งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 8 เครื่องมือการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 8 เครื่องมือการวิจัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 8 เครื่องมือการวิจัย
ดร.นันทิมา นาคาพงศ์ วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

2 เนื้อหาในบทเรียน ประเภทของเครื่องมือการวิจัย 1. แบบสัมภาษณ์
2. แบบสังเกต 3. แบบสอบถาม 4. แบบทดสอบ 5. แบบวัดเจตคติ

3 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสัมภาษณ์
1. แบบสัมภาษณ์ (Interview form) ชุดของคำถามที่ใช้ถามและใช้จดบันทึกคำตอบของการสัมภาษณ์ โดยผู้สัมภาษณ์จะเป็นผู้บันทึกคำตอบที่ได้จากผู้ให้สัมภาษณ์ ประเภทของแบบสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured interviews) 2. แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง (Non-structured interviews)

4 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสัมภาษณ์
1. แบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง : แบบสัมภาษณ์คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษา ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัว 1.1 เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง 1.2 อายุ …………. ปี 1.3 ประสบการณ์เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา ………… ปี 1.4 ภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบในงานการประกันคุณภาพการศึกษา คือ ตอนที่ 2 การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 2.1 คณะกรรมการ ฯ เตรียมการในเรื่องใดบ้าง ( ) การจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ( ) การฝึกอบรมครูและบุคลากรในสถานศึกษา ( ) กาขอรับคำปรึกษาจากบุคลากรภายนอกสถานศึกษา ( ) การเตรียมงบประมาณ 2.2 คณะกรรมการ ฯ ดำเนินการในเรื่องใดบ้าง ( ) การวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา ( ) การศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด ( ) การแต่งตั้งคณะทำงานรับผิดชอบในแต่ละมาตรฐาน ( ) การฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพภายใน ( ) การฝึกอบรมการเขียนรายงานการประเมินตนเอง 2.3 มีมาตรฐานใดบ้างที่ไม่ผ่านการประเมิน……………………………… 2.4 สถานศึกษาต้องปรับปรุงและพัฒนาตามมาตรฐานที่ไม่ผ่านการประเมินอย่างไรบ้าง……………………….…

5 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสัมภาษณ์
2. แบบสัมภาษณ์ที่ไม่มีโครงสร้าง : แบบสัมภาษณ์คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 1. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่กำหนดไว้ มีความเหมาะสมและ มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติหรือไม่ อย่างไร 2. คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถดำเนินงานตามบทบาทหน้าที่ได้หรือไม่ อย่างไร 3. ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีอะไรบ้าง 4. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานมีอะไรบ้าง และมีแนวทางแก้ไขอย่างไร

6 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสังเกต
2. แบบสังเกต (Observation form) เครื่องมือที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น เพื่อใช้เก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีการสังเกตใน สิ่งที่สังเกตได้ ซึ่งจะต้องดำเนินการบันทึกรายละเอียดของข้อเท็จจริงทันที เครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลจากการสังเกต มีดังนี้ 1.1 แบบบันทึกหรือตารางจดบันทึก 1.2 แบบตรวจสอบรายการ 1.3 แบบประเมินค่า

7 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสังเกต
1.1 แบบบันทึกหรือตารางจดบันทึก : แบบบันทึกพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของนักศึกษา ช่วงเวลา สถานที่ พฤติกรรม ความถี่ จำนวนคน น. ห้องสมุด 1. อ่านหนังสือ IIII IIII IIII I 16 2. สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ IIII IIII IIII 14 3. เขียนรายงาน IIII II 7 4. ค้นหาหนังสือ IIII IIII IIII III 18 5. นอนหลับ II 2

8 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสังเกต
1.2 แบบตรวจสอบรายการ : แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียน รายการพฤติกรรม ปฏิบัติ ไม่ปฏิบัติ ข้อมูลเพิ่มเติม 1. ร่วมกันวางแผนการทำงานกลุ่ม 2. รับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 3. ร่วมกันปฏิบัติงานจนสำเร็จ 4. ร่วมกันประเมินผลงาน 5. ร่วมกันปรับปรุงแก้ไขผลงาน

9 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสังเกต
1.3 แบบประเมินค่า : แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา รายการพฤติกรรม มากที่สุด (5) มาก (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) น้อยที่สุด (1) 1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา 2. ตั้งใจฟังการบรรยายของครู 3. ร่วมอภิปรายซักถาม 4. ปฏิบัติกิจกรรมด้วยความกระตือรือร้น 5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน

10 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
3. แบบสอบถาม (Questionnaire) ชุดของคำถามที่ใช้สอบถามข้อเท็จจริง หรือความคิดเห็นต่าง ๆ ของผู้ตอบ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงทั้งในอดีต ปัจจุบัน และการคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต 1. โครงสร้างของแบบสอบถาม แบบสอบถามมีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้ 1.1 คำชี้แจงในการตอบแบบสอบถาม 1.2 สถานภาพของผู้ตอบ 1.3 ข้อความที่เกี่ยวกับตัวแปรที่จะวัด

11 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
สถานภาพของผู้ตอบ 1. เพศ  ชาย  หญิง 2. อายุ  ต่ำกว่า  20 – 39 ปี  40 – 59 ปี  60 ปีขึ้นไป 3. วุฒิการศึกษาขั้นสูงสุด  ประถมศึกษา  มัธยมศึกษา  อนุปริญญา  ปริญญาตรี  สูงกว่าปริญญาตรี

12 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
ข้อความที่เกี่ยวกับตัวแปรที่จะวัด การวัดพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือของนิสิต ในด้านวัตถุประสงค์ ความถี่ และค่าใช้จ่าย ประกอบด้วยข้อมูลแสดงพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในด้านต่าง ๆ ดังนี้ วัตถุประสงค์ของการใช้โทรศัพท์มือถือ ความถี่ในการใช้โทรศัพท์มือถือในวันที่ผ่านมา ความถี่ในการใช้โทรศัพท์มือถือในสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการใช้โทรศัพท์มือถือในเดือนที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายในการใช้โทรศัพท์มือถือเฉลี่ยในเดือนที่ผ่านมา

13 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
2. รูปแบบของคำถามในแบบสอบถาม มี 3 รูปแบบ คือ 2.1 คำถามแบบปลายปิด (Closed form ) มีคำตอบให้เลือกตอบ ดังนี้ 2.1.1 เลือกตอบคำตอบเดียว จากคำตอบที่กำหนดให้เลือก 2 คำตอบ 2.1.2 เลือกตอบคำตอบเดียว จากคำตอบที่กำหนดให้หลายคำตอบ 2.1.3 เลือกตอบมากกว่า 1 คำตอบ จากคำถามที่กำหนดให้หลายคำตอบ 2.1.4 แบบให้จัดลำดับ (Ranking) โดยให้เรียงลำดับก่อน-หลัง 2.1.5 แบบใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) (1) มาตราส่วนประมาณค่าแบบตัวเลข (Numerical rating scale) (2) มาตราส่วนประมาณค่าแบบกราฟฟิก (Graphic rating scale) (3) มาตราส่วนประมาณค่าแบบบรรยาย (Descriptive rating scale) 2.2 คำถามแบบปลายเปิด (Opened form) 2.3 คำถามแบบผสม (mixed form)

14 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
2. รูปแบบของคำถามในแบบสอบถาม มี 3 รูปแบบ คือ 2.1 คำถามแบบปลายปิด (Closed form ) มีคำตอบให้เลือกตอบ ดังนี้ 2.1.1 เลือกตอบคำตอบเดียว จากคำตอบที่กำหนดให้เลือก 2 คำตอบ 2.1.2 เลือกตอบคำตอบเดียว จากคำตอบที่กำหนดให้หลายคำตอบ 2.1.3 เลือกตอบมากกว่า 1 คำตอบ จากคำถามที่กำหนดให้หลายคำตอบ 2.1.4 แบบให้จัดลำดับ (Ranking) โดยให้เรียงลำดับก่อน-หลัง 2.1.5 แบบใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) (1) มาตราส่วนประมาณค่าแบบตัวเลข (Numerical rating scale) (2) มาตราส่วนประมาณค่าแบบกราฟฟิก (Graphic rating scale) (3) มาตราส่วนประมาณค่าแบบบรรยาย (Descriptive rating scale) 2.2 คำถามแบบปลายเปิด (Opened form) 2.3 คำถามแบบผสม (mixed form)

15 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
2. รูปแบบของคำถามในแบบสอบถาม มี 3 รูปแบบ คือ 2.1 คำถามแบบปลายปิด (Closed form ) แบบให้เลือกตอบคำตอบเดียว จากคำตอบที่กำหนดให้เลือก 2 คำตอบ ท่านเคยอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับธรรมะบ้างหรือไม่  เคย  ไม่เคย แบบให้เลือกตอบคำตอบเดียวจากคำตอบที่กำหนดให้หลายคำตอบ ท่านจบการศึกษาระดับใด  อนุปริญญา  ปริญญาตรี  ปริญญาโท  ปริญญาเอก

