ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
บทที่ 6 การวัดกับวิธีการทางสถิติ
การวิจัย…. เป็นวิธีการศึกษาอย่างหนึ่งที่มีจุดประสงค์เพื่อให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ที่มีความถูกต้องเชื่อถือได้ ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจากงานวิจัย โดยปกติจะมีค่าเชิงปริมาณ ค่าเหล่านี้จะต้องมีการกำหนดหรือ การวัดจากตัวแปรที่กำหนดศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง บทที่ 6 การวัด
2
การนำไม้บรรทัดมาวัดความยาว
ในชีวิตประจำวัน...เมื่อพูดถึงการวัดจะนึกถึงค่าที่ได้จากเครื่องมือมาตรฐานซึ่งวัดสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น การนำไม้บรรทัดมาวัดความยาว การนำนาฬิกามาจับเวลาวัดสิ่งที่เป็นความเร็ว บทที่ 6 การวัด
3
แต่ในการวิจัยเราไม่สามารถหาเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานเดียวกันมาวัดสิ่งที่เราต้องการวัดในการทำวิจัยแต่ละเรื่องได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งที่เราต้องการวัดนั้นมีคุณลักษณะเป็นนามธรรม เช่นทัศนคติ ความเชื่อ ความพึงพอใจ ฯลฯ เพราะการวิจัยแต่ละเรื่องจะมุ่งความสนใจไปคนละประเด็นกัน เราจึงไม่สามารถหาเครื่องมือที่เป็นมาตรฐานมาวัดได้ ดังนั้นผู้วิจัยจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือที่ใช้วัดค่าตัวแปรต่างๆ ขึ้นมาเอง บทที่ 6 การวัด
4
การวัด คือ การกำหนดค่าอย่างมีระบบให้กับ
การวัด คือ การกำหนดค่าอย่างมีระบบให้กับ สิ่งของหรือปรากฏการณ์ ซึ่งค่าที่กำหนดอาจเป็นค่าเชิงคุณภาพ (qualitative) หรือเป็นค่าเชิงปริมาณ (quantitative) ก็ได้ บทที่ 6 การวัด
5
การวัดจะทำหน้าที่ในการตีความหมายแนวคิดเชิงประจักษ์ (empirical concepts) ซึ่งหมายถึง คุณลักษณะหรือคุณสมบัติ ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้อธิบายสิ่งของหรือปรากฏการณ์ที่ได้กำหนดทำการศึกษาในโลกจริง และกำหนดไว้ในปัญหาการวิจัยให้อยู่ในรูปแบบของตัวเลขเชิงคณิตศาสตร์ที่สามารถจะนำไปวิเคราะห์ต่อไปได้ (Taylor, 1977,p.38-39) บทที่ 6 การวัด
6
สถิติ (Statistics) เป็นวิชาที่ว่าด้วยวิธีการในการจัดการข้อมูลเชิงปริมาณ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) 2. สถิติเชิงวิเคราะห์ หรือสถิติอ้างอิง (Inferential Statistics) บทที่ 6 การวัด
7
สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)
เป็นวิธีการสถิติที่มุ่งเน้นการจัดการข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์หรือการกำหนดค่าในรูปแบบของจัดรวม การสรุปและการอธิบายวิธีทางสถิติประเภทนี้ไม่มีความสลับซับซ้อน เช่น ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต จากประชากร 500,000 คนที่เข้ามาชมงาน Motor Show ’ 2005 คิดเป็น เพศชายร้อยละ เพศหญิงร้อยละ 38 บทที่ 6 การวัด
8
สถิติเชิงวิเคราะห์หรือสถิติอ้างอิง (Inferential Statistics)
เป็นวิธีการทางสถิติที่มุ่งเน้นการวิเคราะห์ความน่าจะเป็น (propability) เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้วิจัยคาดคิดเอาไว้ตามสมมติฐานหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรหรือลักษณะของประชากรที่มีการสุ่มตัวอย่างมาเพื่อทำการศึกษาวิจัย บทที่ 6 การวัด
9
การวัดกับวิธีการทางสถิติเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง ตราบใดที่การวิจัยที่ดียังต้องอาศัยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ บทที่ 6 การวัด
10
หลักสำคัญในการวัด 1. ความถูกต้องในการวัด (Validity)
วัดในสิ่งที่ต้องการวัดได้ถูกประเด็นของข้อมูล เช่น ความยาวเป็นนิ้ว 2. ความเชื่อถือได้ในการวัด (Reliability) เมื่อทำการวัดผลครั้งใดจะได้ข้อมูลที่มีความหมายเหมือนกันหรือสอดคล้องกัน ความน่าเชื่อถือจากเครื่องมือที่ใช้วัด 3. ความว่องไวในการวัด (Sensitivity) ความสามารถของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดที่จะจำแนกความแตกต่างของหน่วยต่าง ๆ ที่ต้องการจะทำการศึกษา 4. การให้ความหมายในการวัด (Meaningfulness) ข้อมูลที่วิเคราะห์ออกมาสามารถอธิบายสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการได้ บทที่ 6 การวัด
11
ระดับของการวัด (Scales of measurement)
