งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวิจัยทางการท่องเที่ยว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวิจัยทางการท่องเที่ยว"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวิจัยทางการท่องเที่ยว
Research in Tourism รหัสวิชา

2 การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยทางการท่องเที่ยว
สาระสำคัญ วิธีวิเคราะห์การวิจัยทางการท่องเที่ยว การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยโดยใช้สถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยไม่ใช้สถิติ

3 ความหมายของการวิเคราะห์ข้อมูลทางการวิจัย
เป็นขั้นตอนหนึ่งของการวิจัย ที่ดำเนินการภายหลังจากที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลสมบูรณ์แล้ว กรณีเป็นวิจัยเชิงปริมาณ จะใช้วิธีการทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูล กรณีเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ จะใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการทางคุณภาพที่มีลักษณะเฉพาะในการวิเคราะห์ข้อมูล

4 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยมือ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้นหรือสถิติอย่างง่าย อาจวิเคราะห์ด้วยตนเองหรือใช้เครื่องคิดเลขช่วย ซึ่งวิธีนี้เหมาะสำหรับข้อมูลที่มีจำนวนไม่มากนัก และการคำนวณไม่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสถิติ หรือเรียกว่าวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเหมาะสำหรับข้อมูลจำนวนมาก

5 แนวทางในการดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
1. ตรวจสอบความครบถ้วนและความสมบูรณ์ ผู้วิจัยควรตรวจสอบทุกรายการของข้อมูล ว่ามีความครบถ้วนสมบูรณ์ไหม โดยคัดแยกข้อมูลที่สมบูรณ์ออกมาเพื่อลงรหัสข้อมูลต่อไป 2. ลงรหัสข้อมูล เป็นการกำหนดตัวเลขให้แทนตัวแปรต่างๆที่กำหนดไว้ในเครื่องมือวิจัย เพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและวิเคราะห์ผลได้

6 ตัวอย่างการลงรหัสข้อมูล
เพศ (GEN) กำหนดรหัส 1 = ชาย = หญิง การศึกษา (EDU) กำหนดรหัส 1 = ต่ำกว่าปริญญาตรี 2 = ปริญญาตรี 3 = ปริญญาโท 4 = ปริญญาเอก

7 กำหนดรหัส 2 = รถโดยสารประจำเส้นทาง กำหนดรหัส 3 = รถรับจ้าง/ เหมา
ตัวอย่างแบบสอบถามด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยว ข้อมูลพฤติกรรมนักท่องเที่ยว กำหนดรหัส 1 = รถส่วนตัว กำหนดรหัส 2 = รถโดยสารประจำเส้นทาง กำหนดรหัส 3 = รถรับจ้าง/ เหมา กำหนดรหัส 4 = กรุ๊ปทัวร์

8 สามารถลงรหัสตัวเลขจากระดับความพึงพอใจที่ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกได้เลย
ตัวอย่างแบบสอบถามความพึงพอใจ สามารถลงรหัสตัวเลขจากระดับความพึงพอใจที่ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกได้เลย

9 3. เลือกโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่จะใช้วิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยสามารถเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ซึ่งปัจจุบันมีหลายโปรแกรม แต่ที่นิยมที่สุดคือ SPSS 4. บันทึกข้อมูล คือขั้นตอนการป้อนข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเช่น SPSS

10 5. เลือกประเภทสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติเชิงพรรณนา สถิติเชิงอ้างอิง เป็นสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำค่าไปอธิบายหรือสรุปอ้างอิงกับประชากร รวมทั้งใช้ทดสอบสมมติฐานการวิจัย เช่น การหาความสัมพันธ์ระว่างตัวแปร หรือความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม เป็นสถิติที่ใช้บรรยายหรือ อธิบาย คุณลักษณะทั่วไปของประชากรหรือกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลมาได้ เช่น ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

11 ข้อสังเกต 2.1 แบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไป ใช้วิธีการหาค่าความถี่ โดยสรุปออกมาเป็นค่าร้อยละ 2.2 แบบสอบถามที่เป็นการสำรวจทัศนคติ ความพึงพอใจ ใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

12 ส่วนประกอบของโปรแกรม SPSS
หน้าต่าง Data Editor เป็นส่วนที่ใช้ในการป้อนข้อมูล และสั่งให้มีการคำนวณค่าสถิติตามที่ต้องการ ลักษณะเป็นกระดาษทำการ (Work Sheet) คล้ายโปรแกรม Excel ประกอบไปด้วย 2 ชีท คือ Data View และ Variable View โดย Data View จะเป็นส่วนที่ใช้ในการป้อนข้อมูล