16 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
แบบให้เลือกตอบมากกว่า 1 คำตอบจากคำถามที่กำหนดให้หลายคำตอบ ท่านชอบดูกีฬาประเภทใด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ฟุตบอล  เทนนิส  บาสเกตบอล กอล์ฟ  วอลเลย์บอล  อื่น ๆ (ระบุ) …………… แบบให้จัดลำดับ (Ranking) ท่านชอบอ่านหนังสือพิมพ์ฉบับใดมากที่สุด เรียงตามลำดับ มติชน  ไทยรัฐ  เดลินิวส์ ข่าวสด  บ้านเมือง

17 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
แบบใช้มาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) (1) มาตราส่วนประมาณค่าแบบตัวเลข (Numerical rating scale) มาตรวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน รายการพฤติกรรม ระดับคะแนน 5 4 3 2 1 1. การร่วมอภิปรายซักถาม 2. การศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเอง 3. การแนะนำความรู้ให้กับเพื่อน

18 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
(2) มาตราส่วนประมาณค่าแบบกราฟฟิก (Graphic rating scale) พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา การร่วมอภิปรายซักถาม มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง

19 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
(3) มาตราส่วนประมาณค่าแบบบรรยาย (Descriptive rating scale) รายการพฤติกรรม ระดับของการแสดงพฤติกรรม เสมอ บ่อยครั้ง บางครั้ง นานครั้ง ไม่เคย 1. การร่วมอภิปรายซักถาม 2. การศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง 3. การแนะนำความรู้ให้กับเพื่อน

20 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
2.2 คำถามแบบปลายเปิด (Opened form) ท่านมีความคิดเห็นว่าแนวโน้มของมหาวิทยาลัยอีก 10 ปีข้างหน้า ควรจะมีรูปแบบของการจัดการศึกษาอย่างไรบ้าง ………………………………………………………………………………..……………………… ……………………………………………………………………………………………………..…

21 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบสอบถาม
2.3 คำถามแบบผสม (Mixed form) แบบสอบถามการเข้าร่วมงานมหกรรมกีฬาของจังหวัด 1. ท่านมีส่วนร่วมงานมหกรรมกีฬาครั้งนี้ ในฐานะใด  ผู้เข้าแข่งขัน  ผู้ชมการแข่งขัน  ผู้พานักเรียนมาแข่งขัน  ผู้จัดงานแข่งขัน 2. ปีที่แล้วท่านมาร่วมงานมหกรรมกีฬาหรือไม่  มา  ไม่ได้มา 3. การจัดการแข่งขันในงานมหกรรมกีฬา ท่านคิดว่ามีประโยชน์ต่อท่านอย่างไรบ้าง …………………………………………………………………………………………….

22 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบทดสอบ
4. แบบทดสอบ (Test) ชุดของข้อคำถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อเร้าให้ผู้ถูกทดสอบแสดงพฤติกรรมอย่างใด อย่างหนึ่งออกมา ให้ผู้วิจัยสังเกตได้และวัดได้ ประเภทของแบบทดสอบ มีดังนี้ 1.1 แบ่งตามสมรรถภาพที่จะวัด แบ่งได้ 3 ประเภท คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement test) (1) แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้นเอง (2) แบบทดสอบมาตรฐาน แบบทดสอบวัดความถนัด (Aptitude test) (1) แบบทดสอบวัดความถนัดทางการเรียน (2) แบบทดสอบวัดความถนัดเฉพาะ แบบทดสอบบุคคล-สังคม (Personal-social test)

23 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบทดสอบ
1.2 แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการสร้าง แบ่งได้ 2 ประเภทคือ แบบอัตนัยหรือแบบความเรียง แบบปรนัยหรือแบบให้ตอบสั้น ๆ แบบถูก-ผิด (true-false) แบบเติมคำหรือเติมความ (completion) แบบจับคู่ (matching) แบบเลือกตอบ (multiple choice)

24 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบทดสอบ
1.3 แบ่งตามจุดมุ่งหมายในการใช้ประโยชน์ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ แบบทดสอบเพื่อวินิจฉัย (Diagnostic test) แบบทดสอบเพื่อทำนายหรือพยากรณ์ (Prognostic test) 1.4 แบ่งตามเวลาที่กำหนดให้ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ แบบให้ใช้ความเร็ว (Speed test) แบบให้เวลามาก ๆ (Power test) 1.5 แบ่งตามลักษณะการตอบ แบ่งได้ 3 ประเภท คือ แบบให้ลงมือทำ (Performance test) แบบให้เขียนตอบ (Paper – pencil test)

