งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต
ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต

2 ความเป็นมาของการเพิ่มผลผลิต
การเพิ่มผลผลิตเริ่มขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา โดย เฟรด เดอริค ดับบลิว เทเลอร์ ( Frederick W. Taylor ) ด้วยการนำแนวคิดทาง วิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการผลิตสูงสุด หลังจากนั้นหลาย ประเทศทั่วโลกได้รับเอาแนวคิดการเพิ่มผลผลิตไปใช้ เช่นประเทศในแถบยุโรป ญี่ป่น สิงค์โปร์ เป็นต้น

3 ความหมายของการเพิ่มผลผลิต
การเพิ่มผลผลิต ( Productivity ) คือ การเปลี่ยนวิธีคิด ปรับวิธีการ ทำงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อแสวงหาแนวทางการทำงานที่มีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ความหมายการเพิ่มผลผลิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวคิด ดั้งนี้ 1. การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ 2. การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม

4 การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
อัตราส่วนระหว่างปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป ( Input ) ( แรงงาน เครื่องมือ วัตถุดิบ เครื่องจักร พลังงาน และอื่นๆ) กับผลผลิตที่ได้จากกระบวนการผลิต ( Output ) ( ตู้เย็น รถยนต์ การขนส่ง ) สามารถคำนวณได้จาก การเพิ่มผลผลิต ( Productivity ) = ผลผลิต ( Output) ปัจจัยการผลิต ( Input ) ซึ่งทำได้ทั้งการวัดเป็นจำนวนชิ้น น้ำหนัก เวลา ความยาว และการวัด ตามมูลค่าในรูปของตัวเงิน

5 การวัดการเพิ่มผลผลิต
คือ การเพิ่มผลผลิตตามแนวทางวิทยาศาสตร์นี้สามารถวัดค่าได้ การวัด ค่าการเพิ่มผลผลิตวัดได้ใน 2 ลักษณะ 1. การวัดเชิงกายภาพ ( Physical Productivity) คือ การวัดขนาด ชิ้นงาน ปริมาณงาน น้ำหนัก จำนวนแรงงาน และเวลาในการผลิต 2. การวัดเชิงมูลค่า ( Value Productivity ) จะวัดมูลค่าเป็นจำนวน เงินของผลผลิตที่ได้ กับปัจจัยการผลิตที่ใช้ไป

6 ตัวอย่าง วิธีทำ การเพิ่มผลผลิตของโรงงาน ก = 100,000
ถ้าโรงงาน ก ผลิตสินค้าได้มูลค่า 100,000 บาท โดยเสียต้นทุนในการ ผลิตสินค้านั้นเป็นจำนวนเงิน 85,000 บาท วิธีทำ การเพิ่มผลผลิตของโรงงาน ก = ,000 85,000 = ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตของโรงงาน ก มีค่า = บาท

7 แนวทางการเพิ่มผลผลิต ตามแนวทางวิทยาศาสตร์
1. ใช้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิมแต่ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น โดยมากเราจะใช้ แนวทางนี้เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ 2. ใช้ปัจจัยการผลิตให้น้อยลง แต่ผลิตผลเท่าเดิม โดยแนวทางนี้ เราไม่ เพิ่มจำนวนยอดการผลิต แต่เรามุ่งให้ความสำคัญกับการลดปัจจัยการผลิต นั่น คือการใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ 3. ใช้ปัจจัยการผลิตน้อยลง แต่ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น แนวทางนี้เป็น แนวทางที่ค่อนข้างยาก แต่ถ้าสามารถทำได้ก็จะช่วยให้การเพิ่มผลผลิตมีค่าสูง มากกว่าวิธีอื่นทั้งหมด

