ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
การวิเคราะห์งบการเงิน
และการใช้ประโยชน์ ณัฐชาภรณ์ เฉลยถิ่น เบอร์ติดต่อ ,
2
ความหมายของการวิเคราะห์...
กระบวนการหา ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ โดยนำเครื่องมือ หรือเทคนิคต่างๆ มาใช้วิเคราะห์ และจำแนกแยกแยะ หาความสัมพันธ์ ระหว่างรายการต่างๆ แล้วนำข้อเท็จจริงจากการวิเคราะห์ มาใช้ประกอบการตัดสินใจทางการเงิน
3
วัตถุประสงค์การวิเคราะห์
1. เพื่อช่วยกลั่นกรองข้อมูลเบื้องต้นเพื่อวิเคราะห์ 2. เพื่อให้เข้าใจและทราบฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน 3. ใช้วินิจฉัยปัญหาการบริหารงาน 4. เป็นเครื่องมือประเมินผลการบริหารงาน ของฝ่ายบริหารและฝ่ายจัดการ ฯลฯ
4
ผู้ใช้ประโยชนจากผลการวิเคราะห์...
วางแผน / ควบคุมการเงิน ผลตอบแทน / เงินปันผล วิเคราะห์ความเสี่ยง ผู้บริหาร ผู้เป็นเจ้าของ ผู้ลงทุน การวิเคราะห์งบการเงิน เจ้าหนี้ บุคคลที่สนใจ ผู้สอบบัญชี ใช้ข้อมูลเพื่อการศึกษา วิเคราะห์สินเชื่อ ให้ข้อสังเกตกับผู้บริหาร
5
หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
สมาชิกสหกรณ์ วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อทราบถึงผลตอบแทนที่จะได้รับจากสหกรณ์ จ่ายเงินปันผลตามหุ้น และเงินเฉลี่ยคืนตามส่วนธุรกิจ คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อทราบถึงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของสหกรณ์ รวมทั้ง วินิจฉัยปัญหาต่างๆ เพื่อวางแผน ควบคุมทางการเงิน ปรับปรุงการบริหารงาน สถาบันการเงิน หรือเจ้าหนี้ วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อแก่สหกรณ์ ผู้สอบบัญชี วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อทราบประสิทธิภาพในการบริหารการเงินของสหกรณ์ และให้ข้อสังเกต หรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่สหกรณ์ ผู้ตรวจสอบกิจการ วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำด้านการบริหารการเงินแก่สหกรณ์ หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ทางการเงินเพื่อวางแผนพัฒนาและส่งเสริมสหกรณ์ให้มีความมั่นคง เข้มแข็งต่อไป
6
เทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์...
การวิเคราะห์แนวตั้ง (แนวดิ่ง) การวิเคราะห์แนวโน้ม (แนวนอน) การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
7
= รายการ ……. X 100 ยอดรวมรายการ.....
การวิเคราะห์แนวตั้ง (Vertical Analysis) เป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรายการต่างๆ ในงบการเงินเดียวกัน ในรูป ร้อยละ (Percentage) ในลักษณะของการย่อส่วนลดขนาดตัวเลขของรายการ สูตรการคำนวณ = รายการ ……. X 100 ยอดรวมรายการ.....