25 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบทดสอบ
1.6 แบ่งตามลักษณะและโอกาสในการใช้ แบ่งได้ 2 ประเภท คือ แบบทดสอบย่อย (Formative test) แบบทดสอบรวม (Summative test) 1.7 แบ่งตามเกณฑ์การนำผลการสอบไปประเมิน แบ่งได้ 2 ประเภทคือ แบบทดสอบอิงเกณฑ์ (Criterion reference test) แบบทดสอบอิงกลุ่ม (Norm reference test) 1.8 แบ่งตามลักษณะของสิ่งเร้า แบ่งได้ 2 ประเภท คือ แบบทดสอบทางภาษา (Verbal test) แบบทดสอบที่ไม่ใช้ภาษา (Non-verbal test)

26 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบวัดเจตคติ
5. แบบวัดเจตคติ (Attitude test) เครื่องมือวัดพฤติกรรมด้านจิตพิสัย (affective domain) ซึ่งประกอบด้วย ชุดของข้อความที่ใช้วัดความรู้สึก ความเชื่อ ความศรัทธาของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ 1. ประเภทของแบบวัดเจตคติ นิยมใช้อยู่ 3 ประเภท คือ 1.1 แบบวัดเจตคติตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert’s scale) 1.2 แบบวัดเจตคติตามวิธีของออสกูด (Osgood’s scale) 1.3 แบบวัดเจตคติตามวิธีของเทอร์สโตน

27 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบวัดเจตคติ
1.1 แบบวัดเจตคติตามวิธีของลิเคอร์ท : แบบวัดเจตคติต่อการเมือง ข้อความ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 1. การเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ส่วนรวม 2. การเมืองเป็นเรื่องของผู้มีอำนาจ 3. การเมืองทำให้ประชาชนเป็นสุข 4. การเมืองทำให้ประเทศชาติพัฒนา 5. การเมืองเป็นเรื่องสร้างสรรค์ 6. คนทำงานการเมืองเป็นผู้เสียสละ 7. การเมืองสร้างความแตกแยกให้คนในชาติ 8. การเมืองเป็นเรื่องล้างแค้น 9. การเมืองเป็นเรื่องของคนรวย 10. การเมืองเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน

28 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบวัดเจตคติ
1.2 แบบวัดเจตคติตามวิธีของออสกูด : แบบวัดเจตคติต่อคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน 1. ซื่อสัตย์ 3 2 1 -1 -2 -3 คดโกง 2. สำเร็จ ล้มเหลว 3. มีวิสัยทัศน์ ไร้วิสัยทัศน์ 4. มีระบบ ไร้ระบบ 5. มีประสิทธิภาพ ไร้ประสิทธิภาพ 6. ก้าวหน้า ล้าหลัง 7. ยุติธรรม อยุติธรรม 8. ใจกว้าง ใจแคบ 9. รวดเร็ว ชักช้า 10. ขยัน ขี้เกียจ 11. สร้างความสามัคคี สร้างความแตกแยก 12. มุ่งประโยชน์ส่วนรวม มุ่งประโยชน์ส่วนตน

29 ประเภทของเครื่องมือการวิจัย : แบบวัดเจตคติ
1.3 แบบวัดเจตคติตามวิธีของเทอร์สโตน : แบบวัดเจตคติต่ออาชีพครู ข้อความ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย 1. ผู้มีอาชีพครูไม่มีวันอดตาย (7.3) 2. อาชีพครูเหมาะสำหรับคนที่มีจิตใจเข็มแข็ง (8.7) 3. อาชีพครูเป็นผู้ตื่นตัวทางวิชาการอยู่เสมอ (9.9) 4. อาชีพครูเป็นอาชีพของคนจับจดและฉาบฉวย (2.1) 5. อาชีพครูเป็นอาชีพที่มีเกียรติสูง (9.1) 6. อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ต้องรับผิดชอบ (2.3) 7. มาตรฐานของมารยาทผู้ที่เป็นครูต่ำ (1.5) 8. อาชีพครูเหมาะสำหรับสุภาพสตรี (6.0) 9. อาชีพครูไม่มีอะไรมากไปกว่ากางตำราสอน (1.8) 10. อาชีพครูเป็นอาชีพของคนดี (2.4)

30 Thank You!

31 Workshop 8 นิสิตแบ่งกลุ่มละ 5 คน
เขียนขั้นตอนของการสร้างเครื่องที่ใช้ในการวิจัย สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 8 เครื่องมือการวิจัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google