งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

คอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "คอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 คอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น
Part3:พื้นฐานการออกแบบกราฟิก

2 องค์ประกอบ การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก
ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบกราฟิก กระบวนการและการวางแผนการดำเนินงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก สีและแสงกับการออกแบบกราฟิก เทคนิคการในการออกแบบกราฟิก

3 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก
อุปกรณ์ในระบบกราฟิกส์ (Devices in Graphics System) อุปกรณ์รับข้อมูล (Input devices) เป็นอุปกรณ์ที่นำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์เพื่อนำข้อมูลไปให้โปรเซสเซอร์ประมวลผล แต่เดิมมีเพียงคีย์บอร์ดเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีทั้งเมาส์, แทร็กบอล ปากกา, จอสัมผัส หรือจอยสติ๊ก เป็นต้น อุปกรณ์แสดงผล (Output devices) เป็นอุปกรณ์ที่นำภาพกราฟิกแสดงให้เห็น ปัจจุบันมีทั้งจอภาพ (ทั้งจอ CRT และจอแบน), อุปกรณ์แสดงผล 3 มิติ และเครื่องพิมพ์ประเภทต่าง ๆ

4 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
คีย์บอร์ด (Keyboard) : อุปกรณ์อินพุตพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดคีย์ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ เมาส์และแทร็กบอลล์ (Mouse & Trackball) : อุปกรณ์อินพุตเลือกรายการหรือคำสั่งด้วยภาพ หรือไอคอน (icon) แบ่งได้เป็นสองแบบคือ1. แบบทางกล (Mechanical)2.แบบใช้แสง (Optical) ปากกาและจอสัมผัส (LightPens & Touchscreens) อุปกรณ์อินพุตที่มีแสงอิเล็กตรอนจะกระตุ้นสารเรืองแสง (phosphor) ที่เคลือบอยู่ด้านหลังผิวจอภาพ สารเรืองแสงนี้จะสว่างและดับกลับไปสภาวะปกติ

5 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
Bit Pad หรือ Digitizing Tablet : เป็นอินพุตดีไวซ์ที่ประกอบด้วยพื้นผิวเรียบ และ stylus หรือ puck แผ่นเรียบจะมีสายที่เป็นตาข่าย 2 มิติที่สามารถตรวจจับสัญญาณที่สร้างจาก puck ที่เคลื่อนที่บนแผ่นเรียบนั้น แผ่นเรียบจะส่งตำแหน่ง X-Y และสถานะของปุ่มบน puck

6 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
จอยสติ๊ก (Joystick) : บอกตำแหน่งแนวตั้งและแนวนอนด้วยระยะก้านที่ยื่นออกมาจากฐานของจอยสติ๊ก ส่วนมากนิยมนำมาใช้งานกับวิดีโอเกมส์ และเพื่อกำหนดตำแหน่งในระบบกราฟิก

7 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
สแกนเนอร์ (Scanner) : อุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล การแสดงผลกราฟิก -API (Application Programming Interface) ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันกับฮาร์ดแวร์ โดยโปรแกรมเมอร์ไม่จำเป็นต้องทราบการทำงานของฮาร์ดแวร์และไม่จำเป็นต้องส่งคำสั่งไปให้ฮาร์ดแวร์ทำงานโดยตรง -เช่นเดียวกับโปรแกรมกราฟิก ที่สามารถติดต่อและส่งคำสั่งให้ฮาร์ดแวร์นั้นทำงานได้ทันทีและมีประสิทธิภาพ -โดยปกติแล้วระบบปฏิบัติการ (Operating Systems) จะจัด API ที่เหมาะสมให้สำหรับการทำงานที่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว

8 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)

9 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
ซีพียูคือหัวใจของคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากการประมวลผลหลักจะเกิดขึ้นที่ส่วนนี้ ซีพียูมีหลากหลายความเร็วและหลากหลายราคา โดยซีพียูปัจจุบันมีสองเจ้าหลักที่ทำการแข่งขันมาโดยตลอดคือ Intel และ AMD ส่วนประกอบ •CPU ◦MAINBOARD ◦RAM ◦HARD DISK ◦DISPLAY CARD ◦POWER SUPPLY ◦MONITOR ◦CASE

10 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
ซีพียู (CPU) ซีพียูคือหัวใจของคอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากการประมวลผลหลักจะเกิดขึ้นที่ส่วนนี้ ซีพียูมีหลากหลายความเร็วและหลากหลายราคา โดยซีพียูปัจจุบันมีสองเจ้าหลักที่ทำการแข่งขันมาโดยตลอดคือ Intel และ AMD งานตัดต่อกราฟิกภาพใหญ่ ๆ ทำงานด้านวิดีโอ การพิจารณาเลือกใช้ซีพียูระดับบนในตระกูล FX จาก AMD หรือ i5, i7 จาก Intel จะเป็นตัวเลือกที่เหมาะ โดยเฉพาะหากมีการทำงานที่มีความซับซ้อนเช่นทำวิดีโอ หรือปั้นโมเดลสามมิติ การเลือกซีพียูระดับบนสุดจะเห็นผลชัดเจนมาก