8
การวิเคราะห์แนวตั้ง (Vertical Analysis)
สินทรัพย์รวม หนี้สินและทุน งบดุล เป็นร้อยละของ รายได้ งบกำไรขาดทุน เมื่อย่อส่วนเป็นอัตราร้อยละแล้วจะทำให้ตัวเลขงบการเงินเป็นฐานเดียวกันสามารถเปรียบเทียบกันได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
9
การวิเคราะห์งบดุล ◌ วิเคราะห์ทุกรายการ ◌ วิเคราะห์เฉพาะกลุ่มรายการ
การวิเคราะห์แนวตั้ง (Vertical Analysis) การวิเคราะห์งบดุล เป็นการย่อส่วนรายการในงบดุล เป็น % เทียบกับยอดสินทรัพย์รวม หรือหนี้สินและทุนของสหกรณ์ ◌ วิเคราะห์ทุกรายการ ◌ วิเคราะห์เฉพาะกลุ่มรายการ
10
เงินสดและเงินฝากธนาคาร 24.76 12.92 %
เงินสดและเงินฝากธนาคาร % เงินลงทุนระยะสั้น % เงินลงทุนระยะยาว % เงินให้กู้ยืมระยะยาว % สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น % เงินให้กู้ยืมระยะสั้น % เครื่องใช้สำนักงาน-สุทธิ % รวมสินทรัพย์ % วิเคราะห์ครบทุกรายการ
11
ตัวอย่างการวิเคราะห์เฉพาะกลุ่มรายการ
สินทรัพย์ เงินลงทุนระยะสั้น % เงินให้กู้ยืมระยะสั้น % เงินสดและเงินฝากธนาคาร % สินทรัพย์หมุนเวียน สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น % รวมสินทรัพย์หมุนเวียน %
12
การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน
การวิเคราะห์แนวตั้ง (Vertical Analysis) การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน เป็นการย่อส่วนรายการในงบกำไรขาดทุน เป็น % เทียบกับยอดรวมรายได้ดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการลงทุน
13
รายได้ดอกเบี้ย/ลงทุน 10.80 100
ปีนี้ % รายได้ดอกเบี้ย/ลงทุน บวก รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย รายได้ดอกเบี้ย/ลงทุนสุทธิ หัก คชจ.ดอกเบี้ย/ลงทุน หัก ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน กำไรสุทธิ หน่วยเป็นล้านบาท
14
การวิเคราะห์อัตราร้อยละแนวโน้ม (Trend Percentage Analysis)
เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่ 2 ปี ขึ้นไป ในรูปของอัตราส่วนเพิ่มขึ้น / ลดลง
15
ย่อส่วนจำนวนเงินของแต่ละรายการในงบการเงิน โดยใช้ปีใดปีหนึ่งเป็นปีฐาน และให้เทียบปีฐาน เท่ากับ 100
เมื่อย่อส่วนแล้วจะทำให้เห็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของรายการนั้นในแต่ละปีว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไรเมื่อเทียบกับปีฐาน รายการ ปีที่ 1 ปีที่ 2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5 งบดุล งบกำไรขาดทุน ปีฐาน = 100 แต่ละปีเป็น % ของปีฐาน
16
วิธีการ... วิเคราะห์แนวโน้มจากข้อมูลเดิม
วิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม
17
การวิเคราะห์แนวโน้มจากข้อมูลเดิม
ศึกษาจากข้อมูลที่ได้มาโดยตรงในรูปจำนวนเงิน ในช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกันจากอดีตถึงปัจจุบัน
18
การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐาน เคลื่อนที่
การวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐาน คงที่ การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐาน เคลื่อนที่
19
© ใช้ปีใดปีหนึ่งเป็นปีฐานเพียงปีเดียว
ขั้นตอนการวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐานคงที่ © ใช้ปีใดปีหนึ่งเป็นปีฐานเพียงปีเดียว © เทียบปีฐานเป็น 100 © นำข้อมูลรายการเดียวกันของปีอื่น ๆ เทียบเป็น อัตราร้อยละกับปีฐาน
