยชน์ในทางพาณิชย์ ในราคาที่ต่ำกว่าราคาจำหน่ายในประเทศของตน หรือในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต CVD (Countervailing Duty) หมายถึง ภาษีตอบโต้การอุดหนุน ซึ่งเรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าที่ได้มีการพิสูจน์ว่าสินค้านั้นได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลของประเทศผู้ผลิต Safeguard หมายถึง มาตรการปกป้อง มาตรการฉุกเฉิน เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศ ในกรณีที่มีการนำเข้าสินค้าใดสินค้าหนึ่งเพิ่มมากขึ้น จนก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง หรืออาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันหรือสินค้าที่แข่งขันกันโดยตรง กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า เป็นกฎที่จัดทำขึ้นเพื่อแสดงถึงสัญชาติที่แท้จริงของสินค้าว่ามีการปลูก ประกอบ หรือผลิตมาจากประเทศใด

15 สินค้ากลุ่มที่ไม่พร้อม มาตรการช่วยเหลือรองรับการปรับตัว
แนวทางการเจรจา 0% สินค้ากลุ่มใดพร้อมแข่งขัน /วัตถุดิบจำเป็นต้องนำเข้า สินค้ากลุ่มที่ไม่พร้อม มาตรการช่วยเหลือรองรับการปรับตัว เจรจาขอเวลาเปิดเสรีที่ยาวนาน เช่น ปี มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard) และกำหนดโควตานำเข้า กระทรวงเกษตรฯ: ปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย กระทรวงพาณิชย์: ตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือระยะสั้นแก่สินค้า/บริการในการปรับตัวรองรับการเปิดเสรี

16 THAILAND’S FTAs EFTA Thai-EU ASEAN-China Thai-U.S. Thai-India
ASEAN-India ASEAN-Korea BIMSTEC JTEPA AJCEP ASEAN Thai-PERU Thai-Australia - ให้เห็นเป็นภาพกว้างๆ ว่า ไทย/อาเซียน มีการทำ FTA กับประเทศต่างๆ ในเกือบทุกภูมิภาคทั่วโลก ซึ่งมีทั้งที่เจรจาเสร็จและมีผลใช้บังคับแล้ว FTA ที่ลงนามแล้ว แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้ และ FTA ที่อยู่ในระหว่างการเจรจา ซึ่งจะกล่าวถึงในรายละเอียดต่อไป Thai-Chile AANZ Thai- New Zealand FTA ที่มีผลใช้บังคับ FTA ที่อยู่ระหว่างการเจรจา FTA ที่พักการเจรจา 16

17 FTA ที่มีผลใช้บังคับ/สรุปผลเจรจาแล้ว
กรอบอาเซียน ทวิภาคี 1 มกราคม 2536 อาเซียน 12 มีนาคม 2553 อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ 20 กรกฎาคม 2548 อาเซียน-จีน 1 พฤษภาคม 2552 อาเซียน-ญี่ปุ่น 1 ตุลาคม 2552 อาเซียน-เกาหลีใต้ 1 มกราคม 2553 อาเซียน-อินเดีย 1 พฤศจิกายน 2550 ไทย-ญี่ปุ่น 1 มกราคม 2548 ไทย-ออสเตรเลีย 1 กรกฎาคม 2548 ไทย-นิวซีแลนด์ 31 ธันวาคม 2554 ไทย-เปรู 1 กันยายน 2547 ไทย-อินเดีย ลงนาม 4 ตุลาคม 2556 ไทย-ชิลี

18 FTA ไทยที่อยู่ระหว่างเจรจา
ความตกลง ความคืบหน้า RCEP (อาเซียน+6) อยู่ระหว่างเจรจาจัดทำความตกลงฯ มีเป้าหมายให้เสร็จภายในปี 2558 อาเซียน-ฮ่องกง มีเป้าหมายสรุปผลภายในปี 2559 ไทย-อินเดีย (FTA ฉบับเต็ม) อยู่ระหว่างเจรจาเปิดเสรีสินค้าเพิ่มเติม การค้าบริการ และการลงทุน ไทย-EU ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย การเจรจาหยุดชะงัก ไทย-EFTA

19 FTA ที่อยู่ระหว่างพิจารณาเปิดการเจรจาจัดทำ FTA ฉบับใหม่
ไทย-ตุรกี ไทย-ปากีสถาน ทั้งสองประเทศที่มีศักยภาพ สามารถเป็น gateway กระจายสินค้าไทย ทั้งสองประเทศพร้อมจะเจรจา FTA กับไทย คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบการเปิดเจรจาจัดทำ FTA กับทั้งสองประเทศแล้ว คณะรัฐมนตรี ได้เห็นชอบกรอบเจรจา FTA ไทย-ตุรกี และไทย-ปากีสถานแล้ว จะเจรจาเฉพาะเรื่องสินค้าก่อน

20 หน่วยงานที่ดูแลการเจรจา FTA หัวหน้าคณะเจรจา ดูภาพรวม
นโยบาย การแข่งขัน พาณิชย์ คลัง IPR พาณิชย์ ต่างประเทศ เปิดตลาด พาณิชย์ คลัง เกษตร อุตสาหกรรม RO คลัง พาณิชย์ GP คลัง การค้าบริการ พาณิชย์ ต่างประเทศ SPS เกษตรและ สหกรณ์ หน่วยงานที่ดูแลการเจรจา FTA จะมีหัวหน้าคณะเจรจา ซึ่งจะดูในภาพรวมทั้งหมด สำหรับการเจรจาในแต่ละหัวข้อ ก็จะมีหน่วยงานเจ้าของเรื่องจะดูแลเรื่องนั้นๆ เช่น การเจรจาเรื่องการเปิดตลาด หน่วยงานหลักในการเจรจา คือ กระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า หน่วยงานหลักในการเจรจา คือ กระทรวงการคลัง หน่วยงานสนับสนุน คือ กระทรวงพาณิชย์ มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หน่วยงานหลัก คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรฐาน สินค้า อุตสาหกรรม การลงทุน BOI คลัง

