ทักษะการคิดวิเคราะห์

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สรุปภาพรวมของหน่วยการเรียนรู้
Advertisements

โดย พัชรี ยันตรีสิงห์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป.นครปฐม เขต 2
การขับเคลื่อนการพัฒนากระบวนการคิด
การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ ของเด็กแต่ละวัย
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
โครงสร้างทางคณิตศาสตร์และการให้เหตุผล (Mathematical Structure and Reasoning) Chanon Chuntra.
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
จุดประสงค์ปลายทาง เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา ความรู้ในทาง วิทยาศาสตร์ว่ามีความสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมี หลักฐานและข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้เท่านั้น.
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
กรอบแนวคิด ในการทำวิจัย
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
การออกแบบการจัดการเรียนรู้ สะท้อนธรรมชาติวิทยาศาสตร์
Thesis รุ่น 1.
กระบวนการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry process)
แนวคิดการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
การจัดการเรียนรู้โดยการใช้ชุดมินิคอร์ส
หลักการพัฒนา หลักสูตร
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประเภทติวเตอร์ Tutorial.
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
Cognitive Development
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา (Case Study Method)
การใช้สถานการณ์จำลองในการจัดการเรียนรู้ (Simulation Method)
“Backward” Unit Design?
จุดมุ่งหมายการศึกษา และพฤติกรรมการศึกษา
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
สะท้อนประสบการณ์ / ถอดบทเรียน
1 ความลึกซึ้งของข้อมูล ข้อมูลแต่ละหัวข้อ (item) – มี หรือ ใช้ หลักทฤษฎีใด มาสนับสนุน – อ้างอิง จากแหล่งใด (คน สถานที่ เวลา) เว้นแต่ ข้อมูลซึ่งโดยปกติสามัญ.
การสอนแบบบรรยาย-อภิปราย
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง.
การสร้างข้อสอบ ตามแนวการวัดใน PISA
การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
หลักสูตรพัฒนาความสามารถในการสร้างเครื่องมือ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
การฟังและการอ่านให้เกิดวิจารณญาณ
การอ่านเชิงวิเคราะห์
กลวิธีการสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา
บทที่ 11.
หัวข้อการเรียน ENL 3701 Week 5
การพัฒนากระบวนการอ่านในรายวิชาภาษาไทย ของนักศึกษาสาขา ช่างยนต์
ความคิดรวบยอดสอนอย่างไร : การใช้คำถาม ประเภทของคำถาม
การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา
องค์ประกอบของการทบทวนวรรณกรรม
บทบาทสมมติ (Role Playing)
ผู้อำนวยกลุ่มการเรียนรู้ (Learning Facilitator)
การอ่านเชิงวิเคราะห์
วิธีการคิดวิเคราะห์.
แนวทางการสอนเพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบ การสอนแบบโครงงาน/โครงการ
ผู้วิจัย นางสาวพิลาวรรณ พิริยะโภคัย
วิธีสอนแบบสืบสวนสอบสวน
การสอนแบบสืบสวนสอบสวน
“ การพัฒนาทักษะการออกแบบและประกอบวงจรใช้
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
วิธีสอนแบบอุปนัย.
วิจัย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง การวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคในปัจจุบันโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง.
นางสาวพิชญาภา อิ่มประไพ วิทยาลัยเทคโนโลยีเมืองชลบริหารธุรกิจ (MBAC)
3. หลักการวิจัย หลักการวิจัย : สำราญ สาราบรรณ์.
กระบวนการ การออกแบบการเรียนการสอน แนวคิดสำคัญ เริ่มจากการคิดทุกอย่างให้จบสิ้น จึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ ผลผลิตที่ต้องการ เป็นหลักฐาน พยานแห่งการเรียนรู้
ทฤษฎีการวิจารณ์ศิลปะ
แนวทางพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย
เทคนิควิธีในการจัดการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
การสอนแบบอภิปราย และการสอนแบบนิรนัย
เรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
วิธีการสอนโดยใช้เกม (Game)
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ทักษะการคิดวิเคราะห์

ทักษะการคิดวิเคราะห์ ความหมาย ราชบัณฑิตยสถาน (2546 : 1071) กล่าวไว้ว่าทักษะการคิดวิเคราะห์ หมายถึงความชำนาญในการคิดใคร่ครวญอย่างละเอียดรอบคอบในเรื่องราวต่าง ๆ อย่างมีเหตุผล โดยหาส่วนดี ส่วนบกพร่อง หรือ จุดเด่นจุดด้อยของเรื่องนั้นๆ แล้ว เสนอแนะสิ่งที่ดีสิ่งที่เหมาะสมนั้นอย่างยุติธรรม

