งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด
(ร่าง) ยุทธศาสตร์การจัดการของเสียชุมชนของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ – 2579) วิสัยทัศน์ : ไร้ของเสีย ไร้มลพิษ / ปราศจากของเสีย ไร้ผลกระทบ (Zero Waste & Zero impact) 28 ธค. 60 เป้าประสงค์ : ของเสียชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง และลดการปลดปล่อยคาร์บอน ปัญหาสำคัญ 1. การใช้บรรจุภัณฑ์ สินค้า และบริการที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม /สาเหตุ สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยที่ถูกต้องตามหลักวิชาการมีไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่ ดำเนินการไม่ถูกต้อง มีปัญหาขยะมูลฝอยตกค้าง 3. ความตระหนักของประชาชนในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตามประเภท 4. การต่อต้านของประชาชนในการก่อสร้างสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย กรอบแนวคิดการจัดการของเสียของประเทศไทย เน้น 3R ทุกภาคส่วน (ประชาชน ผู้ผลิต และผู้จำหน่าย) ใช้หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย : PPP ใช้หลักการ Public Private Partnership ใช้หลักการ Extended Producer Responsibility : EPR แนวโน้มสถานการณ์ในอนาคต: การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นสังคมเมือง รวมถึงการย้ายถิ่นเข้าสู่เมือง หรือเมืองมีการขยายตัวมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่งผลต่อความต้องการในการบริโภคทรัพยากร และก่อให้เกิด ของเสียชุมชนเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม ระบบดิจิตอล ส่งผลให้เกิดซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (WEEE) เพิ่มมากขึ้นในอนาคต การส่งเสริมการให้มีการใช้พลังงานทดแทนจากขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้น โดย นำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไฟฟ้า การผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) การผลิตเชื้อเพลิงขยะ (RDF) เป็นต้น ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด ข้อมูล ปีฐาน (57-59) ค่าเป้าหมาย 5 ปี 10 ปี 15 ปี 20 ปี 60 61 62 63 64 1. ขยะมูลฝอยได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 56 55 65 70 75 100 2. การลดการปลดปล่อยคาร์บอนจากการจัดการขยะ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ป้องกันและลดการเกิดของเสียชุมชนที่ต้นทาง ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัด กำจัดของเสียชุมชน ยุทธศาสตร์ที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของเสียชุมชน กลยุทธ์ที่ 1 เพิ่มการผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 1.1 ส่งเสริมภาคการผลิตในการออกแบบ/ผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ให้มีอายุการใช้งานนานขึ้นสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้หลายครั้ง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของเสีย/วัสดุรีไซเคิลในกระบวนการผลิต และส่งเสริมการนำวัสดุผลพลอยได้ไปใช้ประโยชน์ 1.2 ออกมาตรฐาน/เกณฑ์กำหนดสัดส่วนวัสดุรีไซเคิลในในผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 1.3 ออกกฎระเบียบให้เอื้อต่อการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสิ่งเสริมการลงทุน โดย การให้สินเชื่อเพื่อสิ่งแวดล้อม เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ มาตรการทางภาษี เป็นต้น กลยุทธ์ที่ 2 เพิ่มการใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Purchasing) 2.1 ส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานของรัฐ 2.2 ลดการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็นอันตรายซึ่งก่อให้เกิดของเสียอันตรายเป็นภาระในการจัดการ กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มปริมาณการรีไซเคิลของเสียจากชุมชน 3.1 สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนดำเนินการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยและของเสีย อันตรายนำกลับมาใช้ประโยชน์ 3.2 กำหนดให้มีการเก็บค่าธรรมเนียมการจัดการขยะมูลฝอยในอัตราที่แตกต่างกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการลดขยะมูลฝอยที่ต้นทาง 3.3 สนับสนุนให้ประชาชนเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 3.4 ลดขยะอาหาร (Food Waste) ตั้งแต่การบริโภคในครัวเรือน ธุรกิจ บริการเกี่ยวกับอาหารและการกำจัด โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ และแหล่งท่องเที่ยว กลยุทธ์ที่ 1 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะแบบครบวงจร 1.1 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน 1.2 เพิ่มศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร กลยุทธ์ที่ 2 ควบคุมการบริหารจัดการขยะให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ 2.1 กำกับและควบคุมการบริหารจัดการด้านมลพิษ 2.2 ติดตามตรวจสอบ และเฝ้าระวังการปนเปื้อนมลพิษ ณ แหล่งกำเนิดมลพิษ และสิ่งแวดล้อมโดยรอบพื้นที่ 2.3 กำหนดหลักเกณฑ์ในการอนุญาต (Permitting System) ด้านการสมรรถนะการดำเนินการและการปล่อยระบายมลพิษ ที่ให้เอกชนดำเนินการจัดการ กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสียอันตรายชุมชน 3.1 จัดให้มีระบบแยกทิ้งของเสียอันตรายชุมชนออกกจากขยะมูลฝอยทั่วไป เพื่อรวบรวมให้ ภาคเอกชนนำไปบำบัด/กำจัดอย่างถูกต้อง 3.2 จัดให้มีระบบการเรียกคืนซากผลิตภัณฑ์ที่มีความอันตรายเมื่อหมดอายุการใช้งาน ตั้งแต่การเก็บรวบรวม การรีไซเคิล และการบำบัดกำจัดอย่างปลอดภัย ตามหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบการติดตามตรวจสอบและระบบฐานข้อมูลกลาง 1.1 ปรับปรุงและพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายชุมชนให้มี ประสิทธิภาพ การจัดทำฐานข้อมูล Material Flow ของขยะมูลฝอย กลยุทธ์ที่ 2 วิจัย พัฒนา นวัตกรรมและเทคโนโลยี แก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม 2.1 ศึกษาวิจัย/พัฒนาระบบการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ การใช้วัสดุทดแทนผลิตภัณฑ์กำจัดยาก 2.2 ศึกษาวิจัย/พัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการจัดการ รวมถึงแนวทางการบริหารจัดการศูนย์กำจัด ขยะมูลฝอยที่เหมาะสมกับพื้นที่ ปริมาณ และองค์ประกอบขยะมูลฝอย 2.3 สนับสนุนการวิจัยโดยให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม เพื่อนำผลการวิจัยไปประยุกต์ ให้ถึงการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม การสร้างนวัตกรรม เช่น การจัดการขยะอินทรีย์ในบ้าน วัสดุทดแทน ไมโครพลาสติกเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล เป็นต้น ศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดรูปแบบการตอบแทนและ/หรือชดเชยให้กับ อปท. ที่เป็นศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมและ ประชาชนในพื้นที่เพื่อลดการต่อต้าน และวางระบบป้องกันสุขภาพให้กับผู้ปฏิบัติงานในสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่าย การลดความขัดแย้งและการต่อต้านจากประชาชน สร้างเครือข่าย/ศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการของเสียชุมชนในระดับท้องถิ่น สร้างกลไก และเครือข่ายในการติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังการจัดการของเสียชุมชนโดยการมีส่วนร่วม ของประชาชน 3.4 กำหนดเงื่อนไขในการต่อไปอนุญาต ของกิจการที่ต้องขออนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุข ให้มีการคัดแยกขยะแต่ละประเภท โครงการสำคัญ 1. 2. กลไกสำคัญในการขับเคลื่อน/ปัจจัยความสำเร็จ


ดาวน์โหลด ppt ค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google