21 4. รายละเอียด ความตกลงของแต่ละ FTA

22 สรุปความคืบหน้าการเจรจาการค้าเสรีของไทย
ประเทศคู่เจรจา พันธกรณี/สถานะ ความคืบหน้าการเจรจา 1. FTA ที่มีผลบังคับใช้/สรุปผลเจรจาแล้ว 1.1 AEC สินค้า สินค้าลดภาษีเป็น 0 แล้วตั้งแต่ปี 2553 ยกเว้นเนื้อมะพร้าวแห้ง เมล็ดกาแฟ ไม้ตัดดอก และมันฝรั่ง ซึ่งไทยยังคงอัตราภาษีนำเข้า 5% ยกเลิกมาตรการโควตาภาษี (TRQ) สินค้าเกษตร 23 รายการ ที่ผูกพันกับ WTO แล้วตั้งแต่ 2553 แต่ยังมีมาตรการอื่นๆ ที่ส่งผลจำกัดปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิด เพื่อปกป้องผู้ผลิตในประเทศ เช่น การขออนุญาตนำเข้า (สินค้ากาแฟ น้ำมันปาล์ม) การจำกัดระยะเวลานำเข้า (เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันฝรั่ง มะพร้าว เป็นต้น) อยู่ระหว่างดำเนินการให้เป็นไปตามแผนจัดตั้ง AEC ให้เสร็จสิ้นภายในปี 2558 และจัดทำวิสัยทัศน์ AEC หลังปี 2558 อยู่ระหว่างเสนอข้อผูกพัน ชุดที่ 10 การจัดทำ ASEAN Trade in Services Agreement : ATISA เพื่อใช้แทนที่ AFAS โดยรวมภาคผนวกของสาขาบริการที่เกี่ยวข้องไว้ในองค์ประกอบของบทบัญญัติ เช่น สาขาขนส่งทางอากาศ สาขาโทรคมนาคม ลงทุน  เปิดให้อาเซียน ลงทุนในสาขาการผลิต เกษตร ประมง เหมืองแร่ ป่าไม้และบริการที่เกี่ยวข้องการลงทุน 5 สาขาดังกล่าว บริการ ไทยเปิดให้อาเซียนลงทุนได้ 70% แล้วใน 100 สาขาย่อย วิชาชีพ/แรงงานฝีมือ จัดทำข้อตกลงยอมรับคุณสมบัติวิชาชีพร่วมกันแล้วเสร็จ 7 วิชาชีพ ได้แก่ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักสำรวจ นักบัญชี และจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานของบุคลากรในสาขาท่องเที่ยว ทั้งนี้ ยังต้องขออนุญาตทำงานในประเทศนั้น

23 สรุปความคืบหน้าการเจรจาการค้าเสรีของไทย
ประเทศคู่เจรจา พันธกรณี/สถานะ ความคืบหน้าการเจรจา 1.2 อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ มีผล 12 มี.ค. 2553 ไทยสินค้า 89.8 % ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (ปี 2563 สินค้าที่ลดภาษีเป็นศูนย์จะเพิ่มขึ้นเป็น 98.8%) ออสเตรเลียสินค้า 96.0 % ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (สินค้าทุกรายการจะลดภาษีเป็นศูนย์ภายในปี 2563) นิวซีแลนด์สินค้า 90.1 % ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (สินค้าทุกรายการจะลดภาษีเป็นศูนย์ภายในปี 2563) การค้าบริการ ไทยผูกพันเปิดตลาดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ส่วนเรื่องลงทุนสมาชิกยังไม่มีข้อผูกพันการเปิดเสรีการลงทุน อยู่ระหว่างการเจรจาเปิดเสรีการลงทุน และเปิดเสรีเพิ่มเติมด้านบริการ โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2559 1.3 อาเซียน-จีน มีผล 20 ก.ค (สินค้า) 1 ก.ค (บริการ) ก.พ (การลงทุน) ทั้งไทยและจีนลดภาษีเป็น 0 มากกว่า 90% การค้าบริการ ไทยผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ความตกลงการลงทุนครอบคลุมการส่งเสริม อำนวยความสะดวก รวมทั้งการคุ้มครอง ยังไม่ครอบคลุมการเปิดเสรี อยู่ระหว่างเจรจายกระดับความ ตกลงเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการมากขึ้น รวมทั้งการลงทุน (Upgrade on ACFTA) ให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 1.4 อาเซียน-ญี่ปุ่น มีผล 1 มิ.ย. 2552 ไทย สินค้า 80.9% ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (ปี 2561 สินค้าที่ลดภาษีเป็นศูนย์จะเพิ่มขึ้นเป็น 86.2%) สินค้าเกษตรของไทย 23 รายการยังมีโควตาภาษี ญี่ปุ่น สินค้า 85.5% ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (ปี 2561 สินค้าที่ลดภาษีเป็นศูนย์จะเพิ่มขึ้นเป็น 90.16%) อยู่ระหว่างจัดทำความตกลงการค้าบริการ และการลงทุน การค้าบริการ: อยู่ระหว่างการยื่น final offer โดยเปิดตลาดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 49 และบางสาขาเปิดถึงร้อยละ 70 เช่น ก่อสร้าง สวนสนุก โดยมีข้อจำกัดต่างๆ อาทิ ที่ดิน สัดส่วนกรรมการบริหาร ทุนขั้นต่ำ