1. การวัดในระดับกลุ่มชั้น (Nominal Scale) 2. การวัดในระดับการจัดอันดับ (Ordinal Scale) 3. การวัดในระดับช่วง (Interval Scale) 4. การวัดในระดับอัตราส่วน (Ratio Scale) บทที่ 6 การวัด
12
ระดับการวัดตัวแปร (Level of Measurement)
1. ระดับการวัดแบบกลุ่มชั้น (Nominal Scale) เป็นระดับพื้นฐานที่ง่ายที่สุด อาศัยลักษณะเด่นของสิ่งของหรือปรากฎการณ์ที่มีร่วมกันเป็นเกณฑ์ สิ่งของใดหรือปรากฏการณ์ใดที่มีลักษณะเด่นเหมือนกันหรือกลมกลืนกัน (Homogeneous) มากที่สุด จะกำหนดไว้ในกลุ่มชั้นเดียวกัน เช่น เพศ ศาสนา อาชีพ สถาบัน สถานภาพสมรส บทที่ 6 การวัด
13
ระดับการวัดตัวแปร (Level of Measurement)
2. ระดับการวัดแบบจัดอันดับ (Ordinal Scale) เป็นการกำหนดค่าให้กับสิ่งของหรือปรากฏการณ์ที่สูงกว่าการวัดในระดับกลุ่มชั้นขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง การวัดในระดับนี้ไม่ได้เพียงเพื่อจะบ่งบอกความแตกต่างหรือความเหมือนกันของสิ่งของหรือปรากฏการณ์เท่านั้น แต่ยังสามารถกำหนดลำดับศักดิ์หรือลำดับความแตกต่างให้กับสิ่งของหรือปรากฏการณ์ด้วย เช่น ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่เห็นด้วย ไม่แน่ใจ เห็นด้วย เห็นด้วยอย่างยิ่ง การวัดแบบนี้ไม่สามารถบอกถึงปริมาณความแตกต่างว่ามากกว่าหรือน้อยกว่าอยู่เท่าไร เพียงแต่บอกว่าหน่วยตัวอย่างนั้นอยู่ในกลุ่มใดและกลุ่มใดดีกว่าหรือด้อยกว่าเท่านั้น บทที่ 6 การวัด
14
ระดับการวัดตัวแปร (Level of Measurement)
3. ระดับการวัดแบบช่วง (Interval Scale) เป็นระดับการวัดที่ละเอียดกว่าระดับการวัดแบบกลุ่มชั้นและแบบจัดอันดับ เนื่องจากตัวแปรที่มีระดับการวัดแบบช่วงนี้สามารถบอกได้ว่าค่าตัวแปรแต่ละค่านั้นมีค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าอยู่เท่าไร โดยที่แต่ละช่วงของความแตกต่างนั้นจะมีระยะห่างเท่าๆ กัน (Equal Interval) ตัวอย่างเช่น นักศึกษา 3 คนได้คะแนนวิชาการวิจัย เท่ากับ 72 , 63 และ 85 คะแนน ทำให้ทราบว่าคนใดได้คะแนนมากกว่ากันหรือน้อยกว่ากัน และนักศึกษาคนใดได้มากกว่ากันหรือน้อยกว่าอยู่เท่าไร บทที่ 6 การวัด
15
ระดับการวัดแบบช่วงไม่มีศูนย์สมบูรณ์ (Absolute Zero) หรือไม่มีค่าต่ำสุดตามธรรมชาติ (Nature Zero) เช่น
นักศึกษาที่ได้ศูนย์คะแนน ไม่ได้หมายความว่านักศึกษาผู้นั้นจะไม่มีความรู้อยู่เลย แต่ที่ได้ศูนย์คะแนนเป็นเพราะว่านักศึกษาผู้นั้นไม่มีความรู้ตามเกณฑ์ที่อาจารย์กำหนด อุณหภูมิ 0 oC ไม่ได้หมายความว่าไม่มีความร้อนอยู่เลย แต่ความจริงยังมีความร้อนแฝง ระดับความพึงพอใจ บทที่ 6 การวัด
16
ระดับการวัดตัวแปร (Level of Measurement)
4. ระดับการวัดแบบอัตราส่วน (Ratio Scale) เป็นระดับการวัดที่สูงที่สุดของการวัดตัวแปร คือ นอกจากจะสามารถบอกถึงความแตกต่างของค่าของตัวแปรได้ แล้วยังมีศูนย์แท้สมบูรณ์ (Absolute Zero) หรือมีค่าต่ำสุดตามธรรมชาติอยู่ที่ตำแหน่งศูนย์ คุณลักษณะหรือตัวแปรที่มีระดับการวัดเป็นอัตราส่วนนั้น ได้แก่ ตัวแปรอายุ น้ำหนัก ความสูง จำนวนบุตร เช่น อายุ……..ปี รายได้ต่อเดือน……………บาท บทที่ 6 การวัด
17
สรุปลักษณะและตัวอย่าง
แบบ ลักษณะ ตัวอย่าง กลุ่มชั้น (Nominal) ค่าตัวเลขบ่งลักษณะจำแนกประเภท ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงปริมาณความมากน้อย เพศ เชื้อชาติ ภาควิชา คณะ อาชีพ ฯลฯ ตำแหน่งทางวิชาการ ระดับความคิดเห็น ระดับการศึกษา จัดอันดับ (Ordinal) ค่าตัวเลขเรียงอันดับความมากน้อยได้ แบบช่วง (Interval) ค่าตัวเลขแทนจำนวนที่มีช่วงของความ แตกต่างเท่า ๆ กันในแต่ละช่วง แต่ไม่มีศูนย์แท้ ข้อมูลสามารถเปรียบเทียบกันได้ คะแนน ปีปฏิทิน อุณหภูมิฟาเรนไฮท์ หรือเซลเซียส อัตราส่วน (Ratio) ค่าตัวเลขแทนจำนวนที่มีช่วงของความ แตกต่างเท่า ๆ กันในแต่ละช่วง มีศูนย์แท้ ข้อมูลสามารถบวก ลบ คูณ หารได้ ระยะทาง เวลา อายุน้ำหนัก ส่วนสูง บทที่ 6 การวัด
18
การสร้างมาตรวัดทัศนคติ
การศึกษาทัศนคติมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของบุคคล เพราะความรู้ที่ได้จากการศึกษาดังกล่าวสามารถจะนำมาเปลี่ยนแปลงทัศนคติได้โดยกระบวนการต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร การโฆษณา ฯลฯ บทที่ 6 การวัด
19
ความหมายของทัศนคติ ทัศนคติ หมายถึง….
