งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การรวมกลุ่มประเทศตาม แนวคิดภูมิภาคนิยม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การรวมกลุ่มประเทศตาม แนวคิดภูมิภาคนิยม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การรวมกลุ่มประเทศตาม แนวคิดภูมิภาคนิยม

2 ความหมายของภูมิภาค 1. ภูมิภาคจะต้องมีเขตโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่ คล้ายคลึงกัน 2. ภูมิภาคหมายถึงเขตที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน 3. ภูมิภาคหมายถึงดินแดนที่ผู้อยู่อาศัยในภูมิภาคมี ความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 4. ภูมิภาคหมายถึงเขตที่อยู่ภายใต้การบริหารหน่วย เดียวกัน 5. ภูมิภาคคือดินแดนที่กำหนดขึ้นเมื่อเกิดปัญหาขึ้นใน บางครั้งคราว เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาค ที่เคยถูกกำหนดโดยสหรัฐอเมริกาเมื่อมีปัญหาเรื่องการ รุกรานของคอมมิวนิสต์ เป็นต้น 6. ภูมิภาค หมายถึง ดินแดนที่มีปัจจัยหลายอย่าง คล้ายคลึงกันมากพอที่จะทาให้ภูมิภาคนั้นรวมกันเป็น ระบบได้ ปัจจัยดังกล่าวได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อและ โครงสร้างทางสังคมคล้ายกันและจะต้องมีการติดต่อ สัมพันธ์กัน เป็นดินแดนที่อยู่ใกล้เคียงกัน เป็นต้น

3 ภูมิภาคในทวีปเอเชีย 1) เอเชียกลาง (Central Asia)
จากภาพรวมของคาว่า “ภูมิภาค” สรุปได้ว่า ภูมิภาค หมายถึง พื้นที่เฉพาะหรือพื้นส่วนหนึ่งของโลก หรือพื้นที่ที่ถูกแบ่งออกจากส่วนต่างๆ ของประเทศที่มี อาณาบริเวณที่มีลักษณะบางอย่าง เช่นลักษณะทาง ธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึงมีการเมืองที่คล้ายคลึงกันจนสามารถจัดเข้าพวกกัน ได้ ดังเช่น ในทวีปเอเชียจะแบ่งออกภูมิภาค 1) เอเชียกลาง (Central Asia) 2) เอเชียตะวันออก (East Asia) 3) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือเอเชียอาคเนย์ (Southeast Asia) 4) เอเชียใต้ (South Asia) 5) เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Asia) ซึ่งทวีปเอเชียจะมีขนาดใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ประมาณ 44 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นพื้นที่ ที่มีขนาดกว้างใหญ่ที่สุดในโลก

4

5 ภูมิภาคในทวีปเอเชีย 1. ภูมิภาคเอเชียกลาง (Central Asia) ทาจิกิสถาน (Tajikistan) คาซัคสถาน (Kazakhstan) อุซเบกิสถาน (Uzbekistan) เติร์กเมนิสถาน (Turkmenistan) และ เคอร์กิสถาน (Kurdistan)

6 ภูมิภาคในทวีปเอเชีย 2. ภูมิภาคเอเชียตะวันออก (East Asia) ได้แก่ ได้แก่ ประเทศจีน (China) มองโกเลีย (Mongolia) ไต้หวัน (Taiwan) เกาหลีเหนือ (North Korea) เกาหลีใต้ (South Korea) ญี่ปุ่น (Japan) ฮ่องกง (Hong Kong) และมาเก๊า (Macau)

7 ภูมิภาคในทวีปเอเชีย 3. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือภูมิภาคเอเชีย อาคเนย์ (Southeast Asia) ได้แก่ ประเทศไทย (Thai) ลาว (Laos) กัมพูชา (Cambodia) เมียนม่าร์ (Myanmar) เวียดนาม (Vietnam) ฟิลิปปินส์ (Philippines) อินโดนีเซีย (Indonesia) มาเลเซีย (Malaysia) สิงคโปร์ (Singapore) บรูไน (Brunei) และ ติมอร์-เลสเต (Timor-Leste)

8 ภูมิภาคในทวีปเอเชีย 4. ภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asia) ได้แก่ ได้แก่ อินเดีย (India) ปากีสถาน (Pakistan) อัฟกานิสถาน (Afghanistan) บังกลาเทศ (Bangladesh) เนปาล (Nepal) ศรีลังกา (Sri Lanka) ภูฎาน (Bhutan) และมัลดีฟส์ (Maldives)