20
อัตราร้อยละของปีที่ต้องการทราบ
สูตรการคำนวณ.... อัตราร้อยละของปีที่ต้องการทราบ = ตัวเลขของปีที่ต้องการทราบ X 100 ตัวเลขของปีฐานคงที่
21
การวิเคราะห์อัตราร้อยละของ ปีฐานคงที่
หน่วย : พันบาท รายได้ , , , ,230 ร้อยละ
22
วัว ดาว หมู เบบี้ กำไร ระยะเวลา วงจรธุรกิจ
23
กราฟแสดงผลการดำเนินงาน-กำไรสุทธิ
หน่วย : ล้านบาท
24
คำนวณหาอัตราร้อยละของการเพิ่ม / ลด
ขั้นตอน การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐานเคลื่อนที่ คำนวณหาอัตราร้อยละของการเพิ่ม / ลด ไม่เจาะจงปีใดปีหนึ่งเป็นปีฐาน ปีฐานเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ
25
การวิเคราะห์อัตราร้อยละของปีฐานเคลื่อนที่
สูตรการคำนวณ... อัตราการเพิ่ม/ลด ของปีที่ต้องการทราบ = ตัวเลขของปีที่ต้องการ - ตัวเลขของปีก่อน X 100 ตัวเลขของปีก่อน
26
2552 2553 2554 2555 2556 อัตราเพิ่ม / ลด ของปีที่ต้องการทราบ
= ตัวเลขของปีที่ต้องการ - ตัวเลขของปีก่อน X 100 ตัวเลขของปีก่อน รายได้ , , , ,230 ร้อยละ (10)
27
ปีนี้ ปีก่อน เพิ่ม/(ลด) %
รายได้ดอกเบี้ยฯ บวก รายได้อื่น รายได้ดอกเบี้ยสุทธิ หัก คชจ.ดอกเบี้ยฯ หัก ค่าใช้จ่ายฯ (0.08) (7.77) กำไรสุทธิ
28
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
(Financial Ratio Analysis)
29
1. การวิเคราะห์รายการในงบดุล
วิธีการคำนวณ 1. การวิเคราะห์รายการในงบดุล รายการในงบดุลที่สนใจ x 100 สินทรัพย์รวม ตัวอย่าง ร้อยละของเงินสดและเงินฝากธนาคารต่อสินทรัพย์รวม ยอดเงินสดและเงินฝากธนาคาร x 100 สินทรัพย์รวม 600, x 100 23,168,788.40 ปี = = % ปี = 900, x 100 24,388,905.83 = %
30
การวิเคราะห์งบดุล โดยวิธีย่อส่วนตามแนวดิ่ง
เน้นให้เห็นถึง การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างการลงทุนในสินทรัพย์ ลักษณะของการลงทุน - สั้น (สินทรัพย์สภาพคล่อง) - เงินให้กู้ยืม - ยาว (สินทรัพย์ระยะยาว, ที่ดิน อาคารฯ) สัดส่วนของสินทรัพย์แต่ละประเภท - สินทรัพย์ก่อให้เกิดรายได้ - สินทรัพย์ไม่ก่อให้เกิดรายได้
31
การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางการเงิน
ลักษณะของการจัดหาทุน - หนี้สิน → เงินรับฝาก, เงินกู้ยืม - ทุนเรือนหุ้น - ทุนสำรอง & ทุนสะสมอื่น ๆ
32
สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ รายการสินทรัพย์หรือเงินลงทุนต่างๆ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เช่น เงินสดในมือ เงินฝากธนาคาร เงินฝากสหกรณ์ เงินลงทุนชั่วคราว ที่สามารถไถ่ถอนเป็นเงินสดได้ทันที ได้แก่ - พันธบัตรรัฐบาล - พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกัน - ตั๋วสัญญาใช้เงิน - ตราสารทางการเงินอื่น
33
สินทรัพย์ระยะยาว คือ รายการสินทรัพย์หรือเงินลงทุนต่างๆ ที่มีระยะเวลาเกิน 1 ปีขึ้นไป เช่น เงินฝากธนาคาร – ประจำ เงินฝากสหกรณ์ – ประจำ เงินลงทุนระยะยาว ได้แก่ - พันธบัตรรัฐบาล - พันธบัตรรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกัน - ตั๋วสัญญาใช้เงิน - หุ้นชุมนุมสหกรณ์ - หุ้นกู้ - ตราสารทางการเงินอื่น
34
สหกรณ์ออมทรัพย์ลั้นลา จำกัด
