ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยราม บราวน์ ได้เปลี่ยน 8 ปีที่แล้ว
1
เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อ คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ที่ รับยาต้านไวรัสเอชไอวีในโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วัตถุประสงค์ วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (Cross sectional study) เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ตุลาคม 2557- กรกฏาคม 2558 ใช้เครื่องมือวัดระดับคุณภาพชีวิตขององค์การ อนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา วิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิตโดยใช้ค่าร้อย ละ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตโดยใช้การ วิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษา คุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน เพศหญิง ร้อยละ 60.8 ส่วนใหญ่มีอายุ 31 -45 ปี ร้อยละ 72 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 62.5 จบ การศึกษาสูงสุดระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 62.5 อาชีพส่วนใหญ่รับจ้าง ร้อยละ 54.1 มีรายได้ต่อ เดือนอยู่ในช่วง 2,000-5,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 45.1 ความพอเพียงของรายได้ส่วนใหญ่มีรายได้ เพียงพอ ร้อยละ 68.3 ระยะเวลาที่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอ วีส่วนใหญ่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวีมากกว่า 6 ปี ร้อยละ 42 ระดับ CD4 ในการตรวจครั้งหลังสุด ส่วนใหญ่มีระดับ 200-500 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลิเมตร ร้อยละ 58.0 และ ระยะเวลาที่ได้รับยาต้านไวรัสเอชไอวี ส่วนใหญ่รับยามา 1-3 ปี ร้อยละ 52.6 ระดับคุณภาพชีวิต โดยรวมอยู่ในระดับปาน เมื่อจำแนกเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า มี องค์ประกอบของคุณภาพชีวิตด้านร่างกายส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 80.5 องค์ประกอบของคุณภาพชีวิตด้านจิตใจส่วนใหญ่อยู่ ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 60.0 ด้าน ความสัมพันธ์ทางสังคมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปาน กลาง คิดเป็นร้อยละ 68.9 และองค์ประกอบของ คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อมส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 72.6 สรุปผลการศึกษา ระดับคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วย เอดส์ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อ คุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อพบว่า ระดับการศึกษาต่ำ กว่ามัธยมศึกษาตอนต้น อาชีพว่างงาน / งานบ้าน อาชีพเกษตรกรรม อาชีพ ระยะเวลาที่ทราบว่าติดเชื้อ เอชไอวี ระดับ CD4 ครั้งหลังสุด ระยะเวลาที่ได้รับยา ต้านเอชไอวี เป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ปัจจัย R- Square R95% CIp-value ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล เพศ ชาย หญิง อายุ ( ปี ) สถานภาพสมรส สมรส โสด หม้าย หย่า / แยกกันอยู่ จบการศึกษาสูงสุด ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีพ ว่างงาน / งานบ้าน เกษตรกรรม รับจ้าง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ( บาท ) ความพอเพียงของรายได้ เพียงพอ ไม่เพียงพอ ระยะเวลาที่ทราบว่าติดเชื้อเอชไอวี ( ปี ) ระดับ CD 4 ครั้งหลังสุด ระยะเวลาที่ได้รับยาต้านไวรัสเอช ไอวี ( ปี ) Ref. 0.016 0.009 0.015 Ref 0.033 0.000 Ref 0.031 0.052 0.024 0.015 0.011 Ref. 0.047 0.043 0.048 0.126 0.092 0.123 0.182 0.022 0.175 0.229 0.154 0.123 0.106 0.218 0.207 0.220 -6.585,0.414 -1.118,5.166 -0.492,6.590 -8.063,- 1.014 -3.775,5.163 -14.743,- 1.538 2.468,10.265 -7.215,- 0.290 -0.257,3.447 -0.953,6.364 0.257,1.192 0.004,0.021 0.392,1.777 0.084 0.205 0.091 0.012 0.760 0.016 0.002 0.034 0.091 0.146 0.003 0.004 0.002 การนำไปใช้ประโยชน์ แผนภูมิแสดงปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ที่รับยาต้านไวรัสเอชไอวี ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้ติดเชื้อเอชไอวีและ ผู้ป่วยเอดส์ จะมีความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดี จะต้องมีสุขภาพกายที่แข็งแรง มีสภาพจิตใจที่ดี มี ความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดี มีสิ่งแวดล้อมที่ดี ตลอดจนได้รับการ สนับสนุน ทางสังคมอย่างเหมาะสม ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถ ใช้เป็นแนวทางในการทำงานของบุคลากรและ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบบริการดูแลผู้ติด เชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ให้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งการ จัดการสนับสนุนทางสังคมได้อย่างเหมาะสม
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.