งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

แนวปฏิบัติสำหรับการศึกษานานาชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "แนวปฏิบัติสำหรับการศึกษานานาชาติ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 แนวปฏิบัติสำหรับการศึกษานานาชาติ
ภูษณิศา นวลสกุล นักวิชาการศึกษา 8 ชำนาญการ งานพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 15/11/61

2 พระปฐมราโชวาท วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๖
15/11/61

3 พระปฐมราโชวาท วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๓๖
“…การสร้างอนาคตที่แจ่มใสมั่นคงของบัณฑิตกับการสร้างมหาวิทยาลัย มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ ต้องมีการวางแผน และตระเตรียมที่ถูกต้องและรอบคอบ ต้องมีการสำรวจและปรับปรุงตนเองอยู่ตลอดเวลาให้มีความรู้ ความสามารถ ความคิดอ่านที่ก้าวหน้าทั่วถึง ทันสมัย ทั้งต้องสังวรระวังที่จะใช้วิชาและความคิดนั้นอย่างละเอียดสุขุม ให้ได้ประโยชน์สูงสุด และตั้งเจตนาให้แน่วแน่ ที่จะอบรมบำรุงร่างกาย กำลังใจ กำลังความรู้ ไว้เป็นรากฐานสำหรับการปฏิบัติงาน พยายามพิจารณาวินิจฉัยปัญหาและกรณีต่าง ๆ ให้เป็นไปโดยถูกต้อง ด้วยหลักวิชา ความฉลาดรู้คิด และความสุจริตเป็นกลาง พยายามนำความรู้ความคิดของแต่ละคนที่มีอยู่มาเชื่อมโยงประสานกันให้สอดคล้องและพร้อมเพรียงแล้วนำออกใช้ด้วยเหตุผล ทั้งในการแก้ไขจุดที่บกพร่อง และการส่งเสริมจุดที่ดีให้ยิ่งดีขึ้น ถ้าทุกคนเตรียมการเตรียมตัวไว้ให้เข้มแข็ง พร้อมที่จะนำสติปัญญา หลักวิชา ความร่วมมือและความพากเพียรอดทน มาใช้ได้ทุกเมื่อแล้ว ก็จะสามารถสร้างตัว สร้างบ้านเมือง และต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคทุกประการ ให้บรรลุความสำเร็จและความเจริญมั่นคงในชีวิตได้ตามที่มุ่งหมาย...” 15/11/61

4 ประเด็นการนำเสนอ นโยบายกรอบพัฒนาอุดมศึกษาของประเทศ
มาตรฐานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง คำจำกัดความ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน การประเมิน 15/11/61

5 แผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว พ.ศ.2550 -2558
นโยบายการพัฒนาประเทศตามแผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 10 (พ.ศ ) และการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลายบริบท ทั้งที่เป็นโอกาสและข้อจำกัดต่อการพัฒนาประเทศ จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมของคนและระบบให้สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตและแสวงหาประโยชน์อย่างรู้เท่าทัน โลกาภิวัตน์และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกภาคส่วนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ความเปลี่ยนแปลงของประเทศที่สำคัญใน 5 บริบท ได้แก่ 15/11/61

6 (1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก
(1) การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินของโลก การเคลื่อนย้ายเงินทุน สินค้า และบริการ รวมทั้งคนในระหว่างประเทศมีความคล่องตัวมากขึ้น ประเทศไทยต้องดำเนินนโยบายการค้าในเชิงรุก ทั้งการหาตลาดเพิ่มและการผลักดันให้ผู้ผลิตในประเทศปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้บนฐานความรู้ ฐานทรัพยากรธรรมชาติและความเป็นไทย 15/11/61

7 (2)การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด
ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีวัสดุ และนาโนเทคโนโลยี สร้างความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมทั้งในด้านโอกาสและภัยคุกคาม ต้องมีการบริหารจัดการองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ทั้งการพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมมาผสมผสานร่วมกับจุดแข็งในสังคมไทย อาทิ สร้างความเชื่อมโยงเทคโนโลยีกับวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ 15/11/61

