ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กฎหมายสิ่งแวดล้อม ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม ที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการฟอก ขัด หรือเคลือบสีหนังสัตว์ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 22 พฤศจิกายน 2560 สงวนลิขสิทธิ์ โดย บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 1 1
2
สรุปสาระสำคัญ โรงงานอุตสาหกรรมกำหนดให้โรงงานลำดับที่ 29 โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่นหรือบด ฟอก ขัด และแต่ง แต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์ และโรงงานลำดับที่ 101 โรงงานปรับคุณภาพของเสียรวม (Central Waste Treatment Plant) ที่รับน้ำเสียเฉพาะจากโรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่นหรือบด ฟอก ขัดและแต่ง แต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์ ในลำดับที่ 29 ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ดำเนินการควบคุมการระบายน้ำทิ้งให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนี้กำหนด
3
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
นิคมอุตสาหกรรมที่มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมซึ่งรับน้ำเสียเฉพาะจากโรงงานลำดับที่ 29 โรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่นหรือบด ฟอก ขัด และแต่ง แต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์ ให้ดำเนินการควบคุมการระบายน้ำทิ้งให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนี้กำหนด
4
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
เขตประกอบการอุตสาหกรรมหรือพื้นที่จัดสรรเพื่อการอุตสาหกรรมที่มีการจัดการระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือออกสู่สิ่งแวดล้อมร่วมกันที่มีระบบบำบัดน้ำเสียรวมซึ่งรับน้ำเสียเฉพาะจากโรงงานหมัก ชำแหละ อบ ป่นหรือบด ฟอก ขัดและแต่ง แต่งสำเร็จ อัดให้เป็นลายนูน หรือเคลือบสีหนังสัตว์ ในลำดับที่ 29 ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน ให้ดำเนินการควบคุมการระบายน้ำทิ้งให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานที่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนี้กำหนด
5
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ยกเลิกข้อความในข้อ 1.6 และข้อ 4.4 แห่งประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง กำหนดประเภทของโรงงานอุตสาหกรรมที่อนุญาตให้ระบายน้ำทิ้งให้มีค่ามาตรฐานแตกต่างจากค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2539) เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2539
6
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
กำหนดค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม ไว้ดังต่อไปนี้ 1) ความเป็นกรดและด่าง (pH) ตั้งแต่ 6 ถึง 9 2) อุณหภูมิ (Temperature) ไม่เกิน 40 °C 3) สี (Color) ไม่เกิน 300 ADMI 4) ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids หรือ TDS) มีค่าดังนี้ 4.1) กรณีระบายลงแหล่งน้ำ ต้องไม่เกิน 3,000 mg/l 4.2) กรณีระบายลงแหล่งน้ำที่มีค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมดเกินกว่า 5,000 mg/l ค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมดในน้ำทิ้งที่จะระบายได้ต้องมีค่าเกินกว่าค่าของแข็งละลายน้ำทั้งหมดที่มีอยู่ในแหล่งน้ำนั้นไม่เกิน 5,000 mg/l
7
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
5) ของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solids) ไม่เกิน 50 mg/l 6) บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 50 mg/l 7) ซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 250 mg/l 8) ซัลไฟด์ (Sulfide) ไม่เกิน 1 mg/l 9) น้ำมันและไขมัน (Fat Oil and Grease) ไม่เกิน 5 mg/l 10) สารประกอบฟีนอล (Phenols) ไม่เกิน 0.5 mg/l 11) ทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen) ไม่เกิน 100 mg/l 12) ฟอสฟอรัสทั้งหมด (Total Phosphorous) ไม่เกิน 2 mg/l 13) โครเมียมเฮกซะวาเลนท์ (Hexavalent Chromium) ไม่เกิน 0.1 mg/l 14) โครเมียมทั้งหมด (Total Chromium) ไม่เกิน 0.8 mg/l