11 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
เมนบอร์ด (Mainboard) เมนบอร์ดเป็นเหมือนแผงวงจรหลักที่อุปกรณ์ทั้งหมดจะเสียบลงไป ฉะนั้นอันดับแรกคือต้องเลือก Socket ให้ตรงกับซีพียูที่ซื้อหรือเลือกไว้ เช่นหากซื้อซีพียูแบบ LGA 1150 ก็ต้องซื้อเมนบอร์ดที่เป็น Socket LGA 1150 เป็นต้นเพื่อที่จะใส่ด้วยกันได้ ส่วนเรื่องรุ่นไหนรองรับซีพียูรุ่นไหนได้บ้างหรือไม่ ปัจจุบันไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไรนัก (เลือกให้ตรง socket ก็มั่นใจได้ระดับหนึ่งว่าจะสามารถใช้งานกับซีพียูที่ซื้อมาได้ แต่ก็ควรเช็คเพิ่มเติมเพื่อความมั่นใจ) ที่เหลือก็จะเป็นเรื่องคุณสมบัติที่เมนบอร์ดมาให้ได้แก่ พอร์ตสำหรับเสียบการ์ดจอ (PCI-E) หรือพอร์ตแบบ PCI ปกติว่ามีกี่พอร์ต นอกจากนี้จะยังมีเรื่องของสล็อตแรม ปัจจุบันส่วนใหญ่มีให้ 4 ช่องสำหรับเมนบอร์ดทั่ว ๆ ไปและ 2 ช่องสำหรับเมนบอร์ดแพลทฟอร์มเล็ก นอกจากนี้เมนบอร์ดบางตัวอาจติดลูกเล่นอย่างสามารถรับสัญญาณ Wi-Fi หรือส่ง Bluetooth ได้ก็มีแต่ราคาก็จะสูงตามไปด้วย

12 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
แรม (RAM) แรมแบบ DDR4 จะเริ่มเข้ามามีบทบาทบ้างแล้วในวงการคอมพิวเตอร์ระดับบน ๆ แต่ปัจจุบันราคายังถือว่าแพงมากและหาคนที่จะซื้อมาใช้งานนั้นน้อยอยู่ในตอนนี้ ฉะนั้นตอนนี้แรมแบบ DDR3 ยังเป็นพระเอกไปได้อีกอย่างน้อยก็สักสองหรือสามปีจนกว่า DDR4 ราคาจะถูกลงจนคนทั่วไปสามารถซื้อกันได้ สำหรับการเลือกแรมนั้นจะมีสองส่วนที่ควรพิจารณา ได้แก่บัสหรือความเร็วของแรม จะมีตั้งแต่ 1600, 1866 หรือ 2400 MHz สำหรับ DDR3 ซึ่งบัสที่สูงขึ้นก็แลกมาด้วยราคาที่สูงตามไปด้วย ซึ่งแรมที่มีค่า MHz สูง ๆ ก็เหมาะกับการใช้งานงานที่ต้องการถ่ายโอนข้อมูลจำนวนมากระหว่างแรมเช่นงานตัดต่อวิดีโอ งานด้านกราฟิก

13 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) สื่อเก็บข้อมูลหลักในคอมพิวเตอร์ของเรา ปัจจุบันมีสองแบบคือ HDD (Hard Disk Drive) ซึ่งเป็นแบบจานหมุนใช้หัวอ่าน แบบที่เรารู้จักกันดี และล่าสุดที่กำลังนิยมใช้กันคือ SSD (Solid State Drive) ที่เก็บข้อมูลลงชิปหน่วยความจำ ส่วนฮาร์ดดิสก์อีกแบบคือ SSD (Solid State Drive) เป็นการเก็บข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งจะเก็บลงชิปหน่วยความจำแทนที่จะลงบนจานแผ่นแม่เหล็กแบบปกติ ข้อดีที่สุดของ SSD คือความเร็วที่สูงมากรวมถึงมี Access Time ที่ต่ำ ทำงานกับไฟล์จำนวนมากทั้งการเขียนและอ่านได้อย่างรวดเร็ว

14 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
การ์ดจอในระดับบนของ AMD และ Nvidia ในขณะนี้ได้แก่ - Geforce GTX 980, 970 - AMD Radeon R9 290X, 280X ระดับกลาง - GeForce GTX 960, AMD Radeon R9 270X และระดับล่างคือ GTX 750, R7 250 ลงไป การ์ดจอ (Display Card) จอแสดงผล (Monitor) ปัจจุบันมีหลายแบบโดยแยกตามคุูณภาพของวัสดุภายนอก ภายใน และการเชื่อมต่อ โดยจอมอนิเตอร์นั้นปัจจุบันถ้าให้แนะนำคือควรจะใช้งานสัก 20 นิ้วเป็นอย่างต่ำ และความละเอียดระดับ Full HD (1920 x 1080)หรือมากกว่า เพื่อที่จะรองรับการดูหนังฟังเพลงในยุคนี้แบบเต็มที่ โดยรายละเอียดเรื่องการเลือกซื้อจอนั้นสามารถเข้าไปดูได้อีกบทความซึ่งผมเขียนไว้นานแล้วพอสมควร

15 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
Intel CPU: Core i GHz 6,250 บาท Mainboard: MSI H97M-E35 2,490 บาท RAM: DDR3 8GB ราคา 2,700 บาท Power Supply: Corsair CX 500M 2,450 บาท HDD: Western Digital Blue 1TB 1,990 บาท Display Card: MSI AMD Radeon R9 270X 7,200 บาท DVD Drive 600 บาท Case: เลือกเอาตามสะดวก 1,500 บาท Monitor + Keyboard + Mouse 4,000 บาท รวมราคา 29,180 บาท AMD CPU: AMD FX GHz 5,300 บาท Mainboard: Gigabyte GA-970A-D3P 2,790 บาท RAM: DDR3 8GB ราคา 2,700 บาท Power Supply: Corsair CX 500M 2,450 บาท HDD: Western Digital Blue 1TB 1,990 บาท Display Card: MSI AMD Radeon R9 270X 7,200 บาท DVD Drive 600 บาท Case: เลือกเอาตามสะดวก 1,500 บาท Monitor + Keyboard + Mouse 4,000 บาท รวมราคา 28,530 บาท

