ความคิดรวบยอดสอนอย่างไร : การใช้คำถาม ประเภทของคำถาม ความคิดรวบยอดสอนอย่างไร : การใช้คำถาม ประเภทของคำถาม การตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนทำความเข้าใจในสิ่งที่เขากำลังศึกษา เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะใช้ในการสอนเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดได้
ประเภทของคำถาม ตามแบบของ Bloom ประเภทของคำถามเป็นการจัดตามแบบของ Bloom ที่กล่าวถึง taxonomy ที่ใช้เป็นจุดประสงค์ของการจัดการศึกษาว่าเป็นลำดับขั้นจาก ง่ายไปยากการตั้งคำถามก็สามารถจัดเป็นลำดับขั้นตามนี้ได้เช่นกัน คำถามประเภทความรู้ความเข้าใจ คือการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้ตอบคิดทบทวนความรู้จากการจำ หรือค้นหา คำตอบจากผู้รู้หรือแหล่งความรู้โดยตรง
ประเภทของคำถาม ตามแบบของ Bloom (ต่อ) คำถามประเภทความเข้าใจ เป็นคำถามที่มุ่งให้ผู้ตอบต้องอาศัยการแปลความหรือลงความเห็น คาดคะเนอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอาศัยข้อมูลที่กำหนดให้เท่านั้น คำถามประเภทการประยุกต์ เป็นคำถามที่ผู้ตอบต้องมีความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับคำถามนั้น แล้วนำความรู้และประสบการณ์เดิมนั้นมาใช้เทียบเคียงกับความรู้หรือ ประสบการณ์ใหม่ที่มีอยู่ในคำถามนั้น
ประเภทของคำถาม ตามแบบของ Bloom (ต่อ) คำถามประเภทการวิเคราะห์ เป็นคำถามที่มุ่งให้ผู้ตอบต้องตรวจสอบรายละเอียดที่อยู่ในข้อมูลนั้น อย่างเข้าใจ พิจารณาความสัมพันธ์เกี่ยวข้องของส่วนต่างๆ ที่อยู่ในข้อมูลนั้น คำถามประเภทการสังเคราะห์ เป็นคำถามที่ผู้ตอบต้องมีความสามารถในการค้นหาคำตอบด้วยตัวของเขา เอง โดยอาศัยการประมวลความรู้ ที่มีอยู่เดิม เกิดเป็นความรู้ใหม่ การเกิดความคิดรวบยอดของคนเราจัดว่าอยู่ในระดับการสังเคราะห์
ประเภทของคำถาม ตามแบบของ Bloom (ต่อ) คำถามประเภทการประเมิน เป็นคำถามที่ผู้ตอบแสดงออกถึงการเลือกตัดสินใจว่าอะไรมีคุณค่า โดยใช้หลักวิชาการเข้ามาพิจารณาในการตัดสินใจ
Orilich (1985) ได้จัดกลุ่มคำถามออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้ คำถามแบบ convergent เป็นคำถามที่ผู้ตอบจำความรู้ เฉพาะอย่างมาตอบ มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว คำถามแบบ divergent เป็นคำถามที่มีคำตอบได้หลากหลาย ฝึกการคิดอย่างมีวิจารณญาณ คำถามแบบ evaluative เป็นคำถามที่พัฒนาสติปัญญาสูงสุด
คำถามมีกี่ประเภท นักการศึกษาจัดคำถามไว้หลายประเภท หลากหลายกันไป ประเภทของคำถามจะมีการจัดเป็นกลุ่ม เป็นพวก คำถามแต่ละกลุ่ม แต่ละประเภท สะท้อนให้เห็นการถามเพื่อ พัฒนาสติปัญญาในระดับต่างๆ กัน