องค์ประกอบของบทละคร.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สตอรี่บอร์ด (Story board)
Advertisements

โดย พัชรี ยันตรีสิงห์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป.นครปฐม เขต 2
การพูด.
การเขียนบทความ.
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2549
เรื่อง องค์ประกอบศิลป์ โดย นายสมพงษ์ ถาวรโชติวงศ์ โรงเรียนเบญจมราชาลัย
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
คดี มาจากคำว่า คติ แปลว่า การไป การเคลื่อน แบบ
แผนการจัดการเรียนรู้ที่1 ทัศนธาตุและหลักการออกแบบ ม. 3
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการแสดงและการวิจารณ์การแสดง
ทัศนธาตุคือหัวใจ เป็นบันไดสร้างทัศนศิลป์
ธรรมชาติและลักษณะของภาษา
วิเคราะห์องค์ประกอบดนตรี
รศ. ดร. สมศักดิ์ คงเที่ยง
ประโยคใจความสำคัญ ประโยคที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดในย่อหน้านั้น
Tuesdays with Morrie & หลายชีวิต
บทที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
การอ่านจับใจความเรื่องสั้น
โดย ครูภาวัติ บุญกาญจน์
การสร้างสื่อประสมบทเรียนช่วยสอน Multimedia ผ่าน Internet
Knowledge Management (KM)
นำเสนอหนังสือวิชาการ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สุนทรียศาสตร์
การสื่อสารเพื่อสร้างมนุษยสัมพันธ์
ภาษาทางสื่อ มิวสิควิดีโอ
เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
( Theory of Multiple Intelligences ) Gardner (การ์ดเนอร์)
ภูมิปัญญาทางภาษา มีภูมิปัญญาไทยแฝงตัวอยู่มากมาย ทั้งการดำเนินชีวิต
บทนำ บทที่ 1.
การใช้ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
แนวทางการก้าวสู่การเป็น
วิชา ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ
เทคนิคการฝึกอบรมที่เน้นผู้เข้ารับการอบรม
ศ.ดร.สุมาลี สังข์ศรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ขั้นตอนและหลักการวิเคราะห์
กิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต
ตัวละคร.
ความหมายของบุคลิกภาพ บรรยาย โดย อาจารย์วทัญญู มุ่งหมาย
ฉากและบรรยากาศ.
ความหมายของการวิจารณ์
แก่นเรื่อง.
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการกำกับการแสดง
การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ
ขั้นตอนและหลักการคิดวิเคราะห์วรรณคดี
บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ
ลักษณะข้อสอบการอ่าน PISA 2009.
การถ่ายวีดีโอ.
การฟังเพลง.
หลักสตรูแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
การอ่านเชิงวิเคราะห์
ปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์
การสร้างสรรค์บทละคร.
ความหมายของการวิจารณ์
เทคนิคการถ่ายทอด พ.อ.ฐิตินันท์ อุตมัง.
ธรรมชาติของเด็กวัยเรียน พัฒนาการเด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี)
การประเมินพัฒนาการทางภาษาตามแนวสมดุลภาษา
การเขียนบทวิทยุกระจายเสียง. ขั้นตอนการเขียนบทรายการวิทยุ ขั้นเริ่มต้นแนวคิด (Begin with idea) จะเป็น การบอกแนวทาง ขอบเขตและการวาง แผนการผลิตในอนาคต.
ขั้นตอนและหลักการวิเคราะห์วรรณคดี
Lighting Designer นักออกแบบแสง.
(Demonstration speech)
การสร้างภาพบนเวทีและ การออกแบบเพื่อการแสดง
การเขียนรายงาน.
รูปแบบของการเล่าเรื่อง
การเขียนบทวิจารณ์วรรณกรรม
กิจกรรมการสอนโดยใช้ “เพลง”
การเขียนบทโฆษณา และการผลิตภาพยนตร์โฆษณา
ทฤษฎีการวิจารณ์ศิลปะ
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
การนำเสนอสารด้วยวาจา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

องค์ประกอบของบทละคร

อริสโตเติล ปราชญ์ชาวกรีก ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของบทละครไว้ในหนังสือเรื่อง Poetics ซึ่งถือกันว่าเป็นตำราทางการละครเล่มแรกของโลก โดยจำแนกองค์ประกอบของบทละครตามลำดับความสำคัญไว้ 6 ส่วน

1. โครงเรื่อง (Plot) ลำดับของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบทละคร ตั้งแต่จุดเริ่ม การพัฒนาเรื่อง ไปจนถึงจุดจบ คำว่า “โครงเรื่อง” (Plot) แตกต่างจาก “เรื่อง” (Story) เพราะเมื่อพูดถึง “เรื่อง”จะหมายถึง เนื้อหาหรือ วัตถุดิบที่นักเขียนบทละครนำมาสร้างเป็นโครงเรื่อง โครงเรื่องที่ดีจะต้องมีความสมบูรณ์ในตัวของมันเอง ประกอบด้วยด้วยตอนต้น ตอนกลาง และตอนจบ โดยเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างสมเหตุสมผล ในบท ละครที่มีการวางโครงเรื่องอย่างรัดกุม จึงไม่สามารถตัดฉากใดฉากหนึ่งออกไปได้โดยไม่ กระทบกระเทือนกับฉากอื่น