9 ภูมิภาคในทวีปเอเชีย 5. ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Asia) ได้แก่ ได้แก่ อัฟกานิสถาน (Afghanistan) อิหร่าน (Iran) อิรัก (Iraq) อิสราเอล (Israel) จอร์แดน (Jordan) คูเวต (Kuwait) เลบานอน (Lebanon) กาตาร์ (Qatar) โอมาน (Oman) ซาอุดิอาระเบีย (Saudi Arabia) ซีเรีย (Syria) ตุรกี (Turkey) บาห์เรน (Bahrain) เลบานอน (Lebanon) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates) เยเมน (Yemen) และไซปรัส (Cyprus) บางประเทศอาจถูกจัดให้อยู่ ในทวีปยุโรปแทน เนื่องจากมีลักษณะทางวัฒนธรรมจากทวีป ยุโรปมากกว่า ได้แก่ อาร์เมเนีย (Armenia) จอร์เจีย (Georgia) และอาเซอร์ไบจาน (Azerbaijan)

10

11 ความหมายของภูมิภาคนิยม
คำว่า “ภูมิภาคนิยม” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “regionalism” ตามความหมายจากพจนานุกรม ภูมิภาค นิยม ในความหมายเชิงการเมือง คือ ความรู้สึกในการ เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มประเทศที่ปรารถนาจะเป็นอิสระมาก ขึ้นในทางการเมือง กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ นิยามศัพท์ คำว่า ภูมิภาคนิยม หมายถึง เป็นการรวมกลุ่มของประเทศใน ภูมิภาคบนพื้นฐานของการตระหนักถึงผลประโยชน์ร่วมกัน ในการพัฒนาและความจาเป็นที่จะต้องร่วมมือกันในด้าน ต่างๆ เพื่อเป็นการระดมพลังในการปกปูองและเสริมสร้าง ความก้าวหน้าและสันติภาพความมั่นคงของแต่ละประเทศ และของภูมิภาคโดยส่วนรวม โดยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ความหมาย คือ 1. ภูมิภาคนิยมแบบเปิด (open regionalism) เป็น กระบวนการรวมตัวและร่วมมือกันในภูมิภาคเพื่อลดอุปสรรค ทางการค้าซึ่งกันและกันโดยไม่มีการกีดกันประเทศ ภายนอก 2. ภูมิภาคนิยมแบบปิด (closed regionalism) เป็น กระบวนการรวมตัวและร่วมมือกันในภูมิภาคเพื่อลดอุปสรรค ทางการค้าซึ่งกันและกัน โดยมีการกีดกันประเทศภายนอก

12 รูปแบบการรวมกลุ่มในภูมิภาค
รูปแบบของการร่วมมือและการรวมตัวในภูมิภาคในทาง ทฤษฎี รูปแบบการร่วมมือและการรวมตัวในภูมิภาคสามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 แนวทางหลักคือ การร่วมมือและการ รวมตัวในรูปแบบที่เป็นทางการและการร่วมมือและการ รวมตัวในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ สรุปได้ดังนี้ 1. การร่วมมือและการรวมตัวในรูปแบบที่เป็นทางการ เป็น ความร่วมมือโดยมีภาครัฐเป็นผู้ผลักดันจากบนสู่ล่าง (government-driven top-to-bottom approach) โดยมีการ จัดทาข้อตกลงหรือสนธิสัญญาอย่างเป็นทางการ โดยมักจะ มีการจัดตั้งองค์การหรือสถาบันขึ้นมารองรับด้วยการรวมตัว ในลักษณะนี้เรียกว่า “ภูมิภาคนิยม (regionalism)” ดังเช่น การรวมตัวของสหภาพยุโรป การรวมกลุ่มสมาคมลาติน อเมริกา รวมถึงการรวมตัวของอาเซียน เป็นตัวอย่างที่ดี ของการรวมตัวในลักษณะนี้ สรุปได้ว่า การร่วมมือและ การรวมตัวในรูปแบบที่เป็นทางการ คือ แบบที่รัฐเป็นผู้ ริเริ่ม (regionalism) หรือ แบบบนลงล่าง โดยจะต้องการ รวมมือกันอย่างเหนียวแน่นของประเทศในภูมิภาคนั้น ๆ อย่างน้อย 3 ประเทศ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็น ทางการของภาครัฐหรือเอกชนเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน

13 รูปแบบการรวมกลุ่มในภูมิภาค
2. การร่วมมือและการรวมตัวในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เป็น ความร่วมมือโดยมีภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อนตามกลไกของตลาด จากล่างสู่บน (market-driven bottom-up approach) เกิดขึ้น จากการติดต่อค้าขายและการลงทุนของภาคเอกชนในภูมิภาค ซึ่งทาให้ประเทศในภูมิภาคมีความใกล้ชิดและพึ่งพากันในทาง เศรษฐกิจการรวมตัวในลักษณะนี้เรียกว่า “กระบวนการรวมกลุ่ม ในภูมิภาค (regionalization)” การรวมตัวในเอเชียตะวันออกเป็น ตัวอย่างที่ดีของการรวมตัวในลักษณะนี้ สรุปได้ว่า แบบที่ ประชาชนเป็นผู้ริเริ่ม (regionalization) หรือ แบบล่างขึ้นบน โดยมีกระบวนการความร่วมมือกันของภาคประชาชนของประเทศ ในภูมิภาคนั้น ๆ อย่างน้อย 3 ประเทศ ทั้งด้านสังคมและ เศรษฐกิจเป็นหลักโดยจะสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือไม่ ก็ตาม สรุปได้ว่า ในปัจจุบันการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาค นั้น มีหลายวัตถุประสงค์บางวัตถุประสงค์รัฐบาลเป็นผู้ ริเริ่ม บางวัตถุประสงค์ประชาชนเป็นผู้ริเริ่ม และ วัตถุประสงค์นั้นจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อทั้งรัฐบาล และประชาชนส่งเสริมซึ่งกันและกันทั้งการร่วมมือและ การรวมตัวในรูปแบบที่เป็นทางการและการร่วมมือและ การรวมตัวในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ

14 1. องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ (North Atlantic Treaty Organization: NATO)
จัดตั้งขึ้นในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ (พ.ศ. 2492) ก่อตั้งขึ้น ในช่วงของสงครามเย็น โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ถ่วงดุลอำนาจทางการทหารกับสหภาพโซเวียต ที่กาลังแผ่ขยายอานาจอยู่ในขณะนั้น และเพื่อ ความร่วมมือกันในการรักษาความสงบของ ประเทศ สมาชิก นาโต้มีสมาชิกทั้งหมด 28 ประเทศ ประเทศสมาชิกใหญ่ๆ คือ ฝรั่งเศส (France) โปรตุเกส (Portugal) สเปน (Spain) ตุรกี (Turkey) สหราช อาณาจักร (England) สหรัฐอเมริกา (United Kingdom) เดนมาร์ก (Danmark) เยอรมัน (Germans) แคนาดา (Canada)

15 2. องค์การสนธิสัญญาวอร์ซอหรือที่เรียกว่า "วอร์ซอแพคท์" (Warsaw Pact)
เป็นองค์การที่สหภาพโซเวียต รวมกับพันธมิตรในยุโรปตะวันออก รวม 8 ประเทศ ได้แก่ สหภาพโซเวียต (Soviet Union) อัลบาเนีย (Albania) โปแลนด์ (Poland) บัลกาเรีย (Bulgaria) เช็คโกสโลวาเกีย(Czechoslovakia) เยอรมนีตะวันออก (East Germany) ฮังการี (Hungary) และโรมาเนีย (Romania) จัดทำขึ้นตามสนธิสัญญาที่มี การลงนามกัน เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ (พ.ศ. 2498) ณ กรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ เพื่อ เป็นการตอบโต้ที่สหรัฐอเมริกาและรัฐบาลของกลุ่ม ประเทศยุโรปตะวันตกลงนามร่วมกันในสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ องค์การสนธิสัญญา วอร์ซอเป็นปฏิกิริยาของกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ที่แสดง ตอบโต้กลุ่มประเทศเสรี

16 3. การรวมกลุ่มสมาคมลาตินอเมริกา (The Latin American Integration Association: LAIA)
กลุ่มประเทศในทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ที่ พูดภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกสเป็นหลัก ประกอบด้วย สมาชิก 12 ประเทศ คือ เปรู (Peru) เวเนซุเอลา (Venezuela) เอกวาดอร์ (Ecuador) โคลัมเบีย (Columbia) โบลิเวีย(Bolivia) ชิลี (Chile) เม็กซิโก (Mexico) อาร์เจนตินา (Argentina) บราซิล (Brazil) ปารากวัย (Paraguay) อุรุกวัย (Uruguay) และคิวบา (Cuba)