ทัศนคติ หมายถึง…. ความรู้สึกนึกคิดของบุคคลในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งอาจแสดงออกมาให้เห็นได้จากคำพูดหรือพฤติกรรมที่สะท้อนทัศนคติของแต่ละคนต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากน้อยแตกต่างกัน บทที่ 6 การวัด
20
ทัศนคติ ต้องมีองค์ประกอบ (Components) 3 ประการ
1. องค์ประกอบด้านความรู้สึก (Affective component) 2. องค์ประกอบด้านความเข้าใจ (Cognitive component) 3. องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioral component) บทที่ 6 การวัด
21
1. องค์ประกอบด้านความรู้สึก
1. องค์ประกอบด้านความรู้สึก (Affective component) หมายถึง ส่วนประกอบของทัศนคติที่สะท้อนถึงความรู้สึกหรืออารมณ์ของบุคคลที่มีต่อเรื่องใดเรื่องใด ความสามารถในการแสดงออกด้วยความรู้สึก เช่น ฉันไม่พอใจหัวหน้างาน ฉันชอบอ่านหนังสือเล่มนั้น คำที่ใช้ได้แก่ ชอบ -- ไม่ชอบ รัก -- เกลียด หรือ เฉย ๆ เป็นต้น บทที่ 6 การวัด
22
2. องค์ประกอบด้านความเข้าใจ (Cognitive component)
หมายถึง ส่วนประกอบของทัศนคติที่แสดงถึงการรู้จักหรือความรู้ของบุคคลที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ความรู้ที่มีต่อสัญลักษณ์ตราสินค้าไทย การวัดทัศนคติของคนไทยที่มีต่อสายการบินภายในประเทศไทย โดยนักวิจัยต้องแน่ใจว่าคนที่จะถูกวัดทัศนคตินั้น ควรมีความรู้ในเรื่องที่ต้องการจะวัดเป็นอย่างดี จึงจะวัดทัศนคติของเขาได้ บทที่ 6 การวัด
23
3. องค์ประกอบด้านพฤติกรรม
3. องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioral component) เป็นส่วนประกอบของทัศนคติของผู้วิจัยที่สะท้อนถึงความตั้งใจในการกระทำหรือความคาดหวังของพฤติกรรม ตลอดจนสะท้อนถึงแนวโน้มของการปฏิบัติ เช่น ซื้อ หรือ ไม่ซื้อ บทที่ 6 การวัด
24
ขั้นตอนการสร้างมาตรวัดทัศนคติ
1. ทบทวนวรรณกรรม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้ ว่ามีคุณสมบัติที่แท้จริงอะไรบ้าง 2. สร้างคำนินามปฏิบัติการของแต่ละคุณสมบัติและนำเอาคำนิยามปฏิบัติการนั้นไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมต่าง ๆ ด้วยการส่งข้อมูลผ่านสื่อหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อ การขาย หรือ การแลกเปลี่ยนสินค้า บริการและข้อมูลข่าวสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ บทที่ 6 การวัด
25
ขั้นตอนการสร้างมาตรวัดทัศนคติ
3. กำหนดคุณสมบัติของทัศนคติว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ซึ่งควรประกอบด้วยองค์ประกอบในเรื่อง ก. ความรับรู้ (recognition) ข. ความผูกพัน (affection) ค. แนวโน้มเชิงพฤติกรรม (behavior) บทที่ 6 การวัด
26
ขั้นตอนการสร้างมาตรวัดทัศนคติ
4. สร้างข้อคำถามที่สอดคล้องกับเนื้อหาของคุณสมบัติแต่ละคุณสมบัติ 5. นำแบบสอบถามดังกล่าวไปใช้กับประชากรเป้าหมายเพื่อทดสอบศึกษาว่าข้อความดังกล่าวแต่ละข้อเป็นอย่างไร ใช้ได้ดีหรือไม่ บทที่ 6 การวัด
27
ขั้นตอนการสร้างมาตรวัดทัศนคติ
6. เมื่อได้เก็บรวบรวมคำตอบมาแล้ว จึงนำมาทดสอบความถูกต้องของข้อมูล และความเชื่อถือได้ของมาตรวัดทัศนคติ หากไม่ผ่านการทดสอบต้องปรับหรือสร้างข้อคำถามใหม่ แล้วนำไปจัดเก็บข้อมูลและนำมาทำการทดสอบอีก จนกว่าจะได้ข้อความที่มีความถูกต้องและเชื่อถือได้ บทที่ 6 การวัด
28
ลักษณะของคำถามที่ดีที่ใช้ในการสร้างสเกลหรือวัดทัศนคติ
