งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย
รายงานความเชื่อมั่นการจ้างงานปี 2559 สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย โดย ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย วันพุธ ที่ 16 ธันวาคม 2558

2 สภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2558 มีความอ่อนแอมากกว่าที่ประเมินไว้ เศรษฐกิจถูกผลักดันจากการลงทุนภาครัฐ (+22.6%) และการท่องเที่ยว (+10.9%) การส่งออกที่ถดถอยถึงร้อยละ 5.2 เป็นการถดถอยต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีการส่งออกถดถอยต่อเนื่อง 1-2 ปี มีมากกว่า 40 สาขาอุตสาหกรรม การนำเข้าก็ติดลบร้อยละ 11.5 เป็นการถดถอย 2 ปี ต่อเนื่อง โดยเดือนตุลาคมที่ผ่านมาการนำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักร (ไม่รวมการนำเข้าเครื่องบิน) หดตัวสูงถึงร้อยละ 11 และการนำเข้าวัตถุดิบหดตัวสูงถึงร้อยละ 21 (YoY) ภาคอุตสาหกรรมกำลังการผลิตไม่เต็มศักยภาพหรือไม่เต็มกะ กำลังการผลิตยังเหลืออยู่ประมาณ 30-35% สามารถรองรับสถานการณ์ได้อย่างน้อย 2 ปี การฟื้นตัวเศรษฐกิจปี 2559 การลงทุน-การจ้างงานครึ่งปีแรกอาจทรงตัว การผลิตและการลงทุนของเอกชน อาจอยู่ในระดับที่ทรงตัวใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

3 ดัชนีวัดเศรษฐกิจในปี 2558
ตัวเลขที่เป็นบวก GDP +2.9 การลงทุนภาครัฐ การลงทุนรัฐวิสาหกิจ +5.4 การบริโภคเอกชน +2.0 การท่องเที่ยว (ประมาณ) +10.9 ตัวเลขที่ติดลบและน่าเป็นห่วง GDP เกษตร -4.3 การลงทุนเอกชน -1.3 การส่งออก -5.2 การนำเข้า -9.8% เงินเฟ้อ -0.8 รายได้ภาคเกษตร -13 การว่างงาน (P)% MPI อุตสาหกรรม -18% กำลังการผลิตอุตสาหกรรม 58% การขยายตัวสินเชื่อธนาคาร 4-5% หนี้ครัวเรือน/GDP 81.08%

4 ปี 2559 ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของคู่ค้าส่งออก (1)
การส่งออกไทยพึ่งพาประเทศคู่ค้าหลักเพียง 6 ประเทศ คิดเป็นสัดส่วนส่งออกสูงถึงร้อยละ 73 ซึ่งคู่ค้าหลักของไทยมีเพียงสหรัฐอเมริกาเท่านั้นที่การขยายตัวส่งออกในปี 2558 เป็นบวกร้อยละ 2.25 นอกนั้นล้วนติดลบเฉลี่ยร้อยละ -7.0 (ยกเว้นประเทศ CLMV ที่ยังขยายตัวได้) ทิศทางเศรษฐกิจของโลกขาดความชัดเจน เศรษฐกิจโลกอาจขยายตัวได้ 3.7% (IMF) ราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคม ราคาน้ำมัน WTI เฉลี่ย เหรียญสหรัฐ/บาเรล ราคาเดือนธันวาคมเหลือ เหรียญสหรัฐ/บาเรล ลดลงถึงร้อยละ 20.3 สะท้อนจากเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในสภาวะซบเซา ผลกระทบจะมีต่อการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์และยางพาราจะถดถอยต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 ทิศทางราคาน้ำมันทรงตัวในอัตราต่ำ แสดงให้เห็นถึงเศรษฐกิจโลกยังไม่ฟื้นตัว