8 4. ใช้ปัจจัยการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้นมากกว่า แนวทางนี้เราใช้ เมื่อเศรษฐกิจกำลังเติบโต
5. ลดจำนวนผลิตผลจากเดิม โดยลดอัตราการใช้ปัจจัยการผลิตในอัตราส่วนที่ มากกว่า ใช้แนวทางนี้เพื่อเพิ่มค่าของการเพิ่มผลผลิต ในภาวะที่ความต้องการของสินค้า หรือบริการในตลาดลดน้อยลง สรุป แนวทางการเพิ่มผลผลิตทั้ง 5 แนวทางข้างต้น บางแนวทางก็ไม่สามารถจะบอก ได้อย่างชัดเจนว่าเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจอย่างไร เนื่องจากเราต้องพิจารณาทั้งในแง่ ของผลผลิต และปัจจัยการผลิตร่วมกัน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด

9 การเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดทางเศรษฐกิจและสังคม
การที่จะหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ ให้ดีขึ้นอยู่เสมอ โดยมีความเชื่อว่าเรา สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ในวันนี้ ให้ดีกว่าเมื่อวานนี้และวันพรุ่งนี้จะดีกว่าวันนี้ ซึ่งเป็นความสำนึกในจิตใจดีขึ้นเสมอ ทั้งเรื่องของการประหยัดทรัพยากร พลังงาน และเงินตรา ที่ต้องร่วมมือปรับปรุงเร่งรัดการเพิ่มผลผลิตในทุก ระดับ เพื่อหาความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยรวม

10 แนวทางการเพิ่มผลผลิต ตามแนวทางเศรษฐกิจและสังคม
แนวทางการเพิ่มผลผลิต ตามแนวทางเศรษฐกิจและสังคม 1. ความสำนึกในจิตใจ (Consciousness of mind) เป็นความสามารถหรือ พลังความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จะแสวงหาทางปรับปรุงสิ่งต่าง ๆให้ดีขึ้นเสมอ โดยผู้ที่มี จิตสำนึกด้านการเพิ่มผลผลิตจะพยายามต่อเนื่องที่จะประยุกต์เทคนิคและวิธีใหม่ ๆ ให้เกิด ประโยชน์แก่หน่วยงานสังคมและประเทศชาติเพื่อให้ทันกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่มี การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 2. การใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด การเพิ่มผลผลิตเป็นความสำนึกของการ ดำเนินทุกกิจกรรมในชีวิต ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้ง พยายามลดความสูญเสียทุกประเภทเพื่อเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

11 ความหมายของการเพิ่มผลผลิตทั้ง 2 แนวคิด
คือ แนวทางวิทยาศาสตร์ และแนวทางเศรษฐกิจและสังคมนั้น ครอบคลุมหลายความคิด หลายกิจกรรม เราจึงจำเป็นต้องใช้ความพยายาม ร่วมกันในการเร่งรัดปรับปรุงการผลิต ในทุกระดับประเทศ เพื่อเจริญก้าวหน้า ทางเศรษฐกิจโดยร่วมของชาติ

12 ความสำคัญของการเพิ่มผลผลิต
1. ช่วยให้คนงานได้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงวิธีการทำงานของตนเอง หรือของ หน่วยงานของตน 2. ช่วยให้มีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาสู่กระบวนการผลิต 3. ช่วยให้มีการพัฒนาและทักษะในการปฏิบัติให้ดีขั้น 4. ช่วยให้ลูกค้าได้ใช้สินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูก 5. ช่วยให้คนงานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 6. ช่วยให้องค์สามารถแข่งขันกับคู่แข่งในด้านคุณภาพและบริการ 7. ช่วยทำให้ลดต้นทุนในการผลิตสินค้าหรือบริการ

13 องค์ประกอบของการเพิ่มผลผลิต
1. Quality คุณภาพ 2. Cost ต้นทุน 3. Delivery การส่งมอบ 6. Environment สิ่งแวดล้อม 5. Morale ขวัญกำลังใจในการทำงาน 4. Safety ความปลอดภัย 7. Ethics จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ

14 การเพิ่มผลผลิตโดยรวมเพื่อความยั่งยืน
เพื่อลูกค้า เพื่อพนักงาน เพื่อสังคม Q C D S M E E คุณภาพ ต้นทุน จริยธรรม การส่งมอบ สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย ขวัญและกำลังใจ