8 (3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
(3) การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม ประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นทั้งโอกาสและภัยคุกคามต่อประเทศไทย โดยด้านหนึ่งประเทศไทยจะมีโอกาสมากขึ้นในการขยายตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพ และการให้บริการด้านอาหารสุขภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและแพทย์พื้นบ้าน สถานที่ท่องเที่ยวและการพักผ่อนระยะยาวของผู้สูงอายุ จึงนับเป็นโอกาสในการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยและนำมาสร้างมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะเป็นสินทรัพย์ทางปัญญาที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ แต่ในอีกด้านก็จะเป็นภัยคุกคามในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีฝีมือและทักษะไปสู่ประเทศที่มีผลตอบแทนสูงกว่า 15/11/61

9 (4) การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี
(4) การเคลื่อนย้ายของคนอย่างเสรี ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการขนส่งและกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลให้มีการเดินทางทั้งเพื่อการท่องเที่ยวและการทำธุรกิจในที่ต่างๆ ทั่วโลกมากขึ้น ประเทศไทยจึงต้องคำนึงถึงมาตรการทั้งด้านการส่งเสริมคนไปทำงานต่างประเทศ การดึงดูดคนต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศ และมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาที่จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของคนในเชิงสุขภาพ และความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน 15/11/61

10 (5) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(5) การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวนประชากรในโลกที่มากขึ้น ได้สร้างแรงกดดันต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และการเกิดภัยธรรมชาติการเกิดการระบาดและแพร่เชื้อโรคที่มีรหัสพันธุกรรมใหม่ๆ ประเทศไทยจึงต้องยกระดับมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยปกป้องฐานทรัพยากรเพื่อรักษาความสมดุลยั่งยืนของระบบนิเวศ 15/11/61

11 มาตรฐานอุดมศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒(ฉบับที่๒)  พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๓๔ กำหนด มาตรฐานคุณภาพบัณฑิต คือ บัณฑิตระดับอุดมศึกษาเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจมีความสำนึกและความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองและพลโลก 15/11/61

12 ตัวบ่งชี้ 1. บัณฑิตมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตน สามารถเรียนรู้ สร้างและประยุกต์ความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง สามารถปฏิบัติงานและสร้างงานเพื่อพัฒนาสังคมให้สามารถแข่งขันในระดับสากล 2. บัณฑิตมีจิตสำนึก ดำรงชีวิตและปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบโดยยึดหลักคุณธรรมจริยธรรม 3. บัณฑิตมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีการดูแลเอาใจใส่รักษาสุขภาพของตนอย่างถูกต้องเหมาะสม 15/11/61

13 นโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษา
ส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนมีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรให้มีมาตรฐานที่เป็นสากล การพัฒนาหลักสูตรให้กระทำทั้งในระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษาโดยคำนึงถึงทิศทางความก้าวหน้าทางวิชาการ และความต้องการของประเทศ ด้วยการนำทรัพยากรและองค์ความรู้ต่างๆ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากฝ่ายต่างๆ มาร่วมคิดและจัดทำหลักสูตรอย่างกว้างขวาง 15/11/61

14 นโยบายในการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษา
ให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการพัฒนาหลักสูตรได้โดยอิสระตามปรัชญา และจุดมุ่งหมายของแต่ละสถาบัน อาจจัดเป็นหลักสูตรของตนเองเป็นการเฉพาะหรือจัดทำเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศก็ได้ ส่งเสริมให้สถาบัน องค์กร หน่วยงานทั้งภาครัฐและอกชน รวมทั้งสมาคมวิชาการและวิชาชีพ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษาอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการรวบรวมและระดมทรัพยากรที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนา เพื่อให้การพัฒนาหลักสูตรอุดมศึกษาเป็นไปตามเป้าประสงค์ที่มุ่งหวังไว้ 15/11/61

15 นโยบายให้สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ มาจัดการศึกษาในประเทศไทย
สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศที่จะเข้ามาจัดการศึกษาในประเทศไทยควรเป็นสถาบันที่มีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐานจากประเทศที่สถาบันนั้นตั้งอยู่แล้ว ความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศนั้น ควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพ ความเป็นเลิศ และความเข้มแข็งด้านวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาไทยให้มีมาตรฐานสากลและนำไปสู่ความเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในระดับภูมิภาคในอนาคต 15/11/61