24 สรุปความคืบหน้าการเจรจาการค้าเสรีของไทย
ประเทศคู่เจรจา พันธกรณี/สถานะ ความคืบหน้าการเจรจา 1.5 อาเซียน-เกาหลีใต้ มีผล 1 มิ.ย (บริการ) 1 ม.ค (สินค้า) 31 ต.ค (การลงทุน) ไทย ปี 2559 สินค้า 89% ลดภาษีเป็นศูนย์ (ปี 2560 สินค้าที่ลดภาษีเป็นศูนย์จะเพิ่มขึ้นเป็น 90%) (ไทยยังไม่ยกเลิกภาษียานยนต์ เหล็ก และโทรทัศน์สี) เกาหลีสินค้า 90% ลดภาษีเป็นศูนย์แล้วตามพันธกรณี ผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% อยู่ระหว่างการเจรจาเปิดเสรีเพิ่มเติม 1.6 อาเซียน-อินเดีย มีผล 1 ม.ค. 2553 สินค้าเริ่มลดภาษี 1 ม.ค. 2553 ไทยและอินเดียปี 2559 สินค้า 80% จะลดเป็นศูนย์ และสินค้าอีก 10% จะลดเหลือ 5% ความตกลงการค้าบริการและการลงทุนมีผลใช้บังคับแล้ว ในวันที่ 1 ก.ค. 2558 1.7 ไทย-ญี่ปุ่น มีผล 1 พ.ย. 2550 ไทยสินค้า 82% ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (ปี 2560 สินค้าที่ลดภาษีเป็นศูนย์จะเพิ่มขึ้นเป็น 94.1%) - สินค้าเกษตร 23 รายการมีโควตาภาษี - เหล็กมีโควตานำเข้าซึ่งจะยกเลิกในปี 2560 และภาษีจะเป็นศูนย์ - รถยนต์นั่ง 3,000 ซีซี ขึ้นไปลดภาษีเหลือ 60% แล้ว ญี่ปุ่นสินค้า 81.1% ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (ปี 2564 สินค้าที่ลดภาษีเป็นศูนย์จะเพิ่มขึ้นเป็น 88.1%) จะต้องเจรจาเพื่อปรับปรุงเงื่อนไขการเข้าสู่ตลาดสินค้า การบริการ และการลงทุน

25 สรุปความคืบหน้าการเจรจาการค้าเสรีของไทย
ประเทศคู่เจรจา พันธกรณี/สถานะ ความคืบหน้าการเจรจา 1.8 ไทย-ออสเตรเลีย มีผล 1 ม.ค. 2548 ไทยสินค้า 99.1% ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (สินค้าทุกรายการจะลดภาษีเป็นศูนย์ภายในปี 2568) - บางสินค้ามีมาตรการปกป้องพิเศษจนถึงปี 2563 (เช่นเนื้อวัว เครื่องในวัว/หมู นมและครีมแบบผง เป็นต้น) และในรูปโควตาภาษีจนถึงปี 2568 (เช่น นมผง กาแฟ มันฝรั่ง น้ำตาล เป็นต้น) - เปิดให้ต่างชาติถือหุ้นได้เกิน 50% ในบางบริการ เช่น ท่าจอดเรือยอร์ช เหมืองแร่ โรงแรมและร้านอาหารขนาดใหญ่ ออสเตรเลียสินค้าทุกรายการได้ลดภาษีเป็นศูนย์แล้วตั้งแต่ปี 2558) เปิดให้ลงทุนทุกประเภท ยกเว้นหนังสือพิมพ์การกระจายเสียง การขนส่งทางอากาศ และท่าอากาศยาน จะต้องทบทวนความตกลงและเจรจาเรื่องการค้าบริการ นโยบายการแข่งขัน และการจัดซื้อโดยรัฐ การค้าบริการ: อยู่ระหว่างการพิจารณาเปิดตลาดการค้าบริการเพิ่มเติมให้ออสเตรเลีย เทียบเท่ากับการเปิดตลาดการค้าบริการชุดที่ 9 ภายใต้ AFAS ในบางสาขา เช่น กฎหมาย บัญชี วิศวกรรม โทรคมนาคม ทั้งนี้ ในบางสาขาอาจพิจารณาขยายสัดส่วนการ ถือหุ้นของต่างชาติให้มากกว่าร้อยละ 70 แต่ขึ้นกับการเจรจาแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในภาพรวม 1.9 ไทย-นิวซีแลนด์ มีผล 1 ก.ค. 2548 ไทย สินค้า 99.3% ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (สินค้าทุกรายการจะลดภาษีเป็นศูนย์ภายในปี 2568) บางสินค้ามีมาตรการปกป้องพิเศษจนถึงปี 2563 และในรูปโควตาภาษีจนถึงปี เช่นเดียวกับ FTA ไทย-ออสเตรเลีย เช่น เนื้อวัว เครื่องในวัว/หมู นมและครีมแบบผง เป็นต้น นิวซีแลนด์ สินค้าทุกรายการลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2558 จะต้องทบทวน และเจรจาเรื่องการค้าบริการ การจัดซื้อโดยรัฐ และมาตรการปกป้องพิเศษ

26 สรุปความคืบหน้าการเจรจาการค้าเสรีของไทย
ประเทศคู่เจรจา พันธกรณี/สถานะ ความคืบหน้าการเจรจา 1.10 ไทย-เปรู สินค้าเร่งลดภาษีมีผล 31 ธ.ค. 2554 ไทย สินค้า 50% ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (ปี 2559 สินค้าที่ลดภาษีเป็นศูนย์จะเพิ่มขึ้นเป็น 70%) เปรู สินค้า 50% ลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว (ปี 2559 สินค้าที่ลดภาษีเป็นศูนย์จะเพิ่มขึ้นเป็น 70%) FTA ฉบับสมบูรณ์ อยู่ระหว่างหาข้อสรุปประเด็นทางเทคนิค 1.11 ไทย-ชิลี ยังไม่มีผลใช้บังคับ 4 ต.ค ได้มีการลงนามความตกลงการค้าเสรีระหว่างกันแล้ว ไทยและชิลีอยู่ระหว่างดำเนินกระบวนการภายในที่จำเป็นสำหรับแต่ละฝ่ายเพื่อบังคับใช้ความตกลง 1.12 ไทย-อินเดีย สินค้าเร่งลดภาษี 83 รายการ ทั้งไทยและอินเดียลดภาษีเป็นศูนย์แล้ว ตั้งแต่ 1 ก.ย. 2549 อยู่ระหว่างเจรจา FTA ฉบับสมบูรณ์ เพื่อเปิดเสรีสินค้าเพิ่มเติม การค้าบริการและการลงทุน สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และอุปสรรคทางเทคนิค (TBT)