สหกรณ์ออมทรัพย์ลั้นลา จำกัด งบดุล ณ วันที่ 31 ธันวาคม และ 2555 ปี 2556 ปี 2555 บาท % สินทรัพย์ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เงินลงทุนระยะยาว 1,955,000.00 8.02 1,437,000.00 6.20 เงินให้กู้ยืมระยะยาว 9,748,219.25 39.97 9,702,313.25 41.88 ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์-สุทธิ 4,248,394.16 17.42 4,504,632.24 19.44 สิทธิในการใช้ซอฟท์แวร์ 3,663.21 0.01 6,017.21 0.03 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น 213,820.79 0.88 208,875.35 0.90 รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 16,169,097.41 66.30 15,858,838.05 68.45 รวมสินทรัพย์ 24,388,905.83 100 23,168,788.40
35
ข้อสังเกต... การวิเคราะห์มักจะเลือกเฉพาะรายการที่สนใจเทียบกับ สินทรัพย์รวมหรืออาจเปรียบเทียบในกลุ่มย่อยลงไป เช่น เทียบ รายการเงินสดเงินฝากธนาคารเป็น ร้อยละ ของสินทรัพย์ หมุนเวียน การแสดงยอดเป็นร้อยละ เมื่อต้องเปรียบเทียบรายการใน บางครั้งสินทรัพย์ที่เปรียบเทียบมีจำนวนเงินเท่ากับปีก่อน แต่จาก ยอดรวมสินทรัพย์ที่เปลี่ยนไปทำให้ยอดที่แสดงเป็นร้อยละ เปลี่ยนไปด้วย
36
ข้อสังเกต... การวิเคราะห์หากต่อเนื่องหลายปี จะทำให้เห็นการ เปลี่ยนแปลง
ในโครงสร้างอย่างต่อเนื่อง หากรายการที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นรายการที่ มีสาระสำคัญในงบการเงินที่อาจก่อให้เกิดปัญหาผู้วิเคราะห์จะได้ หาหนทางที่จะแก้ไขดังกล่าวได้ทันท่วงที
37
การวิเคราะห์รายการในงบกำไรขาดทุน
รายการในงบกำไรขาดทุนที่สนใจ x 100 ขาย/บริการ (รายได้หลัก) ตัวอย่าง ร้อยละของดอกเบี้ยจ่ายต่อดอกเบี้ยรับจากเงินให้กู้(รายได้หลัก) ดอกเบี้ยจ่าย x 100 ดอกเบี้ยรับจากเงินให้กู้ 391, x 100 ปี = = % 1,511,000.00 455, x 100 ปี = = % 1,756,851.23
38
การวิเคราะห์งบกำไรขาดทุนโดยวิธีย่อส่วนตามแนวดิ่ง
เน้นให้เห็นถึง การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้าง รายได้ รายได้หลัก รายได้เฉพาะธุรกิจ รายได้อื่น ค่าใช้จ่าย ต้นทุน ค่าใช้จ่ายเฉพาะธุรกิจ ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน กำไร หรือ ขาดทุน ผลการวิเคราะห์ ทำให้ทราบถึง สัดส่วนของรายได้และค่าใช้จ่าย ความสามารถในการหากำไร การเปลี่ยนแปลงของอัตรากำไรเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปีก่อน
39
ตัวอย่าง ถ้าให้ปี 2554 เป็นปีฐาน มียอดเงินลงทุนระยะยาว 1,300,000 บาท
วิธีการคำนวณ อัตราร้อยละของแนวโน้มของรายการบัญชี ที่สนใจของปีใดปีหนึ่ง เทียบกับปีฐาน เท่ากับ ข้อมูลรายการบัญชีของปีนั้น x 100 ข้อมูลของปีฐาน ตัวอย่าง ถ้าให้ปี 2554 เป็นปีฐาน มียอดเงินลงทุนระยะยาว 1,300,000 บาท ☼ อัตราร้อยละของแนวโน้มของเงินลงทุนระยะยาว 1,437,000 x 100 (ปี 2556) = = % 1,300,000 1,955,000 x 100 (ปี 2555) = = % 1,300,000
40
อัตราร้อยละของแนวโน้มของรายการบัญชี โดยใช้ปีฐานเคลื่อนที่ เท่ากับ
วิธีการคำนวณ อัตราร้อยละของแนวโน้มของรายการบัญชี โดยใช้ปีฐานเคลื่อนที่ เท่ากับ ข้อมูลรายการบัญชีของปีปัจจุบัน x 100 ข้อมูลของปีก่อน ตัวอย่าง ถ้าให้ปี มียอดเงินลงทุนระยะยาว 1,300,000 บาท - อัตราร้อยละของแนวโน้มของเงินลงทุนระยะยาวแบบปีฐานเคลื่อนที่ 1,437,000 x 100 (ปี 2555) = = % 1,300,000 1,955,000 x 100 (ปี 2556) = = % 1,437,000
41
การวิเคราะห์งบการเงินวิธีย่อส่วนตามแนวราบ
