ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
1
วิจัยเชิงคุณภาพ…ไม่ยากอย่างที่คิด
ดร.บรินดา สัณหฉวี
2
ประตูแห่งการเรียนรู้
3
เริ่มต้นด้วยคำถามง่ายๆ
4
เพราะเหตุใดท่านจึงรู้สึกเช่นนั้น …………………………………………..
เพราะเหตุใดท่านจึงรู้สึกเช่นนั้น …………………………………………..
6
ทำไมต้อง วิจัยเชิงคุณภาพ
ทำไมต้อง วิจัยเชิงคุณภาพ
7
ลองพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
12
มโนทัศน์ (Concept) หรือ การเกิดความคิดรวบยอด
คือ การมองเห็นเรื่องที่กําลังศึกษาในเชิงหลักการที่เกี่ยวข้องกับความจริงต่างๆ ในรูปของนามธรรม ทั้งนี้มีการรวมเอาเหตุการณ์ หลายๆ เหตุการณ์ที่เป็นนามธรรมมาสรุปไว้ภายใต้ หัวข้อเดียวกัน
14
Workshop 1
17
วิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ แตกต่างกันที่
กระบวนทัศน์
18
กระบวนทัศน์เชิงปริมาณ
สุ่มตัวอย่าง ตั้งสมมติฐาน เก็บข้อมูลเป็นตัวเลข ทดสอบสมมติฐาน สรุปอิง
19
กระบวนทัศน์เชิงคุณภาพ
เลือกตัวอย่าง…ไม่ใช้การสุ่ม ไม่ตั้งสมมติฐาน เก็บข้อมูลเชิงลึก สร้างทฤษฎี ไม่สรุปอิง
20
คำถามที่ต้องตอบก่อนการทำวิจัย
กระบวนทัศน์การวิจัยของท่านคือ ?
28
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)
หา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants)
29
ขั้นตอนการออกแบบเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
ระบุพื้นที่ที่ศึกษา ระบุกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่ต้องการเก็บข้อมูล สร้างกรอบ/เกณฑ์ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล เลือกวิธีในการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูล วางแผนคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลให้เพียงพอและสอดคล้องกับการตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) ดำเนินการเก็บข้อมูล จนได้ข้อมูลที่อิ่มตัว
30
พื้นที่ในการศึกษาและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
วิจัยเชิงคุณภาพ ไม่ใช้คําว่า “ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง” แต่จะใช้คำว่า “พื้นที่ในการศึกษา” หรือ “สนาม (field)” ซึ่งอาจเป็นชุมชน หมู่บ้าน องค์กร “ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (key informant)” คือ กลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ต้องการศึกษา เพื่อให้ตอบปัญหาที่เราได้กำหนดไว้
31
เกณฑ์การเลือกพื้นที่ศึกษา
สอดคล้องกับชื่อเรื่องวิจัย ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล พื้นที่ที่นักวิจัยกำลังพิจารณาอยู่นั้น สามารถให้ข้อมูลที่ต้องการได้ครอบคลุมและเพียงพอหรือไม่
32
ตัวอย่างการเลือกพื้นที่ที่ศึกษา
ชื่อเรื่อง พื้นที่ที่เก็บข้อมูลวิจัย สถานภาพและกลยุทธ์การส่งเสริมและสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับการพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจในชุมชนภาคตะวันออก เป็นหมู่บ้านที่มีชุมชนเข้มแข็งที่พึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจ อยู่ในภาคตะวันออก 6 จังหวัดและมีภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างน้อย 1 ภูมิปัญญา รวม 11 ชุมชน จากชุมชนเข้มแข็งในภาคตะวันออก จำนวน 55 หมู่บ้าน
33
ขอบเขตการได้มาของพื้นที่วิจัย
กำหนดกรอบของชุมชนที่จะศึกษา โดยต้องเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ทางเศรษฐกิจจากข้อมูลทุติยภูมิ คือ มีการรวมตัวกันของชุมชน มีกลุ่มอาชีพที่เข้มแข็ง มีการจัดร้านค้าชุมชนหรือตลาดนัดชุมชน มีกองทุนของชุมชนและกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต บุคคลวัยแรงงานมีอาชีพ 90% ชุมชนบรรลุเป้าหมายด้านรายได้ตามเกณฑ์ จปฐ 70%
34
วิธีการออกแบบเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
สุดขั้ว (สำเร็จ-ล้มเหลว) (ผิดปกติ-อัจฉริยะ) มีประสบการณ์มากในเรื่องนั้นๆ กลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่มีความหลากหลาย กลุ่มคนหรือสถานการณ์ที่มีลักษณะเหมือนกัน
35
วิธีการออกแบบเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (ต่อ)
5. แสดงลักษณะสำคัญของประชากรทั้งหมด เป็นตัวแทนในทุกๆเรื่อง 6. มีความสำคัญทางการเมืองของสถานที่ 7. เลือกเจาะจง อย่างมีเกณฑ์ 8. เลือกจากการแนะนำต่อๆไป (Snowball) 9. เลือกจากประชากรที่มีการแบ่งช่วงชั้น (Stratified Purposeful)
36
วิธีการออกแบบเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ(ต่อ)
10. เลือกแบบเฉพาะหน้า ขณะอยู่ในเหตุการณ์ 11. เลือกตามความสะดวก 12. เลือกจากที่ไม่เข้าเกณฑ์ทั้งหมด (สูง-ต่ำกว่าเกณฑ์)
37
เกณฑ์ในการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มนั้นมีความหมายอย่างไรในเรื่องข้อมูล ทำไมถึงควรเลือกหรือไม่ควรเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มนั้น ผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มนั้นมีความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ คำถามในการวิจัยและกรอบแนวคิดในการวิจัยมากน้อยเพียงใด กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญกลุ่มนั้นจะสามารถให้ข้อมูลได้ครบถ้วนหรือไม่ มีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เหมาะสมกว่านี้หรือไม่
38
วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
การเลือกแบบเจาะจง (Criterion Based Selection) นิยมมากสุด โดยกำหนดเป็นเกณฑ์/คุณสมบัติ ว่า เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ ความรู้ ความเข้าใจและสามารถให้ข้อมูลในเรื่องนั้นๆได้ลึกซึ้งดีที่สุด เช่น ผู้นํา ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นโดยตรง
39
การกำหนดเกณฑ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง
ต้องกำหนดเกณฑ์อย่างชัดเจน เช่น มีตำแหน่งเป็นผู้บริหารสูงสุดขององค์กร มีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่าย หัวหน้าฝ่าย …. มีประสบการณ์ในเรื่อง..... เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี ฯลฯ
40
วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (ต่อ)
การเลือกแบบ Snowball เริ่มต้น…หาผู้ให้ข้อมูลสำคัญรายแรกจากการสอบถามจากคนในพื้นที่ที่รู้เกี่ยวกับเรื่องผู้วิจัยต้องการทราบ เมื่อได้ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญรายแรกแล้ว ก็ถามหาผู้ที่จะสามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเป็นรายที่ 2 ต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งข้อมูลครบถ้วนอิ่มตัว
41
จำนวนผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
เก็บข้อมูลจนกระทั่ง ข้อมูลอิ่มตัว สำหรับเรื่องวิจัยที่มีผู้รู้ลึก รู้จริง จำนวนน้อย: ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ไม่ควรน้อยกว่า 8 คน (บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์, 2551)
42
ข้อมูลอิ่มตัว เมื่อใดที่ข้อมูลที่ได้จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกิดความซ้ำกัน จนเกิดเป็นแบบแผนที่แน่นอน แม้จะสอบถามคนอื่นๆอีก ข้อมูลที่ได้ก็ยังคงมีลักษณะเดียวกัน ไม่มีข้อมูลใหม่เกิดขึ้น ==> ข้อมูลอิ่มตัว
43
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพที่สําคัญ คือ ตัวผู้วิจัยเอง อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยจะต้องเตรียมเครื่องมือในการสัมภาษณ์ เช่น แบบสัมภาษณ์หรือแนวคําถามในการสัมภาษณ์ ที่บันทึกเสียง สมุดจดบันทึก ปากกา กล้องถ่ายรูป
44
การเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ
45
การเก็บรวบรวมข้อมูล การสังเกต
1.1 การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Participation Observation) 1.2 การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Non-participation Observation)
46
การเก็บรวบรวมข้อมูล (ต่อ)
2. การสัมภาษณ์ 2.1 แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) /การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ (Formal Interview) 2.2 แบบไม่มีโครงสร้าง (Non Structured Interview) 2.2.1 การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) 2.2.2 การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) 2.2.3 การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
50
การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participation Observation)
คือ การสังเกตที่ผู้สังเกต ไม่ได้แสดงตน ไม่ได้เข้าไปใช้ชีวิตหรือทํากิจกรรมร่วมกับกลุ่มคนที่กําลังศึกษา เนื่องจาก 1. ไม่ต้องการให้ผู้ถูกสังเกตรู้สึกว่าถูกรบกวน 2. การเข้าไปร่วมทำกิจกรรมด้วย อาจทำให้ พฤติกรรมของกลุ่มคนที่กำลังศึกษาผิดไป จากปกติได้ “ไม่ได้หมายถึง การไม่ได้เข้าไปในบริเวณสถานที่นั้น”
51
ตัวอย่างการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participation Observation)
การสังเกตการเรียนการสอนในชั้นเรียน การดูแลรักษาคนป่วย
52
การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non-participation Observation)
ข้อดี ประหยัดเวลาและทุนทรัพย์ ทำได้ในสังคมเมือง ที่คนไม่สนใจกัน ข้อเสีย ข้อมูลที่ได้อาจไม่สมบูรณ์ ทำได้ยากในสังคมชนบท ที่คนรู้จักกันทั่ว
53
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation)
คือ การสังเกตที่ผู้สังเกตเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ศึกษา มีการกระทํากิจกรรมด้วยกัน และมีการปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนที่ตนศึกษา (ฝังตัวอยู่ในชุมชนนั้นเป็นเวลานาน อาจเป็นเดือน เป็นปี) จนกระทั่งเข้าใจความรู้สึกนึกคิดและความหมายที่คนเหล่านั้นให้ต่อปรากฏการณ์ทางสังคมที่ผู้วิจัยกําลังศึกษาอยู่
54
คุณสมบัติของผู้สังเกตแบบมีส่วนร่วม
เป็นผู้ที่เข้าร่วมในชุมชนได้ดี สามารถสร้างความคุ้นเคยและเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมได้ง่าย เป็นนักสังเกตที่ดี ชอบสังเกต
55
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation)
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน การสังเกต: สังเกตเหตุการณ์ สภาพแวดล้อม พฤติกรรม การซักถาม: ซักถามอย่างไม่เป็นทางการในสิ่งที่ไม่เข้าใจที่พบจากการสังเกต การจดบันทึก: อาจจดบันทึกในระหว่างการสังเกตหรือในภายหลังก็ได้
56
ตัวอย่างการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation)
การศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมุสลิมในภาคใต้ การศึกษาชีวิตของคนในหมู่บ้านไทยพวน จ.ลพบุรี
57
การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participation Observation)
ข้อดี ได้ข้อมูลที่แท้จริง ข้อเสีย เกิดความผูกพันระหว่างผู้วิจัยกับผู้ถูกวิจัย ทำให้อาจเกิดอคติเข้าข้างกลุ่มคนที่ตนศึกษาอยู่ ทำให้ข้อมูลที่ได้ขาดความเที่ยงตรง (แต่สามารถตรวจสอบข้อมูลได้)
58
ข้อแนะนำ การสังเกตแบบใดแบบหนึ่ง อาจทำให้ได้ข้อมูลไม่สมบูรณ์ครบถ้วน
ควรใช้การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมในระยะแรกของการวิจัย แล้วใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมในภายหลัง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์
59
การบันทึกข้อมูลจากการสังเกต
จดบันทึก จดแบบเรียงความ ระบุวันที่ เวลา สถานที่ กลุ่มคน พฤติกรรมที่สังเกต ถ่ายภาพ เพื่อเป็นหลักฐานในการนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียดและนำเสนอผลงาน บันทึกเสียง เพื่อป้องกันการจดบันทึกตกหล่น และน้ำเสียงของผู้ให้ข้อมูลแสดงถึง การรับรู้ ความมั่นใจ อารมณ์ ความรู้สึก ของผู้ให้ข้อมูลได้เป็นอย่างดี
60
โครงการวิจัย.............................. วันที่ ........ เดือน ........ พ.ศ........
เวลา กิจกรรม หมวดกิจกรรม ......
61
แบบสังเกตพฤติกรรม ผู้รับการสังเกต : ด. ช. /ด. ญ. ………………………. เกิด………