27 สรุปความคืบหน้าการเจรจาการค้าเสรีของไทย
ประเทศคู่เจรจา สถานะ/ความคืบหน้า 2. FTA ที่อยู่ระหว่างการเจรจา 2.1 ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค(RCEP) (ระหว่างอาเซียนและประเทศคู่เจรจา FTA 6 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์) เริ่มเจรจาตั้งแต่พฤษภาคม มีเป้าหมายที่จะสรุปผลในปี 2558 การค้าสินค้า อยู่ระหว่างการหารือสัดส่วนการเปิดเสรีสินค้ากลุ่มแรก (Initial Offer) ระยะเวลาการยกเลิกภาษี การวัดมูลค่าการค้า เป็นต้น การค้าบริการ และการลงทุน อยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบการเจรจาจัดทำข้อผูกพัน และประเด็น value added elements ได้แก่ Transparency List, MFN, Ratchet/Standstill ประเด็นอื่นๆ ได้มีการหารือ ในประเด็น ทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขัน กฎหมายและความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ ซึ่งมีความคืบหน้าในระดับหนึ่ง 2.2 อาเซียน-ฮ่องกง เริ่มเจรจากรกฎาคม มีเป้าหมายสรุปผลการเจรจาภายในปี 2559 ปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจาจัดทำความตกลง โดยครอบคลุมประเด็นต่างๆ ได้แก่ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา กลไกการระงับข้อพิพาท และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เป็นต้น

28 สรุปความคืบหน้าการเจรจาการค้าเสรีของไทย
ประเทศคู่เจรจา สถานะ/ความคืบหน้า 2.3 ไทย-EU เจรจาครั้งล่าสุดเมื่อเดือนเมษายน 2557 การเจรจาหยุดชะงัก ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสหภาพฯ มีการเลือกตั้งใหม่ ทั้งสองฝ่ายยังไม่กำหนดวันประชุมครั้งต่อไป 2.4 ไทย-EFTA (สมาคมการค้าเสรียุโรป :ไอซ์แลนด์ ลิกเทนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์)  การเจรจาหยุดชะงัก ภายหลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทย (ทั้งสองฝ่าย กำหนดเริ่มหารือในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อเตรียมการเปิดการเจรจาในเดือนพฤษภาคม 2557)

29 สรุปความคืบหน้าการเจรจาการค้าเสรีของไทย
ประเทศคู่เจรจา สถานะ/ความคืบหน้า 3. FTA ที่เตรียมเปิดเจรจา 3.1 ไทย-ปากีสถาน คณะรัฐมนตรีรับทราบการเปิดเจรจา คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกรอบการเจรจา FTA ไทย-ปากีสถานแล้ว 3.2 ไทย-ตุรกี คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกรอบการเจรจา FTA ไทย-ตุรกีแล้ว ศูนย์สารสนเทศการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สิงหาคม 2558

30 5. ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
5. ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

31 สมาชิก และปีที่เข้าเป็นสมาชิก
อาเซียน ASEAN ก่อตั้งเมื่อปี 2510 (1967) ครบรอบ 48 ปี (เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 2558) จุดประสงค์เริ่มแรก – สร้างความมั่นคง เพื่อต้านภัยคุกคามคอมมิวนิสต์ ปี 2510 ปี 2527 อาเซียน 6 สมาชิก และปีที่เข้าเป็นสมาชิก ปี 2540 ปี 2542 ปี 2538 สมาชิกใหม่ CLMV อาเซียนได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2510 โดยเริ่มแรกเป็นการรวมตัวกันเพื่อสร้างเสริมความมั่นคงในภูมิภาค ต้านภัยคุกคามจากคอมมิวนิสต์เมื่อแรกเริ่ม กล่าวได้ว่าเป็นจุดประสงค์ทางการเมืองเป็นหลัก อาเซียนจัดตั้งขึ้นโดย 5 ประเทศผู้ก่อตั้ง (ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์) เมื่อปี 2510 ต่อมาบรูไนเข้าร่วม ในปี 2527 จากนั้น เวียดนาม (2538) ลาว พม่า (2540) และกัมพูชา (2542) จึงเข้าร่วมตามลำดับ 31 3131

32 มุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
ปี ผู้นำอาเซียน ลงนามในปฏิญญาบาหลี (Bali Concord II) แสดงเจตนารมณ์การนำอาเซียนไปสู่ “ประชาคมอาเซียน” (ASEAN Community ) ในปี 2020 (2563) ปี ผู้นำอาเซียนลงนามใน ปฏิญญาเซบู เร่งรัดการเป็น “ประชาคมอาเซียน”ให้เร็วขึ้น เป็นปี 2015 (2558) ปี 2550 รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลงนามรับรอง AEC Blueprint แผนงานการจัดตั้ง “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” (ASEAN Economic Community : AEC ) เมื่อ พฤศจิกายน 2550 ผู้นำอาเซียนลงนามใน ASEAN Charter และ “ปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ร่วมกันดำเนินการให้สำเร็จตามกำหนดในปี 2558

33 ตารางดำเนินการ Strategic Schedule
ประชาคมอาเซียน ปี 2558 (2015) กฎบัตรอาเซียน พิมพ์เขียว AEC AEC Blueprint ประชาคม เศรษฐกิจ อาเซียน (AEC) ประชาคม ความมั่นคง อาเซียน (ASC) ประชาคม สังคม-วัฒนธรรม อาเซียน (ASCC) ตารางดำเนินการ Strategic Schedule

