ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยWalter Wilcox ได้เปลี่ยน 6 ปีที่แล้ว
1
บทที่ 12 การระดมเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ
( International Equity Markets )
2
สมาชิก นางสาวรัชนก บุญช่วย 56127329001 นายณัฐพงษ์ จิตรักษ์ 56127329004
นางสาวรัชนก บุญช่วย นายณัฐพงษ์ จิตรักษ์ นางสาวกมลรัตน์ รอดจินดา นางสาวรัชรียา สุวรรณชาติ นางสาวพรสุดา ท้วมอ้น นางสาวฮูเมร่า ฮุลเซ็น สาขาธุรกิจระหว่างประเทศ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
3
การระดมเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์
ระหว่างประเทศ คือ การระดมเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ ซึ่งนับเป็นช่องทางที่สำคัญอีกทางหนึ่งของการระดมเงินทุนสำหรับบริษัทข้ามชาติ โดยจะเริ่มกล่าวถึงภาพรวมของตลาดหลักทรัพย์ที่สำคัญของโลก รวมทั้งมูลค่าตลาด และมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์เหล่านั้น
4
1.มูลค่าตลาด (Market Capitalization) ของตลาดหลักทรัพย์ที่สำคัญของโลก
ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศต่างๆ ได้แสดงบทบาท สำคัญที่เหมือนกันประการหนึ่ง คือ การเป็นแหล่งระดมทุนให้แก่ ทั้งบริษัทท้องถิ่นและบริษัทข้ามชาติรวมทั้งการเป็นช่องทาง ลงทุนให้แก่นักทุนท้องถิ่นและนักลงทุนระหว่างประเทศ ตลาด หลักทรัพย์ในประเทศต่างๆ ยังคงมีลักษณะที่แตกต่างกันหลาย ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องมูลค่าตลาด (Market Capitalization) มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ (share Trading Value) ต่อปี รวมถึงรูปแบบการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์
5
2. มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ (Share Trading Value)
ในตลาดหลักทรัพย์ที่สำคัญของโลก ตลาดหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง (Liquidity) หมายถึง ตลาดหลักทรัพย์ที่มีทำการธุรกรรมซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ต่อวัน ในปริมาณที่สูงและสม่ำเสมอ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นตลาดที่นักลงทุนสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้อย่างรวดเร็ว ณ ระดับราคาที่ใกล้เคียงกับราคาที่เสนออยู่ในขณะนั้น ดังนั้น การวัดสภาพคล่องของตลาดหลักทรัพย์ สามารถทำได้โดยการใช้อัตราส่วนการหมุนเวียนของหลักทรัพย์ (Turnover Ratio) หมายถึง อัตราส่วนระหว่างปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ในหนึ่งรอบระยะเวลากับมูลค่าตลาดของตลาดหลักทรัพย์นั้น
6
3.ความแตกต่างที่สำคัญ (Major Difference) ของตลาดหลักทรัพย์แต่ละประเทศ
ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศต่างๆ จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆประการ เช่น ระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ ประวัติความเป็นมาของระบบการเงินระดมทุนของประเทศตลอดจนกฎหมายข้อบังคับของประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดเงิน และ ตลาดทุน สรุปได้เป็น 2 ลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้ คือ 1. ความแตกต่างในด้านโครงสร้างตลาดหลักทรัพย์ (Market Structure) 2.ความแตกต่างด้านรูปแบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ (Trading Procedures)
7
3. ตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งโดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (Bankers Bourses)
3.1 ความแตกต่างในด้านโครงสร้างตลาดหลักทรัพย์ (Market Structure) ตลาดหลักทรัพย์ในแต่ละประเทศ จะมีลักษณะเฉพาะในเรื่องของโครงสร้างตลาด จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศนั้นๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1. ตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งโดยภาครัฐ (Public Bourses) 2. ตลาดหลักทรัพย์ที่ตั้งโดยเอกชน (Private Bourses) 3. ตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งโดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (Bankers Bourses)
8