แบบสังเกตพฤติกรรม ผู้รับการสังเกต : ด.ช. /ด.ญ. ……………………….เกิด……….อายุ……ปี………เดือน ผู้สังเกต : ………………………วันที่ เดือน พ.ศ กิจกรรม พฤติกรรม ก่อนเข้าเรียน วางกระเป๋าแล้วออกไปวิ่งเล่น จึงต้องไปตามมาจัดเครื่องใช้เข้าที่ สนทนาเวลาเช้า - การเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำตามคำสั่งได้ เต้นได้ถูกจังหวะเพลง กิจกรรมสร้างสรรค์ วาดภาพค่อนข้างเล็ก การลากเส้นเป็นรูป ยังไม่มั่นคง เล่นตามมุมบ้าน ทะเลาะกับเพื่อนเพราะแย่งหมวกของเพื่อน แล้วร้องไห้ไปฟ้องครู เล่นตามมุมธรรมชาติ เล่นเปลือกหอยตามลำพัง กิจกรรมในวงกลม ตอบคำถามจากนิทานที่ฟังได้ ลำดับภาพตามเรื่องในนิทานได้ถูกต้อง เล่นกลางแจ้ง เล่นตั้งเตได้ดี วิ่งรวดเร็วชนเพื่อนแล้ววิ่งหนี
65
การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ (Formal Interview)
หรือการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เป็นการสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยได้เตรียมคําถามและข้อกําหนดไว้แน่นอนตายตัว
66
การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ (Formal Interview)
โดยปกตินักวิจัยเชิงคุณภาพ มักจะไม่ใช้วิธีการนี้เป็นหลัก เนื่องจาก ไม่ได้ช่วยให้ผู้วิจัยได้ข้อมูลที่ลึกซึ้งและครอบคลุมเพียงพอ โดยเฉพาะในแง่ของ วัฒนธรรม ความหมายและความรู้สึกนึกคิด
67
การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview)
มักจะใช้ควบคู่ไปกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เพื่อให้เห็นภาพและเข้าใจปรากฏการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม โดยการเตรียมคําถามแบบกว้าง ๆ การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการนี้อาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การตะล่อมถาม ซึ่งเป็นการพูดคุยซักถาม เพื่อล้วงเอาส่วนลึกของความคิดออกมา หรือการเงี่ยหูฟัง ซึ่งเป็นการฟังคําสนทนาของผู้อื่นโดยผู้วิจัยไม่ต้องตั้งคําถามเอง
68
การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Interview) (ต่อ)
มีความยืดหยุ่นมาก ผู้สัมภาษณ์เพียงเกริ่นคำถาม แล้วให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เล่าเรื่องโดยอิสระ ดังนั้น ผู้วิจัยต้องวางแนวคำถามไว้คร่าวๆ
69
การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview)
เป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ (key informants) ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้หรือมีข้อมูลในเรื่องที่ผู้วิจัยกําลังศึกษาดีที่สุดหรือมีความเกี่ยวข้องมากที่สุด กําหนดตัวผู้ตอบบางคนแบบเจาะจงเอาไว้ล่วงหน้า
70
การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
เป็นการระดมสมองและการอภิปรายในเรื่องที่ผู้วิจัยกําลังศึกษา ผู้เข้าร่วมสนทนาควรมีพื้นฐานประสบการณ์ที่ใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกัน ในการจัดกลุ่มสนทนา จะใช้คนประมาณ คน โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดําเนินการสนทนาและมีผู้ช่วยอีก คน
71
ที่มา: ดร.โยธิน แสวงดี
72
ขั้นตอนของการสัมภาษณ์
การเตรียมการสัมภาษณ์ เลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่จะไปสัมภาษณ์ ว่า คือ ใคร มีจำนวนประมาณเท่าไหร่ เขียนรายชื่อ ที่อยู่ ของผู้ที่จะไปขอสัมภาษณ์ทุกคน เตรียมคำถามที่จะสัมภาษณ์ เตรียมอุปกรณ์ในการจดบันทึก เช่น ที่บันทึกเสียง กล้องถ่ายรูป สมุด ปากกา โทรนัดเวลากับผู้ให้ข้อมูลทุกคนให้เรียบร้อยล่วงหน้า
73
ขั้นตอนของการสัมภาษณ์ (ต่อ)
2. การเริ่มสัมภาษณ์ แนะนำตนเองต่อผู้ให้สัมภาษณ์ สร้างบรรยากาศให้รู้สึกเป็นกันเอง แจ้งวัตถุประสงค์ในการมาสัมภาษณ์ พร้อมให้คำสัญญาว่าจะเก็บข้อมูลเป็นความลับ ถ้าจะจดบันทึก บันทึกเสียง ถ่ายภาพ ต้องได้รับการอนุญาตจากผู้ถูกสัมภาษณ์ก่อน
74
ขั้นตอนของการสัมภาษณ์ (ต่อ)
3. ขั้นสัมภาษณ์ ใช้คำถามที่เตรียมไว้ล่วงหน้า เป็นแนวทางในการสัมภาษณ์ ตั้งใจฟังและติดตาม รู้จักป้อนคำถามให้เหมาะสมกับจังหวะของผู้ตอบ ใช้ภาษาที่สุภาพ เข้าใจง่าย (กรณีไม่ทราบภาษาของผู้ตอบ ให้ใช้ล่าม) ทำให้ผู้ให้ข้อมูล มั่นใจว่า เราจะเก็บเรื่องทุกอย่างเป็นความลับ เพื่อให้เกิดความเต็มใจที่จะให้ข้อมูลที่เป็นความจริง (ควรหาทางติดต่อกับผู้ให้ข้อมูลหรือมีจดหมายแนะนำตัวก่อนล่วงหน้า)
75
ขั้นตอนของการสัมภาษณ์ (ต่อ)
4. ขั้นบันทึกข้อมูลและสิ้นสุดการสัมภาษณ์ จดบันทึกข้อมูลตามความเป็นจริง จดเฉพาะใจความสำคัญ รีบทำการบันทึกการสัมภาษณ์ให้สมบูรณ์ หลังจากการสัมภาษณ์เสร็จสิ้นทันที รวบรวมข้อมูลและเอกสารต่างๆที่ได้จากการสัมภาษณ์แนบไว้กับบันทึกการสัมภาษณ์ด้วย ถ้าพิจารณาเห็นว่า การจดบันทึกจะทำให้ผู้ตอบมีปฏิกิริยา ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อการสัมภาษณ์ ต้องงดการจดบันทึก แต่ใช้ความจำแทน
76
การแนะนำตัว ต้องบอกว่าผู้สัมภาษณ์มาจากองค์กรใด การวิจัยได้รับทุนสนับสนุนจากใครหรือจากสถาบันใด ซึ่งหลักโดยทั่วไป ใช้หนังสือแนะนำตัว (ให้สถาบันสนับสนุนการวิจัยออกให้ หรือ ในกรณีเป็นนักศึกษา ให้ มหาวิทยาลัยออกหนังสือแนะนำตัวให้)
77
การแนะนำตัว (ต่อ) 2. อธิบายเรื่องและวัตถุประสงค์ในการวิจัยกว้างๆ (อย่าบอกละเอียด เพราะจะเป็นการชี้แนวคำตอบให้ผู้ถูกสัมภาษณ์) ในการแจ้งวัตถุประสงค์ของการสัมภาษณ์ ต้องคำนึงถึงหลักจริยธรรมด้วย และแจ้งผู้ให้สัมภาษณ์ทราบถึงกระบวนการในการสัมภาษณ์ด้วย ว่าผู้ถูกสัมภาษณ์จะต้องทำอะไรบ้าง
78
การแนะนำตัว (ต่อ) อธิบายเหตุผลแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ทราบว่า เหตุใดจึงได้รับการคัดเลือกในการสัมภาษณ์ เนื่องจาก หากผู้ให้กสัมภาษณ์ประหลาดใจ สงสัย ว่าทำไมตนจึงถูกสัมภาษณ์ อาจไม่เต็มใจให้สัมภาษณ์และคำตอบอาจบิดเบือนได้
79
การแนะนำตัว (ต่อ) ชี้แจงให้ผู้สัมภาษณ์ทราบว่า การสัมภาษณ์นี้ ถือเป็นความลับ จะไม่เปิดเผยชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ ทำให้ผู้ให้สัมภาษณ์รู้สึกว่า การวิจัยมีความสำคัญ การวางตัวและการแต่งตัวของผู้สัมภาษณ์ ต้องสร้างความประทับใจแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ วางตัวเป็นกลาง ไม่ควรแต่งตัวที่แสดงว่าตนมาจากชนชั้นทางสังคมและเศรษฐกิจที่สูงกว่าผู้ให้สัมภาษณ์
80
การเลือกสถานที่สัมภาษณ์