34 AEC 2015 4 เป้าหมายภายใต้ AEC Blueprint
เพื่อประสานกลายเป็นหนึ่งเดียว คือ อาเซียน 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว 2. การสร้างเสริมขีดความสามารถแข่งขัน เคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี นโยบายการแข่งขัน เคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี AEC 2015 การคุ้มครองผู้บริโภค เคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี โครงสร้างพื้นฐาน นโยบายภาษี เคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น e-ASEAN 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก สนับสนุนการพัฒนา SMEs พิมพ์เขียว AEC (AEC Blueprint) คืออะไร ถ้าเปรียบกับการสร้างบ้าน AEC Blueprint ก็เปรียบเสมือนพิมพ์เขียวของบ้าน ที่กำหนดว่าบ้านที่สร้างเสร็จแล้วนั้น จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร มีห้องนอนกี่ห้อง ห้องน้ำกี่ห้อง มีหน้าต่างที่ไหน ห้องครัวอยู่ตรงไหน เป็นต้น องค์ประกอบสำคัญภายใต้ AEC Blueprint AEC Blueprint ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น รวมทั้งการส่งเสริมการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนให้เป็นรูปธรรม 2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ซึ่งให้ความสำคัญกับประเด็นด้านนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น กรอบนโยบายการแข่งขันของอาเซียน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน) 3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค โดยการพัฒนา SMEs และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการริเริ่มเพื่อการรวมกลุ่มของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI) เพื่อลดช่องว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการสร้างเครือข่ายในด้านการผลิต/จำหน่ายภายในภูมิภาคให้เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก ปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจ ลดช่องว่างการพัฒนา IAI สร้างเครือข่ายการผลิต จำหน่าย จัดทำ FTA กับประเทศนอกภูมิภาค การมีส่วนร่วมภาครัฐ-เอกชน PPE 34

35 การดำเนินงานที่สำคัญสู่ AEC 2015
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว ประเทศสมาชิกเดิมลดภาษีเป็น 0 % ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 สำหรับประเทศสมาชิกใหม่ภาษีอยู่ระดับต่ำมากเฉลี่ย 2.6 % และจะลดภาษีเป็น 0 % ในปี 2558 จัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านคุณสมบัติวิชาชีพ 8 สาขา ได้แก่ แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี นักสำรวจ และบุคคลากรด้านการท่องเที่ยว จัดทำความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดาของอาเซียน จัดทำข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินครอบคลุมสาขาประกันภัย ธนาคารพาณิชย์ และหลักทรัพย์ ทยอยเปิดเสรีการค้าบริการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนจากอาเซียนในสาขาคอมพิวเตอร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ การขนส่งทางอากาศเป็น 70 % จัดทำความตกลงว่าด้วยการยอมรับร่วมสำหรับการยอมรับผลการตรวจสอบรับรองในสาขาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และเภสัชกรรม สมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจัดตั้งระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (National Single Window) จากนั้นจะเชื่อมระบบทุกประเทศเป็นระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียนต่อไป (ASEAN Single Window) เริ่มโครงการนำร่องระบบการออกใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-Certification) เป้าหมาย ผลสำเร็จที่สำคัญ สินค้า - ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์/อุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีลดลง ภาษีสินค้านำเข้าเหลือร้อยละ 0 โดยประเทศบรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ลดภาษีสินค้านำเข้าเหลือร้อยละ 0 (ร้อยละ 99) และประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม ลดภาษีสินค้านำเข้าเหลือร้อยละ 0 (ร้อยละ 93) บริการ – ทำธุรกิจบริการระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียนได้อย่างเสรียิ่งขึ้น และเปิดให้ประเทศในสมาชิกอาเซียนถือหุ้นได้มากกว่าร้อยละ 70 ขึ้นไป เปิดเสรีการค้าบริการ ตามข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการชุดที่ 8 จำนวน 80 สาขาบริการย่อย จากเป้าหมายสุดท้าย 128 สาขาย่อย (คิดเป็นร้อยละ 63 ของการดำเนินการ) การลงทุน – การลงทุนในอาเซียนมีอุปสรรคน้อยลง และเปิดเสรีการลงทุน ไทยเปิดเสรีการลงทุนสินค้าสัตว์น้ำกุ้งลอบเตอร์ และการเลี้ยงปลาทูน่าในกระชัง แรงงานมีฝืมือ - การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น จัดทำ MRAs (Mutual Recognition Agreements) ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ ใน 8 สาชาวิชาชีพ คือ แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก นักบัญชี นักสำรวจ และกลุ่มท่องเที่ยว เงินทุน – การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรียิ่งขึ้น 1) จัดตั้งตลาดหลักทรัพย์อาเซียน 7 แห่ง ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฮานอย และโฮจิมินห์ 2) ไทยเปิดเสรีมากขึ้นเด้านเงินทุนเคลื่อนย้าย ในเรื่องดุลบัญชีเดินสะพัด และการลงทุนจากต่างประเทศ และ 3) ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ผ่อนคลายกฎเกณฑ์ให้สามารถนำเงินสดออกไปยังประเทศ เพื่อนบ้านได้ถึง 2 ล้านบาท การเคลื่อนย้ายบุคคลที่ให้บริการ –เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่ให้บริการการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน โดยเกี่ยวข้องกับการเข้าเมืองชั่วคราว การพำนักชั่วคราว และการอนุญาตทำงานของบุคคลธรรมดา จัดทำความตกลงว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (Movement of Natural Person Agreement: MNP) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายบุคลากรที่ให้บริการ และไทยอนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายบุคลากร 2 ประเภท คือ ผู้เยี่ยมเยือนทางธุรกิจ และผู้โอนย้ายภายในบริษัท