2. ตัวละคร (Character) ในองค์ประกอบเรื่องตัวละครนี้ อริสโตเติลหมายความถึง ทั้งตัวละครในฐานะผู้กระทำในเรื่อง และ การวางลักษณะนิสัยของตัวละคร ที่มีการพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบ กับชีวิต การกระทำในละครเกิดขึ้นจากความต้องการหรือจุดมุ่งหมายของตัวละคร (Objective) โดยตัว ละครหลักที่เป็นผู้ดำเนินเรื่องเรียกว่า Protagonist ส่วนตัวละครที่เข้ามาขัดขวางหรือเป็นฝ่ายตรงข้าม กับตัวละครหลัก เรียกว่า Antagonist

2. ตัวละคร (Character) คำบรรยายของผู้เขียน คำพูดของตัวละครตัวนั้น ในละครแต่ละเรื่อง แต่ละประเภทอาจให้ความสำคัญกับลักษณะด้านต่างๆ ไม่เหมือนกัน เช่นละครคอเมดี อาจไม่ให้ความสำคัญกับมิติทางจิตวิทยาของตัวมากนัก แต่เน้นไปที่รูปลักษณ์และสถานะทางสังคม ขณะที่ละคร แนวสัจนิยมจะเน้นที่มิติภายในของตัวละคร ภูมิหลังและบริบทต่างๆ ที่ส่งผลต่อการกระทำของตัวละคร ทั้งนี้ ใน บทละครจะมีวิธีนำเสนอลักษณะของตัวละครอยู่ 4 วิธี ได้แก่ คำบรรยายของผู้เขียน คำพูดของตัวละครตัวนั้น คำพูดของตัวละครอื่น การกระทำของตัวละคร

3. ความคิด (Thought) ความหมายของเรื่อง หรือข้อสรุปที่ได้จากเรื่องราวที่เกิดขึ้นในละคร ปัจจุบันนิยมใช้คำว่า แก่นเรื่อง (Theme) การแสดง “ความคิด” ที่อยู่ในละครนั้น จะต้องแสดงผ่านสิ่งที่เกิดขึ้นในละคร โดยมีความ กลมกลืนกับโครงเรื่องและตัวละคร ผู้ชมจะได้รับความคิดนั้นจากการติดตามเรื่องราวในละคร

4. การใช้ภาษา (Diction) ศิลปะของการถ่ายทอดเรื่องราวและความคิดของผู้ประพันธ์ออกมาทางคำพูดของตัวละคร ในนวนิยายหรือเรื่องสั้น ผู้เขียนสามารถนำเสนอลักษณะของตัวละคร ไปจนถึงความรู้สึก นึกคิดที่อยู่ภายในจิตใจ โดยผ่านการบรรยายหรือพรรณนา ขณะที่บทละครมีข้อจำกัดที่ต้อง นำเสนอเป็นภาพการแสดง การเขียนบทละครจึงต้องทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจตัวละครได้โดยผ่าน คำพูดและการกระทำของตัวละคร การเลือกใช้ถ้อยคำในบทละครจึงต้องสัมพันธ์กับลักษณะของ ตัวละคร เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และประเภทของละครด้วย

5. เพลง (Song) ศิลปะของการถ่ายทอดเรื่องราวและความคิดของผู้ประพันธ์ออกมาทางบทเพลงที่ตัวละครจะต้องขับร้อง ที่ อริสโตเติลกล่าวถึงเพลงในฐานะองค์ประกอบของบทละครนั้น เป็นเพราะละครกรีกโบราณที่อริสโตเติลนำมาเป็น แบบอย่างในการวิเคราะห์ เป็นละครที่ต้องมีกลุ่มนักร้อง (Chorus) ขับร้องเพลงทั้งสิ้น นักการละครในปัจจุบัน ได้ประยุกต์เรื่องของเพลงมาใช้ โดยหมายรวมถึงเสียงที่คนดูได้ยินทั้งหมดในระหว่างที่ดู ละคร ซึ่งแบ่งได้เป็น เสียงที่นักแสดงพูด, เพลงและดนตรี และเสียงประกอบ ศิลปะในการเลือกใช้เสียงในละคร ไม่ว่าจะเป็น จังหวะ การเน้น ความดัง-เบา ฯลฯ สามารถสร้างอารมณ์ร่วม ให้กับคนดูได้อย่างมาก

6. ภาพ (Spectacle) สิ่งที่คนดูมองเห็นทั้งหมดในระหว่างการดูละคร ไม่ว่าจะเป็นท่าทางและสิ่งที่นักแสดงทำ ไปจนถึง ฉาก แสง เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า ฯลฯ เป็นหน้าที่ของศิลปินนักการละครด้านต่างๆ ที่จะสร้างสรรค์ภาพ บนเวทีขึ้นจากการวิเคราะห์โครงเรื่อง ตัวละคร ความคิด และภาษาที่ปรากฏในบทละคร

โครงเรื่อง ตัวละคร และ ความคิด คือเนื้อหาสาระของบท เปรียบเสมือน วิญญาณที่อยู่ภายใน ขณะที่ ภาษา เพลง และ ภาพ เปรียบเสมือนร่างกาย ของบทละคร ที่มีหน้าที่สื่อสารและถ่ายทอดเนื้อหาสาระที่อยู่ภายในไปสู่ผู้ชม

เรียบเรียงจาก : กรมวิชาการ(2524). ศิลปะการละครเบื้องต้น 1-2. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว. นพมาส แววหงส์ (2550). ปริทัศน์ศิลปการละคร. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.