งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

หลักการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "หลักการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 หลักการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
"เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ( รัชกาลที่ ๙ )ทรงพระราชทานให้กับคนไทย หลักการที่สำคัญ คือ เมื่อจะทำอะไรก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องมี "ความรู้" ในเรื่องงานที่จะทำอย่างถ่องแท้ รู้จริง ถ้าไม่รู้ให้ค้นคว้าหาความรู้ และ "คุณธรรม" ใช้หลัก อิทธิบาท ๔ ( ซื่อสัตย์ อดทน เอาใจใส่ สติปัญญา ) เมื่อมีความรู้ และคุณธรรมแล้วหลังจากนั้น ก็ให้ลงมือทำด้วยความ "พอประมาณ" "มีเหตุมีผล" และ "มีภูมิคุ้มกัน" - พอประมาณ คือรู้จัก "พอ" ทำทุกอย่างให้พอดี พอเหมาะ พอสม พอควรและพอเพียงต่อตนเอง รู้จัก "ประมาณ" ทำอะไรก็ต้องประมาณตนเอง ประมาณฝ่ายตรงข้าม และสภาพแวดล้อมรอบข้าง ว่ามีความเหมาะสมที่จะทำหรือไม่ - มีเหตุมีผล คือการทำอะไรให้มีการคิด และวางแผนให้ดี มีการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสีย จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม เมื่อเห็นว่าดีแล้ว ก็วางแผนทำต่อไป - มีภูมิคุ้มกัน คือการจะทำอะไรก็ต้องมีทุนสำรอง มีแผนเผชิญเหตุไว้แก้ปัญหาที่ไม่คาดคิด เรียบเรียงโดย พ.อ.วรยุทธ แก้ววิบูลย์พันธุ์ รอง ผบ.พล.ร.๒ รอ. ( ๒๖ ก.พ.๕๙ )

3

4 การปลูกป่า 3 อย่าง ได้ประโยชน์ 4 อย่าง พระองค์มีพระราชดำรัส ดังนี้
“การ ปลูกป่าถ้าจะให้ราษฎรมีประโยชน์ให้เขาได้ให้ใช้วิธีปลูกไม้ 3 อย่าง แต่มีประโยชน์ 4 อย่าง คือ ไม้ใช้สอย ไม้กินได้ ไม้เศรษฐกิจ โดยปลูกรองรับการชลประทาน ปลูกรับการซับน้ำ และปลูกอุดช่วงไหล่ตามร่องห้วยโดยรับน้ำฝนอย่างเดียว ประโยชน์อย่างที่ 4 คือสามารถช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ” แปลความสรุปอย่างเข้าใจง่าย ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และระบบนิเวศน์ พออยู่ หมายถึง ไม้เศรษฐกิจปลูกไว้ทำที่อยู่อาศัย และจำหน่าย พอกิน หมายถึง ปลูกพืชเกษตรเพื่อการกินและสมุนไพร พอใช้ หมายถึง ปลูกไม้ไว้ใช้สอยโดยตรงและพลังงาน เช่น ไม้ฟืน, และไม้ไผ่ เป็นต้น ประโยชน์ต่อระบบนิเวศน์ สร้างความสมบูรณ์และก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า

5 เกษตรทฤษฎีใหม่ คือ การบริหารจัดการทรัพยากรโดยเฉพาะดินและน้ำที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อให้เกษตรกรสามารถดำเนินชีวิตอยู่ได้อย่างเพียงพอ โดยเน้นการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด สาเหตุที่เรียก “ทฤษฎีใหม่” นั้นเนื่องจาก              1. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร ซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน             2. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะเก็บกักให้พอเพียงต่อการเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมตลอดปี             3. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน  ขั้นต้อนของทฤษฎีใหม่ มี 3 ขั้นตอน ได้แก่              ขั้นตอนที่ 1 เป็นการผลิตแบบพึ่งตนเองด้วยวิธีง่ายๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลัง พอมีพอกินไม่อดอยาก      ขั้นตอนที่ 2 เกษตรกรรวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ ร่วมแรงในเรื่องของการผลิตการตลาด การเป็นอยู่ สวัสดิการ การศึกษา สังคม และศาสนา             ขั้นตอนที่ 3 ร่วมมือกับแหล่งเงินและพลังงาน ตั้งและบริหารโรงสี ตั้งบริการร้านสหกรณ์ ช่วยกันลงทุนช่วยกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท ซึ่งมิใช่ทำอาชีพด้านการเกษตรเพียงอย่างเดียว