แนวโน้มหรือทิศทางหรืออัตราการเติบโตของ สินทรัพย์ต่าง ๆ แหล่งเงินทุนต่าง ๆ ของรายได้ ค่าใช้จ่าย และผลการดำเนินงาน เน้นให้เห็นถึง ผลการวิเคราะห์ ทำให้ทราบถึง แนวโน้มหรือทิศทางหรืออัตราการเติบโตสูงขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลง หรือลดลง แนวโน้มทางการเงินและการดำเนินงานน่าพอใจหรือไม่ มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีหรือไม่ สามารถใช้ประโยชน์ในการพยากรณ์เหตุการณ์ ทางการเงินที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ใช้ในการเตือนภัยล่วงหน้า
42
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน
การนำรายการทางการเงินในงบการเงินมาแสดงความสัมพันธ์กันในรูปสัดส่วนหรือร้อยละ ความสัมพันธ์ระหว่างรายการ อาจเป็นรายการในงบเดียวกัน หรือต่างงบกันก็ได้ ผลที่ได้จะช่วยประเมินฐานะทางการเงิน ประสิทธิภาพ และความสามารถในการหาผลตอบแทน การนำอัตราส่วนทางการเงินมาแปลความหมาย โดยนำมาเปรียบเทียบกับ - ค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมเดียวกัน - อัตราส่วนของสหกรณ์ของในอดีต
43
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน โดยอาศัยระบบ “””PEARLS
P (Protection) การป้องกันความเสี่ยง E (Effective financial structure) โครงสร้างทางการเงินที่มี ประสิทธิภาพ A (Asset quality) คุณภาพของสินทรัพย์ R (Rates of return and cost) อัตราผลตอบแทนและต้นทุน L (Liquidity) สภาพคล่อง S (Signs of growth) สัญญาณแสดงการเติบโต
44
การป้องกันความเสี่ยง (Protection)
จำนวนเงินค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ x 100 จำนวนหนี้ค้างมากกว่า 12 เดือนขึ้นไป P1 = 100% จำนวนเงินค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ x 100 จำนวนหนี้ค้างน้อยกว่า 12 เดือน P2 = 35% ผลการวิเคราะห์ ทำให้ทราบถึง ความเพียงพอของการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเมื่อเปรียบเทียบจำนวนหนี้ที่อาจเสีย ผลกระทบ ถ้าคุ้มครองหนี้เสียไม่เพียงพอ งบแสดงมูลค่าสินทรัพย์สูงเกินจริง กำไรสุทธิแสดงไว้สูงเกินจริง
45
โครงสร้างทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ (Effective financial structure)
สามารถใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์งบดุลโดยวิธีย่อส่วนตามแนวดิ่งได้ เงินให้กู้ทั้งสิ้น x 100 สินทรัพย์รวม 70-80% E3 = โครงสร้างการลงทุนในสินทรัพย์ ควรลงทุนในสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้ และให้ผลตอบแทนสูง ซึ่งในธุรกิจของสหกรณ์ผลตอบแทนที่ได้รับจากการให้เงินกู้กับสมาชิก ถือว่ามีผลตอบแทนที่ดี จึงควรมีสัดส่วนการลงทุน % การวิเคราะห์ ถ้า % ของเงินให้กู้ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ต้องพิจารณาหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และหาทางแก้ไข เช่น ระเบียบให้กู้ได้ไม่เกิน 90 % ของทุนเรือนหุ้น สมาชิกกู้เต็มเพดานแล้ว สมาชิกไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินแล้ว ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ คือ ความเสี่ยงเกี่ยวกับผู้กู้ ความเสี่ยงเกี่ยวกับผู้ค้ำประกัน ความเสี่ยงจากระยะเวลาการชำระหนี้ ความเสี่ยงจากเอกสารสัญญา ความเสี่ยงจากสถานการณ์สภาพแวดล้อม
46
