บทสนทนา การเดินเรื่อง มุมมองของกวี
บทสนทนา กวีมักจะให้ตัวละครแสดงออกมาให้เห็นด้านอารมณ์ ด้านศีลธรรมจรรยา โดยใช้ตัวละครแสดงบทบาทต่างๆ เช่น ด้วยคำพูด หรือ ที่เรียกว่า “บทสนทนา”
กลวิธีการดำเนินเรื่อง วรรณคดีร้อยกรอง เรื่องหนึ่งๆ กวีจะใช้กลวิธีต่างๆ เพื่อทำให้วรรณคดีหรือวรรณกรรมนั้นๆ มีคุณค่า น่าสนใจ กลวิธีต่างๆ นั้น ได้แก่ ๑ ความไพเราะของบทร้อยกรอง คือ ความไพเราะ อันเกิดจากรสคำ และ รสความ
๒ ความไพเราะ อันเกิดจากรสคำ การที่กวีเลือกสรรคำที่มีเสียงเสนาะ ใช้คำเลียนเสียงธรรมชาติ คำที่เล่นเสียงวรรณยุกต์ คำที่เล่นเสียงสัมผัสคล้องจองกัน การเล่นคำ เสียงหนักเบา การลากคำ การใช้คำพ้องเสียงและคำซ้ำ การใช้ลีลาจังหวะของคำทำให้เกิดความไพเราะ
๓ ความไพเราะ อันเกิดจากรสความ การที่กวีเลือกใช้คำที่มีความหมายกระชับ ชัดเจน ใช้คำถูกต้องตามความหมายที่ต้องการ เลือกใช้คำที่เหมาะสมแก่เนื้อเรื่อง ฐานะของบุคคล และอารมณ์ ในเนื้อเรื่อง
๔ กลวิธีการนำเสนอ กวีจะใช้วิธีนำเสนอเพื่อให้วรรณคดีและวรรณกรรมนั้นๆ น่าสนใจ น่าติดตามหรือน่าประทับใจต่างๆ เช่น เสนอสาระสำคัญอย่างตรงไปตรงมา หรือ เสนอแบบให้ตีความหรือเปรียบเทียบ เป็นต้น
มุมมองของกวี กวีใช้กลวิธีเพื่อสื่อความและสื่ออารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเสียง จังหวะคำ สัมผัส เนื้อความ ให้ความไพเราะและสร้างจินตภาพก่อให้เกิดความเพลิดเพลินให้ผู้อ่านได้ อาจมีข้อความหรือถ้อยคำตอนใดที่อ่านแล้วซาบซึ้งประทับใจ
มีพฤติกรรมตัวละครที่ควรยกย่อง และถือเป็นตัวอย่างนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ หรือมีตัวอย่างพฤติกรรมตัวละครที่ไม่ควรนำมาเป็นตัวอย่างที่จะนำไปใช้ในชีวิตจริง มีแง่คิดคติธรรม ความเพลิดเพลิน และคุณค่าของวรรณคดี วรรณกรรม