3.1.1 ตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งโดยรัฐบาล
รัฐบาลจะเป็นเจ้าของและควบคุมตลาดหลักทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวโดยรัฐบาลจะอนุญาตให้บริษัทเอกชนทำการประมูลที่นั่ง เพื่อเข้าเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ จำนวนบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์จะมีการจำกัดไว้ จนกว่ารัฐลายจะเห็นว่าจำนวนบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์มีน้อยเกินไป ไม่เพียงพอหรือเหมาะสมกับปริมาณการซื้อหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แล้ว ก็จะเปิดให้มีการประมูลที่นั่งเพิ่มเติมตามความจำเป็น
9
3.1.2 ตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งโดยเอกชน
บริษัทเอกชนจะทำการรวมตัวกันจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ขึ้น โดยที่ตลาดหลักทรัพย์จะยังคงอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ สำหรับกฎระเบียบและข้อบังคับที่ใช้เพื่อควบคุมบริษัทนายหน้าค้าหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์นั้น จะกำหนดขึ้นตามหลักการของการควบคุมตัวเอง โดยองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องอยู่ในธุรกิจหลักทรัพย์
10
3.1.3 ตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งโดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์
เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของธนาคารพาณิชย์ต่างๆ เพื่อก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ของประเทศขึ้น โดยธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้ค้าหลักทรัพย์รายใหญ่ หรืออาจเป็นผู้ผูกขาดการค้าหลักทรัพย์ทั้งหมดและยังมีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมาก และระบบนี้ยังปรากฏอยู่ในตลาดหลักทรัพย์บางประเทศแถบภูมิภาคยุโรป ตัวอย่างเช่น ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศเยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย เนเธอร์แลนด์ และกลุ่มประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเยอรมัน ได้มีการออกกฎหมายเพื่อให้อำนาจผูกขาดแกธนาคารพาณิชย์ในการเป็นนายหน้าค้าหลักทรัพย์ ดังนั้น ในการซื้อขายหลักทรัพย์บางกรณี จะมีการทำธุรกรรมกันโดยตรงระหว่างธนาคารโดยไม่ผ่านตลาดหลักทรัพย์
11
การซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบเงินสดและระบบล่วงหน้า
3.2 ความแตกต่างด้านรูปแบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ (Trading Procedures) นอกจากความแตกต่างทางด้านโครงสร้างตลาดหลักทรัพย์แล้ว ตลาดหลักทรัพย์แต่ละแห่งยังอาจมีความแตกต่าง ในเรื่องของรูปแบบการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ การซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบเงินสดและระบบล่วงหน้า การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการเสนอราคาด้วย วาจาและการเสนอราคาอย่างต่อเนื่อง
12
3.2.1 การซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบเงินสดและระบบล่วงหน้า
การซื้อขายด้วยระบบเงินสด (Cash market) หมายถึง การซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีการชำระราคากันทันทีเมื่อมีธุรกรรมการซื้อขายเกิดขึ้น โดยจะแยกทำแต่ละธุรกรรมตามลำดับการเกิดขึ้นของธุรกรรมนั้นๆ เช่น ในทางปฏิบัติจะกำหนดให้ผู้ซื้อหลักทรัพย์ สามารถจ่ายชำระราคาค่าหลักทรัพย์ได้ภายในระยะสองถึงสามวันทำการนับจากวันที่ที่ได้มีการตกลงซื้อขายหลักทรัพย์กันเพื่อให้เวลาสำหรับการจัดการด้านเอกสารให้เสร็จเรียบร้อย สำหรับในด้านผู้ขายหลักทรัพย์นั้นจะได้รับเงินค่าขายหลักทรัพย์ภายในระยะเวลาสองถึงสามวันทำการหลังจากวันที่ได้ตกลงขายหลักทรัพย์เช่นเดียวกัน
13
3.2.1 การซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบเงินสดและระบบล่วงหน้า (ต่อ)
การซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบล่วงหน้า (Forward Markets ) การซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยระบบล่วงหน้านั้น เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีการชำระราคาค่าหลักทรัพย์กันเป็นรายเดือน คือ จะมีการรวบรวมธุรกรรมทุกรายการของลูกค้ารายหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นภายในรอบระยะหนึ่งเดือน เพื่อทำการชำระบัญชีกันเพียงครั้งเดียวเท่านั้น ทั้งนี้วัตถุประสงค์หลักของการใช้ระบบล่วงหน้านี้ เพื่อต้องการการลดปริมาณงานด้านการชำระบัญชี (Clearing Operations) ของตลาดหลักทรัพย์ให้น้อยลง
14
3.2.2 การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการเสนอราคาด้วย
วาจาและการเสนอราคาอย่างต่อเนื่อง ก. การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการเสนอราคาด้วยวาจา ตลาดหลักทรัพย์บางประเทศในแถบภูมิภาคยุโรป จะใช้วิธีการเสนอการราคาหลักทรัพย์ด้วยวาจา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ เป็นตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้คำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์เป็นตัวนำ
15
3.2.2 การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการเสนอราคา
ด้วยวาจาและการเสนอราคาอย่างต่อเนื่อง (ต่อ) ข. การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการเสนอราคาอย่างต่อเนื่อง ตลาดหลักทรัพย์ที่มีการเสนอราคาอย่างต่อเนื่องนั้น ถือเป็นตลาดหลักทรัพย์ที่มีการใช้ราคาซื้อขายหลักทรัพย์เป็นตัวนำ กล่าวคือ การซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์จะเกิดขึ้นได้ เมื่อราคาเสนอซื้อ สามารถจับคู่กับราคาเสนอขายได้ ดังนั้น ระบบการเสนอราคาหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง จึงจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีที่ทันสมัย คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำให้การเสนอราคาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ตามความประสงค์ของทั้งผู้ซื้อและผู้ขายหลักทรัพย์
16
4.วิธีการระดมเงินทุนการตลาดหลักทรัพย์
ระหว่างประเทศ ตลาดหลักทรัพย์ระหว่างประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ และ การเปิดเสรี ทางการเงินในภูมิภาคต่างๆ ของโลก ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมีหลายประการ คือ ประการที่หนึ่ง : นักลงทุนเริ่มตระหนักถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระจายความเสี่ยง โดยการลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ ประการที่สอง : ตลาดหลักทรัพย์ที่สำคัญของโลกมีการเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น เช่น การยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมคงที่สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ การผ่อนคลายกฎระเบียบข้อบังคับในการซื้อขายหลักทรัพย์ รวมทั้งการพยายามรวมตลาดหลักทรัพย์ของกลุ่มประเทศสหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป
17
4.วิธีการระดมเงินทุนการตลาดหลักทรัพย์
ระหว่างประเทศ (ต่อ) ประการที่สาม : เทคโนโลยีและการสื่อสารที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงช่วยให้การทำธุรกรรมซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนการกระจายข่าวสารข้อมูล สามารถทำได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง และประการสุดท้ายคือ บริษัทข้ามชาติตระหนักถึงผลประโยชน์ที่ได้รับจากการระดมเงินทุนในตลาดการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งในตลาดตราสารหนี้ระหว่าง และตลาดหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ รูปแบการระดมเงินทุนหลักๆ 2 วิธีดังต่อไปนี้ คือ
18
4.1 การจดทะเบียนหลักทรัพย์ข้ามตลาด ( Cross Listing )
ทั้งนี้ การจดทะเบียนหลักทรัพย์ข้ามตลาด จะเป็นการเปิดโอกาสให้บริษัทสามารถระดมเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์ระหว่างประเทศได้โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดหรือปิดกั้นตัวเอง อยู่เพียงแหล่งเงินทุนภายในประเทศเท่านั้น นอกจากนี้ การจดทะเบียนหลักทรัพย์ข้ามตลาด ยังสามารถดำเนินการพร้อม ๆ กัน ได้ในหลายประเทศด้วย
19
4.1.1วัตถุประสงค์ของการจดทะเบียนหลักทรัพย์ข้ามตลาด