โครงสร้างทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ (Effective financial structure)
สินทรัพย์สภาพคล่อง x 100 สินทรัพย์รวม ไม่เกิน 20% E4 = สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์สภาพคล่องนั้นในปัจจุบัน เป็นการดำรงรักษาเงินไว้เพื่อจ่ายคืนให้สมาชิกที่มาถอนเงินฝาก และไว้จ่ายเงินกู้ฉุกเฉินเท่านั้น จึงควรมีสัดส่วนไม่มากนัก การวิเคราะห์ ถ้า % ของสินทรัพย์สภาพคล่องสูง สหกรณ์จะเสียประโยชน์เนื่องจากสินทรัพย์สภาพคล่องส่วนใหญ่ได้รับผลตอบแทนน้อยหรือแทบไม่ได้เลย สหกรณ์อาจพิจารณาจากข้อมูลที่ผ่านมาเพื่อกำหนดวงเงินที่เหมาะสมในการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ แต่ถ้ากำหนดไว้น้อยเกินไปเมื่อสมาชิกมาถอนเงินแล้วมีไม่พอจ่ายจะทำให้เสียภาพพจน์จึงต้องระมัดระวังด้วย
47
โครงสร้างทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ (Effective financial structure)
เงินรับฝาก x 100 สินทรัพย์รวม 70-80% E5 = เงินรับฝากจากสมาชิก : เป็นแหล่งที่สามารถระดมเงินทุนโดยส่งเสริมให้เกิดการออมเงิน ทำให้สหกรณ์ ดำเนินงานโดยสามารถกำหนดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มรวมทั้งประชาสัมพันธ์เมื่อต้องการ เงินทุน หรือลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อชะลอการฝากเงิน สหกรณ์สามารถกำหนดต้นทุนที่ เหมาะสมได้ ถือเป็นแหล่งเงินทุนที่ต้นทุนต่ำกว่าแหล่งอื่น เป็นแหล่งเงินทุนที่แสดงให้เห็นความศรัทธา ความเชื่อมั่นของสมาชิกต่อสหกรณ์ เป็นแหล่งที่จะให้สมาชิกได้ออมเงิน โดยพิจารณาถึงผลตอบแทนที่ได้รับจากสหกรณ์ ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยเป็นแรงจูงใจ
48
โครงสร้างทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ (Effective financial structure)
เงินกู้ยืมจากภายนอก x 100 สินทรัพย์รวม ไม่เกิน 5% E6 = เงินกู้ยืมจากภายนอกส่วนใหญ่จะมีต้นทุนเงินทุนที่สูงกว่าดอกเบี้ยจ่ายเงินรับฝาก และมีระยะเวลาในการชำระหนี้ทั้งสั้น และยาว หากจะกู้เงินมาดำเนินธุรกิจ ต้องระวังไม่กู้หนี้ระยะสั้นมาปล่อยเงินกู้ให้สมาชิกระยะยาว เพราะอาจมีปัญหาขาดสภาพคล่องไม่สามารถชำระหนี้ระยะสั้นได้ตามกำหนด ในการบริการจัดการด้านหนี้สินภายนอก หากสหกรณ์สามารถใช้การระดมเงินฝากได้ การก่อหนี้ภายนอกจะทำเพื่อเสริมความจำเป็นในการใช้เงินระยะสั้น มักใช้การขอเปิดวงเงินเบิกเกินบัญชีธนาคาร หรือกู้โดยออกตั๋วสัญญาใช้เงินระยะสั้น
49
โครงสร้างทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ (Effective financial structure)
ทุนเรือนหุ้น x 100 สินทรัพย์รวม 10-20% E7 = ทุนเรือนหุ้น เป็นแหล่งเงินทุนที่มีระยะเวลาจ่ายคืนนาน ตราบเท่าที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ เป็นแหล่งเงินทุนที่ต้องจ่ายผลตอบแทนในรูปของเงินปันผล ซึ่งอัตราเงินปันผลที่จ่ายควร เป็นธรรมและเหมาะสม โดยอาจพิจารณาจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาว เป็นแหล่งเงินทุนที่หากสหกรณ์ประสบปัญหาขาดทุน ก็ไม่ต้องจ่ายเงินปันผล หรือกำไร น้อยก็สามารถจ่ายปันผลน้อยลงได้ ง่ายต่อการบริหารจัดการทางการเงิน แต่ต้อง ระมัดระวังในเรื่องภาพพจน์และศรัทธาของสมาชิกต่อสหกรณ์ ทุนเรือนหุ้นยังมีสภาพเป็นหลักประกันเงินกู้ให้แก่สมาชิกได้อีกด้วย ซึ่งหากนโยบายของ สหกรณ์ต้องการลดความเสี่ยงในการให้สินเชื่อ ก็อาจระดมหุ้นเพิ่มเติมตามความเหมาะสม ได้เช่นกัน
