งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
นโยบายด้าน ICT และทิศทางของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย (ฉบับที่ 2) พ.ศ นางเมธินี เทพมณี ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

2 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
โครงสร้างกระทรวง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานรัฐมนตรี ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน โครงสร้างกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานสถิติแห่งชาติ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 4

3 พันธกิจ เสนอแนะและดำเนินการนำนโยบายของรัฐบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม 1 ส่งเสริมให้ประเทศไทยมีบทบาทในภูมิภาคอาเซียนในการเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ 3 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อเพิ่ม ศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารของประเทศไทย 4 ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5 6 ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

4

5 มูลค่าตลาด ICT ประเทศไทย ปี 2550

6 มูลค่าตลาดคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ไทย ปี 2550

7 ดัชนีชี้วัดประเทศไทยในเวทีโลก
ดัชนี/ ประเทศ World Competitiveness Scoreboard ปี 2550 (55 ประเทศ) Networked Readiness Rankings ปี (127 ประเทศ) Digital Opportunity Index ปี (181 ประเทศ) e-Readiness Ranking ปี 2551 (70 ประเทศ) E Government (192 ประเทศ) IT Industry Benchmarking (64 ประเทศ) ไทย 33 40 82 47 64 41 ญี่ปุ่น 24 19 2 18 11 เกาหลี 29 9 1 15 6 3 ไต้หวัน 17 7 NA อินเดีย 27 50 124 54 113 46 สิงคโปร์ 5 23 มาเลเซีย 26 57 34 36

8 ดัชนีชี้วัดประเทศไทยในเวทีโลก
ปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งอันดับการพัฒนา ICT ของประเทศไทยในทุกๆ ดัชนีคือ ความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ซึ่งยังมีไม่ เพียงพอและยังแพร่กระจายไม่ทั่วถึง ทำให้การพัฒนาและการใช้ ประโยชน์ของ ICT เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ การพัฒนาธุรกิจ การ ให้บริการของภาครัฐ ไม่สามารถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

9 เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551
นโยบายรัฐบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 นโยบายรัฐบาลด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และอุตสาหกรรมที่ เกี่ยวข้องด้านบริการความรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และจัดให้มี กลไกสนับสนุนแหล่งทุนสำหรับผู้ประกอบธุรกิจเทคโนโลยี สารสนเทศขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มี ศักยภาพได้มาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในภูมิภาค

10 ร่างวิสัยทัศน์ พันธกิจ และประเด็นยุทธศาสตร์ ของแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ 10

11 วิสัยทัศน์-พันธกิจ-วัตถุประสงค์
พัฒนากำลังคนที่มี คุณภาพและ ปริมาณเพียงพอ พัฒนาโครงข่าย ICT ความเร็วสูง พัฒนาระบบบริหาร จัดการ ICT ที่มี ธรรมาภิบาล วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มปริมาณและศักยภาพของกำลังคน ICT สร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ICT สนับสนุนการปรับโครงสร้างการผลิต สร้างความเข้มแข็งของชุมชนและปัจเจกบุคคล สร้างศักยภาพของธุรกิจและอุตสาหกรรม ICT วิสัยทัศน์ “Smart Thailand” … % of Thais to have Information Literacy Increase ICT industry contribution to GDP Enhance ICT Readiness, e-Government Performance in international rankings

12 SMART Thailand Our Strategies
ICT for Competitiveness (Strategic industries, SMEs) ICT Infrastructure E-Governance ICT Industry National ICT Management Framework (Institutional arrangement, Rules and Regulation, Financing, …) Human Resources (ICT Professionals and “Information-Literate” People)

13 ประเด็นยุทธศาสตร์ การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคลากรในทุกวิชาชีพที่มีความสามารถในการใช้ สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน (Information Literacy) 1 การสร้างธรรมาภิบาลในระบบบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (National ICT Management Framework) 2 3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารและการบริการของภาครัฐ (e-Governance) 4 ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT (ICT Industry Competitiveness) เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ 5 6 การใช้ ICT เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (ICT for Competitiveness)