16 การเตรียมพร้อมในการทำงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก(ต่อ)
•jib.co.th pricelist ร้านคอมพิวเตอร์ที่มีสาขาทั่วทั้งประเทศ มีของในระดับแทบทุกเกรดให้เช็คราคา •Bananait.com ร้านคอมพิวเตอร์ที่มีสาขาแทบทั่วทั้งประเทศเช่นเดียวกัน สามารถเช็คราคาได้เช่นเดียวกัน (ถึงจะไม่ได้เรียงเป็นรายชื่อให้ดูง่าย ๆ เหมือนร้านอื่นก็ตามที) •Advice.co.th อีกหนึ่งดีลเลอร์เจ้าใหญ่ที่มีร้านคอมเป็นสาขาย่อยมากทีเดียว โดยเฉพาะเขตต่างจังหวัด สามารถเช็คราคาได้เช่นเดียวกัน •Busitek.com pricelist ร้านคอมพิวเตอร์ชื่อดังในห้างพันธุ์ทิพย์ เน้นอุปกรณ์ระดับกลางถึงบน •Jedi pricelist อีกร้านในพันธุ์ทิพย์ที่เน้นอุปกรณ์ระดับกลางถึงบน

17 ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบกราฟิก
“การฝึกคิดสร้างสรรค์ก็คล้ายกับการถีบจักรยาน หากเราหัดจนคล่องแล้วไม่ว่าจะกลับมาถีบอีกเมื่อไหร่ เราก็จะทำมันได้เสมอ” “ความคิดสร้างสรรค์” (Creativity) หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า มันเป็นเรื่องของ “พรสวรรค์” ที่เกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่มีมันสมองชนิดพิเศษเท่านั้น หากแต่ในความเป็นจริงแล้วความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็น “กระบวนการทำงาน” ของสมองแบบอัตโนมัติ และมนุษย์ทุกคนก็ถูกกำหนดให้มีความคิดสร้างสรรค์กันมาตั้งแต่เกิด(!) แต่ใครจะสร้างสรรค์ได้มากน้อยกว่ากันเท่าไร มันก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน น้ำอดน้ำทน ความมุ่งมั่น ความสนใจใคร่รู้ต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิด “การฝึกหัด” ขึ้น

18 ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)
ความคิดสร้างสรรค์คือ ความคิดเชื่อมโยงที่พยายามหาทางออกหลาย ๆทาง ใช้ความคิดที่หลากหลาย แสวงหาความเป็นไปได้ใหม่ ๆ และนอกกรอบ คัดสรรค์หาทางเลือกใหม่ ๆและพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมีวิธีการอยู่ ๖ ขั้นตอน คือ 1.แสวงหาข้อบกพร่อง(Mess Finding) 2.รวบรวมข้อมูล(Data Finding) 3.มองปัญหาทุกด้าน(Problem Finding) 4.แสวงหาความคิดที่หลากหลาย(Idea Finding) 5.หาคำตอบที่รอบด้าน(Solution Finding) 6.หาข้อสรุปที่เหมาะสม(Acceptance Finding) Read more: ความคิดสร้างสรรค์ มีความหมายแยกได้เป็น 3 ประเด็นหลัก คือ เป็นความคิดแง่บวก หรือ Positive thinking เป็นการกระทําที่ไม่ทําร้ายใคร หรือ Constructive thinking เป็นการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ หรือ Creative thinking ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้ 2 ทาง คือ เริ่มจากจินตนาการแล้วย้อนสู่ความจริง เกิดจากการที่เรานํา ความฝันและจินตนาการ ซึ่งเป็น เพียงความคิด ความใฝ่ฝันที่ยังไม่เป็นจริง แต่เกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทําให้ความฝันนั้นเป็นจริง เริ่มจากความรู้ที่มีแล้วคิดต่อยอดสู่สิ่งใหม่ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) เกิดจากการนํา ข้อมูลหรือความรู้ที่มีอยู่มาคิดต่อยอด หรือคิดเพิ่มฐานข้อมูลที่มีอยู่ จะเป็นเหมือนตัวเขี่ยความคิดให้เราคิดใน เรื่องใหม่ๆ Read more:

19 ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)

20 ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)
Program Analysis จุดเริ่มต้นของงานออกแบบคือ ปัญหา ... มีปัญหา มีโจทย์ จึงมีการออกแบบแก้ไขโจทย์ที่ว่านั้นมีความยากง่ายต่างกันแล้วแต่ชนิดของงาน แต่โจทย์ไม่มีทางออก-แบบได้ ถ้าปราศจากการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง การวิเคราะห์หลัก ๆ สำหรับโจทย์งานกราฟิกมักจะเป็นดังนี้ What เราจะทำงานอะไร ? กำหนดเป้าหมายของงานที่จะทำ ซึ่งเป็นเรื่องเบื้องต้นในการออกแบบที่เราจะต้องรู้ก่อนว่า จะกำหนดให้งานของเราบอกอะไร(Inform) เช่น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ บอกทฤษฎี หรือหลักการ เพื่อความบันเทิง เป็นต้น Where งานของเราจะนำไปใช้ที่ไหน ? เช่น งานออกแบบผนังร้านหนังสือที่สยามสแควร์ที่เต็มไปด้วยร้านค้าแหล่งวัยรุ่น คงต้องมีสีสันฉูดฉาดสะดุดตามาก-กว่าร้านแถวสีลม ซึ่งสถานที่ในเขตคนทำงาน ซึ่งมีอายุมากขึ้น Who ใครคือคนที่มาใช้งาน ? หรือกลุ่มผู้ใช้งานเป้าหมาย (User TargetGroup) เป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการวิเคราะ์ห์โจทย์เพื่อการออกแบบ เพราะผู้ใช้งานเป้าหมายอาจเป็นตัวกำหนดแนวความคิดและรูปลักษณ์ของงานออกแบบได้เช่น งานออกแบบโปสเตอร์สำหรับผู้ใหญ่ เราต้องออกแบบโดยใช้สีจำนวนไม่มากไม่ฉูดฉาด และต้องใช้ตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ รวมถึงจัดวางอย่างเรียบง่ายมากกว่า ผู้ใช้ในวัยอื่น ๆ How แล้วจะทำงานชิ้นนี้อย่างไร ? การคิดวิเคราะห์ในขั้นสุดท้ายนี้อาจจะยากสักหน่อย แต่เป็นการคิดที่รวบรวมการวิเคราะห์ที่มีมาทั้งหมดกลั่นออกมาเป็นแนวทาง