สถานที่ควรสงบ สบาย เพื่อให้ผู้ให้สัมภาษณ์ได้ใช้ความคิด ที่ทำงาน/บ้านของผู้ให้สัมภาษณ์
81
จรรยาบรรณในการสัมภาษณ์
ข้อมูลที่ได้จากผู้ให้สัมภาษณ์ ต้องเป็นความลับ ไม่เปิดเผยรายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ได้ ต้องไม่บังคับ ขู่เข็ญ หรือหลอกลวงผู้ให้สัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูล ถ้าผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวร้ายใคร ผู้สัมภาษณ์ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่กล่าวเสริมหรือสนับสนุน ควรหาของตอบแทนเล็กๆน้อยๆ เป็นการขอบคุณผู้ให้สัมภาษณ์/ชุมชน
82
ท่านอ่านหนังสือพิมพ์รายวันบ่อยขนาดไหน
แบบสัมภาษณ์ คำถามแบบปลายปิด (Close-ended): มีแนวคำตอบกำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ต้องตอบตามแนวที่กำหนดไว้เท่านั้น เช่น ท่านอ่านหนังสือพิมพ์รายวันบ่อยขนาดไหน อ่านทุกวัน อ่านบ่อยๆ อ่านนานๆครั้ง ไม่อ่านเลย
83
ท่านมีความรู้สึกต่อระบบประชาธิปไตยอย่างไร
แบบสัมภาษณ์ คำถามแบบปลายเปิด (Open-ended): ไม่ได้กำหนดแนวคำตอบแต่ประการใด เปิดช่องว่างให้ผู้ให้สัมภาษณ์ตอบได้ตามใจชอบ เช่น ท่านมีความรู้สึกต่อระบบประชาธิปไตยอย่างไร
84
ข้อดีของแบบสัมภาษณ์ปลายปิด
ได้คำตอบจากผู้ให้สัมภาษณ์ทุกคนในมาตรฐานเดียวกัน ผู้ให้สัมภาษณ์เข้าใจความหมายของคำถามปลายปิดได้ดีกว่าปลายเปิด ผู้วิจัยได้รับคำตอบครบถ้วนสมบูรณ์
85
ข้อดีของแบบสัมภาษณ์ปลายปิด
บางคำถามอาจสร้างความไม่พอใจให้ผู้ให้สัมภาษณ์ เช่น คำถามเกี่ยวกับอายุ รายได้ จึงควรทำเป็นช่วง เช่น รายได้ของท่านอยู่ในช่วงไหน 1,000-2,999 3,000-5,999 6,000-8,999 9,000 ขึ้นไป
86
ข้อดีของแบบสัมภาษณ์ปลายปิด
บางคำถามอาจสร้างความตะขิดตะขวงใจแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ หรือ อายที่จะตอบอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งถ้าใช้แบบสัมภาษณ์ปลายปิด จะช่วยลดความรู้สึกดังกล่าวได้ เนื่องจาก ผู้ให้สัมภาษณ์เพียงกาเครื่องหมายเท่านั้น
87
ข้อเสียของแบบสัมภาษณ์ปลายปิด
หากข้อคำถาม มีตัวเลือกมากเกินไป ผู้ให้สัมภาษณ์อาจเบื่อ ถ้าคำตอบที่ตรงกับความจริงของผู้ให้สัมภาษณ์ ไม่ปรากฎในแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้สัมภาษณ์กาจไม่พอใจหรือสับสน และไม่สามารถขยายความเพิ่มได้ ไม่สามารถรู้ได้ว่า ผู้ให้สัมภาษณ์เข้าใจคำถามผิดมากน้อยเพียงใด เช่น ท่านเห็นด้วยหรือไม่กับมติของคณะรัฐมนตรี เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
88
ข้อดีของแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด
ทำให้ได้คำตอบในแง่ต่างๆ ที่อยู่นอกเหนือจากการคาดคะเนของผู้วิจัย ทำให้ได้คำตอบที่ละเอียดในทุกแง่มุม
89
ข้อเสียของแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด
ผู้ให้สัมภาษณ์ อาจพูดออกนอกเรื่องมากไป ผู้วิจัยต้องทำงานหนัก ในการดึงการสนทนาให้กลับเข้ามาสู่ประเด็นคำถามในแบบสัมภาษณ์ ได้ข้อมูลมาก จนอาจทำให้การกำหนดรหัส หรือการเปรียบเทียบเป็นไปได้ยาก ใช้เวลาในการสัมภาษณ์นานกว่าแบบสัมภาษณ์ปลายปิด
90
การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ
ปรุง การวิเคราะห์ข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพ
93
ตัวอย่างการถอดเทปแบบคำต่อคำ
คุณ(มานี)ต้องเข้าใจ concept ว่า คลื่น เรียนกันไปทำไม เรียนแล้วได้อะไรกับชีวิต เพราะว่าฟิสิกส์ คือ เรียนรู้ธรรมชาติ เด็ก(นักเรียน)ไม่เข้าใจว่า เรียนรู้ฟิสิกส์ไปทำไม ทำให้ไม่อยากเรียน คุณต้องบอกว่า เรียนไปแล้วเกี่ยวข้องกับอะไร ที่จริงไม่ใช่เรียนไปแค่ทฤษฎี ก็เหมือนกับว่า ทำไมเราไม่สนใจเรียน เพราะว่า เราไม่รู้จะเรียนไปทำไม แต่ถ้ามัน(ฟิสิกส์) เป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มันค่อยน่าสนใจขึ้นมาหน่อย ถ้าคุณไม่เรียนรู้มัน คุณจะใช้มันได้อย่างไร คุณจะได้ประโยชน์สูงสุดจากมันได้อย่างไร (อาจารย์พี่เลี้ยง ก, สัมภาษณ์)
94
ตัวอย่างการถอดเทปแบบคำต่อคำ
116
การวิเคราะห์ข้อมูล/วิเคราะห์เนื้อหา
เทคนิค จำแนกข้อมูลเป็น Matrix โดยการจำแนกต้อง สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย: ตรงกับกรอบแนวคิด นิยามต่างๆ ครอบคลุมเนื้อหาในคำสัมภาษณ์ (ควรอ่านคำสัมภาษณ์ให้จบ จะได้ไม่ต้องสร้างประเภทของคำหรือข้อความใหม่อยู่ตลอด) มีความเด่นชัด ไม่มีความซ้ำซ้อนหรือเหลื่อมกัน
117
ตัวอย่างของการจำแนกประเภทข้อมูล
ปัญหาของการวิจัย ประเภทย่อยของแนวคิด คำหรือข้อความ วิธีการแจงนับ อุดมการณ์ชาติของไทย สถาบันชาติ รักชาติ, ชาติของเรา, ประเทศของเรา, ขวานทองแผ่นดินไทย ฯลฯ จำนวนครั้ง/ความถี่ที่คำ/ข้อความปรากฎในคำสัมภาษณ์ สถาบันศาสนา พุทธศาสนา, พระบวรศาสนา, รัตนตรัย, ที่พึ่งทางใจ ฯลฯ สถาบันพระมหากษัตริย์ ในหลวง, พระราชวงศ์, พระมหากษัตริย์, พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯลฯ
118
ผลิตสินค้าถูกสุขลักษณะ คุณภาพสูง มีมาตรฐานการผลิตตามมาตรฐานสากล
คุ้มครองผู้บริโภค ผลิตสินค้าถูกสุขลักษณะ คุณภาพสูง มีมาตรฐานการผลิตตามมาตรฐานสากล ฉลากสินค้ามีข้อมูลครบถ้วนและชัดเจน ผลิตอาหารสะอาดปลอดภัยได้มาตรฐานทั้งไทยและสากล มีช่องร้องเรียนสายด่วนผู้บริโภค ให้ความสำคัญในการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่การผลิต 1 P 2 3 4 5 6 7
119
การตรวจสอบข้อมูล การตรวจสอบข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า (Triangulation) ด้านข้อมูล: ด้านผู้วิจัย ด้านทฤษฎี ด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล
120
ด้านข้อมูล เวลา : ถ้าเวลาต่างกัน ... ข้อมูลที่ได้จะเหมือนหรือต่างกัน
เช่น ถ้าผู้วิจัยสังเกตผู้ป่วยโรคจิต เวลาเช้า ... ควรตรวจสอบข้อมูลโดยการสังเกตผู้ป่วยในเวลาบ่ายและเวลาอื่นด้วย สถานที่ เช่น ผู้ป่วยโรคจิตมีอาการคลุ้มคลั่งเมื่ออยู่บ้าน...ถ้าผู้ป่วยไปอยู่ที่อื่น ยังจะมีอาการคลุ้มคลั่งหรือไม่ บุคคล เช่น เคยสัมภาษณ์ลูกชายผู้ป่วย ถ้าเปลี่ยนมาถามลูกสาวผู้ป่วย ข้อมูลจะเปลี่ยนไปหรือไม่
121
ด้านผู้วิจัย โดยเปลี่ยนตัวผู้สังเกต ผู้สัมภาษณ์ ว่ายังจะได้ข้อมูลเหมือนเดิมหรือไม่
122
