งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

กรวรรณ งามสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "กรวรรณ งามสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 กรวรรณ งามสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา
ใบ กรวรรณ งามสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา

2 ใบ(leaf) เป็นอวัยวะของพืชที่ส่วนใหญ่มีรูปร่างแผ่กว้างและมักมีสีเขียวของคลอโรฟีลล์

3 โครงสร้างของใบ 1. ลักษณะภายนอก ลักษณะภายนอกของใบแบ่งเป็น 3 ส่วน แผ่นใบ (leaf blade) มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างและขนาดแตกต่างกันแผ่นใบประกอบด้วยเส้นกลางใบ (midrib) เส้นใบ (vein) ปลายใบ (apex) โคนใบ (base) และขอบใบ (margin) ก้านใบ (petiole / stalk) คือส่วนที่เชื่อมระหว่างแผ่นใบและลำต้น หูใบ (stipule) เป็นรยางค์ที่อยู่โคนก้านใบ พืชบางชนิดหูใบอาจลดรูปหรือไม่ปรากฏ

4

5 ด้านหน้าและหลังใบ

6 เพราะเหตุใดใบพืชส่วนใหญ่จึงมีลักษณะแบน

7 1. โครงสร้างภายนอกของใบ
       ใบของพืชส่วนใหญ่ประกอบด้วยส่วนแบนๆ ที่แผ่ขยายออกไปเรียกว่า แผ่นใบ (blade) และมีก้านใบ(petiole) เชื่อมติดอยู่กับลำต้นหรือกิ่งทางด้านข้าง และอาจมีหูใบ (stipule) ที่โคนก้านใบ  การที่ใบพืชมีลักษณะแบนมีประโยชน์ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการรับแสงเพื่อให้ได้พลังงานไปใช้ในการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ และช่วยในการระบายความร้อน

8 ส่วนใหญ่ใบไม้มักมีสีเขียวแต่การที่นักเรียนมองเห็นใบไม้บางชนิดมีสีเหลืองหรือสีแดงเป็นเพราะเหตุใด

9

10 โดยทั่วๆไปใบของพืชมีสีเขียวเนื่องจากคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารรับสีที่รับพลังงานแสง แต่ใบบางชนิดมีสีแดงหรือม่วง เป็นเพราะภายในใบมีการสร้างสารสีอื่นๆ เช่น แอนโทไซยานิน (anthocyanin) แคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งถ้ามีมากกว่าคลอโรฟิลล์จะทำให้ใบมีสีแดงหรือเหลือง

11 ในพืชใบเลี้ยงคู่จะมี เส้นใบ (vein) แตกแขนงออกมาจากเส้นกลางใบ (midrib) เพื่อให้การลำเลียงสารต่างๆ จากท่อลำเลียงไปสู่ทุกๆ เซลล์ของใบได้ทั่วถึง  ก้านใบของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวอาจเป็นกาบที่มีเส้นใบขนาดใหญ่เรียงขนานกันจนถึงปลายใบ พืชแตกแขนงตั้งฉากกับเส้นใบใหญ่ เช่น ใบกล้วย และเส้นใบย่อยก็ยังเรียงขนานกันเองอีกด้วย

12

13

14 การจัดเรียงของใบบนลำต้น(leaf arrangement) สลับ(alternation)
แบบตรงข้าม แบบสลับ แบบวงรอบ(whorled

15 2. โครงสร้างภายในของใบ        ประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่างๆ เช่นเดียวกับลำต้น

16

17 1. เอพิเดอร์มิส เป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น ได้แก่ เซลล์ผิว  เซลล์ขน หรือเปลี่ยนไปเป็นเซลล์คุม (guard cell) ภายในเซลล์ผิวมักไม่ค่อยมีคลอโรพลาสต์หรือมีน้อยยกเว้นเซลล์คุม  เซลล์ผิวมีคิวทินเคลือบอยู่ที่ผนังเซลล์ด้านนอกเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำออกจากใบ  เซลล์คุมมีรูปร่างคล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว 2 เซลล์ประกบกัน 

18 พืชที่ใบลอยปริ่มน้ำ เช่น บัวสาย จะมีปากใบ (stoma) อยู่เฉพาะทางด้านบนของใบเท่านั้น ส่วนพืชที่จมอยู่ใต้ผิวน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอกจะไม่มีปากใบและไม่มีคิวทินฉาบผิว ใบพืชบางชนิดมีปากใบทั้งด้านบนและด้านล่าง เช่น ใบข้าวโพด