21 ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)
แนวคิดในการออกแบบ (Conceptual design) นักออกแบบที่ดี อย่างน้อยควรมีความรู้พื้นฐาน ในการแก้ไขปัญหา เมื่อมีปัญหาก็สามารถรู้ว่าปัญหานั้นเคยได้รับการแก้ไขอย่างไรมาก่อน นักออกแบบที่ดีควรให้ความสนใจกับ โครงสร้างทางวิศวกรรมของงานชิ้นนั้นๆ และมีความรู้พื้นฐาน ในโครงสร้างลักษณะของการทำงาน และลักษณะการใช้งานของสิ่งที่ได้ออกแบบ แนวคิดในการออกแบบที่ดี ผู้ออกแบบจะต้องไม่สนใจแต่ในความงามเพียงอย่างเดียว แนวคิดในการออกแบบที่ดี ต้องใช้งานง่าย และสร้างประโยชน์แก่ผู้ใช้ได้อย่างสูงสุด โดยนักออกแบบที่ดีจะต้องมีการบริหารจัดการทรัพยากร ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม แนวคิดในการออกแบบ จะแสดงออกให้เห็นได้ในผลงานที่ออกแบบ หากผู้ออกแบบมีแนวคิดที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ และมีเอกลักษณ์ของตน การออกแบบนั้นก็จะได้ผลงานที่ดี มีคุณค่า และมีเอกลักษณ์ หากผู้ออกแบบไม่มีแนวคิดที่ดี ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ และไม่มีเอกลักษณ์ของตน หรือว่าเพียงแต่เอางานที่มีอยู่เดิมแล้ว มาปรับเปลี่ยนเล็กน้อย หรือลอกเลียนการออกแบบของผู้อื่น มาดัดแปลงเพียงเล็กน้อย ผลงานที่ออกมาก็จะไม่มีคุณค่า ไม่มีเอกลักษณ์ เป็นเพียงผลงานการออกแบบที่พื้นๆ ธรรมดา จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ วิธีการคิดและการแก้ปัญหา -วิธีการคิดและการแก้ปัญหา - การคิดแบบทีละขั้น

22 ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)
Case Study การศึกษากรณีตัวอย่างเป็นการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของงานที่มีอยู่แล้ว เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ออกแบบในงานของเรา สำหรับผมการทำกรณีศึกษานับเป็นเรื่องสำคัญมากทีเดียวในงานออกแบบ เพราะเปรียบเสมือนตัวชี้แนะหนทางในการออกแบบหรือแก้ไขปัญหาของเราได้ แต่จงระวังว่าอย่าไปติดกับรูปแบบที่ชื่นชอบมากเพราะ อาจจะทำให้เราติดกับกรอบความคิด ติดกับภาพที่เห็นจนบางครั้งไม่สามารถสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ออกมาได้ ซึ่งการติดรูปแบบหรือภาพมากเกินไปนี้เอง มันจะซึบซับมาสู่งานของเรา จนกลายเป็นการตบแบบหรือลอกแบบชาวบ้านมานั่นเอง

23 ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)
Preliminary Design การออกแบบร่างเป็นเรื่องสำคัญที่หลายคนมักมองข้าม การออกแบบร่างคือ การออกแบบร่างเอาแนวความคิดที่เรามีออกมาตีความเป็นแบบ ซึ่งส่วนใหญ่เวลาทำงานเรามักจะสเก็ตงานด้วยมือออกมาเป็นแบบร่างก่อน (สเก็ตด้วยมือไม่ได้สวยอะไรมาก ให้เราเข้าใจคนเดียว หรือเพื่อนที่ร่วมงานกับเราเข้าใจก็พอ) เพราะการสเก็ตจากมือคือการถ่ายทอดสิ่งที่อยู่ในสมองของเรา สิ่งที่เป็นนามธรรมให้ ออกมาเป็นรูปธรรม ความคิดออกมาจากสมองกลายเป็นสิ่งที่เห็นได้ จับต้องได้บนกระดาษ แล้วจับไอ้นี่ที่เราสเก็ต หรือแบบร่างนั่นแหละ ไปทำต่อ โดยนำไปออกแบบในโปรแกรมที่ตนถนัด ไม่ว่าจะเป็น Photoshop, Illustrator ฯลฯ ซึ่งก็แล้วแต่คนออกแบบแต่ละคน

24 ความคิดสร้างสรรค์กับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)
Design ออกแบบจริงจากแบบร่างที่มีอยู่ จากแบบร่างทั้งหมดที่เราคัดเลือกแล้ว คราวนี้แหละที่เราต้องเลือกเอามาออกแบบในโปรแกรมที่เราถนัด ที่มา :

25 กระบวนการและการวางแผนการดำเนินงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก
ในการออกแบบงานกราฟิก ควรมีการวางแผนและกำหนดขั้นตอนการทำงานให้เป็นระบบ เพื่อจะทำให้งานที่ผลิตขึ้นมีคุณภาพดี โดยคำนึงถึงขั้นตอนที่ใช้ในการผลิตและการออกแบบ ดังนี้ 1. ขั้นการคิด ต้องคิดว่า จะทำอะไร ทำเพื่อใคร ทำอย่างไร และการออกแบบอย่างไร 2. ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล เป็นการเสาะหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุ รวมถึงวัสดุอุปกรณ์ด้วย 3. ขั้นการร่างหรือสร้างหุ่นจำลอง โดยการเขียนภาพคร่าว ๆ หลาย ๆ ภาพ แล้วเลือกเอาภาพที่ดีที่สุด 4. ขั้นการลงมือสร้างงาน เป็นการขยายผลงานด้วยวัสดุและวิธีการที่เตรียมไว้ 5. หลักที่ควรพิจารณาเกี่ยวกับการใช้สี

26 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก
การจัดองค์ประกอบศิลป์ (Principles of design) หมายถึง การจัดองค์ประกอบของงานศิลปะทั้งรูปแบบ 2 มิติ และ 3 มิติเพื่อให้เกิดการรับรู้ที่สมบูรณ์ สวยงามบนพื้นฐานของการสร้างสรรค์