16 นโยบายให้สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศ มาจัดการศึกษาในประเทศไทย
ส่งเสริมให้มีการแข่งขันในด้านคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างเสรี ให้มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ เรื่อง การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยอย่างกว้างขวางและแพร่หลายทั้งในประเทศและต่างประเทศ 15/11/61

17 มาตรการการส่งเสริมสนับสนุนให้สถาบันอุดมศึกษาต่างประเทศมาจัดการศึกษาในประเทศไทย
ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศนั้น และได้รับการรับรอง วิทยฐานะหรือรับรองมาตรฐาน โดยองค์กรของรัฐหรือองค์กร การทำความตกลงร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันอุดมศึกษาไทย การจัดการเรียนการสอนร่วมกัน 15/11/61

18 แนวทางปฏิบัติความตกลงร่วมมือทางวิชาการ (สาระและขอบเขต)
สาขาวิชาที่จำเป็นต้องมีความตกลงร่วมมือ เป็นสาขาที่ให้ประโยชน์แก่นักศึกษา อาจารย์ และวงวิชาการวิชาชีพทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติอย่างแท้จริง สาขาวิชาที่จำเป็นต้องมีความตกลงร่วมมือนั้น เป็นแขนงวิชาที่สถาบันอุดมศึกษาของไทย ยังอยู่ในขั้นของการพัฒนาซึ่งต้องอาศัยการสนับสนุนทางวิชาการจากสถาบันวิชาการต่างประเทศ 15/11/61

19 แนวทางปฏิบัติความตกลงร่วมมือทางวิชาการ (สาระและขอบเขต)
พันธะความร่วมมือทางวิชาการมีขึ้นกับสถาบันวิชาการในต่างประเทศ ที่มีศักยภาพสูงเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น ในกรณีที่เป็นการจัดหลักสูตรร่วมกัน สถาบันอุดมศึกษาในต่างประเทศที่เป็นคู่พันธะความร่วมมือ ต้องได้รับการรับรอง วิทยฐานะสาขาวิชาจากหน่วยงานที่รับผิดชอบในประเทศนั้นด้วย 15/11/61

20 แนวทางปฏิบัติความตกลงร่วมมือทางวิชาการ (สาระและขอบเขต)
ในกรณีที่ความตกลงร่วมมือนั้น เป็นการจัดการศึกษาร่วมกัน การดำเนินงานทั้งในแง่การบริหาร งบประมาณ การประสาทปริญญา ต้องเป็นไปในลักษณะที่ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย/สถาบันของรัฐ และพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทั้งนี้ สถาบันอุดมศึกษาจะต้องเสนอหลักสูตรให้ทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน เปิดสอนด้วย 15/11/61

21 แนวทางปฏิบัติความตกลงร่วมมือทางวิชาการ (สาระและขอบเขต)
ในกรณีที่ความตกลงร่วมมือนั้นมีขึ้นกับประเทศในกลุ่มสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ ให้สถาบันดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการ ว่าด้วยการติดต่อกับประเทศสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ซึ่งครอบคลุมถึงการให้และรับความช่วยเหลือด้านทุกการศึกษาและการฝึกอบรม การสัมมนา ประชุมดูงาน การรับความช่วยเหลือด้านผู้เชี่ยวชาญ การเข้ามาศึกษาของบุคคลจากประเทศสังคมนิยม/คอมมิวนิสต์ และความร่วมมือในลักษณะอื่น ๆ 15/11/61