ด้านทฤษฎี ถ้าใช้แนวคิดทฤษฎีต่างไปจากเดิม จะทำให้การตีความข้อมูลแตกต่างไปหรือไม่
123
ด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล
เช่น ใช้การสังเกตควบคู่กับการซักถาม หรือ เมื่อเขียนรายงานข้อมูลจากการสัมภาษณ์จบ ก็นำรายงานดังกล่าวกลับไปให้ผู้ให้สัมภาษณ์อ่านทบทวน ว่า ข้อมูลในรายงานและการตีความหมายข้อมูลของผู้วิจัย ถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง ทำการแก้ไข
124
การนำเสนอผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ
กิน การนำเสนอผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ
125
การเขียนรายงานผล (บทที่ 4)
เนื้อเรื่อง: กล่าวถึงข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องโดยตรง แยกเป็นประเด็น หรือแยกเป็นหัวข้อใหญ่ หัวข้อรอง หัวข้อย่อย เพื่อให้ผู้อ่านเห็นจุดสำคัญของเนื้อความตามลำดับและต่อเนื่องกัน ห้ามใส่ความคิดเห็นของผู้วิจัย
133
สรุป
134
Qualitative method การปฏิบัติกระทำกับข้อมูล ที่แจงนับไม่ได้ (หรือไม่เป็นตัวเลข) นั่นคือ ไม่ได้ใช้วิธีวิเคราะห์ทางสถิติมาวิเคราะห์ทั้งหมด เน้นการสร้างแนวคิด การตีความ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในมนุษย์และสังคม โดยใช้การสังเกต สัมภาษณ์ สนทนา จดบันทึก และถ่ายภาพ
135
Qualitative method ให้ความสำคัญกับข้อมูลประเภทอัตชีวประวัติ โลกทัศน์และความรู้สึกนึกคิดของปัจเจกบุคคลเป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องใช้สถิติชั้นสูงในการวิเคราะห์ แต่ใช้การอุปมาน (induction approach)
136
Qualitative method เน้นเกี่ยวกับบริบท (Contextual)
วิธีการวิจัยมีความยืดหยุ่นสูง เน้นความรู้สึกร่วม ความเข้าใจ (Empathy and insight) คุณภาพของผู้วิจัย: ต้องเป็นกลาง
137
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงคุณภาพ
เน้นความเข้าใจ ความหมาย ไม่ใช่ความถูกต้อง โดยไม่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทดสอบสมมติฐาน และนัยสำคัญทางสถิติ
138
ความแตกต่างในการเก็บข้อมูล
การวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นการวิจัยภาคสนาม จำนวนหน่วยการศึกษาน้อย ไม่มีโครงสร้างคำถามตายตัว
139
ความแตกต่างในลักษณะของข้อมูล
ต้องการหาข้อมูลประเภท “ทำไม” และ “อย่างไร” มากกว่าแค่ใครทำอะไรเท่านั้น ให้ความสำคัญกับความหมายในทัศนะของผู้ตอบ ไม่ใช่ผู้ศึกษา MK421
140
ความแตกต่างในการวิเคราะห์ข้อมูล
อาจมีการหาความถี่ หรือ ค่าเฉลี่ย แต่ไม่ต้องใช้สถิติ เน้นการอธิบายระบบโดยรวม
141
ข้อเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพ
มีความต้องการข้อมูลที่รอบด้าน มีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายปรากฏการณ์อย่างลึกซึ้ง ต้องการเข้าใจระบบความคิด ระบบความเชื่อของผู้ตอบโดยตรง แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่ม ค้นหาสาเหตุและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เก็บข้อมูลจากบุคคลที่ได้เลือกสรรมาอย่างดีแล้ว
142
ข้อดีของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ทำให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง ช่วยเสริมสร้างการศึกษากระบวนการอย่างลึกซึ้งรอบด้าน เป็นการศึกษาเพื่อหาข้อสมมติฐาน นำไปสู่เชิงปริมาณ เป็นประโยชน์เมื่อทำวิจัยในกลุ่มคนขนาดเล็ก หรือมีข้อจำกัดบางประการ
143
ข้อดีของการวิจัยเชิงคุณภาพ
เป็นงานวิจัยที่เอื้อต่อการวิจัยในลักษณะที่เป็นนามธรรม ช่วยเสริมงานวิจัยเชิงปริมาณ ให้คำตอบที่ชัดเจนและหนักแน่นยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน
144
ข้อจำกัดของการวิจัยเชิงคุณภาพ
เป็นงานที่เกี่ยวกับสถานการณ์เฉพาะ ความแม่นตรงเชื่อถือได้ของเทคนิคการเก็บรวบรวม ยากจะทดสอบ ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักวิจัยและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ไม่มีโครงสร้างการเก็บข้อมูลที่แน่นอน จึงยากต่อการนำไปใช้ซ้ำ
145
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ
การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) การสนทนากลุ่ม (Focus Group interview) การสังเกตโดยตรง (Direct Observation) การวิเคราะห์เนื้อหาของเอกสาร (Content Analysis of Written Material)
146
เทคนิคการสนทนากลุ่ม เป็นการสื่อความหมายแบบโต้ตอบกันทั้งกลุ่ม
ต้องใช้เทปบันทึกเสียง ไม่มีคำถามตายตัว จำนวน 6-12 คน สรุปผลตามที่ได้จากการสนทนา
147
เทคนิคการสัมภาษณ์เชิงลึก
อยู่ในบรรยากาศเป็นส่วนตัว เป็นการสื่อความหมายแบบโต้ตอบกันทั้ง 2 ฝ่าย ต้องใช้เทปบันทึกเสียง ไม่มีคำถามตายตัว ถามกี่คน?: หยุดเมื่อคำตอบเริ่มเหมือนกันมากขึ้น และสรุปผลได้ในที่สุด
148
ความเชื่อถือและไว้วางใจในคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ
ความเชื่อถือและไว้วางใจในคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ความเชื่อถือได้ (Credibility): ความสอดคล้องของข้อมูล และการตีความของผู้วิจัย เกี่ยวกับความจริงกับความคิดของผู้ให้ข้อมูลว่าสอดคล้องกันหรือไม่ การพึ่งพากับเกณฑ์อื่น (Dependability): ใช้นักวิจัยหลายคนร่วมสังเกต
149
ความเชื่อถือและไว้วางใจในคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ
ความเชื่อถือและไว้วางใจในคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ การถ่ายโอนผลการวิจัย (Transferability): สามารถใช้ผลงานนี้ไปอ้างอิงกับงานอื่นที่คล้ายคลึงกันได้ การยืนยันผลการวิจัย (Confirm ability): เปรียบเทียบกับงานวิจัยอื่นที่คล้ายกัน ทำให้มองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น
150
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
กำหนดประเด็นปัญหาหรือหัวข้อการวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย สร้างกรอบที่ใช้ในการศึกษา สร้างแนวคำถาม การวางแผนเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและการเขียนรายงานวิจัย MK421
151
แนวคำถามในการสัมภาษณ์