27 การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ คุณค่าทางด้านเรื่องราว
การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ) คุณค่าทางด้านรูปทรง : นำเสนอเนื้อหาเรื่องราวผ่านรูปลักษณะที่เกิดจากการจัดองค์ประกอบทางศิลปะถ้าองค์ประกอบที่จัดขึ้น การจัดองค์ประกอบทางศิลปะ (Art Composition) นำเสนอผ่านเทคนิคต่างๆอย่างสัมพันธ์กันเพื่อการสื่อความหมายที่สมบูรณ์สวบงาม เกิดจากการนำเอา องค์ประกอบต่างๆ ของศิลปะอันได้แก่  เส้น  สี  แสงและเงา  รูปร่าง  รูปทรง  พื้นผิว  ฯลฯมาจัดเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดความงาม คุณค่าทางด้านเรื่องราว : สิ่งที่ศิลปินต้องการสื่อให้ผู้ชมได้รับรู้

28 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
หลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ ประกอบด้วยหลักการสำคัญ ดังนี้ 1. สัดส่วน (PROPERTY) คือ ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดของ องค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรงและรวมถึง ความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วย  ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่มากไม่น้อย ขององค์ประกอบทั้งหลายที่นำมาจัดรวมกัน ความเหมาะสมของสัดส่วนอาจ พิจารณาจากคุณลักษณะดังต่อไปนี้

29 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
1.1  สัดส่วนที่เป็นมาตรฐาน จากรูปลักษณะตามธรรมชาต ของ คน สัตว์  พืช ซึ่งโดยทั่วไป ถือว่า สัดส่วนตามธรรมชาติ  จะมีความงามที่เหมาะสมที่สุด หรือจากรูปลักษณะที่เป็นการ สร้างสรรค์ของมนุษย์ เช่น Gold section เป็นกฎในการสร้างสรรค์รูปทรงของกรีก ซึ่งถือว่า "ส่วนเล็กสัมพันธ์กับส่วนที่ใหญ่กว่า  ส่วนที่ใหญ่กว่าสัมพันธ์กับส่วนรวม"  ทำให้สิ่งต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นมีสัดส่วนที่สัมพันธ์กับทุกสิ่งอย่างลงตัว

30 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
1.2  สัดส่วนจากความรู้สึก    โดยที่ศิลปะนั้นไม่ได้สร้างขึ้นเพื่อความงามของรูปทรงเพียง อย่างเดียว แต่ยังสร้างขึ้นเพื่อแสดงออกถึง  เนื้อหา เรื่องราว ความรู้สึกด้วย  สัดส่วนจะช่วย เน้นอารมณ์ ความรู้สึก ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ และเรื่องราวที่ศิลปินต้องการ ลักษณะเช่น  นี้ ทำให้งานศิลปะของชนชาติต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน เนื่องจากมีเรื่องราว อารมณ์ และ ความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกต่าง ๆ กันไป เช่น   กรีก   นิยมในความงามตามธรรมชาติเป็น อุดมคติ เน้นความงามที่เกิดจากการประสานกลมกลืนของรูปทรง    จึงแสดงถึงความเหมือน จริงตามธรรมชาติ ส่วนศิลปะแอฟริกันดั้งเดิม เน้นที่ความรู้สึกทางวิญญานที่น่ากลัว ดังนั้น รูปลักษณะจึงมีสัดส่วนที่ผิดแผกแตกต่าง ไปจากธรรมชาติทั่วไป

31 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
2. ความสมดุล หรือ ดุลยภาพ (BALANCE)หมายถึง น้ำหนักที่เท่ากันขององค์ประกอบ  ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง  ในทางศิลปะยังรวมถึงความประสานกลมกลืน ความพอเหมาะพอดีของ ส่วนต่าง ๆ ในรูปทรงหนึ่ง หรืองานศิลปะ ชิ้นหนึ่ง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ   ลงในงานศิลปกรรมนั้นจะต้องคำนึงถึงจุดศูนย์ถ่วง ในธรรมชาติ นั้น   ทุกสิ่งสิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้โดยไม่ล้มเพราะมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากันทุกด้านฉะนั้น  ในงานศิลปะถ้ามองดูแล้วรู้สึกว่าบางส่วนหนักไป แน่นไป  หรือ เบา  บางไปก็จะทำให้ภาพนั้นดูเอนเอียง   และเกิดความ รู้สึกไม่สมดุล เป็นการบกพร่องทางความงาม  ดุลยภาพในงานศิลปะ มี  2 ลักษณะ คือ

32 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
  2.1 ดุลยภาพแบบสมมาตร (Symmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาเหมือนกัน คือ การวางรูปทั้งสองข้างของแกนสมดุล    เป็นการสมดุลแบบธรรมชาติลักษณะแบบนี้ใน ทางศิลปะมีใช้น้อย ส่วนมากจะใช้ในลวดลายตกแต่ง ในงานสถาปัตยกรรมบางแบบ หรือ ในงานที่ต้องการ ดุลยภาพที่นิ่งและมั่นคงจริง ๆ

33 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
  2.2 ดุลยภาพแบบอสมมาตร (Asymmetry Balance) หรือ ความสมดุลแบบซ้ายขวาไม่เหมือนกันมักเป็นการสมดุลที่เกิดจาการจัดใหม่ของมนุษย์ ซึ่งมีลักษณะที่ทางซ้ายและขวาไม่เหมือนกัน ใช้องค์ประกอบที่ไม่เหมือนกันแต่มีความสมดุลกัน   อาจเป็นความสมดุลด้วย น้ำหนักขององค์ประกอบ หรือสมดุลด้วยความรู้สึก ก็ได้  การจัดองค์ประกอบให้เกิดความ สมดุลแบบอสมมาตรอาจทำได้โดย  เลื่อนแกนสมดุลไปทางด้านที่มีน้ำหนักมากว่า   หรือ เลื่อนรูปที่มีน้ำหนักมากว่าเข้าหาแกน  จะทำให้เกิดความสมดุลขึ้น หรือใช้หน่วยที่มีขนาดเล็กแต่มีรูปลักษณะที่น่าสนใจถ่วงดุลกับรูปลักษณะที่มีขนาดใหญ่แต่มีรูปแบบธรรมดา