17 4. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิกหรือเอเปค (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC)
คือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก ถือเป็น องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก กรอบความ ร่วมมือนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ (พ.ศ.2532) เพื่อ ตอบสนองต่อภาวะการณ์พึ่งพาซึ่งกันและกันของเศรษฐกิจใน เอเชีย-แปซิฟิกที่เพิ่มมากขึ้น เอเปคมีเป้าหมายในการ ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และสร้างความรู้สึกมี ส่วนร่วมเป็นประชาคมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในแต่ละ ปี ผู้นาและรัฐมนตรีเอเปคจะมาพบกันเพื่อทบทวนความ คืบหน้าของการดำเนินงาน และกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์หลักของความร่วมมือในปีต่อๆ ไป เป้าหมายที่โดดเด่นที่สุดอันหนึ่งของเอเปค คือ "เป้าหมายโบกอร์" (โบกอร์เป็นชื่อของเมืองชายทะเลตั้งอยู่ บนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย) ที่จะส่งเสริมการเปิดเสรี ด้านการค้าและการลงทุนในภูมิภาค เอเชีย-แปซิฟิก โดยเริ่มจากสมาชิกที่พัฒนาแล้วภายในปี 2553 และ สำหรับสมาชิกกำลังพัฒนาที่เหลือภายในปี 2563 เอเปค ดำเนินการบนพื้นฐานของฉันทามติ ความสมัครใจ และการ ดำเนินการในกรอบเวลาที่ต่างกัน

18 5. การรวมตัวของสหภาพยุโรปหรืออียู (European Union: EU)
ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ (พ.ศ. 2535) เป็น สหภาพทางเศรษฐกิจและการเมือง ประกอบด้วยรัฐสมาชิก 28 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป โดยมีประชากร รวมกันกว่า 500 ล้านคน ใน พ.ศ สหภาพยุโรปมี ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศในรูปตัวเงินใหญ่ที่สุดใน โลกเมื่อวัดในแง่ความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ ในปี พ.ศ สหภาพยุโรป ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจาก ผลงานด้านการผลักดันให้เกิดสันติภาพในยุโรป จึงนับได้ว่า กลุ่มสหภาพยุโรปเป็นองค์กรทางเศรษฐกิจที่เข็มแข็งที่และมี อิทธิพลต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก สหภาพยุโรปประกอบ ไปด้วยรัฐอิสระ 28 ประเทศ เป็นที่รู้จักกันในสถานะรัฐ สมาชิกของสหภาพยุโรป ได้แก่ ออสเตรเลีย (Australia) เบลเยียม (Belgium) บัลแกเรีย(Bulgaria) โครเอเชีย (Croatia) ไซปรัส (Cyprus) สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) เดนมาร์ก (Denmark) เอสโตเนีย (Estonia) ฟินแลนด์ (Finland) ฝรั่งเศส (France) เยอรมนี (Germany) กรีซ (Greece) ฮังการี (Hungary) ไอร์แลนด์ (Ireland) อิตาลี (Italy) ลัตเวีย (Latvia) ลิทัวเนีย (Lithuania) ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg) มอลตา(Malta) เนเธอร์แลนด์ (Netherlands) โปแลนด์ (Poland) โปรตุเกส (Portugal) โรมาเนีย (Romania) สโลวาเกีย (Slovakia) สโลวีเนีย (Slovenia) สเปน (Spain) สวีเดน (Sweden) และสหราช อาณาจักร (United Kingdom)

19 กรณีศึกษาการรวมกลุ่มประเทศตามแนวคิดภูมิภาคนิยม
จากตัวอย่างการรวมกลุ่มแบบภูมิภาคนิยม ดังกล่าวล้วนมีวัตถุประสงค์ในการร่วมมือกัน ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อ สร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับประเทศสมาชิกให้ สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข็งขันเพื่อ มุ่งไปสู่การบูรณาการให้เข้ากับเศรษฐกิ