มีเค้าโครง (Outline) กึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured) ปลายเปิด (Open-ended) มีความยืดหยุ่น (Flexibility) การเรียงลำดับคำถามตามลำดับก่อนหลัง เนื้อหาของคำถามในการศึกษาเรื่องเดียวกันไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน
152
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ระหว่างเก็บรวบรวมข้อมูล
153
การเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ
เขียนเป็นภาษาพูดมากกว่าภาษาทางการ ต้องระวังการบรรยาย เพราะมีผลต่อการตีความ เป็นการเขียนแบบเล่าเรื่อง (Narrative) MK421
154
จรรยาบรรณนักวิจัย รับผิดชอบต่อผู้ให้ข้อมูล รักษาความลับผู้ให้ข้อมูล
ให้เกียรติและปกป้องสวัสดิภาพของผู้ให้ข้อมูล ต้องได้รับความยินยอม ให้ค่าตอบแทนผู้ให้ข้อมูล รับผิดชอบต่อองค์กร รับผิดชอบต่อผลงานวิจัย
155
การวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research)
การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยรายละเอียดที่วัดด้วยการสังเกตและการสัมภาษณ์ รายละเอียดที่ได้ถูกนําเสนอในรูปของข้อเขียนบรรยาย และอาจลงรายละเอียดเป็นความถี่ของข้อความที่ได้จากการสังเกตหรือการสัมภาษณ์
156
สิ่งสำคัญในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ
เครื่องมือของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ตัวผู้วิจัย ดังนั้น คุณภาพของเครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ จึงอยู่ที่ผู้วิจัยเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสังเกตผู้วิจัยต้องวางตัวเป็นกลางในการสังเกตพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ โดยไม่ใส่อารมณ์หรือความรู้สึกลงไป
157
สิ่งสำคัญในการทำวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิเคราะห์ข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ ควรทําการวิเคราะห์ไปพร้อมๆกับการเก็บรวบรวมข้อมูล
158
จุดเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงปริมาณล้วนๆเป็นการตอบคําถามวิจัยตามตัวเลขที่วิเคราะห์ออกมาได้ ซึ่งตัวเลขที่วิเคราะห์ออกมาได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับเครื่องมือหรือแบบวัดที่ถูกตีกรอบด้วย คําถามในแบบวัด ทําให้ขาดในส่วนของความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
159
จุดเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ซึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดเด่นในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่การวิจัยเชิงปริมาณล้วนๆทําไม่ได้ ดังนี้
160
จุดเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพ
1. กรณีที่กลุ่มตัวอย่างถูกกระทําโดยรู้ตัวว่าเป็นผู้ถูกทดลองหรือถูกศึกษา ทําให้เกิดความลําเอียงในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น แต่การวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ผู้วิจัยฝังตัวอยู่ในกลุ่มที่ศึกษานั้น ผู้ถูกวิจัยจะไม่รู้ตัว ดังนั้น สภาพที่เกิดขึ้น ก็เป็นสภาพที่แท้จริง ไม่มีการเสแสร้ง ผลการเก็บข้อมูลจึงมีความถูกต้องใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่า
161
จุดเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพ
2. การวิจัยเชิงคุณภาพ มักจะวางกรอบของตัวแปรที่ศึกษาไว้กว้างๆ ทําให้ผู้วิจัยมีอิสระศึกษาหรือเก็บข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ต้องเกรงว่า จะทําให้งานวิจัย ผิดวัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูล
162
จุดเด่นของการวิจัยเชิงคุณภาพ
3. การวิจัยเชิงคุณภาพ สามารถอธิบายประเด็นที่ศึกษาได้ลึกซึ้งกว่าการวิจัยเชิงปริมาณ เช่น การศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ถ้าใช้การสังเกตสีหน้าและการโต้ตอบของผู้ให้บริการกับผู้รับบริการ จะบอกความรู้สึกที่แท้จริงมากกว่าการเก็บจากแบบสอบถามความพึงพอใจ เนื่องจาก บางครั้งผู้ตอบเกิดความเกรงใจ ไม่กล้าตอบความจริงลงในแบบสอบถาม เป็นต้น
163
จุดด้อยของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผู้วิจัยต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องหรือประเด็นที่ ศึกษาเป็นอย่างดี มิฉะนั้นแล้วผลที่ได้จากการสังเกตหรือการสัมภาษณ์ จะเกิดการตีความหมายที่ผิดพลาด เพราะรู้ไม่จริง
164
จุดด้อยของการวิจัยเชิงคุณภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพ มักจะไม่กำหนดขอบเขตของประเด็นที่ต้องการศึกษา ดังนั้น ผู้วิจัยที่ไม่มีความชํานาญในการวิจัยเชิงคุณภาพ จะพบกับปัญหาของการวิจัยไม่สิ้นสุด การวิจัยจะบานปลายเกินขอบเขตของการวิจัย
165
จุดด้อยของการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผู้วิจัยเชิงคุณภาพต้องเป็นผู้ที่มีทักษะทั้งการอ่านและการเขียน มิเช่นนั้นแล้ว ผลการวิจัยอาจเกิดการตีความที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงและสรุปความไม่ได้
166
การวิจัยเอกสาร ต้องระบุว่า
การออกแบบวิธีการและขั้นตอนสำหรับการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่เน้นหลักฐาน แต่ไม่เน้นผู้รู้ การวิจัยเอกสาร ต้องระบุว่า เอกสารที่เป็นแหล่งข้อมูลมีเอกสารใดบ้าง หากระบุชื่อผู้แต่ง ปี พ.ศ. ค.ศ. ได้ยิ่งดี เช่น จดหมายเหตุ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ วรรณคดี ฎีกา งานเขียน งานเรียบเรียง หนังสือ สิ่งพิมพ์ ฯลฯ
167
การออกแบบวิธีการและขั้นตอนสำหรับการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่เน้นหลักฐาน แต่ไม่เน้นผู้รู้
การวิจัยเอกสาร แหล่งที่จะไปรวบรวมข้อมูลเอกสาร เช่น หอสมุดแห่งชาติ ห้องสมุดประชาชน มูลนิธิ วัด สถาบันทางการศึกษา หอจดหมายเหตุ สำนักพิมพ์ พิพิธภัณฑ์ ฯลฯ ต้องมีหนังสือขอความอนุเคราะห์รวบรวมข้อมูล และหนังสือแสดงความยินยอมให้รวบรวมข้อมูล
168
การออกแบบวิธีการและขั้นตอนสำหรับการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่เน้นหลักฐาน แต่ไม่เน้นผู้รู้