14 กรอบยุทธศาสตร์ และผลลัพธ์ตาม (ร่าง) แผนแม่บท ICT ประเทศไทย ฉบับที่ 2 พ
กระจายโอกาส เพื่อความยั่งยืน สังคมคุณภาพ ศักยภาพ และการแข่งขัน ผลลัพธ์ในภาคเศรษฐกิจอื่น ทรัพย์สินทางปัญญา ทุนทางปัญญา มูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์และบริการที่สูงขึ้น Mass customization การอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน/ภาคเอกชน การลดค่าใช้จ่ายของภาคเอกชน ลดความสูญเสียจากการทำงานที่ขาดความโปร่งใส ความทั่วถึงและเท่าเทียมกันในการเข้าถึงสารสนเทศ โอกาสทางการศึกษาและสุขภาพที่ดีของประชาชน ทรัพยากรมนุษย์ที่มีความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม 4. ใช้ ICT เพื่อช่วยสร้างธรรมาภิบาลของภาครัฐ 5. พัฒนาอุตสาหกรรม ICT 6. ใช้ ICT ในภาคการผลิตและบริการที่เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศ 2. บริหารจัดการ ICT อย่างมีธรรมาภิบาล (ICT Governance) eGovernance is "superstructure", so it is on top. 3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 1. พัฒนากำลังคน (ICT Professionals & ICT literate people) 14 14

15 ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (1)
พัฒนา กำลังคน การพัฒนากำลังคนด้าน ICT และบุคคลทั่วไปให้มีความสามารถในการสร้างสรรค์ ผลิต และใช้สารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน (Information Literacy) ประเด็นที่ครอบคลุม เป้าหมายที่สำคัญ บุคลากร ICT สัดส่วนกำลังคนด้าน ICT ที่จบการศึกษาในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรี ในแต่ละปีเกินร้อยละ 15 ของผู้จบการศึกษาด้าน ICT ทั้งหมด มีบุคลากรด้าน ICT ที่ได้รับการทดสอบผ่านมาตรฐานวิชาชีพที่ ได้รับการยอมรับในระดับสากลอย่างน้อยร้อยละ 30 ของบุคลากร ทั้งหมด นักพัฒนาซอฟต์แวร์ของไทยสามารถเข้าร่วมโครงการระดับโลกได้ไม่ น้อยกว่าปีละ 50 โครงการ บุคลากรในวิชาชีพ อื่น/บุคคลทั่วไป แรงงานในสถานประกอบการไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 สามารถเข้าถึงและนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการทำงานและการเรียนรู้ บุคลากรภาครัฐไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 สามารถเข้าถึงและนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการทำงานและการเรียนรู้ กลุ่มผู้ด้อยโอกาส สามารถเข้าถึง ICT และนำ ICT มาใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ และประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้นไม่ น้อยกว่าร้อยละ 10 สัดส่วนการเข้าใช้เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้หรือเป็นประโยชน์ในเชิงสร้างสรรค์เกินกว่าร้อยละ 70 ของการใช้เว็บไซต์ในภาพรวม เน้นการสร้างบุคลากรทักษะสูง (highly skilled professionals) สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เน้นความสามารถในการใช้อย่าง สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ 15

16 ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (2)
การบริหาร จัดการ ICT การบริหารจัดการระบบ ICT ของประเทศอย่างมี ธรรมาภิบาล ประเด็นที่ครอบคลุม เป้าหมายที่สำคัญ โครงสร้างเชิงสถาบัน มีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่เป็นองค์กรขับเคลื่อนวาระแห่งชาติด้าน ICT ในระดับประเทศ ที่สามารถประสานให้เกิดการพัฒนาแบบบูรณาการ มีสภา ICT เพื่อเป็นตัวแทนของภาคเอกชนในการประสานนโยบาย และทำงานร่วมกับภาครัฐเพื่อผลักดันนโยบายและมาตรการด้าน ICT กฎหมายและกฎระเบียบ มีกฎหมาย กฎระเบียบที่เอื้อต่อการใช้ ICT และการทำธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์ การจัดสรรทรัพยากร มีการจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดความ ซ้ำซ้อน