ทักษะการคิดวิเคราะห์ สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2548 : 5) ได้ให้ความหมายทักษะการคิดวิเคราะห์ คือ การระบุเรื่องหรือปัญหา การจำแนกแยกแยะ การเปรียบเทียบข้อมูลอื่นๆและตรวจสอบข้อมูลอย่างชำนาญหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อให้และแม่นยำเพียงพอแก่การตัดสินใจ

แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ดังนี้ Gagne (อ้างใน ทิศนา แขมมณี และคณะ 2544 : 16) กล่าวถึง การเรียนรู้ที่เป็นทักษะทางปัญญาประกอบด้วย 4 ทักษะย่อยซึ่งแต่ละระดับเป็นพื้นฐานของกันและกันตามลำดับซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ที่เป็นการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองและความต่อเนื่องของการเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นลูกโซ่ (association and chaining) ทักษะย่อยแต่ละระดับ ได้แก่

แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ 1. การจำแนกแยกแยะ (discriminations) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุต่าง ๆ ที่รับรู้เข้ามาว่าเหมือนหรือไม่เหมือนกัน 2. การสร้างความคิดรวบยอด (concepts) หมายถึง ความสามารถในการจัดกลุ่มวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ โดยระบุคุณสมบัติร่วมกันของวัตถุสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้กลุ่มวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นต่างจากกลุ่มวัตถุหรือสิ่งอื่น ๆ แบ่งเป็น 2 ระดับย่อย ๆ คือ ก. ความคิดรวบยอดระดับรูปธรรม (concrete concepts) ข. ความคิดรวบยอดระดับนามธรรมที่กำหนดขึ้นในสังคมหรือวัฒนธรรมต่าง ๆ (defined concepts)

แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ 3.  การสร้างกฎ (rules) หมายถึง ความสามารถในการนำความคิดรวบยอดต่าง ๆ มารวมเป็นกลุ่ม ตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น เพื่อให้สามารถสรุปอ้างอิง และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง             4.  การสร้างกระบวนการหรือกฎขั้นสูง (procedures of higher order rules) หมายถึง ความสามารถในการนำกฎหลาย ๆ ข้อที่สัมพันธ์กันมาประมวลเข้าด้วยกัน ซึ่งนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ประเวศ วะสี (อ้างใน ทิศนา แขมมณี.2548 : 301-302) ได้กล่าวว่า ในการเรียนรู้ต้องให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกคิด ฝึกตั้งคำถาม เพราะคำถามเป็นเครื่องมือในการได้มาซึ่งความรู้ ควรให้ผู้เรียนฝึกการ    ถาม-ตอบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องที่ศึกษารวมทั้งได้ฝึกการใช้เหตุผล การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ ที่ฝึกให้ผู้เรียนได้ฝึกค้นหาคำตอบจากเรื่องที่เรียนได้

การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive Method) การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย คือ กระบวนการที่ผู้สอนจากรายละเอียดปลีกย่อยหรือจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ หรือกฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป โดยการนำเอาตัวอย่าง ข้อมูล เหตุการณ์ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่มีหลักการแฝงอยู่มาให้ผู้เรียนศึกษาสังเกต ทดลอง เปรียบเทียบ หรือวิเคราะห์จนสามารถสรุปหลักการ หรือกฎเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง               (สุวิทย์   มูลคำ. 2546 : 15-18) องค์ประกอบสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยมีดังนี้ คือ

การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive Method) 1. ตัวอย่างข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เป็นลักษณะย่อย ๆ ของหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 2. การวิเคราะห์ตัวอย่างข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ เพื่อสรุปเป็นหลักการ แนวคิด ทฤษฎีร่วมกัน

สรุป ซึ่งอาจสรุปได้ว่าทักษะการคิดวิเคราะห์ คือ ความสามารถในการพิจารณาไตร่ตรองแก้ปัญหาที่แม่นยำมีความละเอียดในการจำแนกแยกแยะ เปรียบเทียบข้อมูลเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆอย่างชำนาญ โดยการหาหลักฐานที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงหรือข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนหรือยืนยันเพื่อพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเชื่อหรือสรุป