ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล
การเสนอขอตำแหน่ง ทางวิชาการ นางจริยา ปัญญา ผู้อำนวยการกองทรัพยากรบุคคล 30 มีนาคม 2559
2
ผู้ที่จะเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ควรมีการเตรียมตัวในเรื่องต่างๆ ดังนี้
ผู้ที่จะเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ควรมีการเตรียมตัวในเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1. ศึกษาหลักเกณฑ์ และวิธีการพิจารณา ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัย และประกาศคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ 2. ตรวจสอบคุณสมบัติ และเตรียมผลงานทางวิชาการสำหรับตำแหน่งที่จะเสนอขอ การเสนอขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ สามารถเสนอขอได้ 2 วิธี ดังนี้ 1. วิธีปกติ หมายถึง คุณสมบัติครบตามเกณฑ์ที่กำหนด 2. วิธีพิเศษ หมายถึง คุณสมบัติไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น ระยะ เวลาไม่ครบ หรือเสนอขอข้ามขั้น หรือเปลี่ยนแปลงสาขาวิชาที่เสนอขอตำแหน่ง
3
(ปริญญาเอก หรือ เทียบเท่า)
ตำแหน่งทางวิชาการ คุณสมบัติ - ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง (วิธีปกติ) อาจารย์ (ปริญญาเอก หรือ เทียบเท่า) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ 2 ปี 3 ปี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์ 1. ชั่วโมงสอน 180 ชม.ทำการ/ปี 2. ภาระงาน 1,380 ชม./ปี 3. ผลการสอน ชำนาญ ชำนาญพิเศษ เชี่ยวชาญ 4. เอกสารการสอน เอกสารประกอบ การสอน “ดี” เอกสารคำสอน “ดี” - 5. จริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ
4
การเสนอผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ข้าราชการ แตกต่างจาก พนักงานมหาวิทยาลัย)
การเสนอผลงานทางวิชาการ (เกณฑ์ข้าราชการ แตกต่างจาก พนักงานมหาวิทยาลัย) คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งแตกต่างจากเกณฑ์ ก.พ.อ. ดังนี้ 1. ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์ วิธีปกติ สามารถเสนอผลงานได้ 2 แบบ 2. การมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ นอกจากเป็นไปตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนดแล้ว ผู้ขอตำแหน่งสามารถเสนอผลงานในฐานะ corresponding author ได้ 3. ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ สามารถนำบทความทางวิชาการ (scholarly article หรือ learned article) ที่เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูลที่มี Impact factor มาเสนอขอตำแหน่งได้
5
ผลงานทางวิชาการ
6
ผลงานทางวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย
วิธีปกติ ผลงานทางวิชาการประกอบด้วย งานวิจัย และ/หรือ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม และ/หรือ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และ/หรือบทความทางวิชาการ หรือตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 3 เรื่อง และอย่างน้อย เรื่อง มีคุณภาพในระดับ “ดี” วิธีปกติ มี 2 แบบ แบบที่ 1 1. งานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อย่างน้อย 2 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” และ 2. บทความทางวิชาการ หรือตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” แบบที่ 2 งานวิจัย อย่างน้อย 3 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการตามวิธีปกติ และมีคุณภาพ “ดีมาก” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการตามวิธีปกติ และมีคุณภาพ “ดีมาก”
7
ผลงานทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย วิธีปกติ
1. งานวิจัย หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นอย่างน้อย 3 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” และ 2. ตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ“ดี” วิธีปกติ มี 2 แบบ แบบที่ 1 1. งานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อย่างน้อย 3 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” และ 2. บทความทางวิชาการ (scholarly article หรือ learned article) หรือตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดี” แบบที่ 2 งานวิจัย อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 3 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีมาก” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการตามวิธีปกติ และมีคุณภาพ “ดีมาก” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการตามวิธีปกติ และมีคุณภาพ “ดีมาก”
8
ผลงานทางวิชาการ (ต่อ)