22 ความตกลงร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันอุดมศึกษาไทยกับสถาบันวิชาการในต่างประเทศ
หมายรวมถึงความร่วมมือในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการและกิจกรรมทางวัฒนธรรม สำหรับในด้านการเรียนการสอนนั้น มีขอบเขตครบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนอาจารย์ นักศึกษา อุปกรณ์การสอน ตลอดจนการจัดหลักสูตรอันเป็นข้อตกลงร่วมระหว่างสถาบันด้วย ควรเป็นไปเพื่อสนองเป้าหมายที่สำคัญ เช่น การบรรลุความเป็นเลิศทางวิชาการ การพัฒนาประสิทธิของระบบการเรียนการสอน และการขยายโอกาสในการให้บริการทางวิชาการไปสู่ประชาคมโลก ส่งเสริมให้ทุกสถาบันที่อยู่ในพันธะความร่วมมือได้รับประโยชน์ในการดำเนินภารกิจของตนได้ดีขึ้น 15/11/61

23 การเปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ ที่จะสอนเป็นภาษาต่างประเทศ
การเปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ ที่จะสอนเป็นภาษาต่างประเทศ 1. ให้สถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งใช้ภาษาไทยเป็นสื่อหลักในการเรียนการสอน การสอนด้วยภาษาต่างประเทศ เป็นบางกระบวนวิชาตามหลักสูตร ให้ทำได้ตามความจำเป็นโดยไม่ถือว่าขัดกับนโยบายนี้ 3. การสอนด้วยภาษาต่างประเทศ ทั้งหลักสูตรสามารถกระทำได้โดยคำนึงถึงหลักการและความเหมาะสม ดังต่อไปนี้ 15/11/61

24 หลักการและความเหมาะสมในการสอนเป็นภาษาต่างประเทศ
สถาบันอุดมศึกษาที่มีความพร้อมและมีผลงานทางวิชาการเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป อาจขอเปิดสอนหลักสูตรระดับนานาชาติ หรือระดับภูมิภาค ในสาขาวิชาที่เป็นที่ยอมรับโดยรับนักศึกษาจากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ สาขาวิชานั้นเป็นสาขาวิชาที่มีความจำเป็นที่จะต้องผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีเลิศ อาทิ นักภาษา หรือมัคคุเทศก์ เป็นต้น สาขาวิชานั้นมีความจำเป็นต้องเปิดสอนเป็นภาษาต่างประเทศ เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานตามนโยบายของรัฐเป็นเฉพาะกรณี 15/11/61

25 หลักการและความเหมาะสมในการสอนเป็นภาษาต่างประเทศ
การเปิดสอนตามข้อ หรือ หรือ ควรกระทำในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษามากว่าระดับปริญญาตรี ยกเว้นสาขาวิชาที่มีความต้องการและมีความจำเป็น หรือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงกับองค์การระหว่างประเทศที่ประเทศไทยรับรองจึงอาจจะเปิดสอนระดับปริญญาตรีได้ สถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนด้วยภาษาต่างประเทศ จะต้องมีคณาจารย์ประจำที่มีความสามารถจะสอนสาขาวิชานั้น ๆ เป็นภาษาต่างประเทศได้เป็นอย่างดี ทั้งด้านเนื้อหาสาระและภาษาที่ใช้สอน 15/11/61

26 แนวทางการจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาต่างประเทศ
หลักสูตรภาษาต่างประเทศ หมายถึง หลักสูตรภาษาต่างประเทศทุกภาษาที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนเป็นภาษาต่างประเทศ หลักสูตรนานาชาติ หมายถึง หลักสูตรที่มีเนื้อหาสาระที่มีมาตรฐาน และเปิดโอกาสให้ใช้ ภาษาเป็นสื่อในการเรียนการสอนได้ทุกภาษา รวมทั้งเปิดโอกาสให้นักศึกษาต่างชาติ เข้าศึกษาได้ 15/11/61

27 อะไรคือความเป็นนานาชาติ
คำนิยามที่ใช้ทั่วไปและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก “กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ผสมผสานความเป็นนานาชาติ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม และมิติความเป็นสากลที่บรรจุไว้ในวัตถุประสงค์ ภารกิจ หรือกระบวนการเรียนการสอนของการจัดการเรียนการสอนในระดับหลังมัธยมศึกษาตอนปลาย” 15/11/61

28 15/11/61

29 15/11/61 EUROPEAN UNION Russia UNITED KINGDOM CHINA JAPAN HONG KONG
Laos THAILAND USA VIETNAM INDIA Combodia AFRICA LATIN AMERICA INDONESIA MALAYSIA Singapore 15/11/61

