ดอกไม้ฤดูหนาว
เอื้องเลี่ยม เอื้องน้ำต้น ชื่อวิทยาสาสตร์: Calanthe caridioglossa Schltr ลำต้นเป็นกล้วยไม้ดินลำกล้วยรูปขนาดตรงกลางโป่งออกสูงถึงปลายช่อดอกประมาณ1เมตรในรูปดอกกว้าง4-7เซนติเมตรยาว15-35เซนติเมตรปลายแหลมขอบใบห่อเข้าหากันทั้งใบเมื่อออดดอก
หญ้าหนวดเสือ ชื่อวิทยาสาสตร์Burmania coelestris D. Don เป็นลำต้นหรือลำต้นเดี่ยวตั้งตรงสูงประมาณ30เซนติเมตรเป็นดอกเดี่ยวหรือช่อเล้กดอกสีม่วงแกมน้ำเงินกลีบดอกเชื่อติดกับเป็น3กลีบ
ดอกหงอนนาค ชื่อวิทยาศาสตร์Murdannia giganteum สุงประมาณ1-2เมตรลำต้นอวบน้ำใบเหมือนรูปกว้าง4.12 เมตรยาว15-40เซนติเมตรดอกออกช่อ3กลีบดอกสีม่วงอ่อน
ว่านพร้าว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anthogonium graclle Wall. ex Lindlลักษณะ : ลำต้นเจริญทางด้านข้าง มีใบพับจีบรูปแถบ 2-3 ใบ ปลายใบเรียวแหลม ช่อดอกกระจายออกข้างลำต้น มีหลายดอก มีทั้งสีขาว ชมพู และม่วง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดคล้ายปากแตร
ดอกเหยื่อเลียงผา ลำต้น : อวบน้ำ แตกเป็นทรงพุ่ม ขึ้นกลางแจ้งสูงประมาณ 1 เมตร หากขึ้นในร่มลำต้นจะสูงประมาณ 1-2 เมตร ใบกว้างปลายเรียวดังที่เห็นในภาพ
ดอกเอื้องแซะภู ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendroblum bellatulum ลักษณะ : ลำต้นเจริญทางด้านข้าง ลำลูกกล้วยรูปไข่ ช่อดอกแบบกระจุก มี 1-3 ดอก ดอกกว้าง 2 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากรูปไต เว้าลึก ปลายกลีบปากใหญ่กว่าโคนกลีบ มีสัน 2-4 ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ
ดอกกุหลาบขาวเชียงดาว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhododendron kiwl lm ลักษณะ : ลำต้นแข็ง แตกเป็นทรงพุ่มเตี้ย ความสูงของต้นที่ขึ้นในบริเวณที่ปะทะลมประมาณ 0.75-1.0 เมตร บริเวณไม่ปะทะลม 1-1.5 เมตร ช่อดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ในแต่ละช่อมี 3- 5 ดอก
ดอกหย้ามวนฟ้า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cynoglossum lanceolatum Klwเป็นไม้ล้มลุก สูง 1-1.5 เมตร ใบเดี่ยวรูปหอก ใบช่วงใกล้ยอดมีขนาดเล็ก ใบที่โคนต้นมีขนาดใหญ่กว้าง โคนใบสอบปลายใบแหลม ผิวใบมีขนทั้งสองด้าน ดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน ขนาดดอกประมาณ 1 ซม. ออกเป็นช่อปลายกิ่ง ช่อดอกม้วนงอ กลีบดอก 5 กลีบ
ดอกชมพูเชียงดาว ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pedicularis siamensis ลักษณะ : ลำต้นสูงประมาณ 40-60 ซม. ใบเดี่ยวออกตรงข้ามเป็นคู่ หรือรอบต้นในระนาบเดียวกัน แผ่นใบคล้ายเฟิร์น รูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีหยักเว้าลึกเกือบถึงเส้นกลางใบ ขนาดกว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 1.5-4.5 ซม. ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนมีประขาว ด้านล่างเป็นนวลแป้งขาว ก้านใบสั้นดอกสีชมพูแกมม่วง ออกเป็นช่อตั้งตรงตามซอกใบ ดอกยาว 2-4 ซม. ไม่มีก้านดอก กลีบร่องดอกห่อเป็นถ้วย กลีบดอกบนเป็นหลอดยาว ตอนปลายเป็นจงอยโค้งแหลม กลีบล่างแผ่กว้างแยกออกเป็น 3 แถว
ดอกลิ้นมังกร ชื่อวิทยาศาสตร์ : Habenaria rhodocheila Hanceลักษณะ : มีหัวใต้ดิน ใบรูปหอก ช่อดอกแบบกระจายออกที่ปลายยอด มี 3-15 ดอก ดอกกว้าง 1.5-2 ซม. เกิดค่อนไปทางปลายช่อ กลีบเลี้ยงบนเชื่อมกับกลีบดอกคล้ายเป็นหมวก กลีบปากเป็นสามแฉก แฉกกลางเว้าบุ๋ม ดอกมีทั้งสีส้ม แดง ชมพู โอรส
ดอกเทียนนกแก้ว ลักษณะ : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นอวบน้ำ สูง 0.5-1.5 เมตร ใบเดี่ยวรูปไข่กว้าง โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบจัก ขนาดกว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-6 ซม. ลักษณะดอก สีแดงม่วงแกมแดงบางส่วนเป็นสีชมพู ออกเดี่ยวตามก้านใบ หรือปลายยอด ขนาดดอกกว้าง 2-3 ซม. ยาวประมาณ 5-6 ซม. กลีบรองดอกรูปถ้วยปากบาน ลักษณะดอกดังในภาพ
ดอกดุสิตา ลักษณะเป็นหญ้าลำต้นเล็ก สูงประมาณ 5-25 ซม. ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ๆ ขึ้น บนลานหินโล่งจะมีลำต้นสั้น หากขึ้นรวมกับทุ่งหญ้าที่มีน้ำขังจะมีลำต้นที่ยาวกว่า ดอกออกเป็นช่อๆ มีดอกย่อยจำนวน 3-5 ดอก สีม่วงเข้ม โคนกลีบเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ด้านบนมีสีม่วงอมน้ำเงินชื่อวิทยาศาสตร์ : Utricularia delphinioides Thor. ex Pel
ดอกเทียนอินทนนท์ ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุก ขึ้นเป็นพุ่มปกคลุมตามพื้นดิน ใบรี ขอบใบหยัก ออกดอกปลายยอด มี 2-3 ดอกต่อช่อ ทยอยบาน ช่วงเวลาออกดอก ตุลาคม - ธันวาคม แหล่งที่พบ : ขึ้นตามที่ชื้นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่บนเขาสูง 1,800 เมตร ขึ้นไป พบมากที่ดอยอินทนนท์ ดอยผ้าห่มปก ประโยชน์ เป็นไม้คลุมดินในที่ร่มเงาต้นไม้ใหญ่
อาจารย์ วันทนีย์ จิกยอง ดอกไม้ฤดูหนาว ด.ญ พิมพาภรณ์ สุขท้าว ชั้นม.1/5 เลขที่ 8 เสนอ อาจารย์ วันทนีย์ จิกยอง
แหล่งอ้างอิง www.toudoi.com