34 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
3.จังหวะลีลา(Rhythm)  หมายถึง  การเคลื่อนไหวที่เกิดจาการซ้ำกันขององค์ประกอบ เป็นการซ้ำที่เป็นระเบียบ จากระเบียบธรรมดาที่มีช่วงห่างเท่าๆ กัน มาเป็นระเบียบที่สูงขึ้น ซับซ้อนขึ้นจนถึงขั้นเกิดเป็นรูปลักษณะของศิลปะ  โดยเกิดจาก การซ้ำของหน่วย หรือการสลับกันของหน่วยกับช่องไฟหรือเกิดจาก การเลื่อนไหลต่อเนื่องกันของ เส้น สี รูปทรงหรือ น้ำหนัก ด้วยการเว้นช่วง หรือสลับช่วง ก็จะเกิดลวดลาย ที่แตกต่างกันออกไป จังหวะที่น่าสนใจและมีชีวิต ได้แก่ การเคลื่อนไหวของ คน สัตว์  การเติบโตของพืช  การเต้นรำ เป็นการเคลื่อนไหวของโครงสร้างที่ให้ความบันดาลใจในการสร้างรูปทรงที่มีความหมาย

35 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
4. การเน้น(Emphasis) หมายถึง  การกระทำให้เด่นเป็นพิเศษกว่าธรรมดา ในงานศิลปะจะต้องมี ส่วนใดส่วนหนึ่ง  หรือจุดใดจุดหนึ่ง ที่มีความสำคัญกว่าส่วนอื่น ๆ   งานที่ไม่มีจุดสนใจ หรือจุดเน้น  จะทำให้ดูน่าเบื่อ เหมือนกับลวดลายที่ถูกจัดวางซ้ำกันโดยปราศจากความหมาย หรือเรื่องราวที่น่าสนใจดังนั้น  ส่วนนั้นจึงต้องถูกเน้น ให้เห็นเด่นชัดขึ้นมา เป็นพิเศษกว่าส่วนอื่น ๆ  ซึ่งจะทำให้ผลงานมีความงาม สมบูรณ์ ลงตัว และน่าสนใจมากขึ้นการเน้นจุดสนใจ สามารถทำได้  3  วิธี คือ

36 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
4.1 การเน้นด้วยการใช้องค์ประกอบที่ตัดกัน (Emphasis by Contrast) สิ่งที่แปลกแตกต่างไปจากส่วนอื่นๆ ของงาน จะเป็นจุดสนใจ ดังนั้น การใช้องค์ประกอบที่มีลักษณะ แตกต่าง หรือขัดแย้ง กับส่วนอื่น ก็จะทำให้เกิดจุดสนใจขึ้นใน ผลงานได้ 4.2 การเน้นด้วยการด้วยการอยู่ โดดเดี่ยว (Emphasis by Isolation)  เมื่อสิ่งหนึ่งถูกแยกออกไปจากส่วนอื่น ๆ ของภาพ หรือกลุ่มของมัน สิ่งนั้นก็จะเป็นจุดสนใจ   และเกิดความสำคัญขึ้นมา  

37 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
4.3 การเน้นด้วยการจัดวางตำแหน่ง (Emphasis by Placement) เมื่อองค์ประกอบอื่น ๆ ชี้นำมายังจุดใด ๆ จุดนั้นก็จะเป็นจุดสนใจที่ถูกเน้นขึ้นมา 

38 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
5. เอกภาพ(Unity)  หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์ประกอบศิลป์ทั้งด้านรูปลักษณะ และด้านเนื้อหาเรื่องราว  เป็นการประสานหรือจัดระเบียบของส่วนต่าง ๆให้เกิดความเป็น หนึ่งเดียว เพื่อผลรวมอันไม่อาจแบ่งแยกส่วนใดส่วนหนึ่งออกไป การสร้างงานศิลปะ คือ  การสร้างเอกภาพขึ้นจากความสับสน  ความยุ่งเหยิง  เป็นการจัดระเบียบ และดุลยภาพ ให้แก่สิ่งที่ขัดแย้งกันเพื่อให้รวมตัวกันได้ โดยการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆให้สัมพันธ์กันเอกภาพของงานศิลปะ มีอยู่  2 ประการ คือ

39 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
5.1 เอกภาพของการแสดงออก หมายถึง การแสดงออกที่มีจุดมุ่งหมายเดียว แน่นอน และมีความเรียบง่าย  งานชิ้นเดียวจะแสดงออกหลายความคิด หลายอารมณ์ไม่ได้ จะทำให้สับสน ขาดเอกภาพ  และการแสดงออกด้วยลักษณะเฉพาตัวของ ศิลปินแต่ละคน ก็สามารถทำให้ เกิดเอกภาพแก่ผลงานได้

40 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
5.2 เอกภาพของรูปทรง คือ การรวมตัวกันอย่างมีดุลยภาพ และมีระเบียบขององค์ประกอบ ทางศิลปะ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงหนึ่ง ที่สามารถแสดงความคิดเห็นหรืออารมณ์ของศิลปิน ออกได้อย่างชัดเจน เอกภาพของรูปทรง เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดต่อความงามของผลงานศิลปะ เพราะเป็นสิ่งที่ศิลปินใช้เป็นสื่อในการแสดงออกถึงเรื่องราว  ความคิด และอารมณ์ 