20 แนวทางการรวมกลุ่มประเทศแบบภูมิภาคนิยม
แนวคิดเกี่ยวกับรวมกลุ่มในภูมิภาคแบบภูมิภาคนิยม (regionalism) นี้ได้รับการวิเคราะห์ของ แอนดริว เฮอร์ เรลล์ (Andrew Hurrell) จากหนังสือภูมิภาคนิยมในโลก ของการเมือง การศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และการวิเคราะห์เพิ่มเติมโดย ขจิต จิตตเสวี รวมถึง สีดา สอนศรี ได้จำแนกแนวทางการรวมกลุ่มแบบ ภูมิภาคนิยมออกเป็น 5 แนวทาง สรุปได้ดังนี้ 1. ภูมิภาคาภิวัตน์หรือกระบวนการเป็นภูมิภาค (regionalization) 2. การมีอัตลักษณ์และสานึกแห่งภูมิภาค (regional awareness and identity) 3. ความร่วมมือระหว่างรัฐระดับภูมิภาค (regional interstate cooperation) 4. การบูรณาการระดับภูมิภาคแบบที่ได้รับการส่งเสริม โดยรัฐ (state-promoted regional integration) 5. ความเป็นปึกแผ่นของภูมิภาค (regional cohesion)

21 1. สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญทางการเมืองและยุทธ์ศาสตร์ในทาง การเมือง เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้สร้างความ เสียหายให้กับอำนาจเดิม เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และญี่ปุ่น ส่งผลให้อ่อนแอและไม่สามารถแสดงบทบาทครอบ งาโลกได้อีกต่อไป โครงสร้างอำนาจโลกได้เปลี่ยนไป สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นมหาอำนาจใหม่ของโลก เนื่องจากมีอาวุธที่ร้ายแรง คือ ระเบิดนิวเคลียร์ อีกทั้ง เศรษฐกิจก็ยังเข้มแข็ง ส่วน สหภาพโซเวียตก็ขึ้นมาเป็น มหาอำนาจชั้นนำของโลกเนื่องจากมีกองทัพบกที่เกรียงไกร แม้ว่าจะบอบช้ำจากสงครามก็ตาม ความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้ทา ให้ยุทธศาสตร์ในการทาสงครามเปลี่ยนแปลงไป ความ หวาดระแวงที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศมหาอำนาจทั้งสองคือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียตนาไปสู่สงครามเย็น (Cold War) ที่เต็มไปด้วนความขัดแย้ง และความตึงเครียด ตั้งแต่ ค.ศ.1947 (พ.ศ. 2490) เป็นต้นไป

22 สงครามโลกครั้งที่ 2 (ต่อ)
จากนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คอมมิวนิสต์ได้ชัยชนะ ในจีน เกาหลีถูกแบ่งแยกเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ จนกระทั่งในปี 1954 (พ.ศ. 2497) เกิดการก่อตั้งองค์การ สนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือองค์การซีโต้ (Southeast Asia Treaty Organization: SEATO) ได้เอา ตัวอย่างมาจากการรวมตัวของ องค์การนาโต้ (NATO)

23 2. สงครามเย็นระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต
ความขัดแย้งและความหวาดระแวงทำให้ทั้ง 2 ประเทศ แข่งขันกันในการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์หรือทีเรียกว่า “อาวุธยุทธศาสตร์ (Strategic Weapons)” ภายหลังจาก สหภาพโซเวียต สามารถพัฒนาและทดลองระเบิดนิวเคลียร์ มาใช้ได้ในช่วงปี ค.ศ (พ.ศ. 2491) จึงได้ขึ้นมาเป็น มหาอำนาจนิวเคลียร์เคียงคู่กับสหรัฐอเมริกา สหภาพโซ เวียตได้พัฒนาขีปนาวุธระยะไกลที่สามารถติดหัวรบ นิวเคลียร์ได้สำเร็จ และนำไปสู่การแข่งขันพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์ข้ามทวีป ในต้นทศวรรษที่ 1960 (พ.ศ. 2503) การแข่งขันด้านอาวุธ (Arms Race) ทวีความเข้มข้นจนมีการพัฒนาขีปนาวุธติด หัวรบนิวเคลียร์หลายหัวรบ ในทศวรรษที่ 1970 (พ.ศ ) และจรวดร่อน (Cruise Missile) ในตอนปลาย ทศวรรษที่ 1970 (พ.ศ. 2513) นั่นเอง ในต้นทศวรรษที่ (พ.ศ. 2523) สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตแข่งขัน กันพัฒนาระบบอาวุธในอวกาศ (Strategic Defense Initiatives หรือ Star Wars) จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ของทั้งโซเวียตและสหรัฐอเมริกาและเป็นสาเหตุหนึ่งของการ แตกสลายของสหภาพโซเวียตในเวลาต่อมา

