เครื่องเบญจรงค์
ผู้จัดทำ นาย จรัสพงศ์ นิลนารถ เลขที่ 8 ชั้น ม.6/4 นาย จรัสพงศ์ นิลนารถ เลขที่ 8 ชั้น ม.6/4 นางสาว รัชนี บุญมี เลขที่ 20 ชั้น ม.6/4 นางสาว ชลลิดา อ่อนละมูล เลขที่ 31 ชั้น ม.6/4 นางสาว ธนันท์ญา ฤทธิ์เหมาะ เลขที่ 34 ชั้น ม.6/4
เสนอ คุณครู จงรัก เทศนา
ประวัติความเป็นมา การทำเครื่องเบญจรงค์ถือได้ว่า เป็นงานด้านศิลปหัตถกรรมของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของไทยในอดีตใช้การสั่งทำที่ประเทศจีนตามความคิดและลวดลายของไทย การสั่งทำนั้นจะมีช่างของไทยเดินทางไปควบคุมการผลิตเพื่อให้ได้รูปลักษณะที่เป็นแบบไทย สมัยกรุงศรีอยุธยาและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ช่วงศตวรรษที่ 18 และ 19 เครื่องถ้วยเบญจรงค์ของราชวงศ์ไทยชั้นสูงได้สั่งทำที่เมืองจิงเต๋อเจิ้น และจากเตาเผาที่มณฑลฝูเจี้ยนและกวางตุ้ง เครื่องเบญจรงค์ที่สั่งทำจากเมืองจิงเต๋อเจิ้น มักเป็นของใช้ในราชสำนักเพราะเนื้อดินปั้นละเอียด แกร่ง และช่างมีฝีมือดี เขียนลายได้ละเอียดสวยงาม
ต้นกำเนิดของเครื่องเบญจรงค์ได้ใช้สีวาดระบายเพียง 3 สี ต่อมาได้พัฒนาเครื่องเบญจรงค์มี 5 สี คือ สีขาว สีเหลือง สีดำ สีแดง และสีเขียว ( คราม ) ดังนั้น ชื่อที่เรียกว่า “ เบญจรงค์ ” หมายถึง เครื่องเคลือบที่มีการวาดสีลงไป 5 สี ปัจจุบันมีการใช้สีมากกว่า 30 สี เครื่องเบญจรงค์มีการออกแบบลวดลายต่าง ๆ ด้วยการวาดสี 5 สี ลวดลายที่เป็นที่รู้จักได้แก่ ลายกนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเทพพนม ลายนรสิงห์ รวมตลอดถึงลวดลายดอกไม้ ลายสัตว์ และลวดลายจากเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น ลวดลายที่วาดลงในเครื่องเบญจรงค์ สะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน มีวัฒนธรรม ตามความเชื่อของไทย และวิถีชีวิตของคนไทย
ผู้ประกอบการ ชื่อ นายนฤมิตร เชี่ยวชาญ ชื่อเล่น นิด อายุ 47 ปี ชื่อ นายนฤมิตร เชี่ยวชาญ ชื่อเล่น นิด อายุ 47 ปี ที่อยู่ 136 หมู่ 1 ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท 17120 โทร 056-448233 , 089-7087789
วัสดุอุปกรณ์ 1.ดินเหนียว 2.น้ำ 3.จิกเกอร์แป้นหมุน 4.อุปกรณ์ในการแกะลวดลาย 5.เตาเผา 6.สีอัลคิลิค 7.น้ำยาเคลือบ 8.น้ำมุก 9.น้ำทอง
ขั้นตอนการทำ 1.นำดินเหนียวที่เป็นวัตถุดิบมาผสมกับน้ำแล้วนวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน 2.ขึ้นรูปตามต้องการด้วยจิกเกอร์แป้นหมุนหรือแบบหล่อ 3.เมื่อนำไปตากจนแห้งแล้วจึงนำไปขัดแต่งผลิตภัณฑ์ 4.นำไปเผาในครั้งแรกที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส 5.นำมาชุบเคลือบ 6.นำไปเผาในครั้งที่สองที่อุณหภูมิ 1,250 องศาเซลเซียส 7.เขียนลวดลายด้วยน้ำทอง 12% 8.ลงสีบนเคลือบ 9.นำไปเผาในครั้งสุดท้ายที่อุณหภูมิ 800 องศาเซลเซียส
สีและลวดลาย จานลายครามเกล็ดเต่า ชามเบญจรงค์ลายเทพพนม โถข้าวเบญจรงค์ลายถมทอง โถน้ำเย็นลายเขี้ยวยักษ์ โถเบญจรงค์ลายบัวสวรรค์ โถเบญจรงค์ลายพุ่มตา
ประเภท โกฐ ถ้วยชาม แก้ว โถ
แหล่งสำรวจ ร้านชัยนาทเซรามิค ที่อยู่ 136 หมู่ 1 ต.ชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท 17120 โทร 056-448233 089-7087789
เอกสารอ้างอิง http://www.otoptoday.com/wisdom/provinces/center/%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97/131349466604 http://dusithost.dusit.ac.th/~u52152802069/project/history.html