2.1 ควรเป็นข้อความที่กระตุ้นหรือเรียกร้องความสนใจให้ผู้อ่านอยากแสดงความคิดเห็นในทางเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อความนั้น เช่น... “รถยนต์ทุกคันไม่ควรติดฟิล์มกรองแสง” 2.2 ควรหลีกเลี่ยงข้อความที่เป็นปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เพราะจะทำให้ ผู้อ่านอ่านใจสับสน เช่น... “ไม่ควรห้ามไม่ให้มีการติดฟิล์มกรองแสงรถยนต์” “ควรห้ามไม่ให้มีการทิ้งขยะในที่ที่ไม่ให้ทิ้งขยะในสถานที่ท่องเที่ยวบนเกาะช้าง” บทที่ 6 การวัด
29
“ผู้สอนมาตรงเวลาและสอนหนังสือเข้าใจดีมาก”
2.3 ควรหลีกเลี่ยงข้อความที่แสดงความคิดเห็น 2 เรื่องในข้อความเดียวกัน เช่น... “ผู้สอนมาตรงเวลาและสอนหนังสือเข้าใจดีมาก” “ท่านอ่านหนังสือพิมพ์หรือฟังวิทยุเป็นประจำหรือไม่” 2.4 ควรหลีกเลี่ยงข้อความที่จะทำให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน หรือ ไม่เห็นด้วยเหมือนกันหมด หรือ คำสุภาษิตต่าง ๆ เพราะผู้ตอบจะตอบทันทีโดยไม่คิดให้ลึกซึ้ง เช่น... “ตนควรเป็นที่พึ่งแห่งตน” “เหตุผลการเลือกธุรกิจอินเตอร์เน็ตเพราะเป็นช่วงของน้ำขึ้นให้รีบตัก” บทที่ 6 การวัด
30
“ผู้ว่าราชการควรมาจากการเลือกตั้ง”
2.5 ข้อความที่ใช้ควรเป็นประโยคที่เข้าใจง่าย ๆ ชัดเจนตรงไปตรงมา (Simple Sentences) ไม่ควรใช้ประโยคที่มีความสลับซับซ้อน “ผู้ว่าราชการควรมาจากการเลือกตั้ง” “ผู้ว่าราชการควรมาจากเสียงของประชาชนในจังหวัดมากกว่าการคัดเลือกจากฝ่ายปกครอง” 2.6 ควรหลีกเลี่ยงข้อความที่ทำให้เกิดความคลุมเครือ เช่น “ผู้นำขององค์กรค่อนข้างที่จะไม่ใช้ความคิดเห็นของตนเองในการตัดสินใจเรื่องสำคัญในบางครั้ง” บทที่ 6 การวัด
31
“ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก”
2.7 ข้อความนั้นควรจะโต้แย้งได้ (Debatable) และเป็นข้อความที่เป็นความคิดเห็นไม่ใช่ข้อความที่เป็นจริงแน่นอน เช่น ข้อความที่เป็นจริงเสมอ “ดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออก” ข้อความที่โต้แย้งได้ “การบริหารงานในองค์กรทุกหน่วยงานควรใช้ระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น ท่านเห็นด้วยอย่างไร” บทที่ 6 การวัด
32
คุณสมบัติที่ดีของการสร้างสเกลหรือวัดทัศนคติ
ความเป็นมิติเดียวกัน (Unidimensionality) หรือความเป็นอย่างเดียวกัน (homogeneity) หมายความว่า สเกลที่วัดควรวัดสิ่งเดียวกัน ความเป็นเส้นตรง (Linearity) และความมีช่วงเท่ากันหรือดูเหมือนว่าจะมีช่วงเท่ากัน (Equal intervals หรือ Equal-appearing intervals) การสร้างคำถามควรมีการกำหนดช่วงคะแนนภายในเท่ากันและแต่ละรายการมีน้ำหนักเท่ากันและทุกรายการอยู่บนมิติเดียวกัน บทที่ 6 การวัด
33
คุณสมบัติที่ดีของการสร้างสเกลหรือวัดทัศนคติ
ความเชื่อถือได้ (Reliability) หมายถึงความสอดคล้องกันของผลที่ได้จากการวัดซ้ำที่มาตรวัดเดียวกัน ความถูกต้องของการวัด (Validity) หมายถึง สเกลที่สร้างขึ้นมานั้นได้วัดในสิ่งที่ต้องการจะวัด ความสามารถในการใหม่ได้ (Reproducibility) หมายถึง เมื่อได้คะแนนของการวัดแล้วหากวิธีการวัดมีระบบดี ผู้วิจัยสามารถที่จะบอกได้ว่าจากคะแนนที่ได้นั้น ผู้ตอบได้ตอบคำถามข้อใดบ้าง ทำให้สามารถสร้างแบบแผนของคำตอบได้อย่างถูกต้องจากคะแนนรวมของผู้ตอบ บทที่ 6 การวัด
34
การวัดทัศนคติตามวิธีการที่นิยมใช้กัน
1. มาตรวัดของลิเคิร์ท (Likert Scale) ผู้ที่สร้างมาตรวัดนี้ คือ R.A. Likert โดยอาศัยหลักการวัดค่ารวม(Summative Scale) มาตรวัดทัศนคติของลิเคิร์ทเป็นวิธีการที่นิยมมากที่สุดวิธีการหนึ่ง เพราะง่ายกว่าวิธีการอื่น ๆ เน้นคุณสมบัติของการวัดในด้านความเป็นมิติเดียว (Unidimensionality) กล่าวคือ ข้อความต่าง ๆ ที่นำมาประกอบกันเพื่อใช้วัดความคิดเห็นใน แต่ละด้านของเรื่องที่ต้องการศึกษานั้น ต้องเป็นข้อความที่ใช้วัดในเรื่องเดียวกัน บทที่ 6 การวัด