24 ลักษณะการรวมกลุ่มประเทศแบบภูมิภาคนิยมหลังยุคสมครามเย็น
การสิ้นสุดสงครามเย็นในปี 1989 (พ.ศ. 2532) อันเป็นปี แห่งการล่มสลายของค่ายคอมมิวนิสต์ยุโรปตะวันออกถือเป็น การสิ้นสุดของยุคเก่าและเริ่มต้นศักราชใหม่ของระบบการเมือง โลกที่เรียกกันว่า “ยุคหลังสงครามเย็น (post-cold War Era)” ลักษณะการรวมกลุ่มประเทศแบบภูมิภาคนิยมหลังยุคสมคราม เย็น มีลักษณะดังต่อไปนี้ 1) การสิ้นสุดของระบบสองขั้ว อำนาจ 2) บทบาทของสหประชาชาติและองค์กรระหว่าง ประเทศเพิ่มขึ้น 3) การสิ้นสุดสงครามเย็นทาให้เกิดกลุ่ม เศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น 4) กระตุ้นให้เกิดประเด็นความมั่นคงใน ระดับภูมิภาค 5) การย้ายดุลอำนาจเศรษฐกิจโลก 6) นโยบายมุ่งส่งออก 7) การทาให้เป็นประชาธิปไตย มี รายละเอียดดังนี้

25 3. การสิ้นสุดสงครามเย็นทำให้เกิดกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น
การสิ้นสุดสงครามเย็นทาให้เกิดกลุ่มเศรษฐกิจใหญ่ๆ ขึ้นมา 3 กลุ่ม คือ กลุ่มยุโรป เอเชียตะวันออก และ อเมริกาเหนือที่แข่งขันกัน เกิดการรวมกลุ่มก่อตั้งเขตการค้าเสรีขนาดใหญ่ในทวีป อเมริกาเหนือ (North America Free Trade Area) หรือ ที่เรียกว่านาฟต้า (NAFTA) ขึ้นมา เพื่อเป็นกาลังต่อรอง กับกลุ่มยุโรปซึ่งมิได้ร่วมอยู่ในกลุ่มเอเปค ซึ่ง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และออสเตรเลียเป็นตัวตั้งตัวตี นอกจากนี้กลุ่มเอเชียตะวันออก 3 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น เกาหลี และจีน ก็ได้เข้ามาร่วมกับกลุ่มอาเซียน เป็น อาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ซึ่งจะมีประโยชน์ ทางการค้าและการลงทุนในระดับพหุภาคีและทวีภาคี

26 4. กระตุ้นให้เกิดประเด็นความมั่นคงในระดับภูมิภาค
การสิ้นสุดสงครามเย็นกระตุ้นให้ ประเด็นความมั่นคงในระดับภูมิภาคถูกหยิบยกขึ้นมา พิจารณา เช่น เรื่อการก่อการร้าย การแพร่กระจาย อาวุธนิวเคลียร์ การอพยพข้ามชาติ ปัญหาความยากจน ปัญหาคอรัปชั่น ปัญหาการฟอกเงิน ปัญหายาเสพติดและ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น สหรัฐอเมริกาได้นาประเด็นการ อพยพและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับเม็กซิโกขึ้นมาพูด และ ชายแดนไทย พม่า มาเลเซีย เมียนม่าร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ก็หยิบยกประเด็นเหล่านี้ขึ้นมาพูด

27 5. การย้ายดุลอำนาจเศรษฐกิจโลก
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาเป็นจ้าวโลก เป็นผู้สร้าง และควบคุมการเมืองและเศรษฐกิจของ โลก เมื่ออำนาจสหรัฐอเมริกาลดลง ไปหลังสิ้นสุดสงครามเย็น จึงทาให้ เกิดการแข่งขันระหว่างประเทศต่างๆ