15 กิจกรรมเพื่อความปลอดภัย
เทคนิคและเครื่องมือเพื่อการปรับปรุงการเพิ่มผลผลิต ในองค์การ มี 2 เทคนิค ดังนี้ 1. เทคนิคพื้นฐาน กิจกรรมเพื่อความปลอดภัย กิจกรรม 5 ส วงจร PDCA กิจกรรมข้อเสนอแนะ กิจกรรม กลุ่มย่อย

16 การบริหารคุณภาพโดยรวม
2. เทคนิคขั้นสูง การบริหารคุณภาพโดยรวม Total Quality Management : TQM การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม Total Productive Maintenance : TPM การผลิตแบบทันเวลาพอดี Just In Time : JIT

17 ค่านิยมร่วม โครงสร้าง กลยุทธ์ รูปแบบ พนักงาน ทักษะ ระบบ Shared Values
Structure กลยุทธ์ Strategy รูปแบบ Style พนักงาน Staff ทักษะ Skill ระบบ System

18 วัตถุดิบ / ชิ้นส่วนต่าง ๆ
5M Material วัตถุดิบ / ชิ้นส่วนต่าง ๆ Machine เครื่องจักร / อุปกรณ์ Man พนักงาน Measurement การตรวจสอบคุณภาพ Method วิธีการทำงาน

19 ผังองค์ประกอบของระบบ
สภาพแวดล้อม Environment ข้อจำกัด ปัจจัยการผลิต Input กระบวนการ Process ผลผลิต Output ต้องทำอะไรกับปัจจัยนำ เข้าเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เป้าหมายที่ต้องการ ทรัพยากรที่จัดหามาจาก 6Ms การป้อนกลับ Feedback ข้อมูลนำกลับไปปรับปรุง

20 ปัจจัยการเพิ่มผลผลิต
Man and Machine พนักงานและอุปกรณ์ Value Added การเพิ่มมูลค่า Output สินค้า / บริการ Material วัตถุดิบ

21 ECRS เพื่อปรับปรุงกระบวนการ
หลักการปรับปรุงกระบวนการ      E = Eliminate = กำจัดงานที่ไม่จำเป็นออกจากระบวนการ      C = Combine = รวมงานที่มีลักษณะคล้ายกันเข้าด้วยกัน      R = Rearrange  = จัดลำดับการทำงานใหม่      S = Simplify = จัดระบบการทำงานให้ง่ายขึ้นเสมอ ECRS Eliminate ตัด Combine รวม Rearrange เรียง Simplify ง่าย

22 คำถาม 5 ข้อ ดังนี้ 1. การเพิ่มผลผลิตเริ่มขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใคร 2. การเพิ่มผลผลิต แบบภาษาอังกฤษเรียกว่าอะไร 3. ความหมายการเพิ่มผลผลิตจาก 2 แนวคิด มีอะไรบ้าง 4. การวัดค่าการเพิ่มผลผลิตวัดได้ใน 2 ลักษณะ มีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่าง 5. การใช้ปัจจัยการผลิตเท่าเดิมแต่ทำให้ผลิตผลเพิ่มขึ้น โดยมากเราจะใช้แนวทางนี้ เมื่อเศรษฐกิจอยู่ในภาวะอะไร

23 รายชื่อสมาชิกกลุ่มที่ 3
นายภณชนก บุณยกะลิน ปวส.พ. 1/4 สาขาการโรงแรม นางสาวกัญญณัชชา พูนสวัสดิ์ ปวส.พ. 1/4 สาขาการโรงแรม เลขที่ 5 นางสาววัริศรา อุทรักษ์ ปวส.พ. 1/4 สาขาการโรงแรม เลขที่ 6 นายไพฑูรย์ โคตะพันธ์ ปวส.พ. 1/4 สาขาการโรงแรม เลขที่ 7 นางสาวจุไรรัตน์ คำนนท์ ปวส.พ. 1/4 สาขาการโรงแรม เลขที่ 8 นางสาวสุนีย์ มีภูมิ ปวส.พ. 1/4 สาขาการโรงแรม เลขที่ 10


ดาวน์โหลด ppt ความเป็นมาและความสำคัญ ของการเพิ่มผลผลิต

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google