35
วิธีการสร้างมาตรวัดของลิเคิร์ท
1. เขียนและเรียบเรียงข้อความหลาย ๆ ข้อความ โดยใช้หลักการดังกล่าวแล้วข้างต้น (อย่างน้อยควรจะประมาณ 20 ข้อความ) เพื่อนำมาวัดทัศนคติและให้ข้อความที่เขียนและเรียบเรียงขึ้นมา มีข้อความต่อเนื่องทั้งในเชิงบวก (Positive) และเชิงลบ (Negative) ข้อความเชิงบวก ข้อความเชิงลบ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง บทที่ 6 การวัด
36
2. คำตอบของข้อความแต่ละข้อมีทางเลือก 5 ทาง คือ
2. คำตอบของข้อความแต่ละข้อมีทางเลือก 5 ทาง คือ เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ตัวอย่างข้อความเชิงบวก ระดับความคิดเห็น ข้อความ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง การถ่ายทอดฟุตบอลโลกทำให้เข้าใจกีฬามากขึ้น ตัวอย่างข้อความเชิงลบ ระดับความคิดเห็น ข้อความ เห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง การถ่ายทอดฟุตบอลโลกทำให้ประชาชนติดการพนัน บทที่ 6 การวัด
37
3. รวมคะแนนที่ได้คำตอบของทุกข้อความเป็นคะแนนที่วัดทัศนคติ
id i1 i2 i3 i4 i5 i6 i7 i8 i20 SUM 1 5 5 3 4 4 4 5 4 1 75 2 5 4 5 85 3 3 82 4 4 2 1 5 3 1 65 5 1 52 6 4 3 2 5 4 84 7 2 73 8 5 4 3 2 1 4 80 9 1 52 1 25 10 3 2 2 2 1 1 1 1 25 4 3 2 1 57 บทที่ 6 การวัด
38
4. ทำการคัดเลือกข้อความโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนรายข้อกับคะแนนรวม โดยพิจารณาจาก Pearson Product Moment Correlation Coefficint และหาค่าอำนาจจำแนกของข้อความที่ใช้วัดความคิดเห็นแต่ละข้อ ผู้วิจัยจะเลือกใช้วิธีการใดก็ได้ ลิเคริทเสนอว่าควรใช้วิธีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์จะดีกว่า การคัดเลือกข้อความที่ใช้วัดทัศนคติอาจทำได้ 2 วิธี คือ บทที่ 6 การวัด
39
r ก. พิจารณาจากค่า Pearson Product Moment Correlation Coefficint ( r )
n xy ( x) ( y) r = [ n x2 - ( x)2 ] [ n y2 - ( y)2 ] r = สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ x = คะแนนของข้อความแต่ละข้อของผู้ตอบแต่ละคน y = คะแนนรวมของทุกข้อของผู้ตอบแต่ละคน n = จำนวนผู้ตอบทั้งหมด บทที่ 6 การวัด
40
r t n - 2 1 - r 2 ข. นำค่า r ที่หาได้มาทดสอบ t - test
= 1 - r 2 สรุปผลโดยพิจารณาจากค่า t ที่คำนวณได้ ถ้าค่า t ที่คำนวณได้มีค่ามากกว่าค่า t ที่เปิดจากตาราง t ที่ degree of freedom = n แสดงว่าคะแนนของข้อความนั้นมีความสัมพันธ์กับคะแนนรวม หมายความว่า ข้อความข้อนั้นใช้ได้ บทที่ 6 การวัด
41
บทที่ 6 การวัด คนที่ (id) คะแนนข้อที่5 X Y XY X2 Y2
,625 ,225 ,724 ,225 ,249 รวม , , ,068 บทที่ 6 การวัด
42
r n xy - ( x)( y) วิธีการคำนวณ n = 25 xy = 6,029 x = 83 y = 1,682
[ n x2 - ( x)2 ] [ n y2 - ( y)2 ] n = xy = ,029 x = y = 1,682 x2 = y2 = 125,068 บทที่ 6 การวัด
43
r r 25 (6,029) - (83)(1,682) t แทนค่า = 0.6848 n - 2 25 - 2 1 - r 2
[ 25 (311) - (83)2 ] [ 25 (125,068) - (1,682)2 = t r = n - 2 1 - r 2 0.6848 = 25 - 2 1 - (0.6848)2 = 4.506 ค่า t จากตารางที่ df = = 23 ; = มีค่า = ค่า t ที่คำนวณได้มากกว่าค่า t ที่ได้จากตาราง แสดงว่า คะแนนรวมของข้อความนั้นมีความสัมพันธ์กับคะแนนรวม เลือกข้อความที่ 5 บทที่ 6 การวัด
44