28 6. นโยบายมุ่งส่งออก ความสำเร็จของนโยบายมุ่งส่งออกของภูมิภาค เอเชียตะวันออก ทาให้กลุ่มประเทศกาลังพัฒนา เปลี่ยนนโยบายมาใช้นโยบายมุ่งส่งออก จึงได้ เกิดการเจรจาต่อรองระดับทวีภาคีในระดับ ภูมิภาคและระหว่างภูมิภาคมากขึ้น ผลที่ตามมา คือทาให้ประเทศที่มุ่งส่งออกกลายเป็นแหล่งดึงดูด เงินทุนจากต่างประเทศ บรรษัทข้ามชาติของ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน และญี่ปุ่นต่างก็เข้ามา ลงทุน

29 7. การทำให้เป็นประชาธิปไตย
ความเป็นประชาธิปไตยแพร่หลายไปทั่วโลกหลัง สิ้นสุดสงครามเย็น แต่ยังมีกลุ่มภูมิภาคบางกลุ่มที่ยังไม่ เป็นประชาธิปไตย ในระยะเริ่มแรกการรวมกลุ่มก็มีความ ยุ่งยากซับซ้อนมากในการที่จะทาให้ประเทศสมาชิกเป็น อันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะประเทศสมาชิกมีความแตกต่าง ด้านภาษาและเชื้อด้วย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การเข้า กันได้ของประเทศสมาชิกหรือการรวมกลุ่มในระดับภูมิภาค กับความเป็นประชาธิปไตยหรือกระบวนการทาให้เป็น ประชาธิปไตยจะช่วยส่งเสริมกระบวนการรวมกลุ่มซึ่งกัน และกันด้วย

30 พัฒนาการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การรวมตัวของอาเซียนไม่ใช่เป็นครั้งแรกใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่เป็น “การรวมตัวครั้งยิ่งใหญ่ ที่สุด” ประวัติศาสตร์การจัดตั้งองค์การความร่วมมือในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ก่อนการจัดตั้งอาเซียนจนมาถึงการจัดตั้ง อาเซียนหรือพัฒนาการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ได้ดังนี้ 1.องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้หรือซีโต้ (Southeast Asia Treaty Organization: SEATO) 2. สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ สมาคมอาสา (Association of Southeast Asia: ASA) 3. การรวมกลุ่มมาฟิลินโด (Maphilindo Confederation) 4. สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก เฉียงใต้หรืออาเซียน (Association of South East Asian Nations: ASEAN)

31 องค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือองค์การซีโต้ [SEATO]
จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ (พ.ศ. 2497) ด้วยหลักการป้องปรามทาง การทหาร (Military Deterrence) ควบคู่ไปกับการ กระชับความมั่นคงและความร่วมมือในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการศึกษาระหว่างกัน มีสานักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย เป็นทีน่าสังเกตว่า องค์การเป็นองค์การเพื่อความมั่นคง “แห่งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้” แต่แนวความคิดที่จัดตั้งองค์การมิได้ เกิดจากประเทศสมาชิกในภูมิภาค และมีประเทศใน ภูมิภาคนี้เป็นสมาชิกเพียง 2 ประเทศ คือ ฟิลิปปินส์ และมีมติให้ยุบองค์การฯ ในปี ค.ศ (พ.ศ. 2520)

32 สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสมาคมอาสา [Association of Southeast ASIA]
สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสมาคมอาสา ก่อตั้งขึ้น โดยวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ (พ.ศ. 2504) เนื่องจาก กิจกรรมในองค์การได้ถูกลดระดับลงและมีแนวโน้มที่จะปิดตัว ลงและถูกยุบเลิกไป ดังนั้นกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้อันได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ต่างประเทศของสหพันธรัฐมาลายา ฟิลิปปินส์ และไทย ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asia- ASA) ขึ้น โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความก้าวหน้า ความเจริญทาง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการริเริ่มของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย สมาชิก ประกอบด้วย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย สมาคมอาสา แตกต่างจากองค์การซีโต้ คือ เป็นการรวมกลุ่มของประเทศ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น เป้าหมายของสมาคม อาสาจึงมุ่งเน้นประเด็นในภูมิภาคเป็น

33 สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสมาคมอาสา [Association of Southeast ASIA]
สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีเพียง 3 ประเทศ สมาชิกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งในที่สุดก็ยุติ สมาคมนี้ไปโดยปริยายหรืออาจเป็นเพราะอีก 6 ปี ต่อมาได้เกิดพัฒนาการการรวมกลุ่มประเทศแบบภูม ภาคนิยมที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ประกาศการลงนาม “ปฏิญญาอาเซียน” ว่าด้วยการจัดตั้งสมาคมประชาชาติ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากความร่วมมือของผู้นำ 5 ประเทศ ถือเป็น “จุดกำเนิดอาเซียน” ในเวลาต่อมา

