การสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) การสื่อสารข้อมูล คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อย่างน้อย 2 ตัวโดยผ่านทางสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งข้อมูลนั้นอาจจะอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ หรือเสียง เป็นต้น การสื่อสารข้อมูลจะมีประโยชน์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ พื้นฐาน 3 อย่างคือ ข้อมูลที่ส่งจะต้องถึงผู้รับหรือปลายทางได้อย่างถูกต้อง ข้อมูลที่ส่งไปนั้นเมื่อไปถึงผู้รับหรือปลายทางจะต้องมีความถูกต้อง แน่นอน ไม่ผิดพลาด 3. ข้อมูลจะต้องถูกส่งถึงผู้รับหรือปลายทางได้ทันเวลาที่ผู้รับหรือปลายทาง จะนำไปใช้ประโยชน์ได้
องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล 1. ผู้ส่งข้อมูล (Sender) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายที่ต้องการ 2. ผู้รับข้อมูล (Receiver) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาให้ ข้อมูล (Data) คือ สิ่งที่ผู้ส่งต้องการส่งไปยังผู้รับ อาจจะอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และอื่น ๆ 4. สื่อนำข้อมูล (Medium) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ เช่น สายเคเบิ้ล อากาศ น้ำ ฯลฯ 5. โปรโตคอล (Protocol) คือ กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับต้องตกลงกันไว้ก่อน
2.โปรโตรคอล (Protocol) และ ซอฟต์แวร์ (Software) โปรโตรคอล คือ วิธีการหรือกฏระเบียบที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกัน หรือคุยกันรู้เรื่อง ส่วนซอฟต์แวร์มีหน้าที่ทำให้การ ดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ 3.ข่าวสาร (Message) สัญญาณอิเลคทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร เรียกว่า ข่าวสาร หรือ Information สามารถแบ่งการสื่อสารข้อมูลได้เป็น 4 รูปแบบด้วยกันคือ เสียง ข้อมูล ข้อความ ภาพ
4.สื่อกลาง (Medium) สื่อกลางเป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลาง การสื่อสารอาจจะเป็นเส้นลวด สายไฟ สายเคเบิล หรือ คลื่นทางอากาศ เช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม วิทยุ การส่ง-รับข้อมูลเพื่อโอนถ่ายหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับจะสำเร็จขึ้นได้ต้องประกอบ ด้วยปัจจัยสำคัญ 2 ประการ คือคุณภาพของสัญญาณข้อมูลที่ส่ง-รับกัน และคุณลักษณะของสายสื่อสาร สำหรับส่งผ่านข้อมูล อย่างไรก็ตามเทคนิคการส่ง-รับข้อมูล ทั้งที่เป็นสัญญาณอนาล็อกและดิจิตอล
สัญญาณอนาล็อก (Analog signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ ข้อดี คือ ส่งในระยะไกลได้ ข้อเสีย คือ สัญญาณถูกรบกวนได้ง่าย ข้อมูลผิดพลาดได้ สัญญาณดิจิตอล (Digital signal) สัญญาณอยู่ในรูปของตัวเลขฐานสอง คือ 0 และ 1 ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ ข้อดี คือ แม่นยำ มีความน่าเชื่อถือสูง ข้อเสีย คือ ผิดเพี้ยนได้ง่าย ถ้าเป็นการส่งในระยะไกล
รูปแบบการส่งสัญญาณข้อมูล 1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-Way หรือ Simplex )ในการส่งสัญญาณข้อมูลแบบ simplex ข้อมูลจะถูกส่งไปในทางเดียวเท่านั้น และตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น การกระจายเสียงของ สถานี วิทยุ หรือ การแพร่ภาพทางโทรทัศน์ เป็นต้น
2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Either-Way of Two Waysหรือ Half Duplex) การสื่อสารแบบ Half Duplex เราสามารถส่งข้อมูลสวนทางกันได้แต่ต้องสลับกันส่ง จะทำใน เวลาเดียว กันไม่ได้ ตัวอย่างเช่น วิทยุสื่อสารของตำรวจแบบ Walkly-Talkly
3.แบบทางคู่ (Full-Duplex) ในแบบนี้เราสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมๆ กันทั้งสองทาง ตัวอย่างเช่น การพูดคุยโทรศัพท์ โดยสามารถสื่อสารพร้อมกันได้ทั้งสองฝ่าย บางครั้งเรียกการสื่อสารแบบทางคู่ว่า Four-Wire Line
4.แบบสะท้อนสัญญาณหรือ เอ๊กโคเพล๊กซ์ (Echo-Plex) เป็นการส่งสัญญาณที่รวมทั้ง Half-Duplex และ Full-Duplex ไว้รวมกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างคีย์บอร์ด และจอภาพของเครื่อง Terminal ของ Main Frame หรือ Host คอมพิวเตอร์
แบบฝึกหัดประกอบการเรียน จงบอกความหมายของการสื่อสารข้อมูล (data communication) องค์ประกอบของระบบสื่อสารมีทั้งหมดกี่อย่าง อะไรบ้าง สัญญาณในการสื่อสารข้อมูลมีทั้งหมดกี่ชนิด ได้แก่อะไรบ้าง ให้อธิบายแต่ละชนิดพอสังเขป จงบอกความแตกต่างของการส่งข้อมูลแบบขนาน (parallel) และแบบอนุกรม (serial) ทิศทางของการสื่อสารข้อมูลแบบใดที่ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองทิศทาง แต่ต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเดียวเท่านั้น