30 ทำไมจึงควรพัฒนาหลักสูตรนานาชาติ
Globalization ผู้ลงทุนจากต่างประเทศ ประเทศไทยไปลงทุนในต่างประเทศ สภาพแวดล้อมที่ต้องการบุคลากรที่มี ทัศนคติในการทำงาน สังคม … international experience ไพฑูรย์ สินลารัตน์ อุดมศึกษาปริทัศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม 2534 15/11/61

31 การพัฒนาหลักสูตร International Degree Program
การพัฒนาหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรี นำไปสู่การแลกเปลี่ยนนิสิตกับมหาวิทยาลัยต่างประเทศในระดับปริญญาตรีให้มากขึ้น เพิ่มสัดส่วนนิสิตต่างชาติต่อนิสิตไทยให้มากขึ้นทำให้มหาวิทยาลัยมีบรรยากาศของการศึกษานานาชาติ การพัฒนาหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาโทและเอก จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนนิสิตและบุคลากรให้มากขึ้น ทั้งในด้านการแลกเปลี่ยนเพื่อทำงานวิจัย และการเรียนการสอน coursework ต่างๆ เป็นการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการ ทำไมจึงควรมี joint-degree และ double degree -สร้างศิษย์เก่าให้กับภาคธุรกิจไทยที่จะขยายกิจการไปต่างประเทศ -เตรียมข้อมูลและองค์ความรู้ของประเทศเป้าหมาย จากงานวิจัยในระดับปริญญาโทและ เอกที่นิสิตต่างชาติเข้ามาทำ -สร้างเครือข่ายความสัมพันธ์และความรู้ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ อุดมศึกษาปริทัศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม 2534 15/11/61

32 ลักษณะนานาชาติศึกษา (International Studies Program)
มีเนื้อหาสาระ กิจกรรมครอบคลุมการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง ของประเทศต่าง ๆ ซึ่งอาจศึกษาในลักษณะภูมิภาคศึกษา (Area Studies) เช่น ไทยศึกษา อเมริกันศึกษา เอเชียศึกษา เป็นต้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ และความเข้าใจอันดี (Common Understanding) การพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Inter-dependent World) การขยายโลกทัศน์ให้กว้าง (Global Perspective) สู่การเป็นประชาคมโลกที่ต้องมีการค้าขายแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) 15/11/61

33 หลักสูตรนานาชาติ (International Programs)
เปิดโอกาสให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าศึกษา การรับนักศึกษาต่างชาติ (Foreign students) นักเรียนนอก (Study aboard) การแลกเปลี่ยนนักศึกษา (Student exchange) 2) จัดเนื้อหาของหลักสูตรให้มีความเป็นนานาชาติ 3) ผู้สอนต้องมีประสบการณ์ในเนื้อหาวิชาที่สอนและมีความรู้ภาษาที่ใช้สอนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีการพัฒนาคณาจารย์ (Faculty development) 4) อุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน ตำราเรียน สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ และ สิ่งสนับสนุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความทันสมัยและเอื้อให้นักศึกษาสามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด 15/11/61

34 หลักสูตรนานาชาติ (International Programs)
5) มีกิจกรรมของสถาบัน (Institutional Activities)เช่น กิจกรรมด้านการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความเป็นนานาชาติ กิจกรรมแลกเปลี่ยนแนวทางการศึกษากับสถาบันต่างประเทศ กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมระหว่างชาติเป็นต้น 6) มีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันต่างประเทศ (Institutional relationship) 7) จัดสถาบันให้มีความเป็นนานาชาติ การมีแหล่งข้อมูลในเชิงนานาชาติ การมีศูนย์การศึกษานานาชาติ การมีทรัพยากรที่สนับสนุนกิจกรรมนานาชาติ การมีอาจารย์ในเชิงนานาชาติ การมีผู้บริหารที่มีทัศนะในเชิงนานาชาติ 15/11/61

