การปฏิบัติตัวและการดูแลหลังได้รับบาดเจ็บ ที่ศีรษะระดับเล็กน้อย ศัลยกรรมอุบัติเหตุ งานการพยาบาล ผู้ป่วยศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
การบาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นการบาดเจ็บที่ต่อหนังศีรษะ กะโหลกศีรษะ เยื่อหุ้มสมอง เนื้อสมอง หรือมีเลือดออกภายใต้กะโหลกศีรษะ
ลักษณะอาการที่อาจพบ 1. มีแผลถลอก ฟกช้ำ บวม โน ฉีกขาดที่ศีรษะ หรือใบหน้า 2. ปวดศีรษะมาก ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน 3. คลื่นไส้ อาเจียนมักจะพบลักษณะอาเจียนพุ่ง 4. ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง เช่น ซึมลง พูดช้า สับสน งุนงงหรือไม่รู้สึกตัว 5. แขนขาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง 6. ชักเกร็ง
การดูแลหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ 1. อาการที่ต้องเฝ้าระวัง ปวดศีรษะ อาการปวดศีรษะและมึนงงอาจมีนานเป็นสัปดาห์ การดูแล 1.1 ให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด ทั้งด้านร่างกายและอารมณ์ 1.2 นอนศีรษะสูง ประมาณ 30 องศา 1.3 ประคบด้วยผ้าเย็นหรือน้ำแข็ง ห้ามประคบร้อน 1.4 รับประทานยาบรรเทาปวดตามแพทย์สั่ง 1.5 ถ้าปวดศีรษะมาก ไม่บรรเทา ควรปรึกษาแพทย์
การดูแลหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ 2. อาการที่ต้องเฝ้าระวัง : คลื่นไส้ อาเจียน การดูแล 2.1 ให้ผู้ป่วยตะแคงหน้า เพื่อป้องกันเศษอาหาร ตกเข้าไปในทางเดินหายใจ 2.2 ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดีให้บ้วนปากด้วยน้ำอุ่น 2.3 อาจมีอาการไม่อยากรับประทานอาหาร อาหารอ่อนอาจช่วยให้รับประทานได้ง่ายขึ้น 2.4 ถ้ามีอาการอาเจียนตลอดเวลามากกว่า 3 ครั้ง ต่อวัน ควรปรึกษาแพทย์
การดูแลหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ 3. อาการที่ต้องเฝ้าระวัง : ระดับความรู้สึก เปลี่ยนแปลง การดูแล สังเกตอาการผู้ป่วยถ้าพบว่า ซึมลง สับสนหรือ มีอาการกระสับกระส่าย ให้ป้องกันอุบัติเหตุที่ อาจเกิดขึ้นและรีบนำส่งโรงพยาบาล
การดูแลหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ 4. อาการที่ต้องเฝ้าระวัง : ชักเกร็ง การดูแล 4.1 จับใบหน้าตะแคงด้านใดด้านหนึ่ง ดันคาง ให้ยกขึ้น 4.2 ระวังการบาดเจ็บขณะชักเกร็งห้ามป้อนยา หรืออาหารใดๆ เพราะจะทำให้สำลึก 4.3 รีบนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้าน
การดูแลหลังการบาดเจ็บที่ศีรษะ 5. ผู้ป่วยอาจมีความผิดปกติในการมองเห็นความคิด ความจำและรำคาญเสียงดังไม่ชอบแสงสว่างเกินไป เป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือน แต่อาการเหล่านี้จะหาย ไปได้เอง 6. ผู้ป่วยอาจมีปัญหาในการทำงานได้ ให้พักบ่อยๆ 7. อย่าขับรถจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีปัญหาเรื่องสายตา และอาการมึนงง 8. ความสนใจทางเพศอาจลดลงชั่วคราว 9. ให้งดเว้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และ ยาเสพติดทุกชนิด 10. ถ้ามีของเหลวไหลออกทางจมูกหรือหูให้ไปปรึกษา แพทย์ไม่ควรแกะเกาหรือเช็ดในรูหูหรือจมูก 11. อย่าลืมมาตรวจตามที่แพทย์นัดและให้มาพบแพทย์ ทันทีที่มีปัญหาหรือความวิตกกังวล
สิ่งที่ควรจำ อาการต่อไปนี้ต้องนำส่งโรงพยาบาลทันที ชัก เกร็ง ซึมลงมากหรือไม่รู้สึกตัว แขน-ขาอ่อนแรง
อย่าลืม เมื่อท่านมีปัญหาในการดูแล หรือปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน โทรศัพท์ไปที่ 053-945984 ศัลยกรรมอุบัติเหตุยินดีให้คำปรึกษา และข้อแนะนำดังคำขวัญที่ว่า บริการประทับใจ ก้าวไกลวิชาการ สมัครสมานสามัคคี