ชนิดเซลล์รวมในสภาวะเขย่า กระบวนการ R-phenylacetylcarbinol ไบโอทรานส์ฟอร์เมชั่นแบบสองเฟสที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวภาพ ชนิดเซลล์รวมในสภาวะเขย่า R51D03005 ตติยา คำทิพย์, พนิตนันท์ สิทธิมูล, ฐิติพร ก้านบัว, นพพล เล็กสวัสดิ์* ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่* บทคัดย่อ การเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ 15 สายพันธุ์ ในสภาวะตั้งนิ่งระดับ 100 มิลลิลิตร เป็นเวลา 48 ชั่วโมง อุณหภูมิ 25.6 องศาเซลเซียส ที่ใช้แหล่งอาหารคาร์บอนเป็นลำไยอบแห้งหมดอายุผสมกากน้ำตาล และไม่มีการเติมแหล่งอาหารไนโตรเจนอื่นเพิ่มเติม เพื่อตรวจสอบความสามารถในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ชนิดต่าง ๆ ที่ระดับสูงสุด พบว่า Saccharomyces cerevisiae TISTR 5606 ผลิตเอทานอลและกลีเซอรอลได้ 38.4 1.3 และ 4.51 0.16 กรัมต่อลิตร Zymomonas mobilis TISTR 405 ผลิตกรดแลกติกได้ 3.93 0.15 กรัมต่อลิตร Escherichia coli TISTR 1261 ผลิตกรดซิตริกและกรดฟอร์มิกได้ 29.1 1.7 และ 2.92 0.99 กรัมต่อลิตร และ Candida utilis TISTR 5001 ผลิตกรดโพรพาโนอิกได้ 7.71 0.39 กรัมต่อลิตร สำหรับการศึกษาผลกระทบจากตัวทำละลายอินทรีย์จำพวกแอลกอฮอล์ปฐมภูมิต่างชนิด (C7 - C9) ที่มีการผสมไดโพรพิลีนไกลคอล (DPG) ในระดับ 1:1 ต่อระดับการผลิต R-phenylacetylcarbinol (PAC) สำหรับระบบของเหลวสองชั้น ที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส ความเร็วในการเขย่า 250 รอบต่อนาที และค่า pH เริ่มต้น 6.00 พบว่าการใช้เซลล์รวมความเข้มข้น 6.12 กรัมต่อลิตรเทียบเท่ามวลชีวภาพแห้ง สามารถผลิต PAC ได้สูงสุดที่ระดับ 65.5 3.2 mM ในชั้นสารอินทรีย์ และ 7.63 0.41 mM ในชั้นฟอสเฟตบัฟเฟอร์ สำหรับระบบที่ใช้ C9 + DPG เป็นชั้นสารอินทรีย์ บทนำ ผลการทดลอง ลำไยอบแห้งทั้งเปลือกปี 2546 – 2547 มูลค่ากว่า 300 ล้านบาทยังคงตกค้างอยู่ในคลังขององค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อตก.) และองค์การคลังสินค้า (อคส.) รวมทั้งสิ้นประมาณ 67,000 ตัน [1] โครงงานวิจัยนี้เป็นหนึ่งในความพยายาม ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยศึกษาความสามารถของจุลินทรีย์ 15 สายพันธุ์ในการผลิตสารอินทรีย์หลากชนิดรวมถึง R-phenylacetylcarbinol (PAC) ที่ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยา ephedrine [2] ด้วยการเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีองค์ประกอบเป็นสารสกัดจากลำไยอบแห้งเน่าเสียที่ตกค้างในคลังและกากน้ำตาล Fermentation วิธีการทดลอง รูปที่ 1: ความเข้มข้นเมทานอล เอทานอลและกลีซอรอลสำหรับจุลินทรีย์ 15 สายพันธุ์ หลังเพาะเลี้ยง 48 ชั่วโมง ทำการเพาะเลี้ยงจุลินทรีย์ S. cerevisiae TISTR 5606 ในอาหารเลี้ยงเชื้อระดับ 100 และ 1,500 มิลลิลิตร เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25.6 องศาเซลเซียส และนำมวลชีวภาพที่ได้จากการเพาะเลี้ยงใช้ในระบบของเหลวสองชั้นที่มีสารตั้งต้นเบนซาลดีไฮด์และไพรูเวตโดยใช้ความเข้มข้นของมวลชีวภาพ 2 ระดับ ได้แก่ 3.06 กรัมต่อลิตร และ 6.12 กรัมต่อลิตร ต่อกระบวนการไบโอทรานส์ฟอร์เมชั่น ที่สภาวะการเขย่า 250 รอบต่อนาที ที่ 8 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 72 ชั่วโมง Biotransformation รูปที่ 2: ระดับการผลิต PAC ในชั้นสารอินทรีย์ต่างชนิดสำหรับระบบของเหลวสองชั้น รูปที่ 3:โครมาโตแกรม PAC, Benzoic acid และ Benzaldehyde วิจารณ์และสรุป ผลการวิจัยพบว่าจุลินทรีย์ที่ดีที่สุดสามอันดับแรกสำหรับการผลิตเอทานอล คือ S. cerevisiae TISTR 5606 (38.4 1.3 กรัมต่อลิตร), S. cerevisiae TISTR 5020 (28.8 2.2 กรัมต่อลิตร) และ Z. mobilis TISTR 405 (12.0 0.8 กรัมต่อลิตร) ที่มีค่าสัดส่วนการผลิตเอทานอลในระดับสูงใกล้เคียงหรือเทียบเท่าค่าในทางทฤษฎี จะเห็นได้ว่า S. cerevisiae TISTR 5606 เป็นจุลินทรีย์ที่มีความสามารถสูงที่สุดจากการคัดเลือกจุลินทรีย์ 15 สายพันธุ์ ในการผลิตเอทานอลภายใต้สภาวะตั้งนิ่งสำหรับการเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ประกอบไปด้วยลำไยอบแห้งหมดอายุผสมกากน้ำตาล และไม่มีการเพิ่มเติมแหล่งอาหาร ไนโตรเจนอื่น ส่วนการใช้ระบบของเหลวสองชั้นสามารถผลิต PAC ได้สูงสุดที่ระดับ 65.5 3.2 mM ในชั้นสารอินทรีย์ของ C9 + DPG และ 7.63 0.41 mM ในชั้นฟอสเฟตบัฟเฟอร์ กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง ทีมงานวิจัย ขอขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานโครงการ IRPUS ประจำปี 2551 ที่ได้สนับสนุนทุนวิจัย (R51D03005) ในครั้งนี้ [1] Fresh Plaza. 2007. http://www.freshplaza.com/news_detail.asp? id=9313 (accessed 06/12/07). [2] Hildebrandt, G. and W. Klavehn. 1932. Verfahren zur Herstellung von 1-1-Phenyl-2-methylamino- propan-1-ol. German patent 548 459.