2.Thurstone Scale สเกลนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Equal-appearing intervals เพราะสเกลนี้มีคุณสมบัติเป็น Interval scale วิธีการสร้างคำถาม ก็คือ สร้างคำถามจำนวนมากที่เกี่ยวกับทัศนคติที่ต้องการจะวัด จากนั้นคำถามทั้งหมดจะถูกส่งให้กลุ่มผู้ตัดสินพิจารณาว่าชอบำถามเหล่านั้นหรือไม่เพียงไร ระดับความชอบ / ไม่ชอบ จะเรียงลำดับตั้งแต่ คือ ตั้งแต่ชอบมากที่สุดถึงชอบน้อยที่สุด คำถามที่มีคำตอบที่ค่อนข้างไปในทางเดียวกันระหว่างผู้ตัดสิน ไม่ว่าระเป็นคำตอบในด้านชอบหรือไม่ชอบก็ตามจะถูกคัดเลือกไว้ใช้ ส่วนคำถามที่มีคำตอบไม่ตรงกันระหว่างผู้ตัดสินและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันจะถูกคัดออกไป วิธีนี้จะเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ บทที่ 6 การวัด
45
3. Semantic differential scale
ถูกพัฒนาโดย Osgood เป็นสเกลที่ได้รับความนิยมใช้มากในการวัดทัศนคติที่มีต่อสิ่งต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้ได้ดีสำหรับการเปรียบเทียบทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อสิ่งของ 2 สิ่งที่เป็นประเภทเดียวกัน เช่น สินค้าที่เหมือนกัน หรือ เปรียบเทียบภาพลักษณ์ขององค์การ วิธีการ คือ ผู้ตอบจะให้คะแนนสิ่งที่ตนกำลังวัดอยู่ตามสเกลที่อาจแบ่งเป็น 5 หรือ 7 ระดับ แต่ละข้างของสเกลมีระดับสูงสุด / ต่ำสุด ของสิ่งที่จะวัดกำกับอยู่โดยมีลักษณะตรงกันข้าม ซึ่งเรียกว่า Bipolar adjectives เช่น ราคาถูก-แพง รสขม-หวาน ฯลฯ บทที่ 6 การวัด
46
ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อคุณสมบัติต่าง ๆ ของยาบำรุงกำลัง ยี่ห้อ “แรงดี”
ท่านมีความเห็นอย่างไรต่อคุณสมบัติต่าง ๆ ของยาบำรุงกำลัง ยี่ห้อ “แรงดี” ราคาแพง … …… ..… ……. …… …… ……. ราคาถูก หาซื้อยาก … …… ..… ……. …… …… ……. หาซื้อง่าย รสขม … …… ..… ……. …… …… ……. รสหวาน บทที่ 6 การวัด
47
4. สเตเปิลสเกล (Staple scale)
เป็นการวัดทัศนคติที่แบ่งช่องคะแนนเป็น 10 ช่อง มีค่าตั้งแต่ -5 ถึง +5 ให้ผู้ตอบแสดงความรู้สึกในทางบวกหรือทางลบต่อสิ่งที่ต้องการวัด โดยกำหนดคะแนนบวกแดสงถึงทัศนคติที่สอดคล้องกับคุณสมบัติ (attribute) ที่กำหนด รสชาติอร่อย การบริการรวดเร็ว บรรยายกาศดี บทที่ 6 การวัด
48
การทดสอบความถูกต้อง (Test of Validity)
ความถูกต้องของเครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปร จะเป็นตัวตัดสินว่าเครื่องมือที่ใช้วัดนั้นใช้ได้หรือไม่ นั่นคือสามารถวัดค่าของตัวแปรได้อย่างถูกต้องตามที่ต้องการวัด แบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ 1. ความถูกต้องของเนื้อหา (Content Validity) 2. ความถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน (Criterion Related Validity) 3. ความถูกต้องในการวัดตัวแปรที่สร้างขึ้น (Construct Validity) บทที่ 6 การวัด
49
1. ความถูกต้องของเนื้อหา (Content Validity)
การทดสอบว่าเครื่องมือที่ใช้วัดมีความถูกต้องของเนื้อหาหรือไม่ ต้องประเมินโดยผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างถ่องแท้ โดยดูว่าคำถามที่ใช้วัดครอบคลุมเนื้อหาสาระหรือความหมายทั้งหมดของตัวแปรที่ต้องการวัดหรือไม่ การประเมินความถูกต้องของเนื้อหามีจุดอ่อน คือ ไม่มีวิธีการที่แน่ชัด การตัดสินว่าการวัดนั้นมีความถูกต้องของเนื้อหาหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ผู้ประเมินกำหนดขึ้น บทที่ 6 การวัด
50
2. ความถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐาน (Criterion Related Validity)