35 รูปแบบการจัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ
สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศในด้านการพัฒนาหลักสูตร การส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำการสอน การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา การเทียบโอนหน่วยกิต การให้ปริญญาระหว่างสถาบัน (Joint Degree Program) และการร่วมมือกับต่างประเทศในรูปแบบอื่น ๆ (Joint Venture) 15/11/61

36 ปรัชญามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สร้างสติและปัญญาแก่สังคมบนพื้นฐานความพอเพียง 15/11/61

37 วิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยแห่งคุณภาพ ที่เน้นนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของบัณฑิตและประชาชน บนพื้นฐานภูมิปัญญาอีสานใต้และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 15/11/61

38 พันธกิจ ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพมาตรฐานในระดับสากล มีคุณธรรมนำความรู้ คิดเป็น ทำเป็น และดำรงชีวิตบนพื้นฐานความพอเพียง วิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และผลงานสร้างสรรค์ ที่สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีความสุขและพอเพียง บริการวิชาการแก่สังคมเพื่อชีวิตที่ดีของประชาชน สร้างมูลค่าเพิ่มในกิจกรรมของชุมชนและอุตสาหกรรมท้องถิ่นอีสานใต้ และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพื่อให้เกิดทักษะเพียงพอต่อการพัฒนาตนเองและประเทศชาติ ทำนุบำรุง ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและภูมิภาคอื่นเพื่อการเรียนรู้ รับรู้ และรักษาไว้ภายใต้บริบทโลกาภิวัตน์ 15/11/61

39 ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาอาจารย์และบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนานักศึกษาให้เกิดทักษะ มีเครื่องมือ มีความรู้ในทฤษฎีพื้นฐาน และสามารถนำความรู้ไปคิดแก้ปัญหาในพื้นที่จริงได้ ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการวิจัยและสร้างนวัตกรรม เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่และผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้เพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในท้องถิ่นและประเทศให้อยู่ได้อย่างมีความสุข 15/11/61

40 ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
ยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความเป็นเลิศด้านฐานข้อมูล องค์ความรู้ และผู้รู้ในอีสานใต้และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงเพื่อการบริการวิชาการแก่ชุมชน และสร้างมูลค่าให้กับมหาวิทยาลัยผ่านการเรียนรู้ร่วมกับชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริม ทำนุบำรุงและฟื้นฟูรูปแบบ และความคิดทางศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและชาติ โดยการซึมซับเข้าสู่วิถีการดำรงชีวิตเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงภายใต้ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 6 บริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาองค์กรและบุคลากรให้มีคุณภาพและมีความสุข 15/11/61

41 1. Ethic การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 2. Knowledge ความรู้
The Curriculum Competency Ubon Ratchathani University 2008 Base on National Qualification Framework (NQF) 1. Ethic การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม 2. Knowledge ความรู้ 3. Skill of Thinking / intelligence ทักษะทางปัญญา 4. Skill of Relationship ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. Skill of Analysis and communication ทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และสารสนเทศ 15/11/61

42 opportunities threat strength weakness
สภาพการณ์และประเด็นปัญหาการจัดการศึกษา จัดการศึกษาสู่สากล บริการการศึกษา ผู้เรียน ผู้สอน threat weakness Globalization ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม นักศึกษาไม่เห็นความจำเป็น ผู้ใช้บัณฑิตยังไม่เห็นความจำเป็น จุดขาย/ธรรมชาติ/ เอกลักษณ์ไทย ความเป็นมิตร/ความร่วมมือ Internet/MIS ในมหาวิทยาลัย ระบบบริหาร บริการของมหาวิทยาลัย หลักสูตร เงินทุน ความรู้ใหม่ ความก้าวหน้าICTของโลก การตลาด การแข่งขันก้านการ 15/11/61