ศาสตราจารย์ ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย วิธีปกติ มี 2 วิธี วิธีที่ 1 1. งานวิจัย หรือผลงานวิชาการรับใช้สังคม หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่อง เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีฐานข้อมูลระดับนานาชาติ (กรณีงานวิจัย) และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีมาก” และ 2. ตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เล่ม มีคุณภาพ “ดีมาก” วิธีที่ 2 1. งานวิจัย อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่อง เผยแพร่ ในวารสารวิชาการที่มีฐานข้อมูลระดับนานาชาติ และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีเด่น” หรือ 2. ผลงานวิชาการรับใช้สังคม อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีเด่น” หรือ 3. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีเด่น” หรือ 4. ตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เล่ม มีคุณภาพ “ดีเด่น” วิธีปกติ มี 2 วิธี วิธีที่ 1 1. งานวิจัย หรือผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น อย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่อง เผยแพร่ในวารสารวิชาการที่มีฐานข้อมูลระดับ นานาชาติ และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีมาก” หรืองานวิจัยรวมกับ บทความทางวิชาการ (scholarly article หรือ learned article) ที่เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติในฐานข้อมูลที่มี impact factor มีจำนวนและคุณค่าเทียบเท่างานวิจัย และ 2. ตำรา หรือหนังสือ อย่างน้อย 1 เล่ม มีคุณภาพ “ดีมาก” วิธีที่ 2 1. งานวิจัยอย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 2 เรื่องเผยแพร่ใน วารสารวิชาการที่มีฐานข้อมูลระดับนานาชาติ และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีเด่น” หรือ 2. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นอย่างน้อย 5 เรื่อง และอย่างน้อย 1 เรื่อง มีคุณภาพ “ดีเด่น” หรือ 3. ตำรา หรือหนังสืออย่างน้อย 1 เล่ม มีคุณภาพ “ดีเด่น” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการเฉพาะวิธีที่ 1 และมีคุณภาพ “ดีเด่น” วิธีพิเศษ ผลงานทางวิชาการเฉพาะ วิธีที่ 1 และมีคุณภาพ “ดีเด่น”
9
การประเมินผลการสอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ ศาสตราจารย์
ชำนาญ ชำนาญพิเศษ เชี่ยวชาญ เอกสารการสอน เอกสารประกอบ การสอน “ดี” เอกสารคำสอน “ดี” -
10
เกณฑ์การตัดสิน ตำแหน่ง วิธีการเสนอขอ ผู้ทรงคุณวุฒิ การตัดสิน คุณภาพ
ผศ. (ขรก.) วิธีปกติ 3 คน เสียงข้างมาก ดี วิธีพิเศษ 5 คน 4 ใน 5 เสียง ดีมาก ผศ. (พม.) วิธีปกติ แบบที่ 1 และ 2 วิธีพิเศษ แบบที่ 1 และ 2 รศ. (ขรก.) รศ. (พม.) วิธีปกติ แบบที่ 1 วิธีปกติ แบบที่ 2 ศ. วิธีปกติ วิธีที่ 1 (ขรก.และ พม.) วิธีปกติ วิธีที่ 2 ดีเด่น
11
การมีส่วนร่วมในผลงานทางวิชาการ
ข้าราชการ ผู้ขอตำแหน่งเป็นเจ้าของและเป็นดำเนินการหลัก และมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 พนักงานมหาวิทยาลัย ผู้ขอตำแหน่งเป็นเจ้าของและเป็นผู้ดำเนินการหลักและมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือเป็น corresponding author
12
ขั้นตอนการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ
ผู้ขอแต่งตั้ง เสนอหัวหน้าภาควิชาพร้อม แบบ ก.พ.อ.03ฯ และผลงานทางวิชาการ หัวหน้าภาควิชาตรวจสอบ ส่วนงาน
13
ขั้นตอนการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ (ต่อ)
ส่วนงาน คณะอนุกรรมการประเมินผลการสอนในชั้นต้น คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองการขอตำแหน่งทางวิชาการ (ระดับส่วนงาน)ตรวจสอบคุณสมบัติ/ภาระงาน/ผลการสอน/แบบ ก.พ.อ.03ฯ/ผลงานทางวิชาการ ส่วนงาน มหาวิทยาลัย แบบ ก.พ.อ.03ฯ /แบบรายงานประเมินผลการสอนในชั้นต้น/ผลงานทางวิชาการ คณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองการขอตำแหน่งทางวิชาการ (ระดับมหาวิทยาลัย) แก้ไข
14
ขั้นตอนการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ (ต่อ)
คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ** **อาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประเมินผลการสอน คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลงานทางวิชาการและจริยธรรมและจรรยาบรรณทางวิชาการ คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ สภามหาวิทยาลัย อธิการบดีออกคำสั่งแต่งตั้ง (ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ และรองศาสตราจารย์) ตำแหน่งศาสตราจารย์ เสนอ ก.พ.อ. ให้ความเห็นชอบและดำเนินการเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ตำแหน่งศาสตราจารย์อาวุโส เสนอ ก.พ.อ. ให้ความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบแล้วมหาวิทยาลัยทำคำสั่งแต่งตั้ง
15
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
1. เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการที่มี peer review ประเมินคุณภาพ และตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว โดยระบุ ปีที่พิมพ์ ฉบับที่พิมพ์ และเลขหน้า หรือมีหมายเลข DOI ให้พึงระวังวารสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ในลักษณะ Open Access Journal ที่ไม่ได้มาตรฐานไม่เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ ดังนี้ - ไม่มีระบุสำนักพิมพ์หรือสถานที่ตีพิมพ์ที่แน่นอน - ไม่มีการระบุวัตถุประสงค์ ขอบเขตของวารสาร และสาขาวิชาที่รับตีพิมพ์ หรือมีการระบุ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าวารสารรับตีพิมพ์ผลงานนอกเหนือจากขอบเขตหรือสาขาวิชาที่ระบุไว้ - ไม่มีกำหนดการเผยแพร่ที่แน่นอนชัดเจนตามมาตรฐานวารสารวิชาการระดับสากล และไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด - ไม่มีบรรณาธิการ หรือบรรณาธิการไม่ใช่ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชานั้นๆ และมักพบว่าบทความวิจัยที่ลงเผยแพร่ในวารสารออนไลน์มีข้อผิดพลาดในเชิงวิชาการ เช่น ใช้ภาษาอังกฤษ รูปแบบการนำเสนอ การเขียนอ้างอิงไม่ถูกต้อง ไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน นอกจากนี้ ควรคำนึงถึงวารสารที่มีความสุ่มเสี่ยงว่าเป็นวารสารที่ไม่มีคุณภาพจากฐานข้อมูลต่างๆ เช่น Beall’s List ประกอบการพิจารณาการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการด้วย งานวิจัย / บทความทางวิชาการ
16
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ (ต่อ)
2. เผยแพร่ในรูปแบบของ Proceedings Proceedings หมายถึง หนังสือประมวลบทความในการประชุมทางวิชาการที่เป็นฉบับเต็มของการประชุมทางวิชาการระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ โดยต้องมีการระบุคณะบรรณาธิการที่อยู่ในวงวิชาการนั้น หรือสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องจากหลายๆ สถาบัน ทำหน้าที่คัดสรรกลั่นกรอง ตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนการเผยแพร่
17
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ (ต่อ)
3. เผยแพร่ในรูปแบบของรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านการประเมินคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และแสดงหลักฐานว่าได้เผยแพร่ไปยังวงวิชาการและวิชาชีพในสาขาวิชานั้นและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างขวาง กรณีการทำงานวิจัยที่ได้รับทุน หรือรับทำงานวิจัยให้กับหน่วยงานอื่น และมีการตรวจรับงานต้องมี peer review ในสาขาวิชานั้นๆ ประเมินคุณภาพผลงานก่อนการเผยแพร่ มิใช่เป็นการดำเนินการของคณะกรรมการตรวจรับทุนหรือตรวจรับงานจ้าง เพื่อให้งานวิจัยนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์และข้อกำหนดของสัญญาจ้างเท่านั้น
18
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ (ต่อ)
ตำรา ต้องใช้ประกอบการเรียนการสอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา หนังสือ ต้องเผยแพร่สู่สาธารณชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 เดือน รูปภาพ ตาราง ไดอะแกรม และ/หรือข้อมูลที่นำมาจากแหล่งอื่น - ต้องขออนุญาตจากผู้ถือสิทธิ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ สำนักพิมพ์ หรือ ผู้แต่งเดิม และแสดงหลักฐานการได้รับอนุญาตให้ใช้รูปภาพ หากวาดเองให้ชี้แจงว่าเป็นรูปภาพ หรือตารางใด - มีการดัดแปลงไม่ต้องขออนุญาต และให้ระบุว่า “ดัดแปลงจาก...” - หากนำมาจากเว็บไซต์ ถ้ามีลิขสิทธิ์ต้องขออนุญาตจากผู้ถือสิทธิ์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ ต้องอ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน
19
ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ (ต่อ)
บทความทางวิชาการ ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่แล้ว ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ต้องเผยแพร่สู่สาธารณชนมาแล้วไม่น้อยกว่า 4 เดือน
20
การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ก.พ.อ. ได้มีประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการทั้งที่เป็นรูปเล่ม สิ่งพิมพ์ หรือวารสารออนไลน์ โดยให้สถาบันอุดมศึกษาใช้วารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ (รายละเอียดตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556)
21
ข้อปฏิบัติ 1. งานวิจัย - ผลงานที่ตีพิมพ์ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน พ.ศ หากวิจัยในคนหรือในสัตว์ทดลอง ต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรอง หรือหนังสือการได้รับอนุญาตให้ทำวิจัย เรื่องนั้นๆ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน หรือ คณะกรรมการพิจารณาด้านจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลองแล้วแต่กรณี หากไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ ให้ชี้แจงรายละเอียดเสนอคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป - การทำวิจัยในศพ ให้แสดงหลักฐานหนังสือรับรองจากส่วนงาน หรือหน่วยงาน - งานวิจัยที่เป็น case report เพียง case เดียว ไม่ต้องแสดงหลักฐานหนังสือรับรอง ยกเว้นงานวิจัยที่เก็บข้อมูลจาก case report จำนวนหลาย case ต้องแสดงหลักฐานการได้รับอนุญาตให้ทำการวิจัย
22
ข้อปฏิบัติ (ต่อ) 2. ผู้ที่จะลาศึกษาหรือลาฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ หากประสงค์จะขอตำแหน่งทางวิชาการ ให้ยื่นเรื่องไปที่มหาวิทยาลัยก่อนวันที่ได้รับอนุมัติให้ ลาศึกษาหรือลาฝึกอบรม 3. การเสนอผลงานทางวิชาการประเภท “งานวิจัย” และ “บทความทางวิชาการ” ให้ระบุว่า วารสารที่ตีพิมพ์เผยแพร่นั้นอยู่ในฐานข้อมูลใด (ควรเป็นฐานข้อมูลที่ ก.พ.อ. กำหนด)
23
... ขอบคุณค่ะ...
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.