(1) ความถูกต้องในการทำนาย (Predictive Validity) ถ้าการวัดมีความถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานแล้ว ผู้วิจัยสามารถประเมินได้ว่า ผู้ที่ได้คะแนนในระดับใดจะมีพฤติกรรมเช่นใด ตัวอย่างเช่น… ถ้าเกณฑ์กำหนดว่า คะแนนเฉลี่ยของการวัดทัศนคติเกี่ยวกับการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์มีค่าอยู่ระหว่าง ถ้าได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1 แสดงว่าผู้นั้นมีทัศนคนิที่ไม่ดีอย่างยิ่งต่อการเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ บทที่ 6 การวัด
51
ดังนั้นถ้าเครื่องมือมีความถูกต้องเราสามารถทำนายพฤติกรรมของผู้ตอบคนหนึ่งที่ได้คะแนนทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องนี้เท่ากับ 1 ได้ว่า... เขามีแนวโน้มที่จะไม่ซื้อหนังสือพิมพ์อ่าน แต่สิ่งที่ยากต่อการวัดความถูกต้องในการทำนาย คือ เราไม่ทราบเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานในการวัดที่จะมาเป็นตัวกำหนดว่าคะแนนควรจะอยู่ในช่วงใด บทที่ 6 การวัด
52
(2) ความถูกต้องในความเห็นพ้องต้องกัน (Concurrent Validity)
ถ้าการวัดมีความถูกต้องตามเกณฑ์มาตรฐานแล้ว ผู้วิจัยจะสามารถประเมินได้ว่า คนกลุ่มหนึ่งที่เราทราบแน่ชัด (Know Group) แล้วว่าเป็นกลุ่มคนที่มีแนวโน้มไปในทางใด และเมื่อนำเครื่องมือไปวัดกับคนกลุ่มนี้ก็จะพบว่า กลุ่มคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะตอบคำถามไปในลักษณะที่เราคาดหวัง เช่น นำเครื่องมือที่ใช้วัดทัศนคติที่มีต่อการทำแท้งเสรีไปสอบถามกับกลุ่มคนที่เราทราบว่าจะต่อต้านเรื่องนี้คะแนนที่ได้ก็จะต่ำมาก บทที่ 6 การวัด
53
3. ความถูกต้องในการวัดตัวแปรที่สร้างขึ้น (Construct Validity)
ผู้วิจัยควรจะตรวจสอบความถูกต้องของการวัดค่าของตัวแปรที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากคำถามหลาย ๆ คำถาม โดยพิจารณาจากผลของการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สร้างขึ้นกับตัวแปรอื่นที่เกี่ยวข้องกันในเชิงทฤษฎี ถ้าผลการทดสอบพบว่ามีความสัมพันธ์กัน แสดงว่าการวัดตัวแปรนั้นมีความถูกต้อง แต่ถ้าผลการทดสอบพบว่าไม่มีความสัมพันธ์กัน แสดงว่าการวัดตัวแปรนั้นไม่มีความถูกต้อง บทที่ 6 การวัด
54
การทดสอบความเชื่อถือได้ (Test of Reliability)
นิยมใช้กันมากมีอยู่ 4 วิธี คือ 1. วิธีการทดสอบซ้ำ (Test - Retest Method) 2. วิธีการใช้แบบทดสอบคู่ขนาน (Parallel Form Method) 3. วิธีการแบ่งครึ่ง (Split - Half Method) 4. วิธีการวัดความสอดคล้องภายใน (Internal - Consistency Reliability) บทที่ 6 การวัด
55
1. วิธีการทดสอบซ้ำ (Test - Retest Method)
เป็นวิธีการพื้นฐานที่ใช้หาค่าความเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่ใช้ในการวัด โดยทำการวัดกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน 2 ครั้ง ภายในช่วงเวลาหนึ่ง อย่างไรก็ตามการวัดซ้ำครั้งที่ ไม่ควรทิ้งช่วงเวลาจากการวัดครั้งแรกนานเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวผู้ตอบ บทที่ 6 การวัด
56
r = r = 0 หมายความว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวัดไม่มีความเชื่อถือ
สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่ใช้วัดมีดังนี้ 2 r = T 2 O เมื่อ r = สัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่ใช้วัด 2 T = ค่าความแปรปรวน ( Variance) ของคะแนนที่แท้จริง = ค่าความแปรปรวน ( Variance) ของคะแนนที่วัดได้ 2 O ถ้า r = 1 หมายความว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวัดมีความเชื่อถือได้มาก r = 0 หมายความว่า เครื่องมือที่ใช้ในการวัดไม่มีความเชื่อถือ บทที่ 6 การวัด
57