41 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
กฎเกณฑ์ในการสร้างเอกภาพในงานศิลปะเป็นกฎเกณฑ์เดียวกันกับธรรมชาติ  ซึ่งมีอยู่ 2 หัวข้อ  คือ   1. กฎเกณฑ์ของการขัดแย้ง (Opposition) มีอยู่ 4 ลักษณะ คือ           1.1 การขัดแย้งขององค์ประกอบทางศิลปะแต่ละชนิด  และรวมถึงการขัดแย้งกันขององค์ประกอบต่างชนิดกันด้วย           1.2 การขัดแย้งของขนาด           1.3 การขัดแย้งของทิศทาง           1.4 การขัดแย้งของที่ว่างหรือ จังหวะ ง่ายที่สุด แต่ก็ทำให้ดูจืดชืด น่าเบื่อที่สุด

42 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
2. กฎเกณฑ์ของการประสาน (Transition) คือ การทำให้เกิดความกลมกลืน ให้สิ่งต่าง ๆ เข้ากันด้อย่างสนิท    เป็นการสร้างเอกภาพจากการวมตัวของสิ่งที่เหมือนกันเข้าด้วยกันการประสาน มีอยู่  2   วิธี  คือ           2.1 การเป็นตัวกลาง (Transition) คือ  การทำสิ่งที่ขัดแย้งกันให้กลมกลืนกัน ด้วยการ ใช้ตัวกลางเข้าไปประสาน  เช่น สีขาว กับสีดำ ซึ่งมีความแตกต่าง ขัดแย้งกันสามารถทำให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีเอกภาพ ด้วยการใช้สีเทาเข้าไปประสาน  ทำให้เกิดความกลมกลืนกันมากขึ้น           2.2 การซ้ำ (Repetition)  คือ การจัดวางหน่วยที่เหมือนกันตั้งแต่ 2 หน่วยขึ้นไป  เป็นการสร้างเอกภาพที่ง่ายแต่จะดูน่าเบื่อ

43 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
 1. ความเป็นเด่น (Dominance)  ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ       1.1 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการขัดแย้ง ด้วยการเพิ่ม หรือลดความสำคัญ   ความน่าสนใจในหน่วยใดหน่วยหนึ่งของคู่ที่ขัดแย้งกัน       1.2 ความเป็นเด่นที่เกิดจากการประสาน    2. การเปลี่ยนแปร (Variation) คือ การเพิ่มความขัดแย้งลงในหน่วยที่ซ้ำกัน เพื่อป้องกัน ความจืดชืด น่าเบื่อ ซึ่งจะช่วยให้มีความน่าสนใจมากขึ้น การเปลี่ยนแปรมี  4  ลักษณะ คือ       2.1 การปลี่ยนแปรของรูปลักษณะ       2.2 การปลี่ยนแปรของขนาด       2.3 การปลี่ยนแปรของทิศทาง       2.4 การปลี่ยนแปรของจังหวะ             การเปลี่ยนแปรรูปลักษณะจะต้องรักษาคุณลักษณะของการซ้ำไว้ ถ้ารูปมีการเปลี่ยน แปรไปมาก  การซ้ำก็จะหมดไป  กลายเป็นการขัดแย้งเข้ามาแทน

44 การจัดองค์ประกอบในงานกราฟิก(ต่อ)
อ้างอิง ศักดิ์ชัย เกียรตินาคินทร์. หลักการออกแบบศิลปะ Principles of Design. สำนักพิมพ์ไว้ลาย. พิมพ์ที่ พิมพ์ดี. กรุงเทพ. หลักการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ  Principles of Composition. [cited 23 ม.ค. 2555]. Available from:

45 สีและแสงกับการออกแบบกราฟิก
สี Hue สีเป็น องค์ประกอบหลักที่สำคัญในการออกแบบ สีมีอิทธิพลในเรื่องของอารมณ์ การสื่อความหมายที่เด่นชัด และกระตุ้นต่อการรับรู้ของคนเราได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เรื่องของสียังเป็นเรื่องสำคัญในการออกแบบ เพื่อความสวยงาม สื่อความหมาย องค์ประกอบของสีในงานออกแบบนั้น มีคุณสมบัติอยู่ 3 ประการคือ 1. สี,เนี้อสี (Hue) 2. น้ำหนักสี (Value / Brightness) 3. ความสดของสี (Intensity / Saturation) องค์ประกอบของแสงในงานออกแบบ 1. สีของแสง (Coloured Light) สีของแสง คือความแตกต่างสั้นยาวของคลื่นแสงที่เรา มองเห็น เริ่มจากสีม่วงไปสีแดง 2. สีของสาร (Coloured Pigment) สีของสาร คือสีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่าง ๆ ซึ่งเกิดจาก การดูดซืมและสะท้อนของความยาวคลื่นแสง

46 สีและแสงกับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)
การผสมสี 1.การผสมสีแบบบวก (Additive Color Mixing) เป็นการ ผสมสีของ "แสง" ซึ่งอาจเข้าใจยากสักหน่อย เพราะแตกต่าง จากความคุ้นเคยที่เราเคยรู้กันมา แสงสีขาวที่เห็นทั่วไปนั่นประกอบดวยแสงที่มีความยาวคลื่น ต่าง ๆ กันซ้อนทับรวมตัวกันเกิดเป็นสีสันต่าง ๆ จึงเรียกว่า "สีแบบบวก" โดยมีแม่สีพื้นฐานคือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน (Red Green and Blue) เมื่อสามสีนี้ผสมกันจะได้สีขาว (สังเกต ว่าจะต่างจากที่เคยเรียนมาตอนเด็ก ๆ ที่มีแม่สีคือ สีแดง เหลือง น้ำเงิน ผสมกันได้สีดำ) หลักการนี้นำไปใช้กับการมองเห็นสีที่เกิดจากการผสมกันของแสง เช่น จอมอนิเตอร์ จอโทรทัศน์ ที่เรียกว่า RGB Mode