6

7 มีกินมีใช้ตลอดปี ( การทำไร่นาสวนผสม )
                                            มีกินมีใช้ตลอดปี ( การทำไร่นาสวนผสม ) เกษตรกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และมีความมั่นคงในการที่จะประกอบอาชีพการเกษตรต่อไป เป็นการทำกิจกรรมการเกษตรหลาย ๆ อย่าง ( ตั้งแต่ 2 อย่าง )  เพื่อตอบสนองต่อการบริโภค และลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิต และภัยธรรมชาติ ซึ่งกิจกรรมการเกษตรไม่จำเป็นต้องเกื้อกูลกันเช่น การเลี้ยงไก่ สุกร รวมกับการปลูกพืช การปลูกโกโก้แซมในสวนมะพร้าว การเลี้ยงปลาในร่องสวนไม้ผลหรือสวนผัก หรืออาจจะมีการเกื้อกูลกันระหว่างกิจกรรมการผลิต โดยนำเศษเหลือของกิจกรรมหนึ่งไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับอีกกิจกรรมหนึ่ง เช่น เศษพืชผักเป็นอาหารสุกร มูลสุกรเป็นอาหารปลา น้ำจากบ่อปลานำไปรดพืชผัก เป็นต้น ลักษณะการทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่างเช่นนี้เกษตรกรจะมีรายได้จากผลผลิตหลาย ๆ อย่าง มีการกระจายการใช้แรงงานอย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งปี มีความรักและผูกพันกับไร่นา มีความภาคภูมิใจในผลงาน และผลผลิตของตนเอง ไม่อยากทิ้งไร่นาไปที่อื่น เกษตรกรมีรายได้ตลอดปี และลดค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้ออาหารเช่น ผัก ผลไม้ และแหล่งอาหารโปรตีนเช่น ปลา ไก่ เป็นต้น

8 ทำไมถึงต้องมีการทำไร่นาสวนผสม
1. เพื่อเพิ่มระดับรายได้ และมีรายได้ รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายปี รายได้รายวัน ได้แก่ กิจกรรมพืชผัก ( ผักกินใบ ผักบุ้ง ผักกระเฉด ตะไคร้ ขิง ข่า กระเพรา เป็นต้น ) กิจกรรมสัตว์ ( ไก่ และเป็ดไข่ และการเลี้ยงโคนม ) รายได้รายสัปดาห์ ได้แก่ ไม้ดอกไม้ประดับ ผักบางชนิด ( ชะอม กระถิน ผักกินใบ ) รายได้รายเดือน หรือตามฤดูกาลผลิต 2 – 4 เดือน กิจกรรมการปลูกพืชผัก ทำนา ทำไร่ การเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่เนื้อ เป็ด และสุกร ตลอดจนการเลี้ยงปลาและกบ รายได้รายปี เป็นประจำทุกปี ส่วนใหญ่เป็นไม้ผลและไม้ยืนต้นพืชไร่อายุยาว ( สับปะรด มันสำปะหลัง ) การเลี้ยงสัตว์ใหญ่ ( โคเนื้อ สุกรขุน ) 2. เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ และการตลาดที่แปรปรวน 3. เพื่อลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตภายนอกให้น้อยลงโดยพึ่งพาทรัพยากรในไร่นามากขึ้น 4. กิจกรรมหลากหลายมีทั้งกิจกรรมเพิ่มรายได้ มีอาหารไว้บริโภคและใช้สอยในครัวเรือน กิจกรรมการเกษตรในไร่นาสวนผสมอาจจะมีทั้งพืช สัตว์ และประมงหรืออาจจะมีพืชกับสัตว์ หรือกลุ่มของพืชอายุสั้นกับอายุยาวขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่