36 การดำเนินงานที่สำคัญสู่ AEC 2015
2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง จัดทำคู่มือเกี่ยวกับกฏหมายและนโยบายการแข่งขันสำหรับนักธุรกิจ จัดทำความตกลงเพื่ออำนวยความสะดวกด้านการขนส่งข้ามแดนและผ่านแดนทางบกและด้านบริการขนส่งทางอากาศ จัดทำเว็ปไซต์ด้านการแข่งขัน เพื่อรับเรื่องร้องเรียนและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าไม่ปลอดภัยระหว่างประเทศสมาชิก จัดทำเว็ปไซต์ทรัพย์สินทางปัญญาอาเซียน เสริมสร้างสมรรถนะด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิก โครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติของอาเซียน จัดทำระบบฐานข้อมูลด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น การเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าของอาเซียน จัดทำโครงสร้างพื้นฐานทางกฏหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จัดทำความตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงระหว่างประเทศเพื่ออำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนด้านทรัพย์สินทางปัญญา

37 การดำเนินงานที่สำคัญสู่ AEC 2015
3. การเป็นภูมิภาคที่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ที่เท่าเทียม IAI SMEs การจัดทำข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน จัดทำแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา SMEs ของอาเซียน ปี จัดตั้งสภาที่ปรึกษา SMEs อาเซียน เพื่อเป็นเวทีสำหรับสร้างเครือข่ายระหว่างผู้แทนภาคเอกชน 1. การจัดทำข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน โดยประเทศสมาชิกเดิม (ASEAN6) ให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับประเทศสมาชิกใหม่ (CLMV) 2. พัฒนา SMEs โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา SMEs ของอาเซียน ปี และจัดตั้งสภาที่ปรึกษา SME อาเซียน เพื่อเป็นเวทีสำหรับการสร้างเครือข่ายระหว่างผู้แทนภาคเอกชน นอกจากนี้ SMEs ยังเป็นประเด็นที่เมียนมาร์ในฐานะประฐานอาเซียนปี 2557 ให้ความสำคัญ 3. ASEAN Framework on Equitable Economic Development (AFEED) ผู้แทนธนาคารโลกได้ให้ความช่วยเหลืออาเซียน โดยทำการศึกษาแนวทางในการสร้างความเสมอภาคทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งการศึกษาจะแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการจัดทำตัวชี้วัดว่าขณะนี้สมาชิกอาเซียนมีสถานะและมีการเปลี่ยนแปลงในการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจตามกรอบการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาคของอาเซียน (AFEED) อย่างไรบ้าง ระยะที่ 2 จะเป็นการให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของอาเซียน

38 การดำเนินงานที่สำคัญสู่ AEC 2015
จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ อยู่ระหว่างเจรจาจัดทำความตกลงRCEP หรือ FTA อาเซียน+6 จัดทำความ ตกลงการค้าเสรีแล้ว กำลังเจรจาความ ตกลงการค้าเสรีกับฮ่องกง โดยมีเป้าหมายจะเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก อาเซียนได้เริ่มเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับฮ่องกงในช่วงต้นปี 2557

39 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025
การทบทวน/ปรับปรุงความตกลงการค้าเสรี การขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและ ความร่วมมือ เพิ่มบทบาทของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจโลก สินค้า บริการ การลงทุน การเงิน การพัฒนาตลาดทุน การเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือและนักธุรกิจ การปรับมาตรฐาน AEC 2025 เศรษฐกิจที่มีการรวมตัวและเชื่อมโยงในระดับสูง มีความสามารถในการแข่งขันมีนวัตกรรมและมีพลวัต ขยายความร่วมมือและการรวมตัวรายสาขา สามารถในการปรับตัว ครอบคลุมทุกภาคส่วนและ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลก นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค ทรัพย์สินทางปัญญา ความโปร่งใส นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค ทรัพย์สินทางปัญญา ความโปร่งใส ร่างแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 เป็นเอกสารที่กำหนดทิศทางการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียนในระยะ 10 ปีข้างหน้า ( ) โดยมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของมาตรการการรวมกลุ่มเศรษฐกิจในปัจจุบันและแนวทางการรับมือต่อประเด็นความท้าทายใหม่ ๆ ที่อาเซียนอาจต้องเผชิญในอนาคต อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ซึ่งครอบคลุมการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายใน 5 ด้าน การขนส่ง โทรคมนาคม การเงิน พลังงาน การท่องเที่ยว การเสริมสร้างความแข็งแกร่ง SMEs ลดช่องว่างการพัฒนา การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

40 เป้าหมายที่ 1 เศรษฐกิจที่มีการรวมตัวและเชื่อมโยงในระดับสูง
การเปิดเสรีบริการด้านการเงินและ การพัฒนาและการรวมตัวตลาดทุน การค้าสินค้า การค้าบริการ อำนวยความสะดวกทางการค้า ปรับประสานมาตรฐาน แก้ไขปัญหามาตรการที่มิใช่ภาษี เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นของอาเซียน ส่งเสริมความโปร่งใสของกฎระเบียบ ลดอุปสรรคต่อการค้าบริการ สร้างความเข้มแข็งโครงสร้างความมั่นคงทางการเงิน ปรับปรุงกฎระบียบการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน สร้างความเข้มแข็งแก่ระบบระวังภัยอาเซียนด้านเศรษฐกิจมหภาค ส่งเสริมการมีส่วนร่วม ในห่วงโซ่มูลค่าโลก (GVCs) การอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีฝีมือและนักธุรกิจ สภาพแวดล้อมด้านการลงทุน 1. เศรษฐกิจที่มีการรวมตัวและเชื่อมโยงในระดับสูง ประกอบด้วย การเปิดเสรีสินค้า โดยมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า ยกเลิก/ลดมาตรการที่มิใช่ภาษี ปรับปรุงกระบวนการพิธีการศุลกากร ปรับประสานมาตรฐานให้สอดคล้องกัน การเปิดเสรีการค้าบริการและส่งเสริมสภาพแวดล้อมด้านการลงทุน การเปิดเสรีบริการด้านการเงินและการรวมตัวและพัฒนาตลาดทุนและการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีฝีมือและนักธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประเทศสมาชิกอาเซียนในห่วงโซ่มูลค่าโลก เปิดเสรีการลงทุนเพิ่มขึ้น ร่วมส่งเสริมอาเซียนเป็นจุดหมายการลงทุน เปิดเสรีเพิ่มขึ้น ปรับปรุง MRAs ที่มีอยู่ เพิ่ม MRA ในสาขาอาชีพใหม่ๆ ยกเลิกอุปสรรคทางการค้าต่างๆ อำนวยความสะดวกทางการค้า ปรับประสานกฎระเบียบ