บริษัทที่นำหลักทรัพย์ของตน ไปจดทะเบียนข้ามตลาดในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศนั้นอาจมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ สามารถสรุปวัตถุประสงค์หลักในการจดทะเบียนหลักทรัพย์ ข้ามตลาดได้ 5 ประการดังต่อไปนี้ คือ
20
4.1.1 วัตถุประสงค์ของการจดทะเบียนหลักทรัพย์ข้ามตลาด (ต่อ)
1. การสร้างสภาพคล่องให้แก่หลักทรัพย์ของบริษัทที่ออกจำหน่ายอยู่ แล้วในตลาดหลักทรัพย์ 2. การรองรับการจัดสรรหลักทรัพย์ให้แก่พนักงานเพื่อเป็นสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการ 3. การสร้างภาพลักษณ์ที่ดี และการได้รับการยอมรับทางการเมือง 4. เพื่อรับรองการแลกหุ้น (Shares Swap) และ การครอบงำกิจการ (Acquisition) 5. การเพิ่มราคาหลักทรัพย์
21
4.1.2 อุปสรรคของการจดทะเบียนหลักทรัพย์ข้ามตลาด
แม้ว่าการนำหลักทรัพย์ของบริษัทไป จะก่อให้เกิดผลประโยชน์แก่กิจการมากมาย แต่การจดทะเบียนหลักทรัพย์ข้ามตลาด ก็ทำให้เกิดภาระแก่กิจการหลายประการ ซึ่งภาระเหล่านี้ได้กลายเป็นอุปสรรคสำคัญ ที่ทำให้บริษัทหลายแห่งตัดสินใจไม่นำหลักทรัพย์ของตนไปจดทะเบียนข้ามตลาด โดยสามารถสรุปอุปสรรคสำคัญได้ดังนี้ คือ 1. ข้อผูกมัดในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชน และ ภาระการจัดเตรียมข้อมูลให้กับนักลงทุน 2. การเปิดเผยข้อมูลเปรียบเสมือนดาบสองคม
22
4.2 การจำหน่ายหลักทรัพย์เพิ่มทุนใหม่ ( New Equity Shares)
ในตลาดหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ นอกจากการนำหลักทรัพย์ไปจดทะเบียนข้ามตลาด (Cross Listing) แล้ว บริษัทที่จะดำเนินธุรกิจยังสามารถระดมเงินทุนจากตลาดหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ โดยการออกจำหน่ายหลักทรัพย์เพิ่มทุนใหม่ ดังนี้ มีทางเลือกในการออกจำหน่ายหลักทรัพย์ใหม่ทั้งสิ้น 4 ทางเลือกด้วยกัน ดังนี้
23
ทางเลือกในการออกจำหน่ายหลักทรัพย์ใหม่
1. การจำหน่ายหลักทรัพย์โดยตรง (Direct Share Issues) 2. การจำหน่ายตลาดหลักทรัพย์ในตลาดทุนยุโรป (Euro Equity Issues) 3. การจำหน่ายหลักทรัพย์ของบริษัทย่อยในประเทศที่บริษัทย่อยไปดำเนินกิจการอยู่ 4. การจำหน่ายหลักทรัพย์ให้กับบริษัทต่างชาติเพื่อหวังเป็นพันธมิตรทางการค้า
24
5. ตลาดหลักทรัพย์เกิดใหม่ (Emerging Stock Market)
25
5.1 หลักเกณฑ์การพิจารณาตลาดหลักทรัพย์เกิดใหม่
หลักเกณฑ์สำคัญที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) นำมาใช้ในการพิจารณาว่า ประเทศใดจะมีสถานภาพเป็นประเทศกำลังพัฒนา (Developing Country) และตลาดหลักทรัพย์ของประเทศเหล่านั้น จะเข้าข่ายเป็นตลาดหลักทรัพย์เกิดใหม่ (Emerging Market) หรือไม่นั้น ประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ 2 ประการดังนี้ คือ 1. ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อจำนวนประชากรใน ประเทศ ( GNP per capita ) 2. พัฒนาการของตลาดหลักทรัพย์ ( Development of Stock Market )
26
ยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง
5.2.มูลค่าตลาดและสภาพคล่องของการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์เกิดใหม่ ตารางแสดงมูลค่าตลาด ( Market Capitalization ) ของตลาดหลักทรัพย์เกิดใหม่ ตั้งแต่ปี ค.ศ ถึงปี ค.ศ. 2009 ภูมิภาค/ประเทศ 2004 2005 2006 2007 2008 2009 อเมริกา 314.0 426.1 578.9 712.6 453.6 723.2 โคลัมเบีย เม็กซิโก ชิลี 25.2 171.9 116.9 50.5 239.1 136.5 56.2 348.3 174.4 102.0 397.7 212.9 87.7 234.1 131.8 140.5 352.0 230.7 ยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง 862.9 1,151.6 1,485.9 1,965.6 975.7 1,576.5 กรีซ อียิปต์ ตุรกี แอฟริกาใต้ อิสราเอล โปแลนด์ 121.9 38.5 98.3 442.5 90.2 71.5 145.1 79.5 161.5 549.3 122.6 93.6 208.3 93.5 162.4 711.2 161.7 148.8 265.0 139.7 286.6 828.2 235.1 211.0 86.0 118.3 482.7 107.7 90.8 112.6 91.2 234.0 799.0 188.7 151.0 เอเชียแปซิฟิก 1,047.9 1,188.0 2,206.3 6,088.5 2,874.8 5,628.0 มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย ( NSE ) จีน ( เซี่ยงไฮ้ ) ไทย 181.6 73.3 363.3 314.3 115.4 180.5 81.4 516.0 286.2 123.9 235.6 138.9 774.1 917.5 140.2 325.3 211.7 1,660.1 3,694.3 197.1 647.2 98.8 600.3 1,425.4 103.1 1,306.5 214.9 1,224.8 2,704.8 177.0
