เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ จัดทำโดย เด็กหญิงพิจิตรา สิงห์โตวะนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/10 เลขที่ 9 เสนอ อาจารย์ อรอุมา พงค์ธัญญะดิลก
Menu เซลล์พืช เซลล์สัตว์ การเปรียบเทียบ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์ หน้าที่ของเซลล์ที่อยู่ในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ผนังเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทรพลาซึม คลอโรพลาสต์ แวคคิวโอ เอกสารอ้างอิง
เซลล์พืช เซลล์พืชของต้นไม้ มีลักษณะรูปร่างของเซลล์พืช ในแต่ละส่วนของพืชแตกต่างกันออกไป แต่อย่างไรก็ ตามเซลล์พืช ทั่ว ๆ ไป ก็จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ คล้าย คลึงกัน MENU
เซลล์สัตว์ เซลล์สัตว์มีรูปร่างหลายลักษณะ เซลล์บางชนิดอาจมีรูปร่างกลมรี บางชนิดมีรูปร่างยาวเป็นเส้น หรือรูปร่างอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับชนิดและหน้าที่ของเซลล์ ตัวอย่างเช่น เซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปค่อนข้างกลม ตรงกลางเว้าทั้งสองข้าง เซลล์ประสาทมีรูปร่างหลายแบบ คือ กลม รี หรือเป็นแฉก เซลล์กล้ามเนื้อเรียบ มีรูปร่องเรียวยาว แหลมหัวแหลมท้าย เป็นต้น MENU
การเปรียบเทียบเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ เซลล์พืช 1. รูปร่างค่อนข้างเป็นเหลี่ยม 2. มีผนังเซลล์ 3. มีเยื่อหุ้มเซลล์ 4. มีคลอโรพลาสต์ 5. ไม่มีเซนทริโอล เซลล์สัตว์ 1. รูปร่างค่อนข้างกลม 2. ไม่มีผนังเซลล์ 3. มีเยื่อหุ้มเซลล์ 4. ไม่มีคลอโรพลาสต์ 5. มีเซนทริโอล MENU
ผนังเซลล์ ผนังเซลล์ ( Cell Wall ) เป็นส่วนประกอบชั้นนอกสุดของเซลล์พืชและเป็นส่วนที่ไม่มีชีวิต ประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น เซลลูโลส, คิวติน, เพกติน ลิกนิน , ซูเบอริน ผนังเซลล์มีลักษณะเป็นรูพรุน ทำหน้าที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้ MENU
เยื่อหุ้มเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ Cell membrane หรือ plasma membrane มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ ประกอบด้วย สารไขมันและโปรตีน เยื่อหุ้มเซลล์มีรูเล็กๆ ทำให้สามารถจำกัดขนาดของโมเลกุลของสารที่จะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ MENU
ไซโทรพลาซึม ไซโทพลาซึม ( Cytoplasm ) มีลักษณะเป็นของเหลว ประกอบด้วยสารที่สำคัญปนอยู่ คือ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และเกลือแร่ต่างๆ รวมทั้งของเสียที่เกิดขึ้น ไซโทพลาซึมเป็นศูนย์กลางการทำงานของเซลล์ เกี่ยวกับเมตาโบลิซึม ทั้งกระบวนการสร้างและ สลายอินทรียสาร ไซโทพลาซึมประกอบด้วยส่วนประกอบภายใน ที่อาจเรียกว่า อวัยวะของเซลล์ MENU
คลอโรพลาสต์ คลอโรพลาสต์ ( chloroplast) พบเฉพาะในเซลล์พืชมีหน้าที่ ดูดพลังงานแสง เพื่อใช้ใน กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ( กระบวนการสร้างอาหารของพืช ) MENU
แวคคิวโอ แวคคิวโอ ( vacuole ) มีขนาดใหญ่มากในเซลล์พืช มีลักษณะเป็นถุง มีเยื่อหุ้มบางๆ และเป็นที่สะสมสารต่างๆ มีน้ำเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่า เซลล์แซพ ( cell sap ) มีเกลือ น้ำตาล และสารเคมีอื่นๆ ละลายอยู่ภายใน MENU
http:// www.sites.google.com http://www.trueplookpanya.com เอกสารอ้างอิง http:// www.sites.google.com http://www.trueplookpanya.com MENU