47 สีและแสงกับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)
2.การผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing) เป็นสีที่เกิดจากการดูดกลืนแสงสะท้อนจาก วัตถุ คือเมื่อมีลำแสงสีขาวตกกระทบวัตถุสีต่าง ๆคลื่นแสงบางส่วนจะถูกดูดกลืนไว้ และสะท้อนเพียงบางสีออกมา จึงเป็นที่มาของชื่อ "สีแบบลบ" มีแม่สีคือ สีฟ้าแกมเขีว (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) เมื่อสามสีผสมกันจะเป็นสีดำเพราะแสงถูกดูดกลืนไว้หมด ไม่สีแสงสะท้อนมาเข้าตา จึงไม่เกิดสีอะ ตาจึงเห็นเป็นสึดำ หลักการนี้ได้นำไปใช้กับการผสมสี เพื่อใช้ในการพิมพ์ โดยใช้แม่สี แต่เพิ่มสีดำขึ้นมาอีกสีหนึ่งผสมกันเป็นโทนต่าง ๆ ด้วยใช้เม็ดสกรีน ทำให้ได้ภาพสีสันสมจริง ดังนั้น หากต้องทำงานเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ ต้องเตรียมภาพด้วยระบบสีนี้ ในโปรแกรมเรียกว่า CMYK Mode

48 สีและแสงกับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)
สรุป การออกแบบงานกราฟฟิก : เนื้อสี เนื้อสี Hue สีเป็น องค์ประกอบหลักที่สำคัญในการออกแบบ สีมีอิทธิพลในเรื่องของอารมณ์การสื่อความหมายที่เด่นชัด และกระตุ้นต่อการรับรู้ของคนเราได้เป็นอย่างดี องค์ประกอบของสีในงานออกแบบนั้น มีคุณสมบัติอยู่ 3 ประการคือ 1. สี,เนี้อสี (Hue) 2. น้ำหนักสี (Value / Brightness 3. ความสดของสี (Intensity / Saturation)

49 สีและแสงกับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)
การผสมสี 1.การผสมสีแบบบวก (Additive Color Mixing) เป็นการ ผสมสีของ "แสง" ซึ่งอาจเข้าใจยากสักหน่อย เพราะแตกต่าง จากความคุ้นเคยที่เราเคยรู้กันมา แสงสีขาวที่เห็นทั่วไปนั่นประกอบดวยแสงที่มีความยาวคลื่น ต่าง ๆ กันซ้อนทับรวมตัวกันเกิดเป็นสีสันต่าง ๆ จึงเรียกว่า "สีแบบบวก" โดยมีแม่สีพื้นฐานคือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน (Red Green and Blue) เมื่อสามสีนี้ผสมกันจะได้สีขาว

50 สีและแสงกับการออกแบบกราฟิก(ต่อ)
2.การผสมสีแบบลบ (Subtractive Color Mixing) เป็นสีที่เกิดจากการดูดกลืนแสงสะท้อนจาก วัตถุ คือเมื่อมีลำแสงสีขาวตกกระทบวัตถุสีต่าง ๆคลื่นแสงบางส่วนจะถูกดูดกลืนไว้ และสะท้อนเพียงบางสีออกมา จึงเป็นที่มาของชื่อ "สีแบบลบ" มีแม่สีคือ สีฟ้าแกมเขีว (Cyan) สีม่วงแดง (Magenta) และสีเหลือง (Yellow) เมื่อสามสีผสมกันจะเป็นสีดำเพราะแสงถูกดูดกลืนไว้หมด

51 เทคนิคการในการออกแบบกราฟิก
ส่วนสำคัญที่จะสร้างสรรค์ความสุนทรีย์บนงานออกแบบ มีองค์ประกอบอยู่ 2 ส่วน คือ 1. อักษรและตัวพิมพ์ ตัวอักษรจะทำหน้าที่เป็นส่วนแจกแจงรายละเอียดของข้อมูล สาระที่ต้องการนำเสนอด้วยรูปแบบและการจัดวางตำแหน่งอย่างสวยงาม มีความชัดเจน การออกแบบ การเลือกแบบตลอดจนการกำหนดรูปแบบของตัวอักษรที่จะนำมาใช้ ต้องมีลักษณะเด่น อ่านง่าย สวยงาม น่าสนใจ ลักษณะที่แตกต่างของตัวอักษร จึงต้องกำหนดตามสภาวะการนำไปใช้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นหัวเรื่อง หรือชื่อสินค้า จะต้องเน้นความโดดเด่นของรูปแบบมากที่สุดและส่วนที่เป็นข้อความหรือเนื้อหา ที่ต้องการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ นิยมใช้ตัวอักษรที่มีรูปแบบเรียบง่ายสะดวกในการอ่านมากที่สุด ในการเลือกใช้ตัวอักษรให้มีความเหมาะสมกับงานที่ออกแบบ ผู้ออกแบบควรได้พิจารณาถึงรูปแบบตัวอักษร ขนาดตัวอักษร รูปร่างลักษณะของตัวอักษร การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง การกำหนดสี และการจัดวางตำแหน่งให้มีความสมดุลเหมาะสมพอดี 2. ภาพและส่วนประกอบตกแต่งภาพ ภาพและส่วนประกอบตกแ่ต่งภาพ ที่ต้องการเน้นให้เกิดคุณค่าทางความงาม ซึ่งจะทำหน้าที่ในการถ่ายทอดจินตนาการออกมาเป็นรูปแบบ และนำเสนอแนวคิดให้เป็นรูปธรรมดาตามความคิดของตน เพื่อต้องการให้เกิดประสิทธิผลในการสื่อสารมากที่สุดงานออกแบบที่ดีควรนำภาพมาใช้ให้เหมาะสมกับโอกาสและหน้าที่อย่างกลมกลืน คือ 2.1 เมื่อต้องการดึงดูดความสนใจ 2.2 เมื่อต้องการใช้ประกอบการอธิบายความรู้ 2.3 เมื่อต้องการคำอธิบายความคิดรวบยอด 2.4 เมื่อต้องการอ้างอิงสิ่งที่ปรากฏขึ้นจริง 2.5 เมื่อต้องการใช้ประกอบข้อมูลทางสถิติ


ดาวน์โหลด ppt คอมพิวเตอร์กราฟิกเบื้องต้น

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google