5 ปี 2559 ความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของคู่ค้าส่งออก (2)
ในไตรมาส 3 สินเชื่อเอกชนคงค้าง 11.5 ล้านล้านบาท มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองมีงบประมาณไม่พอที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับมาขับเคลื่อน ซึ่งจะทำให้ตัวเลขบริโภคเอกชนอาจขยายตัวได้ใกล้เคียงกับปี 2558 ประมาณร้อยละ 2.6 ภัยแล้ง-ปัญหาหนี้ครัวเรือน ทำให้การบริโภคครัวเรือนยังซบเซา อาจขยายตัวได้เล็กน้อยหรือใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 58.5 ทำให้มีกำลังการผลิตส่วนเกินค่อนข้างสูง ส่งผลให้ระดับราคาสินค้าภาคอุตสาหกรรมทรงตัว กอปรกับห้างโมเดิร์นเทรดมีแคมเปญลดราคาต่อเนื่อง ทำให้เงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ต่ำประมาณ % การผลิตอุตสาหกรรมยังทรงตัวในระดับต่ำ การนำเข้าสินค้าทุนประเภทเครื่องจักร-ส่วนประกอบเดือนตุลาคม 2558 (ไม่รวมการนำเข้าเครื่องบิน) หดตัวสูงถึงร้อยละ 11 (YoY) และการนำเข้าวัตถุดิบหดตัวสูงถึงร้อยละ 21 การลงทุนเอกชนในปี 2559 ยังทรงตัว

6 ตัวเลขชี้วัดเศรษฐกิจไทยปี 2558/2559
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี 2.9% % การส่งออกเชิงมูลค่า (228,210 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) -5.0 ถึง -5.2% การนำเข้าเชิงมูลค่า (204,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) -9.8% 5.4% การลงทุนภาครัฐ 22.6% 11.2% การลงทุนรัฐวิสาหกิจ - การลงทุนเอกชน -1.3% 4.7% การบริโภคเอกชน 2.0% 2.6% เงินเฟ้อทั่วไป -0.8 % การท่องเที่ยวเชิงปริมาณ 10.9% ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) -18% กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม (CPU) 58% จีดีพีภาคเกษตร -4.0 ถึง -4.3% รายได้ภาคเกษตร -13% หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพี (พ.ย. 58 มีมูลค่า ล้านล้านบาท) 81.08% การขยายตัวสินเชื่อธุรกิจเอกชน % การว่างงาน 0.92% 1.0 P เงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์ (YoY) อ่อนค่าทั้งปีเฉลี่ย 3.3 บาท/USD อ่อนค่า 10.13% ราคาน้ำมัน WTI (ณ 14 ธ.ค.) ลดลงทั้งปีเฉลี่ย 8.92 เหรียญสหรัฐ/บาเรล ลดลงเฉลี่ย 20.03% เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ (20 พ.ย. 58) 155.7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

7 อุตสาหกรรมส่งออกที่ได้รับผลกระทบ
อุตสาหกรรมส่งออกถดถอย 1 ปี อุตสาหกรรมส่งออกถดถอย 2 ปี ลำดับ ชื่อสินค้า 2557 2558 (ม.ค.-ต.ค.) 1 มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 8.55 -14.91 ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ -32.92 -45.87 2 เม็ดพลาสติก 8.09 -14.40 ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน -25.69 -41.52 3 ผักกระป๋องและแปรรูป 7.28 -12.67 เคมีภัณฑ์ -5.53 -26.36 4 ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 11.08 -11.72 กากน้ำตาล -29.24 -17.40 5 เครื่องคอมเพลสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 3.34 -9.41 ผลิตภัณฑ์ยาง -5.93 -13.99 6 เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ 1.17 -8.62 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป -10.79 -13.45 7 เนื้อสัตว์และสิ่งปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์ 4.81 -7.46 ทองแดงและของทำด้วยทองแดง -3.22 -12.97 8 เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 3.27 -6.27 เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน -3.10 -12.85 9 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 6.13 -5.23 ผ้าผืน -4.66 -8.36 10 แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า 16.43 -4.74 เครื่องนุ่งห่ม -0.57 -7.96 11 เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 6.33 -4.04 เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว -3.42 -6.84 12 ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 1.8 -4.01 ผลิตภัณฑ์ข้าว -1.21 -5.59 13 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 6.10 -3.70 เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน -2.18 -5.69 14 กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ 3.68 -3.27 สายไฟฟ้าและเคเบิล -1.54 -4.87 15 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3.17 -2.83 เส้นใยประดิษฐ์ -1.52 -4.39 16 ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 12.18 -1.74 เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม -6.23 -3.39 17 เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ 1.46 -0.99 ของเบ็ดเตล็ดทำด้วยโลหะสามัญ -0.87 -3.09 18 สิ่งปรุงรสอาหาร 6.75 -0.95 เลนซ์ -6.74 -3.02 19 เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ 2.29 -0.56 รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ -14.10 -2.31 20 เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า 15.46 -0.27 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ -9.78 -0.59