8
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
การตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม ให้ใช้วิธีดังต่อไปนี้ 1) ความเป็นกรดและด่าง ให้ใช้เครื่องวัดความเป็นกรดและด่างของน้ำ (pH Meter) ที่มีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 0.1 2) อุณหภูมิ ให้ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิวัดขณะทำการเก็บตัวอย่าง 3) สี ให้ใช้วิธีเอดีเอ็มไอ (ADMI Method) 4) ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด ให้ใช้วิธีระเหยตัวอย่างที่กรองผ่านกระดาษกรองใยแก้ว (Glass Fiber Filter Disc) และอบแห้งที่อุณหภูมิ 180 °C เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
9
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
5) ของแข็งแขวนลอย ให้ใช้วิธีกรองผ่านกระดาษกรองใยแก้ว (Glass Fiber Filter Disc) และอบแห้งที่อุณหภูมิ °C เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชั่วโมง 6) บีโอดี ให้ใช้วิธีการบ่มตัวอย่างที่อุณหภูมิ 20 °C เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน และหาค่าออกซิเจนละลายด้วยวิธีเอไซด์โมดิฟิเคชั่น (Azide Modification) หรือวิธีเมมเบรน อิเลคโทรด (Membrane Electrode) 7) ซีโอดี ให้ใช้วิธีย่อยสลายโดยใช้โพแทสเซียม ไดโครเมต (Potassium Dichromate) 8) ซัลไฟด์ ให้ใช้วิธีไอโอโด เมตริก (Iodometric Method) หรือวิธีเมทิลีน บลู (Methylene Blue Method)
10
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
9) น้ำมันและไขมัน ให้ใช้วิธีสกัดด้วยเทคนิค Liquid – Liquid Extraction หรือ Soxhlet Extraction ด้วยตัวทำละลายแล้วแยกหาน้ำหนักของน้ำมันและไขมัน 10) สารประกอบฟีนอล ให้ใช้การกลั่น (Distillation) และตรวจวัดด้วยวิธีเทียบสี (Colorimetric Method) 11) ทีเคเอ็น ให้ใช้วิธีเจลดาห์ล (Kjeldahl) 12) ฟอสฟอรัสทั้งหมดให้ใช้วิธี Digestion Methods หรือวิธีเทียบสี (Colorimetric Method)
11
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
13) โครเมียมเฮกซะวาเลนท์ ให้ใช้วิธีเทียบสี (Colorimetric Method) หรือวิธีสกัดและตรวจวัดด้วยวิธีอะตอมมิค แอบซอร์พชั่น สเปคโตรเมตตรี (Atomic Absorption Spectrometry: AAS) หรือวิธีสกัดและตรวจวัดด้วยวิธีอินดักทีฟลี คัพเพิล พลาสม่า (Inductively Coupled Plasma) 14) โครเมียมทั้งหมด ให้ใช้วิธีให้ใช้วิธีย่อยสลายตัวอย่างด้วยกรด (Acid digestion) และวัดหาปริมาณโลหะด้วยวิธีอะตอมมิค แอบซอร์พชั่น สเปคโตรเมตตรี (Atomic Absorption Spectrometry: AAS) หรือวิธีอินดักทีฟลี คัพเพิล พลาสม่า (Inductively Coupled Plasma)
12
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
วิธีตรวจสอบค่ามาตรฐานน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม ให้เป็นไปตามคู่มือวิเคราะห์น้ำและน้ำเสียของสมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย หรือ Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater ซึ่ง American Public Health Association, American Water Work Association และ Water Environment Federation ของประเทศสหรัฐอเมริกากำหนด หรือตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษประกาศในราชกิจจานุเบกษา
13
สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ สรุปสาระสำคัญ
การเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งเพื่อการตรวจสอบมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม ให้เก็บแบบจ้วง (Grab Sample) ในจุดระบายทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อมหรือจุดอื่นที่สามารถใช้เป็นตัวแทนของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงานอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม หรือเขตประกอบการอุตสาหกรรม ในกรณีมีการระบายทิ้งหลายจุดให้เก็บทุกจุด
14
บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 6/8 ถ.มาเจริญ แขวงหนองแขม
ติดต่อเรา บริษัท เอไอเอ็ม คอนซัลแตนท์ จำกัด 6/8 ถ.มาเจริญ แขวงหนองแขม เขตหนองแขม กทม Tel , Fax :
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.