17 ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (3)
โครงสร้าง พื้นฐาน ICT การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ประเด็นที่ครอบคลุม เป้าหมายที่สำคัญ บริการเครือข่ายความเร็วสูง มีบริการเครือข่ายความเร็วสูง (ความเร็วอย่างน้อย 4 Mbps) กระจายทั่วถึง ราคาเป็นธรรม โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการศึกษา สถาบันการศึกษาระดับมัธยมขึ้นไป เชื่อมต่อที่ความเร็วอย่างน้อย Mbps ห้องสมุดประชาชน/ศูนย์การเรียนชุมชน/ศูนย์สารสนเทศชุมชน เชื่อมต่อที่ความเร็วอย่างน้อย 4 Mbps โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการบริการภาค สังคม ศูนย์บริการสารสนเทศชุมชนทุกแห่งมีข้อมูล/สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ และอาชีพ รวมถึงบริการอินเทอร์เน็ต สถานพยาบาลและสถานีอนามัยในชนบทห่างไกลทั่วประเทศเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ตได้ที่ความเร็วอย่างน้อย 4 Mbps และมีระบบการแพทย์ ทางไกลที่มีประสิทธิภาพและใช้ได้จริง มีการจัดสรรทรัพยากรโทรคมนาคมและโครงข่าย ICT เพื่อการบริการ ภาคสังคมที่สำคัญ เช่น การเฝ้าระวังและการเตือนภัยพิบัติ การ สาธารณสุขพื้นฐาน ฯลฯ

18 ยุทธศาสตร์ที่ 3: การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT

19 ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (4)
E- Governance การใช้ ICT เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาลในการบริหารและบริการของรัฐ ประเด็นที่ครอบคลุม เป้าหมายที่สำคัญ บริการของรัฐ ประชาชนเป็นศูนย์กลาง มี e-government interoperability framework (e-GIF) บริการที่เป็น single window ใช้บริการได้ผ่านสื่อหลายประเภท การมีส่วนร่วมของประชาชน ทุกหน่วยงานมีช่องทางสำหรับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะหรือกฎหมาย คุณภาพและประสิทธิภาพของ e- government ยกระดับ e-government performance rankings

20 ยุทธศาสตร์ และมาตรการ (5)
อุตสาหกรรม ICT ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ICT เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและรายได้เข้าประเทศ ประเด็นที่ครอบคลุม เป้าหมายที่สำคัญ อุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (รวม embedded system/ embedded software) และ การออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง สัดส่วนของซอฟต์แวร์ที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าตลาดซอฟต์แวร์ในประเทศโดยรวม มลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์ของไทยเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ อย่างน้อยร้อยละ 30 และมูลค่าของตลาดซอฟต์แวร์ ภายในประเทศเติบโตเป็นไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท การวิจัยพัฒนา เพิ่มการลงทุนในการวิจัยด้าน ICT ของภาครัฐและเอกชนอย่างน้อยร้อยละ 15 จากปี พ.ศ และ มีเมืองที่เป็น ศูนย์กลางการพัฒนา ICT ในระดับโลกในประเทศไทย ตลาดและผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการ ICT ไทยได้ทำโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐเพิ่มขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 20 จากปี พ.ศ. 2551 มูลค่าของตลาดดิจิทัลคอนเท้นต์ ในประเทศเติบโตเป็นไม่น้อยกว่า 165,000 ล้านบาท ภายในปี พ.ศ โดยมีสัดส่วนที่ผลิตในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

21 มาตรการส่งเสริม Open Source
ตาม (ร่าง) แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ฉบับที่ 2) ของประเทศไทย พ.ศ “สนับสนุนให้เกิดชุมชนของผู้พัฒนาในสาขาต่าง ๆ อาทิ Open Source Software/Embedded Software ทั้งนี้รวมถึง การมีกลไกสนับสนุนให้บุคลากรนักพัฒนาของไทย สามารถ เข้าร่วมโครงการระดับโลก (International Forum) ได้ เพื่อสร้างให้เกิดการวิจัยพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี และทำให้ เกิดความเข้มแข็งของบุคลากร ICT ไทย”

22 คำตอบสุดท้ายในการเลือก Open Source Software
ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ ลดภาระงบประมาณรายจ่ายในการซื้อซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ เพิ่มทางเลือกของการใช้ซอฟต์แวร์ พัฒนาฝีมือ ทักษะของโปรแกรมเมอร์และผู้ใช้งาน มีอิสระในการกำหนดทิศทางการพัฒนาต่อยอดซอฟต์แวร์ใหม่

23 นโยบายรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ
ฮ่องกง BSA ได้ทำงานร่วมกับ Custom & Excise Department และ the Intellectual Property Department ในการรณรงค์ส่งเสริมในการตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่ใช้ใน องค์การต่าง ๆ ของภาครัฐ ช่วยให้การละเมิดลิขสิทธิ์ ลดลง อินเดีย มีการผลักดันในการใช้ Broadband ในการ ต่อเชื่อม PCs ควบคู่ไปกับการให้การศึกษาและความ พยายามในการบังคับใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ ซึ่งจะเป็นการ ช่วยในการผลักดันซอฟต์แวร์ที่อินเดียได้พัฒนาออกสู่ตลาด ซอฟต์แวร์