27
ตารางแสดง อัตราส่วนการหมุนเวียนของหลักทรัพย์ ( Turnover Ratio ) และมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน ( Average Daily Turnover) ของตลาดหลักทรัพย์เกิดใหม่ ประเทศ/ตลาดหลักทรัพย์ อัตราส่วนการหมุนเวียน2 มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวัน2 2008 2009 อเมริกา 17.8% 23.9% 23.4% 22.5% 26.3% 21.1% 82.4 438.4 144.8 77.0 334.3 152.4 โคลัมเบีย เม็กซิโก ชิลี ยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง 46.1% 37.4% 110.9% 46.9% 73.6% 42.3% 65.3% 73.9% 165.6% 40.4% 66.0% 34.0% 406.0 383.1 987.6 1574.6 449.5 276.9 269.0 295.1 1195.0 1343.5 349.0 226.2 กรีซ อียิปต์ ตุรกี แอฟริกาใต้ อิสราเอล โปแลนด์ เอเชียแปซิฟิก 20.3% 38.9% 87.5% 193.2% 83.7% 32.7% 61.5% 207.3% 62.5% 381.9 456.0 2,948.8 1,0656.6 469.6 344.1 391.5 3,237.4 20,744.4 518.9 มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย ( NSE ) จีน ( เซี่ยงไฮ้ ) ไทย
28
ตารางแสดง การวัดการกระจุกตัวของมูลค่าตลาด ( Market Concentration ) และการกระจุกตัวของการซื้อขาย ( Turnover Concentration ) ของหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ 10 อันดับแรกของตลาดหลักทรัพย์เกิดใหม่ ประเทศ/ตลาดหลักทรัพย์ สัดส่วนมูลค่าตลาด 10 หลักทรัพย์แรก มูลค่าการซื้อขาย 10 หลักทรัพย์แรก 2008 2009 อเมริกา 74.1% 69.5% 44.2% 52.0% 72.8% 63.1% 48.1% 44.5% 81.2% 72.6% 59.2% 60% 77.5% 73.8% 58.7% 51.5% โคลัมเบีย เม็กซิโก ชิลี แคนนาดา ( TSX Group )1 ยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง 58.0% 48.3% 56.0% 22.8% 63.7% 58.3% 57.8% 39.4% 50.4% 47.9% 56.4% 56.7% 80.0% 41.0% 61.9% 50.5% 68.8% 70.1% 32.6% 44.3% 50.9% 46.2% 64.2% กรีซ อียิปต์ ตุรกี แอฟริกาใต้ อิสราเอล โปแลนด์ เอเชียแปซิฟิก 36.6% 51.3% 34.9% 49.0% 49.3% 39.3% 48.4% 30.8% 41.2% 48.2% 53.9% 30.9% 15.8% 49.6% 32.0% 51.2% 28.2% 12.9% 46.5% มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย ( NSE ) จีน ( เซี่ยงไฮ้ ) ไทย
29
5.3 การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เกิดใหม่
การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เกิดใหม่ มีความแตกต่างจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ สามารถสรุปลักษณะพิเศษของการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เกิดใหม่ได้ 3 ประการ คือ ก. ความผันผวนสูง ( High Volatility ) ข. อัตราผลตอบแทนสูง ( High return ) ค. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ต่ำ ( Low Correlation )
30
5.4 โอกาสการเจริญเติบโต ของตลาดลักทรัพย์เกิดใหม่
ตลาดหลักทรัพย์เกิดใหม่เหล่านี้จะยังคงเจริญเติบโตต่อไปได้หรือไม่ และมีตลาดหลักทรัพย์อีกกี่แห่ง ที่จะได้เลื่อนฐานะขึ้นมาเป็นตลาดหลักทรัพย์เกิดใหม่ ทั้งนี้มีปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการ ที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตในอนาคต ของตลาดเกิดใหม่ คือ ก.ปัจจัยด้านสถาบันระหว่างระเทศ ( Institutional Factor) ข.ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ( Economic Factor ) ค.ปัจจัยด้านการเมือง ( Political Factor )
31
คำถามท้ายบท 1. ตลาดหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง หมายถึงอะไร
ตอบ ตลาดหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง (Liquidity) หมายถึง ตลาดหลักทรัพย์ที่มีทำการธุรกรรมซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ต่อวัน ในปริมาณที่สูงและสม่ำเสมอ 2. ความแตกต่างด้านโครงสร้างตลาดหลักทรัพย์ แบ่งแยกได้กี่ประเภท อะไรบ้าง ตอบ ข้อสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งโดยภาครัฐ (Public Bourses) ตลาดหลักทรัพย์ที่ตั้งโดยเอกชน (Private Bourses) ตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งโดยกลุ่มธนาคารพาณิชย์ (Bankers Bourses)
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.