การวิจัยเอกสาร ระบุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ สมุดบันทึก แบบคัดลอกข้อมูล กล้องถ่ายรูป เครื่องถ่ายเอกสาร กระดาษวาดเขียน ดินสอ ปากกา เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกน ฯลฯ
169
การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่เน้นหลักฐาน แต่ไม่เน้นผู้รู้
การสังเกต นักวิจัยเน้นการรวบรวมข้อมูลแบบเผชิญหน้ากับแหล่งปรากฏการณ์ด้วยตนเอง ไม่ต้องการรวบรวมข้อมูลจากผู้รู้ โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลตามประเด็นที่สนใจ เน้นทำความเข้าใจแบบเป็นองค์รวมทั้งหมด
170
การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่เน้นหลักฐาน แต่ไม่เน้นผู้รู้
การสังเกต เมื่อขอความอนุเคราะห์เพื่อรวบรวมข้อมูลได้แล้ว ทำการรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองอย่างละเอียด ตรวจสอบความแม่นตรงของข้อมูลด้วยการสังเกตปรากฏการณ์ตลอดเวลา ไขว้หลายๆปรากฏการณ์เข้าด้วยกันเพื่อยืนยันความถูกต้อง
171
การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่เน้นหลักฐาน แต่ไม่เน้นผู้รู้
การสังเกต กรณีเช่นนี้ ไม่ค่อยนิยมนัก เพราะอาจทำให้ขาดรายละเอียด และก่อให้เกิดความลำเอียงจากนักวิจัยได้ เนื่องจาก สัมผัสเอง จับเอง เห็นเอง ระบุเอง สรุปเอง
172
การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่ให้ความสำคัญกับหลักฐานและเน้นผู้รู้
การวิจัยเอกสาร เน้นความรู้จากผู้รู้ ในการอธิบายและขยายความรู้ที่เป็นข้อมูลให้ชัดเจนขึ้น ต้องระบุผู้รู้ไว้ล่วงหน้าว่า ประกอบด้วยใครบ้าง สามารถเพิ่มเติมหรือปรับแก้ได้เสมอ หากไม่ทราบล่วงหน้า แสดงว่าออกแบบการวิจัยไม่เป็น
173
การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่ให้ความสำคัญกับหลักฐานและเน้นผู้รู้
การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม นักวิจัยเน้นรวบรวมข้อมูลจากผู้รู้จริงในเรื่องนั้นๆ ด้วยตนเอง ต้องการเห็นปรากฎการณ์นั้นๆด้วยตนเอง พร้อมกับต้องการทราบรายละเอียดที่เป็นการขยายความปรากฏการณ์ดังกล่าวจากผู้รู้
174
การรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่ให้ความสำคัญกับหลักฐานและเน้นผู้รู้
การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม มีการติดตามสอบถาม การสัมภาษณ์จากผู้รู้จริงในปรากฏการณ์ที่ศึกษา เพราะต้องการความรู้ที่เป็นความจริงมายืนยัน กำหนดช่วงเวลาที่จะรวบรวมข้อมูล
175
การเปิดตัวในการรวบรวมข้อมูลเมื่อต้องการใช้การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม
มีหนังสือถึงผู้นำชุมชน เริ่มเปิดตัวด้วยการคุยแบบธรรมชาติ ศึกษาปรากฏการณ์ที่สนใจ และคาดว่าจะนำไปสู่การตอบคำถามวิจัย ค้นหาเอกสาร วัตถุ และผู้รู้ พร้อมกับวางแนวทางที่จะรวบรวมข้อมูล แบบบันทึกการสังเกต และแบบสัมภาษณ์
176
การสนทนากลุ่มแบบธรรมชาติ: แบบและขั้นตอนสำหรับการรวบรวมข้อมูลและการค้นหาผู้รู้จริง
การสนทนากลุ่ม มี 2 ลักษณะ การสนทนากลุ่มแบบกลุ่มใหญ่ เน้นขนาดกลุ่มหลายคน เช่น อาจจะประมาณ 6 คนขึ้นไป ที่อยู่รวมกันเองแบบธรรมชาติ ช่วยให้ได้ข้อมูลหลากหลาย บางครั้งลึก บางครั้งตื้น แต่สามารถช่วยให้ค้นหาผู้รู้จริงได้
177
การสนทนากลุ่ม เน้นพฤติกรรม การกระทำ การแสดงออก และเรื่องเล่าจากผู้รู้ที่คัดสรร เน้นภูมิหลัง
178
การสนทนากลุ่ม มีหลักเกณฑ์ ในการคัดผู้รู้จริงเข้าร่วมการสนทนากลุ่ม ต้องมีแบบคัดคนเข้ากลุ่ม เน้นหลักความคล้ายคลึงกันของบุคลิกภาพของสมาชิกกลุ่ม เพราะต้องการป้องกันการข่มทางปัญญาในวงสนทนา
179
การสนทนากลุ่ม มีการวางแนวคำถามการสนทนากลุ่มไว้บ้าง ปรับแก้ได้ตามสถานการณ์ จำนวนผู้รู้ในกลุ่มประมาณ 7 – 12 คน
180
การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
การเจาะลึก หลักการของการเน้นทำความเข้าใจแบบเป็นองค์รวม ต้องรู้เรื่องนั้นอย่างแท้จริงแบบ 360 องค์ศา การค้นหาผู้รู้ กำหนดเกณฑ์คัดเลือกแบบเจาะจง หรือ Snow Ball
181
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความข้อมูล
182
1. การวิเคราะห์ข้อมูล คือ กระบวนการนำข้อมูลมาจัดการให้เป็นระเบียบ โดยรวมกันเข้าเป็นหมวดหมู่ รูปแบบเดียวกันในลักษณะเดียวกัน จัดเป็นหน่วยย่อยๆ ตามความหมายเฉพาะของแต่ละหน่วย เพื่อทำให้ข้อมูลมีความชัดเจนขึ้นมา
183
2. การตีความข้อมูล คือ การให้ความสำคัญแก่ความหมายของข้อมูลและความสำคัญที่จะต้องวิเคราะห์ อธิบายรูปแบบของการบรรยาย และดูความสัมพันธ์และความเกี่ยวข้องระหว่างมิติต่างๆ
184
ขั้นตอนของการวิเคราะห์และตีความข้อมูล
7. หาข้อสรุป : หาข้อสรุปที่เป็นสาระหลักของผลการวิเคราะห์ ตีความ และการหาความหมาย 6. หาความหมาย : ตีความและหาความหมาย หรือคำอธิบายของแบบแผนความสัมพันธ์/ปรากฏการณ์เหล่านั้น 5. ขยายความเชื่อมโยง : ขยายขอบข่ายของความเชื่อมโยงเพื่อให้เห็นภาพรวมของเรื่องหรือปรากฏการณ์ที่ศึกษา 4. เชื่อมโยงแนวคิด : เชื่อมโยงแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อหาแบบแผนความสัมพันธ์/แนวเรื่อง (theme) หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น 3. จัดกลุ่มข้อมูล : แยกแยะจัดกลุ่มข้อมูล รวมทั้งเชื่อมโยงข้อมูลที่สามารถจับกลุ่มสาระ (ความหมาย) หรือแนวคิด (concept) ได้ 2. เปลี่ยนประเด็นเป็นรหัส : เปลี่ยนประเด็นหลักเหล่านั้นให้เป็นรหัส (หรือสาระโดยสรุปของแต่ละข้อความ) ไว้ท้ายข้อความ 1. อ่านและจับประเด็น : อ่านข้อมูลดิบอย่างละเอียด จนกระทั่งเข้าใจและจับประเด็นหลักๆ ได้ ขั้นตอนของการวิเคราะห์และตีความข้อมูล
185
การให้รหัสข้อมูล (coding) หรือ การทำดัชนีข้อมูล (indexing categories)
คือ การจัดระบบข้อมูลโดยการคัดเลือก คำบางคำ เพื่อมาใช้ในการจำแนกข้อมูล จัดกลุ่มหรือจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่รวบรวมจากการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (บางครั้งเรียกว่า “การติดป้ายชื่อ” เพื่อให้รู้ว่าข้อความไหนเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร) เพื่อสะดวกในการค้นหาข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูล และการตีความข้อมูล
186
ประเภทของการให้รหัส การให้รหัสแบบเปิด (open-coding)