50
โครงสร้างทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ (Effective financial structure)
ทุนสำรอง x 100 สินทรัพย์รวม อย่างน้อย 10% E7 = ทุนสำรองเป็นแหล่งเงินทุนที่ไม่มีต้นทุน จึงเป็นส่วนที่เพิ่มรายได้ สำหรับชดเชยการขาดทุน ใช้ในการจัดสรรเข้าบัญชีทุนสำรองให้แก่สหกรณ์ใหม่ ที่ได้จดทะเบียนแบ่งแยกจากสหกรณ์เดิม ใช้ในการพิจารณาว่าควรมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ เช่น สินทรัพย์ถาวรต่าง ๆ หากสามารถจัดสรรกำไรสุทธิเป็นทุนสำรองได้ควรจัดสรรให้มาก ยิ่งขึ้น
51
คุณภาพของสินทรัพย์ (Asset quality)
จำนวนหนี้ค้างที่ผิดนัดทั้งสิ้น x100 เงินให้กู้ทั้งสิ้น A8 = น้อยกว่า 5% สินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ x 100 สินทรัพย์รวม A9 = น้อยกว่า 5% ลูกหนี้ที่ผิดนัดเป็นเครื่องวัดความอ่อนแอของสหกรณ์ หากมีอัตราส่วนสูง สหกรณ์ต้องเร่งหาวิธีแก้ไขปัญหา โดยการติดตามเร่งรัดหนี้สิน และอาจต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ในการให้สินเชื่อที่รัดกุม ดูความจำเป็นในการกู้เงิน พฤติกรรมของผู้ขอกู้ ความสามารถในการชำระหนี้ ความมั่นคงของหลักประกัน ตลอดจนระยะเวลาในการชำระหนี้เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดหนี้เสีย สินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น เงินสด เงินฝากธนาคารกระแสรายวันที่ดิน อาคาร อุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า วัสดุคงเหลือ บัญชีค้างรับ ฯ
52
อัตราผลตอบแทนและต้นทุน (Rates of return and cost)
รายได้รวมทั้งสิ้น x100 สินทรัพย์รวมถั่วเฉลี่ย อย่างน้อย 10% R10 = การพิจารณารายได้รวมทั้งสิ้นว่ามีสัดส่วนเป็นร้อยละเท่าใดของสินทรัพย์รวม ถั่วเฉลี่ย เป็นการแสดงให้เห็นว่าสหกรณ์นำสินทรัพย์ไปสร้างรายได้ เป็นอัตรา เท่าใด เช่น R 8 = 12 % แสดงว่าสหกรณ์มีสินทรัพย์รวม 100 บาท สามารถนำไป หารายได้ 12 บาท อัตราส่วนนี้สูงแสดงว่าสหกรณ์มีความสามารถในการใช้ สินทรัพย์ และมีการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ สำหรับสหกรณ์ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับสินเชื่อเป็นส่วนใหญ่ อัตราส่วนนี้ต้อง พิจารณาอัตราดอกเบี้ยในตลาดประกอบด้วย เนื่องจาก หากอัตราดอกเบี้ยที่ สหกรณ์คิดจากสมาชิกไม่ถึง 10 % โอกาสที่จะทำให้ R8 มีค่าเกิน 10 % เป็นไปได้ยากมาก
53
อัตราผลตอบแทนและต้นทุน (Rates of return and cost)
ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น - ดอกเบี้ยจ่าย x 100 สินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย น้อยกว่า = 10% R11 = ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น – ดอกเบี้ยจ่าย เป็นการพิจารณาอัตราค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของสหกรณ์ เมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวมถั่วเฉลี่ย ทำให้สหกรณ์ทราบว่า สหกรณ์มีต้นทุนของค่าใช้จ่ายเป็นร้อยละเท่าใดของสินทรัพย์ ตัวอย่าง สหกรณ์คิดดอกเบี้ยจากสมาชิก % มีต้นทุนจากดอกเบี้ยจ่าย 5 % มีต้นทุนค่าใช้จ่ายดำเนินงาน&อื่น ๆ % สหกรณ์จะมีส่วนเหลื่อมที่เป็นกำไร % สินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ย มาจาก สินทรัพย์รวมปีปัจจุบัน + สินทรัพย์รวมปีก่อน / 2