41 เป้าหมายที่ 2 มีความสามารถในการแข่งขัน มีนวัตกรรมและมีพลวัต
การคุ้มครองผู้บริโภค นโยบายแข่งขันที่มีประสิทธิผล มีระบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่เข้มแข็ง กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ การมีกฎหมายด้านการแข่งขันในทุกประเทศสมาชิกอาเซียน ส่งเสริมความร่วมมือนโยบายด้านการแข่งขันที่สอดคล้องกับนโยบายและกฎหมายการแข่งขันในภูมิภาค ภาษี เสริมสร้างความเข้มแข็งความร่วมมือด้านสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา สร้างเครือข่ายอาเซียนในความตกลงทวิภาคีทางภาษี สร้างความเข้มแข็งหน่วยงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านทรัพย์สินทางปัญญา เพิ่มขีดความสามารถเพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลง และพิธีสารด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างประเทศ ธรรมาภิบาล สร้างความเข้มแข็ง ธรรมาภิบาลทั้งภาครัฐและเอกชน เพิ่มการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐกับเอกชน การเติบโตที่ขับเคลื่อนโดยประสิทธิภาพการผลิต นวัตกรรม การวิจัยและพัฒนา และเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ 2. มีความสามารถในการแข่งขัน มีนวัตกรรม และมีพลวัต มุ่งเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน นวัตกรรมและความพร้อมในการรองรับการเปลี่ยนแปลง อาทิ นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค ทรัพย์สินทางปัญญา การส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยี ความร่วมมือด้านภาษี การยึดหลักธรรมาภิบาล ส่งเสริมให้มีกฎระเบียบ และหลักปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องและสามารถพร้อมตอบสนองได้มากขึ้น การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก และประเด็นการค้าใหม่ ๆ ประเด็นใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า ส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตและนวัตกรรม สร้างสภาพแวดล้อมเชิงนโยบายภายในอาเซียนที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม จัดทำยุทธศาสตร์เกี่ยวกับประเด็นใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ความสอดคล้องด้านกฎระเบียบ ส่งเสริมการใช้พลังงานและเทคโนโลยีที่สะอาด กฎระเบียบและระบบที่สามารถพร้อมตอบสนองได้มากขึ้น

42 เป้าหมายที่ 3 การขยายความร่วมมือและการรวมตัวรายสาขา
เพิ่มประสิทธิภาพครือข่ายการขนส่งหลายรูปแบบ และโลจิสติกส์ ขนส่ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT สร้าง Green ICT ลดช่องว่างด้าน ดิจิตัล เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ พัฒนาความ ตกลงอาเซียนด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ส่งเสริมประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานทดแทน พลังงาน ไฟฟ้า สาธารณูปโภค การผลิตที่ยั่งยืน สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้น อาหาร เกษตรกรรม ป่าไม้ ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเดียวกันที่มีมาตรฐานระดับโลก ท่องเที่ยว จัดการโรค ไม่ติดต่อ เข้าถึงบริการด้านสุขภาพ สุขภาพ 3. ส่งเสริมการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจและการรวมตัวรายสาขา มุ่งเน้นการส่งเสริมและบูรณาการด้านการขนส่งในภูมิภาค เทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเชื่อมโยงด้านพลังงาน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการรวมตัวรายสาขาที่ลึกซึ้ง มากขึ้น ได้แก่ อาหาร เกษตรและป่าไม้ การท่องเที่ยว สุขภาพ เหมืองแร่ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อำนวยความสะดวกการค้าการลงทุนในสาขา แร่ธาตุ แร่ธาตุ ร่วมมือด้าน R&D เสริมสร้างศักยภาพบุคลากร วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แลกเปลี่ยนข้อมูล/ประสบการณ์ แนวโน้มในอนาคต 42

43 เป้าหมายที่ 4 ความสามารถในปรับตัว ครอบคลุมทุกภาคส่วน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
การส่งเสริมบทบาทของ SMEs นโยบายเอื้อต่อ SMEs มีประสิทธิภาพการผลิต นวัตกรรม การส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชน เน้นการมีส่วนร่วม ส่งเสริมบทบาทของสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN-BAC) การเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐกับเอกชน (PPP) สร้างเครือข่ายของหน่วยงานด้าน PPP ระบุโครงการ การลดช่องว่างการพัฒนา ส่งเสริมศักยภาพของประเทศสมาชิกใหม่ (CLMV) การเข้าถึงทางการเงิน ความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน การมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม เศรษฐกิจและผลกระทบทางเศรษฐกิจของการรวมตัวต่อสังคมโลก 4. ความสามารถในการปรับตัว ครอบคลุมทุกภาคส่วนและมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มุ่งสร้างความเข้มแข็งแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การเพิ่มบทบาทและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน การลดช่องว่างด้านการพัฒนาและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็น/ข้อริเริ่มด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ

44 เป้าหมายที่ 5 การเป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลก
การทบทวนความตกลงการค้าเสรี+1 ทบทวนและปรับปรุงความตกลงการค้าเสรี ของอาเซียน มีปฏิสัมพันธ์กับหุ้นส่วนระดับภูมิภาคและระดับโลก บทบาทของอาเซียนในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในเวทีองค์การการค้าโลกและภูมิภาค การจัดทำความตกลงด้านเศรษฐกิจ 5. การเป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลก อาทิ การทบทวน/ปรับปรุงความตกลงการค้าเสรีของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจกับประเทศคู่เจรจาที่มิได้มีความตกลงการค้าเสรี และการมีส่วนร่วมกับพันธมิตรทั้งในระดับภูมิภาคและโลก สนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในเชิงรุกในเวทีระดับภูมิภาค รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับสถาบันต่าง ๆ ทั้งในระดับโลกและภูมิภาค