43 การแข่งขัน คุณภาพ รายได้ จำนวนรับ
การแข่งขัน คุณภาพ รายได้ จำนวนรับ ผลผลิต คุณภาพของบัณฑิต ความเป็นสากล การได้งานทำ บุคลากร พัฒนาอาจารย์ ดึงดูดและจูงใจ ให้อาจารย์ไปต่างประเทศ จรรยาบรรณวิชาชีพ ลูกค้า/ผู้ใช้บัณฑิต/steakeholder ให้ชุมชนและอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาหลักสูตร แหล่งเงินทุน ทรัพยากร ความพึงพอใจของนักศึกษา บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต การนำองค์กร นโยบาย/เป้าหมายองค์กร ความมุ่งมั่นขององค์กร การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงาน แผนยุทธศาสตร์ กระบวนงาน หลักสูตรปรับปรุงให้เป็นสากล/ทันเหตุการณ์ การบูรณาการหลายศาสตร์และสาขาวิชา E-learning/ ICT การเทียบโอนผลการเรียนระหว่างสถาบัน/ประเทศ การเรียนการสอนเน้นทักษะประสบการณ์ การสร้างผลงานทางวิชาการ/องค์ความรู้/ การต่อยอดและพัฒนาความรู้สู่ระดับสากล/อุตสาหกรรม การวัด วิเคราะห์ KM การบริหารคุณภาพ การประกันคุณภาพ แผนและงบประมาณ การแสวงหารายได้ การบริหารจัดการ ความคุ้มทุน กลยุทธ์ สร้างอัตลักษณ์/จุดเด่น ก้าวสู่สากล 15/11/61

44 Program of study (International program) : U.BU.
Faculty of Management Science DegreeDisciplines Bachelor – Graduate Diploma (Tourism Management) Since 2549 ไม่มีนักศึกษา Master Master of Business (Tourism Management) Since 2549 มีน.ศ. รวม 13 คน (ไทย 8 คน ต่างชาติ 5 คน) Ph.D. - 15/11/61

45 จะทำอย่างไร? เมื่อต้องการเปิดหลักสูตรนานาชาติ
1. เสนอแผนการเปิดหลักสูตร/สาขาวิชาที่จะเปิดต่อกองแผนฯ เพื่อให้สภา มหาวิทยาลัยอนุมัติ/ปรับแผนฯก่อน ไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา 2. จัดทำบทสรุปแสดงถึงเหตุผล ความสำคัญ ที่ต้องเปิดหลักสูตรนี้ โดยแสดง โอกาสทางการศึกษา ความต้องการของตลาดแรงงาน ผลการศึกษาสำรวจ ความพร้อมของทรัพยากรทุกด้าน ทั้งผู้สอน อาคารสถานที่ ห้องสมุด งบประมาณ แสดงจัดเตรียมความพร้อมด้านการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับลักษณะนานาชาติ 3. การจัดทำหลักสูตร เสนอหลักสูตรเป็นภาษาไทย ตามหัวข้อและเกณฑ์ มาตรฐานหลักสูตร ที่ www. ubu.ac.th~eddev 15/11/61

46 จะทำอย่างไร? เมื่อต้องการเปิดหลักสูตรนานาชาติ
4. เมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตร หากมีสภา/หน่วยงาน/องค์กรวิชาชีพควบคุม ต้องส่งหลักสูตรให้วิชาชีพพิจารณาก่อน 5. เสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับทราบแล้ว สกอ. ส่งหลักสูตรให้ กพ. รับรองคุณวุฒิปริญญา 6. ดำเนินการประชาสัมพันธ์ การรับนักศึกษา * หลักสูตรต้องได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยก่อนจึงจะ ประชาสัมพันธ์หรือรับนักศึกษาได้ 15/11/61

47 จะทำอย่างไร? เมื่อต้องการเปิดหลักสูตรนานาชาติ
7. หากเป็นหลักสูตรที่มีภาษาไทยแล้วปรับปรุงเป็นหลักสูตรนานาชาติ ถือว่ายกเลิกหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติเป็นหลักสูตรปรับปรุง 8. มีหลักสูตรภาษาไทยและขอเปิดหลักสูตรนานาชาติควบคู่กันไป ถือว่าหลักสูตรนานาชาติเป็นหลักสูตรใหม่แต่ไม่ต้องเข้าแผนแต่ต้องเสนอสภามหาวิทยาลัย 9. เปิดหลักสูตรนานาชาติอยู่แล้วขอเปิดหลักสูตรภาษาไทยอีก ถือว่าหลักสูตรภาษาไทยเป็นหลักสูตรใหม่แต่ไม่ต้องปรับแผน แต่ต้องเสนอสภามหาวิทยาลัย 15/11/61