9 เกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรด้วยหลักธรรมชาติ บนพื้นที่การเกษตรที่ไม่มีสารพิษตกค้าง และหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมี ทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อส่งเสริมความอุดสมสมบูรณ์ของดิน ความหลากหลายทางชีวภาพ ในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สมดุลธรรมชาติ โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์หรือสิ่งที่ได้มาจากการตัดต่อ ... เกษตรอินทรีย์จึงลดการใช้ปัจจัยจากภายนอก และหลีกเลี่ยงการใช้สารสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช และเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามประยุกต์ใช้ธรรมชาติในการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาความต้านทานต่อโรคของพืชและสัตว์เลี้ยง

10 การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง ( นำสู่ความพอเพียง )
เศรษฐกิจพอเพียง สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับสังคมทุกระดับ ได้แก่ ระดับบุคคลและครอบครัว เศรษฐกิจพอเพียงระดับบุคคล และครอบครัว คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างไม่เดือดร้อน กำหนดความเป็นอยู่อย่างประมาณตนตามฐานะ ตามอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสวัตถุนิยม มีอิสรภาพเสรีภาพ ไม่มีพันธนาการอยู่กับสิ่งใด สามารถให้ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนใน ๕ ด้าน คือ พึ่งตนเอง ได้ทางจิตใจ สังคมทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีและทางเศรษฐกิจ รู้จักคำว่า “พอ” และไม่เบียดเบียนผู้อื่น พยายามพัฒนาตนเอง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง และความชำนาญ และมีความสุข และความพอใจกับชีวิตที่พอเพียง ยึดเส้นทางสายกลาง ในการดำรงชีวิต เช่น ไม่ซื้อของมากมายเกินความจำเป็น หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าของหลายอย่างที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ กลายเป็นขยะรกบ้าน

11 ระดับชุมชน ประกอบด้วย บุคคลและครอบครัว ที่มีความพอเพียงแล้ว
คนในชุมชนรวมกลุ่มทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยอาศัยภูมิปัญญาและความสามารถของบุคคลและชุมชน ซึ่งในการดำเนินงานของชุมชนให้ประสบผลสำเร็จได้ จะต้องมีสำนึก ในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินงานด้วยความโปร่งใส ตรงไปตรงมา ตรวจสอบได้ ดำเนินงานด้วยความพอประมาณ อย่างมีเหตุผล ไม่สนับสนุนการลงทุนจนเกินตัว ดำเนินงานอย่างรอบคอบ มีสติปัญญา อีกทั้งต้องมีความรอบรู้ที่เหมาะสม เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานของชุมชนให้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง และนำมาสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากทั้งภายในและภายนอก และมีการพัฒนา ไปสู่เครือข่ายระหว่างชุมชนต่างๆ นอกจากนี้ การอยู่ร่วมกันในครอบครัวและชุมชนต้อง ถนอมน้ำใจและอยู่ร่วมกันให้ได้ อาศัยภูมิปัญญาความสามารถของตน และชุมชน มีความเอื้ออาทรต่อกันระหว่างสมาชิกชุมชน จะช่วยให้มีเครือข่ายเกิดพลังขึ้น ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ปัจจุบันคนในเมืองมักจะ ไม่รู้จักคนข้างบ้าน เพราะตื่นเช้าก็ต้องรีบออกจากบ้านไปทำงาน ไม่เหมือนสังคมสมัยก่อนที่มักจะรู้จักกันหมด จึงเห็นได้ว่าสังคมของเรากำลังอ่อนแอลงไปทุกที

12


ดาวน์โหลด ppt หลักการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google