24 นโยบายรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ (ต่อ)
ญี่ปุ่น ด้วยการสนับสนุนของ Ministry of Education, Culture, Sports and Science & Technology โดยที่ BSA ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจัดทำโปรแกรมในการช่วยสร้าง ความตระหนักเกี่ยวกับ Software asset management เพื่อ ช่วยผลักดันซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ และสร้างความตระหนักใน เรื่องลิขสิทธิ์ มาเลเซีย รัฐบาลได้...กับภาคธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ผิด กฎหมาย และได้รณรงค์ให้มีการศึกษาร่วมกับ BSA ใน โครงการ “Sikap Tulen” เพื่อความพยายามในการเปลี่ยน ความคิดของผู้บริโภคให้หันมาใช้ซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์

25 หลักเกณฑ์การพิจารณางบประมาณของหน่วยงานภาครัฐ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
หลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณางบประมาณ ปี การจัดซื้อจัดจ้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ตามประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมสำนักงานสำเร็จรูป ....ข้อ1.2 ชุดโปรแกรมสำนักงานสำเร็จรูป(Office Application) ในการดำเนินการจัดหาชุดโปรแกรมสำนักงานสำเร็จรูป ให้พิจารณาจัดหาซอฟท์แวร์ลิขสิทธิ์เพียงร้อยละ 80 ของจำนวนที่ขอจัดหา โดยในส่วนที่เหลือร้อยละ 20 ให้หน่วยงานใช้ซอฟท์แวร์รหัสเปิด (Open Source Software) เพื่อเป็นการลดภาระงบประมาณรายจ่าย ที่มา : สำนักงบประมาณ

26 นโยบายกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสารสนเทศ
การจัดตั้งศูนย์นโยบายความมั่นคงปลอดภัยด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ (Thailand Policy and Analysis Center) การฝึกอบรมด้านความมั่นคงปลอดภัยของระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT Security) สำหรับ CSO (Chief Security Officer)หรือ SO (Security Officer) ขององค์กร การประเมินความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ของหน่วยงาน ภาครัฐ

27 นโยบายกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยสารสนเทศ
การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT Security ของไทย เพื่อ รองรับความต้องการของตลาดหน่วยงานภาครัฐ และ เอกชน การวิจัยและพัฒนาระบบการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อเป็น มาตรฐานของชาติ (National Cryptography Data Standard)ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)

28 ระบบความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ เพื่อพัฒนาการเติบโตทางธุรกิจ
จัดทำ กรอบนโยบาย แนวทางการดำเนินการ ในเรื่อง การบริหารจัดการ PKI แห่งชาติ (National Public Key Infrastructure Management) ดำเนินการกำหนดไว้เป็นส่วนหนึ่งของในแผนแม่บท ICT Security แห่งชาติ ผลักดันกฎหมายกำกับดูแล CA (Certificate Authority) : พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำกับดูแลธุรกิจบริการการ ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ เพื่อสร้าง ความมั่นใจต่อธุรกิจและประชาชนในการใช้งานระบบ CA ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ที่เป็นที่ยอมรับสำหรับการทำ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศและต่างประเทศ การดำเนินการของ MICT จะมุงเนินไปที่การนำเรื่อง CA/PKI มาดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้น รวมถึงรูปแบบของการจัดการระบบ PKI เมื่อมีกฎหมายออกมาแล้วทาง MICT จะจัดทำเป็นกรอบ นโยบายและแนวการดำเนินการออกมา เช่นการวางนโยบายเรื่องของการดำเนินการรูปแบบของ CA Trusted Model หรือ Business Model ของ CA (Certificate Authority) รวมถึงการส่งเสริม ให้ความเชื่อมั่นในการใช้งานระบบ CA/PKI โดยจัดทำเป็นคู่มือเอกสารเผยแพร่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ PKI ออกมาเป็นต้น ซึ่งจะไม่ซ้ำซ้อนกับคณะอนุกรรมการธุกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่ออกกฏหมายและกำกับ ดูแลแต่ทาง MICT นำกฎหมายและระบบ PKI มาวางแผนเพื่อผลักดันให้เกิดขึ้นในทางปฏิบัติและเป็นรูปธรรม

29 ขอบคุณค่ะ


ดาวน์โหลด ppt ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google