8 เศรษฐกิจภาคเอกชน (Real Sector) ในปี 2558 ทรงตัวและซบเซา ส่งผลต่ออัตราการว่างงงานสูงสุดในรอบ 5 ปี
ธุรกิจในปี 2558 มีการจดทะเบียนเลิกกิจการสูงสุดในรอบ 3 ปี (นับแต่ปี 2556) ทั้งปี 2558 จะมีประมาณ 16,800 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.79 อัตราการว่างงานปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ สูงสุดในรอบ 5 ปี สอดคล้องกับตัวเลขผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานของประกันสังคมในปี 2558 เฉลี่ยเดือนละ 121,215 คน ขยายตัวร้อยละ เฉลี่ยต่อเดือนสูงสุดในรอบ 5 ปีเช่นกัน จำนวนผู้ถูกเลิกจ้างปี 2558 สูงสุดในรอบ 3 ปี ทำให้จำนวนผู้ถูกเลิกจ้างมีจำนวนสูงถึง 82,700 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 โดยเฉพาะการเลิกจ้างในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น จำนวนแรงงานที่ลาออกจากงานปี 2558 สูงสุดในรอบ 4 ปี คาดว่าปี 2558 มีตัวเลขรวมกันจำนวน 565,232 คน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.26

9 ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการต่อการจ้างงานปี 2559
ผลประกอบการและการจ่ายโบนัสปี 2558 ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว ผู้ประกอบการครึ่งหนึ่งแจ้งว่าตัวเลขขายและผลประกอบการใกล้เคียงกับปี 2557 ยังมีการจ่ายโบนัสโดยเฉลี่ย เท่าขณะที่ผู้ประกอบการร้อยละ 10 แจงว่าไม่จ่ายโบนัส และมีผู้ประกอบการร้อยละ 20 ยังไม่ได้ตัดสินใจ ความเชื่อมั่นเศรษฐกิจปี 2559 ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น มีผู้ประกอบการร้อยละ 50 ไม่เชื่อมั่นเศรษฐกิจว่าจะฟื้น ขณะที่ร้อยละ 20 เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจทรงตัว และร้อยละ 30 เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะดีกว่าปีที่ผ่านมา (เทียบกับครึ่งปีก่อนเชื่อมั่นลดลง 15%) ความเชื่อมั่นการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการไม่ค่อยแน่ใจ มีความก้ำกึ่งระหว่างทรงตัวและหรือดีกว่าปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจยังไม่มีสัญญาณทางบวกที่จะเอื้อว่าการทำธุรกิจจะดีกว่าปีที่ผ่านมา ปัจจัยที่ผู้ประกอบการกังวลในการทำธุรกิจ ส่วนใหญ่ให้น้ำหนักเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกว่ามีผลกระทบต่อการทำธุรกิจในลักษณะที่ก้ำกึ่งกัน มีเพียงร้อยละ 8.30 ยังกังวลถึงปัญหาการเมืองในประเทศ

10 ความเชื่อมั่นการจ้างงานปี 2559
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังรักษาสถานะการจ้างงานเท่าเดิม แต่จะชะลอการรับแรงงานใหม่ ผู้ประกอบการถึงแม้นจะไม่เชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ แต่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ซึ่งดำเนินธุรกิจรอดมาจนถึงปัจจุบันสามารถปรับสถานะธุรกิจให้เข้ากับสถานะทางเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการร้อยละ 75 ยังคงจ้างงานเท่าเดิม มีเพียงร้อยละ 12 ที่จะจ้างงานเพิ่มขึ้น และร้อยละ 13 อาจมีการลดการจ้างงาน ความเชื่อมั่นการจ้างงานดีขึ้น จากช่วงการสำรวจกลางปี 2558 อยู่ที่ระดับร้อยละ 67 แสดงว่าความเชื่อมั่นการจ้างงานสูงขึ้น

11 ปัจจัยเสี่ยงแรงงานใหม่อาจหางานได้ลำบากมากขึ้น แรงงานใหม่ปี 2559 จำนวน 583,712 คน
ภาคธุรกิจเอกชนมีแนวโน้มดูดซับกำลังแรงงานได้น้อยลง ทั้งจากกำลังการผลิตที่ยังเหลือ ทำให้มีการชะลอการรับแรงงานใหม่ อัตราการว่างงานที่สูงขึ้น คาดว่าปี 2559 อาจเป็นร้อยละ 1.0 (อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นทุก 0.1% มีจำนวนผู้ว่างงานประมาณ 30,000-32,000 คน) ปัจจัยเสี่ยงปี 2559 จากคนว่างงานสูงขึ้น ฉุดกำลังซื้อภายในประเทศ แรงงานที่จบการศึกษาใหม่และแรงงานที่จะเข้าสู่ระบบการจ้างงานใหม่ในปี 2559 มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2558 ประมาณร้อยละ 10 หรือ 59,270 คน