13 และ Variable View เป็นส่วนที่
ใช้ตั้งค่าตัวแปร

14 หน้าต่าง SPSS Viewer เป็นหน้าต่างแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล โดยแบ่งส่วนการแสดงออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนซ้าย เรียกว่า Outline Pane แสดงหัวข้อของผลลัพธ์ และส่วนขวา เรียกว่า Content Pane จะแสดงรายละเอียดของผลลัพธ์ ซึ่งอาจเป็นตาราง ข้อความ หรือกราฟ

15 การตั้งค่าตัวแปร ตัวแปรทุกตัว (หรือ หมายถึงคำถามแต่ละข้อ) จะต้องกำหนดคุณลักษณะของตัวแปร ซึ่งมีวิธีกำหนดดังนี้ Variable View ส่วนหัวของตาราง เรียกว่าคอลัมน์ จะแสดงคุณลักษณะของตัวแปร แถว หมายถึง ตัวแปรแต่ละตัวของงานวิจัย (หมายถึง คำถามแต่ละข้อของแบบสอบถามนั่นเอง) ทุกๆ ตัวแปรจะต้องกำหนดค่าคุณลักษณะให้ถูกต้อง

16 รายละเอียดในส่วนคอลัมน์
ชื่อ (Name) เป็นชื่อของตัวแปร ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ชื่อของตัวแปรต้องไม่เกิน 8 ตัวอักษร ประเภท (Type) จะบอกลักษณะของข้อมูล - ความกว้าง (Width) ใช้กำหนดจำนวนตัวอักษร (พิจารณาจากแบบสอบถามว่า รับตัวอักษรกี่ตัว หรือตัวเลขกี่หลัก) เช่น ตัวแปร เพศ เรากำหนดในแบบสอบถามว่า ถ้าทำเครื่องหมายเลือกที่เพศชาย เราใช้ตัวเลย 1 แทนเพศชาย และ ใช้ 2 แทนเพศหญิง ดังนั้น ความกว้างของตัวแปร เพศ จะมีความกว้าง 1 หลัก

17 ทศนิยม (Decimal) กำหนดตำแหน่งทศนิยมที่ต้องการเก็บ แต่โดยทั่วไปมักจะไม่เก็บทศนิยม
คำอธิบายชื่อตัวแปร (Label) เป็นการอธิบายรายละเอียดของตัวแปร สามารถพิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ค่าตัวแปร (Values) เป็นการกำหนดค่าที่เป็นไปได้ของตัวแปร เช่น ตัวแปร เพศ เรากำหนดค่าที่เป็นไปได้ของตัวแปรเพศ เป็น 2 ค่า คือ 1 แทนเพศชาย 2 แทนเพศหญิง ดังนั้น เราจะกำหนดใน Values ดังนี้

18

19 ค่าแทนความสูญหายของข้อมูล (Missing) เป็นการกำหนดค่าที่ผู้ตอบแบบสอบถามไม่ได้ตอบคำถามในบางข้อ โดยผู้วิจัยยังคงต้องการใช้ข้อมูลอื่นๆ ที่เหลือในแบบสอบถามชุดนี้อยู่ จึงต้องกำหนดค่าที่ไม่ได้ตอบบางข้อให้เป็นค่าที่สูญหายไป หรือ Missing

20 ความกว้างของคอลัมน์แสดงผล (Columns) เป็นการกำหนดความกว้างของคอลัมน์ของตัวแปรต่างๆ ในหน้า Data View
การจัดตำแหน่งข้อมูลในคอลัมน์ (Align) ตามต้องการเช่น ชิดซ้าย (Left) ชิดขวา (Right) หรือกึ่งกลาง (Center)

21 ระดับการวัดตัวแปร (Measure) ซึ่งโดยทฤษฎีของการวิจัย การวัดจะแบ่งเป็น 4 ระดับคือ Nominal, Ordinal, Interval และ Ratio Nominal ใช้กับตัวแปรที่มีการแบ่งเป็นกลุ่ม เช่น เพศ Ordinal ใช้กับตัวแปรที่แบ่งกลุ่มโดยการเรียงอันดับ Scale ใช้กับตัวแปรที่เป็นตัวเลข ที่ต้องการนำไปคำนวณค่า เช่นค่าเฉลี่ย หรือส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

22

23 การคีย์ข้อมูลจากแบบสอบถาม
บันทึกข้อมูลของแบบสอบถามแต่ละฉบับ ลงในส่วนของ Data View โดยหัวคอลัมน์จะบอกถึงตัวแปรที่ต้องการบันทึก และแต่ละแถว จะหมายถึง ข้อมูลของแบบสอบถามแต่ละฉบับ วิธีการคีย์ข้อมูล แล้วแต่ความสะดวกของผู้คีย์ คือ ผู้วิจัยอาจจะทำแผ่นสรุปข้อมูลจากแบบสอบถาม หรือจะคีย์จากแบบสอบถามทีละฉบับ ก็ย่อมได้ (ขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้วิจัย) สมมติว่ามีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 20 คน และข้อมูลของแต่ละแบบสอบถามเป็นดังนี้