34 การรวมกลุ่มมาฟิลินโด
เป็นการรวมกลุ่มเพื่อจัดตั้ง สมาพันธรัฐ ซึ่งประกอบด้วยประเทศที่มีเชื้อสายมาเลย์ 3 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซียซึ่งในขณะนั้นยัง เป็นสหพันธรัฐมาลายา และฟิลิปปินส์ โดยความร่วมมือ ของผู้นาของทั้ง 3 ประเทศที่ได้ประชุมร่วมกันครั้งแรกในปี ค.ศ (พ.ศ. 2506) ที่กรุงมะนิลา อย่างไรก็ดี ความ พยายามที่จะจัดตั้งสมาพันธรัฐดังกล่าวต้องพบกับปัญหา ภายหลังที่อินโดนีเซีย การรวมกลุ่มมาฟิลินโดเป็นอีกมิติ หนึ่งของการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งอินโดนีเซียและ มาเลเซีย มาฟิลินโดตั้งขึ้นหลังจากการก่อตั้งสมาคมอาสาได้ เพียง 2 ปี แต่วัตถุประสงค์แตกต่างกันออกไปเนื่องจาก มาฟิลินโดมุ่งยุติและระงับปัญหาที่เกิดขึ้นของทั้ง 3 คือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย และยุติไป ซึ่ง 4 ปี (พ.ศ. 2510) ต่อมาผู้นาทั้ง 3 ประเทศได้เข้าร่วมลงนามใน การก่อตั้งสมคมอาเซียนเช่นกัน

35 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน [Association of Southeast Asian Nations]
สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ อาเซียน ที่ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ โดยการลงนามของผู้นา 5 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ต่อมาขยายประเทศสมาชิกเพิ่ม คือ บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนม่าร์ และกัมพูชา รวม อาเซียนมีสมาชิก 10 ประเทศ และยังมีประเทศคู่เจรจา อาเซียนอีก 9 ประเทศ 2 องค์การ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา สหรัฐอเมริกา รัสเซีย สหภาพยุโรป และสหประชาชาติ ถือเป็นการรวมกลุ่มประเทศแบบภูมิภาคนิยมที่เน้นการพัฒนา ทั้งทางด้านการเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและ วัฒนธรรม

36 สรุปพัฒนาการการรวมกลุ่มประเทศที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ครั้งที่ การรวมกลุ่มประเทศ รายชื่อประเทศสมาชิก 1 องค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือ องค์การซีโต้ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย 2 สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือสมาคมอาสา สหพันธรัฐมาลายา (มาเลเซีย) ฟิลิปปินส์ และไทย 3 การรวมกลุ่มมาฟิลินโด อินโดนีเซีย สหพันธรัฐมาลายา (มาเลเซีย) และฟิลิปปินส์ 4 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน เวียดนาม ลาว เมียนม่าร์ และกัมพูชา

37 คำถามทบทวนบทที่ 1 ภูมิภาค หมายความว่าอย่างไร
ภูมิภาคในทวีปเอเชีย มีกี่ภูมิภาค อะไรบ้าง ภูมิภาคนิยมหมายความว่าอย่างไร จงอธิบายรูปแบบการรวมกลุ่มในภูมิภาค จงยกตัวอย่างกรณีศึกษาการรวมกลุ่มประเทศตามแนวคิดภูมิภาคนิยม จงอธิบายแนวทางการรวมกลุ่มประเทศแบบภูมิภาคนิยม จงอธิบายการรวมกลุ่มประเทศแบบภูมิภาคนิยมจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่สงครามเย็น จงอธิบายลักษณะการรวมกลุ่มประเทศแบบภูมิภาคนิยมหลังยุคสงครามเย็น จงอธิบายการรวมกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ SEATO คือ มีวัตถุประสงค์การรวมกลุ่มอย่างไร ASA คือ มีวัตถุประสงค์การรวมกลุ่มอย่างไร Maphilindo คือ มีวัตถุประสงค์การรวมกลุ่มอย่างไร ASEAN คือ มีวัตถุประสงค์การรวมกลุ่มอย่างไร


ดาวน์โหลด ppt การรวมกลุ่มประเทศตาม แนวคิดภูมิภาคนิยม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google