12 แนวโน้มการปรับค่าจ้างปี 2559
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 70 ยังมีการปรับค่าจ้าง เพื่อรักษาแรงงานรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ • การปรับค่าจ้างเฉลี่ยร้อยละ 5.0 • ผู้ประกอบการร้อยละ 20 แจ้งว่าไม่มีนโยบายการจ่ายค่าจ้างเพิ่ม • ผู้ประกอบการอีกร้อยละ 10 ยังไม่ตัดสินใจ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 75 ขอให้มีการชะลอการปรับค่าจ้างขั้นต่ำไปก่อนอย่างน้อยไปจนถึงครึ่งปีหลัง • หากจะมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจริงขอให้เป็นระบบไตรภาคี • ค่าจ้างไม่ควรเท่ากันทั้งประเทศ • อัตราที่เหมาะสม บาท/วัน • ขอให้รัฐบาลเข้ามาพัฒนาฝีมือแรงงาน มีการกำหนดค่าแรงตามฝีมือแรงงานมากกว่าค่าแรงขั้นต่ำ

13 ตารางแสดงสถานภาพการจ้างงาน
ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 ปี 2558 ธุรกิจจดทะเบียนเลิกกิจการ (ราย) / YoY - 16,936 ราย (ผลกระทบน้ำท่วมปี 54) 10,782 ราย (P) 15,163 ราย (P) เพิ่มขึ้น 18% 16,800 ราย (P) เพิ่มขึ้น 19% อัตราการว่างงานเฉลี่ย 0.7% 0.8% 0.916% จำนวนคนงานว่างงาน/แสนคน (สนง.สถิติแห่งชาติ) 2.50 แสนคน 2.67 แสนคน 2.83 แสนคน 3.23 แสนคน 3.49 แสนคน จำนวนผู้ลาออกจากงาน 443,799 คน 452,482 คน เพิ่มขึ้น 1.95% 507,990 คน เพิ่มขึ้น 12.26% 565,232 คน เพิ่มขึ้น 11.26% จำนวนผู้ถูกเลิกจ้าง 94,740 คน 73,278 คน 67,029 คน 82,700 คน (P) เพิ่มขึ้น 23.38% ตัวเลขเฉลี่ยต่อเดือนของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานประกันสังคม 91,145 คน 110,256 คน 94,814 คน 109,379 คน 121,215 คน ที่มา : บางส่วนจาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ/ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจแรงงาน/กรมพัฒนาธุรกิจ

14 ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะการปรับค่าจ้างที่ได้จากผู้ประกอบการ
หากต้องมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำจริงควรให้เป็นระบบไตรภาคี ค่าจ้างไม่ควรเท่ากันทั้งประเทศ เพราะต้นทุนการผลิตแตกต่างกัน อัตราที่เหมาะสมมีตั้งแต่ บาท ส่วนช่วงเวลาการปรับควรจะเป็นครึ่งปีหลัง รัฐบาลจะต้องเข้ามาพัฒนาฝีมือแรงงาน และกำหนดค่าแรงตามฝีมือแรงงานมากกว่ากำหนดค่าจ้างขั้นต่ำให้กับพนักงานไร้ฝีมือ ธุรกิจตัวเลขการขายตกต่ำจากสภาวะเศรษฐกิจโลก ผู้ประกอบการอยู่ในสถานะลำบาก สำหรับธุรกิจต่างชาติกำลังลังเลในการย้ายฐานการผลิต หากมีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่สูงเกินไปจะทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิต ค่าจ้างขั้นต่ำปัจจุบันเหมาะสมกับสภาวะธุรกิจ หากปรับในช่วงนี้จะกระทบเป็นลูกโซ่เพราะสภาพตลาดมีการแข่งขันทั้งขายในประเทศและการส่งออก ภาระต้นทุนจากการปรับค่าแรงไม่สามารถโอนต่อไปยังผู้บริโภค ผู้ประกอบการกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจชะลอตัว ธุรกิจมีการประคับประคองให้ดำเนินต่อไป อาจมีกำไรเล็กน้อยเพื่อที่จะดูแลพนักงานและการปรับเงินเดือนหรือโบนัสตามสภาพ แต่หลายธุรกิจไม่สามารถปรับเงินเพิ่มเพราะไม่สามารถเพิ่มต้นทุนและราคาสินค้าไม่สามารถเพิ่มได้

15 END


ดาวน์โหลด ppt รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google