45 6. ศักยภาพ และลู่ทางการส่งออกของไทย

46 บังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เกิดความเป็นธรรม
ไทยจะเพิ่มศักยภาพและลู่ทางการส่งออกให้สอดคล้องกับพัฒนาการของระบบการค้าโลกได้อย่างไร? รัฐ ออกกฎหมายที่เป็นไปตามกติกา โปร่งใส ชัดเจน แน่นอน ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำการค้า (รัฐเป็น facilitator) บังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เกิดความเป็นธรรม ออกมาตรการที่จูงใจให้เอกชนพัฒนาศักยภาพของตนเอง มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ 46

47 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และการจัดการสมัยใหม่
ไทยจะเพิ่มศักยภาพและลู่ทางการส่งออกให้สอดคล้องกับพัฒนาการของระบบการค้าโลกได้อย่างไร? เอกชน: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และการจัดการสมัยใหม่ พัฒนาศักยภาพ และการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้เกิดการแข่งขันที่คุณภาพ มีความตื่นตัวในการแข่งขัน โดยมองโอกาส และคู่แข่งทั้งตลาดภายในและภายนอกประเทศ 47

48 7. สินค้าที่ได้รับประโยชน์/ผลกระทบ และมาตรการเยียวยา

49 สินค้าที่ได้รับประโยชน์/ผลกระทบ และมาตรการเยียวยา
ประเทศ สินค้าที่ได้ประโยชน์ สินค้าที่ได้รับผลกระทบ สินค้า การเยียวยา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อุตสาหกรรม รถปิกอัพ (เครื่องยนต์ดีเซล) รถยนต์ เครื่องปรับอากาศ เกษตร ปลาทูนากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง ข้าว ข้าวโพดหวาน โคเนื้อ-โคนม สุกร (เครื่องใน) กองทุน FTA ก.พาณิชย์ ให้ความช่วยเหลือสินค้าโคเนื้อ 20.8 ล้านบาท โคนม 33.1 ล้านบาท กองทุน FTA ก.เกษตรฯ ให้ความช่วยเหลือสินค้าโคเนื้อ 92.0 ล้านบาท โคนม 80.0 ล้านบาท สุกร ล้านบาท ไทย-อินเดีย อุตสาหกรรม อะลูมิเนียมเจือ เครื่องปรับอากาศเครื่องรับโทรทัศน์สี ตู้เย็น เม็ดพลาสติก เครื่องประดับเพชรพลอยทำด้วยโลหะมีค่า เครื่องจักรอุตสาหกรรมการเกษตร ส่วนประกอบรถยนต์ กระปุกเกียร์ของยานยนต์ขนาดใหญ่ และของทำด้วยเหล็ก ไทย-ญี่ปุ่น อุตสาหกรรม แหนบรถยนต์ สปริงและแผ่นที่ใช้เป็นสปริง เม็ดพลาสติก เกษตร เนื้อไก่ปรุงแต่ง กุ้งปรุงแต่ง กุ้งแช่แข็ง เหล็ก รถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์

50 สินค้าที่ได้รับประโยชน์/ผลกระทบ และมาตรการเยียวยา
ประเทศ สินค้าที่ได้ประโยชน์ สินค้าที่ได้รับผลกระทบ สินค้า การเยียวยา อาเซียน อุตสาหกรรม รถยนต์ รถปิกอัพ ตัวถังรถยนต์ ส่วนประกอบรถยนต์ ส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้าตู้เย็น แชมพู เกษตร ข้าวโพด ผลไม้สด (ทุเรียน ลำไย ฝรั่ง มะม่วง มังคุด) น้ำตาลทราย เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ แป้งมันสำปะหลัง อาหารปรุงแต่ง อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมยาสำเร็จรูป (HS 3003 และ 3004) เกษตร ปาล์มน้ำมัน ข้าว เมล็ดกาแฟ ชาไหมดิบ มะพร้าวผล เนื้อมะพร้าวแห้ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สมุนไพร กองทุน FTA ก.พาณิชย์ ให้ความช่วยเหลืออุตสาหกรรมยา 25.8 ล้านบาท สมุนไพร 42.8 ล้านบาท สินค้าชา 5.3 ล้านบาท กองทุน FTA ก.เกษตรฯ ให้ความช่วยเหลือสินค้าชา 6.8 ล้านบาท ปาล์มน้ำมัน 19.6 ล้านบาท กาแฟ 53.1 ล้านบาท ข้าว ล้านบาท อาเซียน-จีน อุตสาหกรรม ยางผสมอื่นๆ กรดเทเรฟทาลิก โพลิคาร์บอเนต พาราไซลีน ฟีนอลและเกลือฟีนอล เกษตร มันสำปะหลัง ผลไม้สด (ทุเรียน ลำไย) ผลไม้แห้ง อุตสาหกรรม สิ่งทอ เครื่องหนัง เครื่องใช้ไฟฟ้า ปากกา ดินสอ เกษตร ผัก (แคร์รอท กะหล่ำดอกและบรอกโคลี เห็ด เป็นต้น) ผลไม้เมืองหนาว ปลาน้ำจืด ชา กองทุน FTA ก.พาณิชย์ ให้ความช่วยเหลือสินค้าเครื่องหนัง 1 ล้านบาทเครื่องใช้ไฟฟ้า 4.8 ล้านบาท ส้ม 22.5 ล้านบาท ลิ้นจี่ 14.9 ล้านบาท ปลาน้ำจืด 21.6 ล้านบาท ชา 5.3 ล้านบาท กองทุน FTA ก.เกษตรฯ ให้ความช่วยเหลือสินค้ากระเทียม 81.8 ล้านบาท ชา 6.8 ล้านบาท

51 www.dtn.go.th www.thaifta.com
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ Call Center: 51


ดาวน์โหลด ppt ความคืบหน้า การเจรจา FTA ของไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google