ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยเดือนเพ็ญ สมิธ ได้เปลี่ยน 8 ปีที่แล้ว
1
โรงเรียน คณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา อำเภอ เมืองยะลา จังหวัด ยะลา สัญลักษณ์ของโรงเรียนสัญลักษณ์ : ( เป็นรูปเชิงเทียน พญานาคสองหัว มีเทียนปักอยู่ตรงกลาง เปลวไฟกําลังเปล่งแสง สว่างโชติช่วง ) ความหมาย : เปลวไฟที่เจิดจ้าจากลำเทียน เป็นสัญลักษณ์บอกให้ทราบว่า " โรงเรียน คณะราษฏรบำรุง จังหวัดยะลา " เป็นสถานที่ให้ความสว่างทางปัญญาแก่นักเรียน เพื่อให้ออกไปเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพของประเทศชาติต่อไปในอนาคต อักษรย่อ : ค. บ. ต้นไม้ประจำโรงเรียน : - ธง / สีประจำโรงเรียน : เขียว - เหลือง คำขวัญอำเภอ / จังหวัด : ใต้สุดสยาม เมืองงามชายแดน อื่นๆ ( ถ้ามี )
2
โรงเรียนคณะราษฎรบํารุง จังหวัดยะลา เป็นโรงเรียนที่เก่าแก่ที่สุดของ ยะลา แรกเริ่ม โรงเรียนนี้ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ บ้านลิมุด ตำบลท่าสาป เมื่อ พ. ศ. ๒๔๕๒ เปิดสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยมีรองอำมาตย์ตรีสด สุขหุต เป็นครูใหญ่คน แรก ตั้งชื้อว่า " โรงเรียนจังหวัดยะลา " ประมาณ พ. ศ. ๒๔๕๕ พระยาณรงค์ฤทธิ์ศรี ประเทศ วิเศษวังษา เจ้าเมืองยะลาในสมัยนั้น ได้มอบเงินจำนวนหนึ่งให้สร้าง โรงเรียนใหม่ ที่ฝั่งขวาของแม่น้ำปัตตานี ซึ่งเป็นฝั่งเดียวกับที่ตั้งศาลากลาง จังหวัดยะลาในสมัยนั้น คือที่หมู่บ้างสะเตง และย้ายโรงเรียนมาจากบ้านลิมุด ปี พ. ศ. ๒๔๕๖ และขนานนาม ว่า โรงเรียนณรงค์ฤทธิ์ยะลาราษฎรบำรุง และขยายชั้น เรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ พ. ศ. ๒๔๗๘ จัดสอนเป็น ๒ ระดับคือ ระดับประถมศึกษา มีชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ระดับชั้นมัธยมศึกษา มีชั้น มัธยมศึกษาปี่ที่ ๑ ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปี่ที่ ๔ ปี พ. ศ. ๒๔๗๙ โรงเรียนมีชั้นเรียน ๘ ชั้น คือ ชั้น จำนวนนักเรียนมีมากจนสถานที่เรียนไม่เพียงพอ และคับแคบ เมื่อ ได้รับงบประมาณแผ่นดิน จำนวน ๖, ๐๐๐ บาท และเงินสบทบ ของ สมาคมคณะ ราษฎร์ จังหวัดยะลา อีก ๒, ๐๐๐ บาทจึงมาสร้าง โรงเรียนใหม่ที่ หมู่บ้านนิบง ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา คือ ที่ตั้ง โรงเรียน ปัจจุบัน สร้างอาคารเรียนถาวร เป็นอาคารไม้ ๒ ชั้น มี ๖ ห้องเรียน และห้องมุข ขนาดใหญ่ใช้เป็นห้องเรียนได้อีก ๒ ห้อง สิ้นเงินงบก่อสร้าง ๘, ๐๐๐ บาท แล้วได้ย้ายโรงเรียนมาใน ปี พ. ศ. ๒๔๘๐ ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียน ใหญ่ว่า " โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง " เปิดสอนในระดับ มัธยมศึกษาตั้งแต่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ต่อมาประมาณ ปี พ. ศ. ๒๔๙๖ กรมวิสามัธศึกษา ได้ประกาศปรับปรุงชื่อโรงเรียนเสียใหม่ทั่ว ประเทศ เพื่อความเหมาะสม จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น " โรงเรียนคณะราษฎรบำรุง จังหวัดยะลา " ประวัติโรงเรียน
3
รายละเอียดตามสาระการเรียนรู้ รายวิชาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการ สื่อสาร รายละเอียดข้อมูลทั่วไป รหัสวิชาง 32102 จำนวนชั่วโมงสอนเวลา 40 ชั่วโมง / 1 ภาคเรียน ชั้นที่สอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่สอนภาคเรียนที่ 2 คำอธิบายรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ศึกษาและอธิบายองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ แล้วสามารถนำกระบวนการ เทคโนโลยีสารสนเทศมา เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการประมวลผล และตัดสินใจในการทำงาน ติดต่อสื่อสารและค้นหาข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม เขียนโปรแกรมภาษา เพื่อนำมาใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสมและมี ประสิทธิภาพ และนำความรู้และทักษะกระบวนการทางคอมพิวเตอร์มาใช้ในการพัฒนา โครงงานคอมพิวเตอร์ ( สารคดี ) ได้อย่างสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ กระบวนการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความรู้ เกิดทักษะการปฏิบัติ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการ เทคโนโลยีสารสนเทศในการแก้ปัญหา และการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มี คุณธรรมและจริยธรรม จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด ง 3.1 ม.4-6/1 ม.4-6/3 ม.4-6/5 ม.4-6/6 ม.4-6/7 ม.4-6/9 ม.4- 6/10 รวม 7 ตัวชี้วัด
4
คำอธิบายกิจกรรมสอดแทรกและบูรณาการ พัฒนาการ และแนวคิดของภาพยนตร์สารคดี ตลอดจนบทบาท และความสำคัญของภาพยนตร์ สารคดีที่มีต่อสังคม ฝึกปฏิบัติให้นักเรียนนำ ความคิด และแรงบันดาลใจที่ได้จากเรื่องจริงมา สร้างเป็นภาพยนตร์สารคดีในท้องถิ่น จุดมุ่งหมาการสอดแทรกและบูรณาการ พัฒนาการ และแนวคิดของภาพยนตร์สารคดี เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้ และเข้าใจคำจำกัด ความของภาพยนตร์สารคดี รูปแบบของภาพยนตร์ สารคดีต่างๆ ศึกษากระบวนการในการเขียนบท สารคดี รวมทั้งเทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการถ่าย ทำภาพยนตร์สารคดี สอดแทรกสารคดีเพื่อ การศึกษาสอน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.