การให้รหัสตามแนวคิดที่สัมพันธ์กัน(axial/theoretical coding) การให้รหัสแบบหาแก่นของเรื่อง (selective/focused coding)
187
ตัวอย่าง : การลงรหัส/ดัชนี ที่มา : โครงการวิจัยเรื่อง “การดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง” ผู้ให้สัมภาษณ์ : ผู้เข้ารับการอบรม “การวิจัยเชิงคุณภาพ” (21-30 มีค. 2554) วันที่สัมภาษณ์ : 26 มีนาคม 2554 วิธีการเก็บข้อมูล : การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) ผู้ให้ข้อมูล : ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 7 คน สถานที่สัมภาษณ์ : บ้านผู้ใหญ่บ้านแห่งหนึ่ง อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี การถอดคำ (บางส่วน) รหัส / ดัชนี M : ละแวกบ้านนี้มีคนเป็นความดันสูงเยอะไหมคะ สมศรี : ส่วนมาก อนามัยเขาจะนัด ทุกศุกร์ที่ 4 ของเดือน บริการ-วันนัดตรวจ ปกติมี 200 – 300 คน จำนวนคนไข้ M : เขานัดทั้งหมดไหมคะ สมหวัง : แต่ละเดือนเขานัด 50 คน บริการ-ผู้มาตรวจ/เดือน สรุปประเด็น : 187
188
การถอดคำ (Transcription)
สมหวัง : แต่ละคนห้ามไม่เหมือนกัน อาหารต้องห้าม สมชาย : หมอไม่ว่าอะไร แต่ห้ามกินเหล้า สูบบุหรี่ M : ลุงสมชายละคะ อาหารแนะนำ สมศักดิ์ : กินอาหาร 5 อย่างให้ครบหมู่ พวกตำลึง มะระ พวกนี้ สมศรี : เขาแนะนำให้กินผักปลอดสารพิษ สมศักดิ์ : ความดันต่ำกินได้ M : เหล้าเบียร์กินได้ไหม สมพร : หมอห้ามไม่ให้กิน ปลาเค็ม ไข่แดง ของมัน M : คุณหมอห้ามไม่ให้รับประทานอะไรบ้าง รหัส / ดัชนี การถอดคำ (Transcription) M : พวกคุณลุงคุณป้าดูแลตัวเองอย่างไรคะ สรุปประเด็น :
189
การถอดคำ (Transcription)
ดูนาเราบ้าง ดูว่ามันต่างกันอย่างไร (เสียงโทรศัพท์มือถือ – สมรักบอกว่า “กำลังประชุมอยู่”) เดินไปคนเดียว ไม่ต้องพูดกับใคร ไปดูนาคนอื่นบ้าง สมศรี : ถ้าเครียดมา ไปนากัน เพราะอากาศมันโปร่ง วิธีแก้เครียด สมหวัง : เช้าเดินไปนา ดูข้าวมันเขียว เอาปุ๋ยไปใส่ สมหญิง : เหมือนๆ กันทุกอย่าง M : พี่สมหญิงล่ะคะ ผลจากความเครียด สมพร : คิดมาก ความดันขึ้นแน่ สมหวัง : เดินทั่ว ทำงานในบ้าน ทำงานเล็กๆ น้อยๆ ไม่คิดมาก สมรัก : ทำตัวสบายไม่เครียด อย่าคิดมาก อะไรแบบนี้ รหัส / ดัชนี การถอดคำ (Transcription) สมรัก : สบายทุกอย่าง ไม่คิดอะไร ก่อนนี้เครียด เดี๋ยวนี้ ไม่เครียดแล้ว สรุปประเด็น :
190
การถอดคำ (Transcription)
สมศักดิ์ : ถ้าผิดปกติต้องเปลี่ยนยา สมมุติ 3 เดือนไปแล้ว (ความดัน) ไม่ลด หมอต้องเปลี่ยน (ยา) ถ้าไม่ลด สมหญิง : ไม่มี M : พี่สมหญิง ไม่ค่อยคุย อาการผิดปกติ สมชาย : เคย หน้ามืดครึ้มมา นั่งพักแล้วไม่หาย M : เคยต้องไปหาหมอก่อนวันนัดไหมคะ สมศักดิ์ : บางครั้งเครียด เหมือนใจจะละลาย รหัส / ดัชนี การถอดคำ (Transcription) สมพร : เขากินยาเพิ่มเข้าไปอีก เป็นคนไข้ดีเด่น ทำตามหมอสั่ง สมรัก : กินยาสม่ำเสมอ กินข้าวแล้วกินยา กินยาตามหมอสั่ง หมอจะรู้ หมอจะเปลี่ยนยา สรุปประเด็น :
191
อิทธิพลของโฆษณา ผู้ขายอาหารเสริม
M : ซื้อจากที่ไหนคะ อิทธิพลของโฆษณา ผู้ขายอาหารเสริม สมชาย : เขาเอามาส่ง เป็นบริษัท ฟังจากวิทยุ ซื้อจากหัวหน้าอสม. แสวงหาการรักษา ซื้อน้ำมังคุดมากิน สมชาย : กินยาน้ำมังคุด หมออนามัยให้ยามากินก็ไม่หาย สมรัก : ต้นธันวาที่ผ่านมา มีบางคนเอายาไปกินกับเหล้าขาว M : กินมานานเท่าไรแล้ว สมรัก : ฉันปวดเมื่อย แขนขาอ่อน กินยา “พริ้งนภา” M : ยาอะไรคะ ยาน้ำ ยาเม็ด รหัส / ดัชนี การถอดคำ (Transcription) M : แล้วมียาอะไรอีกไหมคะ ที่ช่วยควบคุมความดัน สมหวัง : เป็นยากระตุ้นทางเพศด้วย ราคาอาหารเสริม ช่วยหายปวดเมื่อย ขวดละ 340 คนบ้านนอกก็ว่าแพง สรุปประเด็น :
192
การถอดคำ (Transcription)
ทุกวันยังทานอยู่ ดูก็ปกติ ชื่อ “กาแฟไฮโซ” เป็นกาแฟสุขภาพ น้ำตาลในเส้นเลือด กินไป 4 กล่อง ไปวัด (ความดัน) อาหารเสริม-ความเชื่อ สมศรี : ฉันกินกาแฟเพื่อสุขภาพ รู้สึกมันดี ลดความดัน ไขมัน รหัส / ดัชนี การถอดคำ (Transcription) ไม่มีโอกาสหาย สมพร : ขึ้นเมรุเมื่อไหร่ ก็หาย M : คำว่ามีโอกาสหายจากโรคนี้ไหมคะ สรุปประเด็น :
193
ตัวอย่าง การวิเคราะห์เบื้องต้นโดยใช้แผ่นสรุป
แผ่นสรุปสำหรับโครงการ (ชื่อโครงการ) คำถามที่ (ใส่คำถามจากแนวคำถามแต่ละข้อ สำหรับแต่ละแผ่น) ผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ (คุณลักษณะ) ผู้สัมภาษณ์ สถานที่ และเวลา เนื้อหา ____________________ _______________________________ สรุปสาระสำคัญ ที่ได้จากผู้ให้สัมภาษณ์คนที่ 1 __________________________ ข้อมูลที่ได้จากการ สัมภาษณ์ในผู้ให้สัมภาษณ์ คนที่ 1
194
สรุปการวิเคราะห์เบื้องต้น
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมดรับรู้สภาวะโรคที่เป็นอยู่และเข้าใจว่าเป็นโรคที่ไม่สามารถหายขาด โดยภาพรวมผู้ป่วยสามารถดูแลตนเอง ตั้งแต่การปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ รับประทานยาถูกวิธีและสม่ำเสมอ ผู้ป่วยได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แต่ยังคงรับประทานอาหารรสเค็ม ผู้ป่วยออกกำลังกายและรู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียด และพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่เป็นเหตุให้โรคเกิดความรุนแรงขึ้น การศึกษานี้ยังพบปัจจัยอื่นๆ ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ได้แก่ บริการสุขภาพในชุมชน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ให้บริการทั้งเชิงรับและเชิงรุก และมีการประสานร่วมมือกับผู้นำชุมชน อบต. ในการส่งต่อผู้ป่วย และการจัดสรรงบประมาณ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยส่งเสริมอื่นๆ เช่นการปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ เพื่อปรุงอาหารเอง ชมรมกีฬา ชมรมสุขภาพ ล้วนมีส่วนสนับสนุนสุขภาพกายและจิตใจของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม การที่สภาพเศรษฐกิจของผู้ป่วยอยู่ในขั้นดี จึงสามารถแสวงหาอาหารเสริมจากการโฆษณามาบริโภค ซึ่งอาจเป็นผลเสียต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2025 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.