48 จะทำหลักสูตรความร่วมมือกับต่างประเทศ?
1. หลักสูตรที่เป็นความร่วมมือกับต่างประเทศโดยใช้หลักสูตรของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ต้องเสนอสภามหาวิทยาลัยและ สกอ.อนุมัติและรับทราบก่อน 2. หลักสูตรที่เป็นความร่วมมือกับต่างประเทศและรับปริญญาสองสถาบัน ต้องจัดทำหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและเสนอตามขั้นตอนการขอเปิดหลักสูตรใหม่ 3. ต้องใช้ชื่อปริญญาให้สอดคล้องกัน 15/11/61

49 ทำหรือไม่ทำ หลักสูตรนานาชาติ
ทำหรือไม่ทำ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรนานาชาติ เป็นทางเลือกหนึ่ง พิจารณาถึง ข้อดี ข้อด้อยต่าง ๆ ผลตอบแทนการลงทุน ( คุ้มทุน ลงทุนสูง ผลที่ได้ ) ทั้งที่วัดได้ด้วยตัวเลข และที่วัดไม่ได้ง่ายนัก หากไม่มีความจำเป็นในสาขาที่จะต้องทำเป็นหลักสูตรนานาชาติ ก็ไม่สมควรทำ 15/11/61

50 การประเมินมาตรฐานหลักสูตรนานาชาติ
+1 สอดคล้อง ไม่สอดคล้อง -1 ไม่แน่ใจ มาตรฐานหลักสูตรนานาชาติ 1.เนื้อหาหลักสูตรมีความเป็นนานาชาติ ด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมืองของ ประเทศ ต่าง ๆ ซึ่งอาจศึกษาในลักษณะภูมิภาคศึกษา (Area Studies) เช่น ไทยศึกษา อเมริกัน ศึกษา เอเชียศึกษา เป็นต้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ และความเข้าใจอันดี (Common Understanding)การพึ่งพาซึ่งกันและกัน (Inter-dependent World) การขยายโลกทัศน์ให้กว้าง (Global Perspective) สู่การเป็นประชาคมโลกที่ต้องมีการ ค้าขายแข่งขัน ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) 2.ใช้ภาษาเป็นสื่อในการเรียนการสอนได้ทุกภาษา 3. มีนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าศึกษา 4. อาจารย์ผู้สอนมีประสบการณ์ในเนื้อหาวิชาที่สอน และมีความรู้ภาษาที่ใช้สอนใน เกณฑ์ดีมาก 15/11/61

51 การประเมินมาตรฐานหลักสูตรนานาชาติ
+1 สอดคล้อง ไม่สอดคล้อง -1 ไม่แน่ใจ มาตรฐานหลักสูตรนานาชาติ 5.อุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน ตำราเรียน สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ต่าง ๆ และสิ่งสนับสนุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความทันสมัยและเอื้อให้ นักศึกษาสามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด 6. มีกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความเป็นนานาชาติ เช่น กิจกรรมแลกเปลี่ยนแนวทางทางการศึกษากับสถาบันต่างประเทศ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนนักศึกษาและนักวิชาการ รวมถึงการปฏิบัติสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมและระหว่างชาติเป็นต้น 7. มีความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันต่างประเทศ เช่น การขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศในด้านการพัฒนาหลักสูตร การส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำการสอน การแลกเปลี่ยนอาจารย์และนักศึกษา การเทียบโอนหน่วยกิต การให้ปริญญาระหว่างสถาบัน (Joint Degree Program) และการร่วมมือกับต่างประเทศในรูปแบบอื่น ๆ (Joint Venture) 15/11/61

52 คำถาม ? www.ubu.ac.th~eddev โทรศัพท์ 045 353 121 โทรสาร 045 353 131
โทรศัพท์ โทรสาร มือถือ , 15/11/61


ดาวน์โหลด ppt แนวปฏิบัติสำหรับการศึกษานานาชาติ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google