19 2. มีโซฟิลล์ (mesophyll) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มี คลอโรพลาสต์จำนวนมาก โดยทั่วไปพาเรงคิมาในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเซลล์ 2 แบบ ทำให้โครงสร้างภายในแบ่งเป็น 2 ชั้นคือ        1. แพลิเซดมีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) มักพบอยู่ใต้ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบน ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวตั้งฉากกับผิวใบคล้ายรั้วอาจมีแถวเดียวหรือหลายแถว ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์ค่อนข้างหนาแน่นมาก

20 2. สปันจีมีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาจนถึงชั้นเอพิเดอร์มิส ด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างๆ กัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์มาก ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นแต่น้อยกว่า แพลิเซดมีโซฟิลล์

21 3. มัดท่อลำเลียง ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอ็ม โดยไซเลมและโฟลเอ็มจะเรียงติดต่อถึงกันอยู่ในเส้นใบ พืชบางชนิดมัดท่อลำเลียงจะล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท (bundle sheath) เช่น ใบข้าวโพด  บันเดิลชีทในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อไฟเบอร์ช่วยทำให้มัดท่อลำเลียงแข็งแรงเร็วขึ้น ในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ซึ่งจะมีคลอโรพลาสต์หรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช  มัดท่อลำเลียงส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้น สปันจีมีโซฟิลล์

22 เนื้อเยื่อใบมรกตหยก ที่มา : กรวรรณ งามสม

23

24

25 ใบเฟื่องฟ้า ที่มา : กรวรรณ งามสม

26 ที่มา : กรวรรณ งามสม

27

28 Epidermis Palisade Cell Stomata CO2

29 ภาพแสดงโครงสร้างภายในของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตัดตามขวาง

30

31 พืชC3และC4

32 หน้าที่ของใบ          ใบมีหน้าที่สำคัญคือ สร้างอาหารโดยวิธีสังเคราะห์ด้วยแสง  หายใจ  คายน้ำ และแลกเปลี่ยนแก๊สพืชที่เจริญในที่แห้งแล้งจะมีวิวัฒนาการลดรูปของใบเปลี่ยนเป็นหนามเพื่อลดการคายน้ำ และเพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์ที่มากัดกิน บางชนิดมีลักษณะอวบน้ำเก็บสะสมอาหาร เช่น ใบว่านหางจระเข้

33 ชนิดของใบ ใบแท้(foliage leaf )
เป็นใบที่พบเห็นทั่วไป ส่วนใหญ่มีสีเขียวเป็นแหล่งสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง(ใบบางชนิดอาจมีสีแดง สีม่วง หรือสีเหลืองขึ้นอยู่กับรงควัตถุที่อยู่ในใบ) ใบแท้รูปแบบต่างๆ

34 ใบแท้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
ใบแท้แบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ - ใบเดี่ยว(simple leaf) เป็นใบที่มีตัวใบเพียงใบเดี่ยวติดอยู่บนก้านใบซึ่งติดกับลำต้น เช่น ใบมะม่วง ใบตำลึง ใบมะละกอ เป็นต้น ใบเดี่ยวจากพืชชนิดต่างๆ

35 2. ใบประกอบ(compound leaf) เป็นใบที่มีใบย่อย (leaflet)
ตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปติดอยู่กับก้าน ใบใหญ่(petiole) หนึ่งก้าน โดยที่ก้านใบของใบย่อย(petiolule)จะติดอยู่กับ แกนกลางของใบประกอบ(rachis) ตัวอย่างใบประกอบ เช่น ใบมะขาม ใบจามจุรี มะพร้าว กุหลาบ เป็นต้น ใบประกอบ

36 ใบประกอบจำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามรูปร่างคือ
1. ใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยออกสองข้างของแกนกลาง มีทั้งใบประกอบ ขนนกปลายคี่(odd pinnate) และใบประกอบแบบขนนกปลายคู่(even pinnate) มีการแตกออกเป็นใบประกอบ แบบขนนกสองชั้น (bipinnately compound leaves) ซึ่งแกนกลางแตก แขนงออกเป็นแกนกลางที่สองแล้วจึงมีใบย่อยและใบประกอบแบบขนนกสามชั้น(tripinnately compound leaf) เป็นใบที่มีแกนกลางที่สองแตกออกเป็นแกนกลางที่สามแล้วจึงมีใบย่อย