ในสภาพความเป็นจริงแล้วเราจะไม่ทราบความแปรปรวนของคะแนนของคะแนนที่แท้จริง ดังนั้นการหาค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่ใช้วัด จึงนิยมใช้สูตร ของ Pearson Product Moment Correlation ดังนี้ n XY - ( X) ( Y) r = [ n X2 - ( X)2 ] [n Y2 - ( Y)2 ] r = สัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่ใช้วัด n = จำนวนผู้ตอบ X = คะแนนที่วัดได้แต่ละข้อจากการวัดครั้งแรก Y = คะแนนที่วัดได้แต่ละข้อจากการวัดครั้งหลัง บทที่ 6 การวัด
58
2. วิธีการใช้แบบทดสอบคู่ขนาน (Parallel Form Method)
วิธีการนี้จะแก้ปัญหาของวิธีการทดสอบและทดสอบซ้ำในกรณีที่ผู้ตอบจำคำตอบที่เคยตอบไปในครั้งแรกได้ ขั้นตอนของวิธีนี้เหมือนกับวิธีการแรกเกือบทุกอย่าง ส่วนที่แตกต่างกัน คือ เครื่องมือที่ใช้ในการวัดครั้งที่ 2 เป็นคนละชุดกับการวัดครั้งแรก แต่เครื่องมือที่ใช้วัดทั้ง 2 ชุดใช้แทนกันได้ ความน่าเชื่อถือของเครื่องมือที่ใช้วัดพิจารณาจากค่าสหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่วัดได้ครั้งแรกและครั้งหลัง โดยใช้สูตร Pearson Product Moment Correlation Coefficient เช่นเดียวกับวิธีแรก บทที่ 6 การวัด
59
3. วิธีการแบ่งครึ่ง (Split - Half Method)
วิธีนี้จะแก้ปัญหาของ 2 วิธีแรกในกรณีที่ผู้วิจัยไม่อาจทำการวัดซ้ำได้ โดยทำการวัดเพียงครั้งเดียวและมีเครื่องมือที่ใช้ในการวัดเพียงชุดเดียว ผู้วิจัยจะต้องสร้างเครื่องมือหรือแบบสอบถาม 2 ส่วน ในลักษณะคู่ขนานหรือคล้ายกัน เช่น สร้างเครื่องมือวัดทัศนคติซึ่งประกอบด้วยจำนวนคำถาม 20 ข้อ จะต้องแบ่งแบบสอบถามออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ได้แก่ แบบสอบถาม 10 ข้อแรก และส่วนที่ 2 แบบสอบถาม 10 ข้อหลัง โดยทั้งสองส่วนจะถามในเรื่องเดียวกันหรือคล้ายกันในลักษณะจับคู่กัน ถ้าแบบสอบถามมีความเชื่อถือได้สูงจะพบว่าคำตอบที่ได้จากส่วนแรกกับคำตอบที่ได้จากส่วนหลังจะมีความสัมพันธ์กันสูง บทที่ 6 การวัด
60
r ' = โดยใช้สูตรของ Spearman & Brown 2 r 1 + r
หรือค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ที่ปรับค่าแล้วของคะแนนที่ได้จาก การวัดในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 r = ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากการวัดใน ส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ซึ่งยังไม่ได้ปรับค่า โดยคำนวณจากสูตรของ Pearson ที่กล่าวไว้ในวิธีแรก บทที่ 6 การวัด
61
4. วิธีการวัดความสอดคล้องภายใน (Internal - Consistency Reliability)
เป็นการวัดความเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่ใช้โดยไม่ต้องวัดซ้ำ การวัดความสอดคล้องภายในเพื่อหาความเชื่อถือได้ของเครื่องมือที่ใช้ในการวัดทั้งชุด สามารถคำนวณได้จากสูตรต่าง ๆ ดังนี้ 1. Cronbach Alpha Formula 2. Kuder Richardson Formula 20 บทที่ 6 การวัด
62
1. Cronbach Alpha Formula
ใช้ในกรณีที่ให้คะแนนแต่ละข้อคำถามเป็นจำนวนเต็มใด ๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะแต่ 0 กับ 1 เท่านั้น ใช้สูตรนี้ = N N - 1 1 - S2 i T บทที่ 6 การวัด
63
2. Kuder Richardson Formula 20
สูตรนี้ใช้ในกรณีที่คำตอบของแต่ละคำถามมีเพียง 2 คำตอบ คือ 0 กับ 1 เท่านั้น ( เช่น ถูกหรือผิด ใช่หรือไม่ใช่ ) ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ที่คำนวณจากสูตรนี้จะเท่ากับค่าที่คำนวณจาก สูตรของ Cronbach Alpha p q N i i = 1 - N - 1 2 T บทที่ 6 การวัด
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.