54
อัตราผลตอบแทนและต้นทุน (Rates of return and cost)
อย่างน้อย 10% กำไรสุทธิ x 100 สินทรัพย์รวมถั่วเฉลี่ย R12 = อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์นี้แสดงให้เห็นผลตอบแทน ที่ได้จากการลงทุนทั้งสิ้นหรือการใช้สินทรัพย์ ว่าได้ผลตอบแทนเพียงพอหรือไม่ เป็นอัตราที่ใช้วัดความสามารถของฝ่ายบริหาร ในการใช้สินทรัพย์ที่จะก่อให้เกิดกำไรคืนสู่สหกรณ์
55
สภาพคล่อง (Liquidity)
15-20% สินทรัพย์สภาพคล่อง-หนี้สินหมุนเวียน x 100 เงินรับฝาก L13 = สินทรัพย์สภาพคล่อง คือ รายการสินทรัพย์หรือเงินลงทุนต่างๆ ที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี หรือสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ง่าย เมื่อนำมาหักด้วยภาระหนี้สินที่ต้องจ่ายภายใน 1 ปี ก็จะเป็นสินทรัพย์ที่สามารถจ่ายคืนเงินฝากได้ ซึ่งอัตราส่วนนี้แสดงให้เห็นการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องว่ามีสัดส่วนเป็นเท่าใดของเงินรับฝากไว้ เพียงพอที่จะจ่ายคืนเมื่อสมาชิกมาถอนเงินหรือไม่
56
สภาพคล่อง (Liquidity)
เงินสดในมือ+เงินฝากกระแสรายวัน x 100 สินทรัพย์รวม L14 = น้อยกว่า 1% เงินสดในมือและเงินฝากกระแสรายวัน ถือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นการถือไว้เพื่อใช้เป็นสภาพคล่องในการดำเนินงาน หากสามารถทำได้ให้ดำรงไว้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
57
สัญญาณแสดงการเติบโต (Signs of growth)
ใช้วิธีการเปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินปีปัจจุบันกับปีก่อน 1. งบการเงินที่ใช้เปรียบเทียบ ต้องมีระยะเวลาดำเนินงานเท่ากัน 2. นำรายการแต่ละรายการในงบการเงินของปีปัจจุบันเทียบกับปีก่อน คำนวณหาผลการเปลี่ยนแปลงว่าเพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปีก่อนเป็นจำนวน เท่าใด เช่น สินทรัพย์รวมปีปัจจุบัน – ปีก่อน เพิ่มขึ้น/ลดลง บาท 3. นำผลจากการเปลี่ยนแปลงที่ได้ในข้อ 2 มาคำนวณเทียบเป็นร้อยละ จำนวนเงินปีปัจจุบัน – ปีก่อน x 100 จำนวนเงินปีก่อน อัตราร้อยละของการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น/(ลดลง) = ใช้วิธีการเปรียบเทียบข้อมูลที่ไม่ใช่ข้อมูลทางการเงินปีปัจจุบันกับปีก่อน เช่น จำนวนสมาชิก เป็นต้น
58
สัญญาณแสดงการเติบโต (Signs of growth)
สามารถใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์อัตราร้อยละของแนวโน้ม แบบปีฐานเคลื่อนที่ได้ จำนวนสมาชิกปีปัจจุบัน-สมาชิกปีก่อน x 100 จำนวนสมาชิกปีก่อน อย่างน้อย 12% S15 = สินทรัพย์รวมปีปัจจุบัน-สินทรัพย์รวมปีก่อน x 100 สินทรัพย์รวมปีก่อน อย่างน้อย 10% S16 = เป็นการแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงว่าในปีปัจจุบัน มีสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากปีก่อน คิดเป็นร้อยละเท่าใด เป็นตัววัดที่ทำให้เห็นภาพของการเติบโต ของรายการต่าง ๆ ที่สนใจ ใช้เปรียบเทียบผลงานกับแผนงานที่วางไว้ว่าบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ เพื่อแก้ไขปรับปรุงในอนาคตต่อไป
59
มีคำถามไหม ?
60
แล้วเรามาวิเคราะห์งบการเงินกัน.....
รับงบฯ... ลุย......
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.