37

38 2. ใบประกอบแบบนิ้วมือ (palmately compound leaves) เป็นใบประกอบที่มีก้านใบย่อยออกจากตำแหน่งเดียวกัน ที่ปลายก้านใบ

39 2. ใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่เฉพาะอย่าง(Modified leaf หรือ Specialized leaf)
1. leaf tendril ใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นมือเกาะเพื่อยึดลำต้นหรือพยุงลำต้น เช่น ตำลึง มะระ ถั่วลันเตา เป็นต้น

40 มะระขี้นก ตำลึง ถั่วลันเตา

41 ดองดึง

42

43 กระทกรก

44 2. leaf spine ใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหนามเพื่อป้องกันอันตรายจากศัตรูหรือสัตว์ที่จะมาทำร้าย รวมทั้งป้องกันการระเหยของน้ำ เช่น กระบองเพชร ใบเหงือกปลาหมอ ใบสับปะรด เป็นต้น

45 สับปะรด เหงือกปลาหมอ

46 3. storage leaf ใบที่เปลี่ยนแปลงเพื่อทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารหรือน้ำ ใบประเภทนี้จะอวบอ้วน เช่น ใบว่านหางจระเข้ เป็นต้น

47 4. scale leaf เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นเกล็ดเล็กๆ มักไม่มีคลอโรฟีลล์จึงไม่ทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง เช่น ใบเกล็ดของข่า ขิง เผือก แห้วจีน เป็นต้น บางชนิดทำหน้าที่สะสมอาหาร เช่นใบเกล็ดในหัวหอม บางชนิดทำหน้าที่คุ้มครองตาอ่อน(bud scale)

48 5. phyllode ส่วนต่างๆของใบ(เช่น ก้านใบ) เปลี่ยนแปลงไปเป็นแผ่นแบนคล้ายตัวใบ แต่ทว่าแข็ง พืชที่มีใบแบบนี้จึงมักไม่มีตัวใบที่แท้จริง เช่น ใบกระถินณรงค์ เปลี่ยนแปลงมาจากก้านใบ เป็นต้น

49 phyllode ของต้นกระถินณรงค์

50 6. Floating leaf ส่วนของก้านใบ(petiole) พองออกเพื่อใช้ในการลอยน้ำ เช่น ผักตบชวา เป็นต้น

51 vegetative reproduction organ
ใบที่เปลี่ยนแปลงไปเพื่อช่วยในการแพร่พันธุ์หรือขยายพันธุ์ เช่นใบของคว่ำตายหงายเป็น เศรษฐีพันล้าน โคมญี่ปุ่น เป็นต้น เศรษฐีพันล้าน คว่ำตายหงายเป็น

52 โคมญี่ปุ่น

53 8. ใบดอกหรือใบประดับ(floral leaf or bract)
เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ เช่น ทำหน้าที่รองรับดอก บางชนิดดูผิวเผินอาจจะคล้ายเป็นกลีบดอก บางชนิดให้ความสวยงามเพื่อช่วยล่อแมลงมาผสมเกสร เช่น ดอกเฟื่องฟ้า ดอกคริสต์มาส ดอกหน้าวัว เป็นต้น ใบดอกหรือใบประดับในพืชชนิดต่างๆ

54

55 9. ใบดักจับแมลง เป็นใบที่เปลี่ยนแปลงไปเป็นกับดักแมลง หรือสัตว์เล็ก ภายในกับดักจะมีต่อมสร้างน้ำย่อยอาหารจำพวก โปรตีน เช่นต้นกาบหอยแครง หยาดน้ำค้าง สาหร่ายข้าวเหนียว หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นต้น

56 กาบหอยแครง กาบหอยแครง หยาดน้ำค้าง หยาดน้ำค้าง

57 หม้อข้าวหม้อแกงลิง

58

59 สาหร่ายข้าวเหนียว

60 ความรู้เพิ่มเติม

61

62

63

64

65 ดุสิตา มณีเทวา

66 บรรณานุกรม http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_03.html


ดาวน์โหลด ppt กรวรรณ งามสม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google