24

25

26

27 สถิติ/คำสั่งของโปรแกรม
การวิเคราะห์ข้อมูล / สถิติ / คำสั่งของโปรแกรม SPSS รายการ/ตัวแปร ลักษณะของเครื่องมือ สถิติ/คำสั่งของโปรแกรม 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เพศ อายุ อาชีพ ตรวจสอบรายการ (Check List) ค่าความถี่ สรุปผลเป็นร้อยละ คำสั่ง Analyze  Descriptive Statistics  Frequencies…

28 สถิติ/คำสั่งของโปรแกรม
การวิเคราะห์ข้อมูล / สถิติ / คำสั่งของโปรแกรม SPSS (ต่อ) รายการ/ตัวแปร ลักษณะของเครื่องมือ สถิติ/คำสั่งของโปรแกรม 2 ข้อมูลการใช้งานทั่วไป/พฤติกรรม ชั้นที่ใช้บริการบ่อย ช่วงเวลาที่ใช้งานมากที่สุด ตรวจสอบรายการ (Check List) ค่าความถี่ สรุปผลเป็นร้อยละ คำสั่ง Analyze  Descriptive Statistics  Frequencies…

29 สถิติ/คำสั่งของโปรแกรม
การวิเคราะห์ข้อมูล / สถิติ / คำสั่งของโปรแกรม SPSS รายการ/ตัวแปร ลักษณะของเครื่องมือ สถิติ/คำสั่งของโปรแกรม 3 ความพึงพอใจในการให้บริการ เจ้าหน้าที่ช่วยค้นหาหนังสือ พอใจเจ้าหน้าที่ให้บริการยืมคืน พอใจความเป็นระเบียบฯ พอใจความสะอาด พอใจความเงียบและบรรยากาศ ความพึงพอใจในภาพรวม (จำแนกตามเพศ อายุ และคณะ) มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) คำสั่ง Analyze  Descriptive Statistics  Descriptives…

30 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
ตัวอย่างการนำเสนอผลการวิเคราะห์ในบทที่ 4 บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับงานวิจัยเรื่อง“………………”ผู้วิจัยได้นำข้อมูลตัวอย่างที่เก็บรวบรวมมาได้จำนวน……โดยจะนำเสนอผลการวิเคราะห์ไว้ ๒ ส่วนดังต่อไปนี้ ส่วนที่ ๑ ผลการวิเคราะห์ลักษณะของกลุ่มตัวอย่าง ส่วนที่ ๒ ผลการวิเคราะห์…… พฤติกรรม ระดับความพึงพอใจ ปัจจัย ต่างๆ…. ของกลุ่มตัวอย่าง (ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของแต่ละเรื่อง) สำหรับสัญลักษณ์ที่ใช้ในการนาเสนอผลการวิเคราะห์ในบทนี้มีความหมายดังต่อไปนี้ x̄ หมายถึง ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง SD หมายถึง ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง

31

32

33

34 ความพึงพอใจในการท่องเที่ยวภูเก็ต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ตัวอย่างการอธิบายตารางการวิจัย ความพึงพอใจในการท่องเที่ยวภูเก็ต ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน S.D. การแปลผล มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ด้านความสวยงาม 231 (57.8) 78 (19.5) 20 (5.0) 42 (10.5) 29 (7.3) 4.55 0.340 จากตาราง สรุปได้ว่า ความพึงพอใจในการท่องเที่ยวภูเก็ต ด้านความสวยงาม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55 และ S.D. = 0.340) โดยนักท่องเที่ยวพึงพอใจในระดับมากที่สุด จำนวน 231 คน คิดเป็นร้อยละ 57.8 นักท่องเที่ยวพึงพอใจในระดับมาก จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 19.5นักท่องเที่ยวพึงพอใจในระดับปานกลาง จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 5 นักท่องเที่ยวพึงพอใจในระดับน้อย จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 10.5 นักท่องเที่ยวพึงพอใจในระดับน้อยที่สุด จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 7.3

35 จงอธิบายตารางการวิจัยต่อไปนี้
ความพึงพอใจในการใช้บริการศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแปลผล มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด ด้านการบริการ 30 (7.2) 125 (33.2) 190 (46.3) 37 (9.3) 18 (4.0) 3.75 0.120 ด้านบุคคลากร 117 (33.0) 182 (42.4) 59 (15.1) 25 (4.9) 17 (4.6) 3.19 0.51 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 47 (10.8) 210 (50.3) 119 (31.4) (4.3) 7 (3.2) 3.80 0.34


ดาวน์โหลด ppt การวิจัยทางการท่องเที่ยว

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google